bloggang.com mainmenu search


... สารภาพตามตรงว่า เวอร์ชั่นต้นฉบับที่คนชื่นชม ก็เคยดูผ่านๆทางช่องเคเบิ้ล จำอะไรไม่ค่อยได้แล้ว ไม่ได้ปลื้มเหมือนหลายๆคน

ก่อนหน้ารู้ผลวิจารณ์หรือรายรับ เอาเฉพาะหน้าหนังสไตล์นี้ก็ไม่คิดจะดูอีกเหมือนกัน แม้จะมี ลูกของ วิล สมิธ มาปะทะ เฉินหลง แต่ดูแววแล้วท่าทางจะเป็น หนังเด็ก เหมาะสำหรับคุณหนูๆดูสนุก แถมเข้าชนกับหนังฟอร์มยักษ์เรื่องอื่นก็เลยคิดรอแผ่น

แต่เพราะ การเปิดตัวแซงหนังสนุกสุดๆอย่าง The A-team เข้าเส้นชัยในสัปดาห์เปิดตัวแบบทิ้งช่วงห่างเป็นสิบๆล้านเหรียญ บวกกับ คะแนนจากนักวิจารณ์กับคนดูที่เลิศหรู จึงเปลี่ยนใจ อยากไปพิสูจน์ด้วยตัวเองให้รู้ว่า ‘คาราเต้ (คิด)สมิธ’ มีดีอะไร

ซึ่งก็ปรากฎว่า หนังก็มีดีจริงตรง ความสนุก ที่สามารถเข้าถึงคนดูได้แบบทั่วถึงทุกกลุ่ม

ซัมเมอร์ปีนี้ หนังฟอร์มยักษ์ส่วนใหญ่ ไม่ค่อยมีหนังที่ออกแนวสร้างปรากฎการณ์หรือพอจะฝากความแปลกใหม่ได้ จะมีก็แค่ Kick-Ass ที่แบกความแปลกใหม่ไปเลียแผลกับรายรับที่น่าผิดหวัง กับ Inception ที่ต้องลุ้นว่าจะแปลกจนคนไม่ดูกันหรือเปล่า

ตัวอย่างหนังที่ออกฉาย ไม่ว่าจะเป็น เจ้าชายเปอร์เซีย , ทีมเอ , อีธานฮันต์เวอร์ชั่นรั่ว ทั้งหลายทั้งปวงเป็น หนังสูตร คือ เดาได้ ไม่มีอะไรแปลกใหม่ ทุกอย่างดำเนินไปตามขนบของหนังแนวนั้นที่มีล่วงหน้ามาก่อน

แต่ จุดร่วมในทางดีของแต่ละเรื่องที่ว่ามา คือ ทุกเรื่องเดินตามสูตรแต่ก็ยังสามารถรักษา 'ความสนุก' ให้สนุกมากพอจนคนดูไม่รู้สึกซ้ำซากจำเจ



The Karate Kid ก็เช่นกัน เล่าเรื่องไป ใครก็เดาสเต็ปดำเนินเรื่องได้ไม่ยาก จากจุดเริ่มต้นของ เด็กคนหนึ่งย้ายโรงเรียนไปอยู่ในที่ใหม่ ถูกรุมแกล้ง

โชคชะตาพาไปพบ ผู้เฒ่าที่เหมือนไม่มีวิชา แต่กลับเป็นอาจารย์จอมเก๋าที่ไม่โอ้อวด สอนเคล็ดลับวิชาศิลปะการต่อสู้ เริ่มต้นจาก การฝึกพื้นฐานที่เหมือนจะไม่ได้ใช้ในการสู้ จนตัวเอกเบื่อ อาจารย์จึงเฉลยว่ามันมีความสำคัญอย่างไร

แล้วทั้งคู่ก็เริ่มต้นฝึกฝนวิชา เพื่อเข้าสู่การแข่งขัน ต่อสู้กับคนที่เคยแกล้ง ในเวทีประลองใหญ่สุดตอนท้าย



หากจะมีอะไรใหม่มาบ้างใน The Karate Kid เวอร์ชั่นนี้ คือ หนังไม่ได้ผูกปมไว้เฉพาะที่ตัว ลูกศิษย์ แต่ อาจารย์ ก็มีปมในใจของตัวเอง ที่ผูกขมวดไว้โดยไม่มีใครรู้

และ การฝึกฝนวิชากังฟู ก็นำไปสู่ มิตรภาพต่างวัย และช่วยในการก้าวข้ามผ่าน ความกลัว และ ความรู้สึกผิด ที่ติดอยู่ในใจของคนทั้งสองคน เหมือน เชือกที่เดรดึงอาจารย์ออกจากหลุมแห่งความเศร้า และ คำตอบของเดรตอนท้ายที่ตอบคำถามอาจารย์ว่า เพราะอะไรถึงยังสู้ต่อ ? (ช็อตนี้ ทรงพลังใช้ได้)





สิ่งที่ชอบ


1.ลูกชายวิล สมิธ ... ตอน pursuit of happiness ก็ว่ามีแววเล่นหนังดี แถมมีพ่อช่างปั้น มาเรื่องนี้ การแสดงก็ยังคงดีอยู่ไม่เซอร์ไพรส์ไปกว่าเก่าเท่าไหร่ แต่ที่ประทับใจมากกว่า คือ เวลาเล่นฉากแอคชั่นดูดีมาก หุ่นให้ ลีลาผ่าน ฉีกแข้งฉีกขาได้ทะมัดทะแมงน่าเชื่อถือ เวลาเจ็บก็ตีหน้าเจ็บได้ทรมานสมจริง



2. ผกก. Harald Zwart ... เป็นงานกำกับที่ช่างต่างจากผลงานเรื่องก่อนอย่างสิ้นเชิง ดูจากเรื่องก่อนอย่าง The Pink Panther 2 ก็ดูแค่หนังคอมิดี้พื้นๆ (และจะว่าไป ภาคสองยังฮาไม่ค่อยจะออกอีกต่างหาก) แต่เรื่องนี้เหมือน ผู้กำกับเป็นคนละคน เป็นก้าวกระโดดที่ดีอย่างใจหาย ทุกจังหวะที่ต้องการลุ้น หรือ ทุกจังหวะที่ต้องการบีบอารมณ์ เขาทำได้สำเร็จเสมอ

3.การถ่ายทำ ... ดูดี มีชาติตระกูล ฉากแอคชั่นแต่ละมุมทั้งมุมกล้องทั้งจังหวะทั้งดนตรีที่ใส่เข้ามา มันเป๊ะไปหมด , ฉากฝึกซ้อมหรือฉากโชว์สถานที่เช่น บนเขา ในวัด ก็ดูสงบเยือกเย็น อลังการสมความตั้งใจนำเสนอ



4.ไอ้หนูตัวร้าย ... หน้าให้ เล่นดี โหดแบบนี้ มีอนาคต

5.Taraji P. Henson ... ตัวแม่ของจริง เล่นบทแม่เมื่อไหร่ ดูเหมือน แม่ๆในชีวิตจริง เช่นใน The Curious Case of Benjamin Button มาสู่เรื่องนี้ ขอยกรางวัลชนะเลิศรางวัลแม่เนียนเด่นในจอ

6. เฉินหลง ... เป็นอีกครั้งที่ เน้นบทดราม่าล้วนๆไม่หลุดฮาเหมือนคราว Shinjuku incident ซึ่งเขาก็ทำได้ดี





สิ่งที่ไม่ชอบ


1.หนังยาวไป ... มันมีเป็นพักๆที่รู้สึกว่า หนังยาวจัง

2.เฉินหลง ... ปัญหาไม่ใช่การแสดง แต่อยู่ตรง บทนี้น่าจะเลือกนักแสดงคนอื่นที่ไม่ใช่ เฉินหลง เพราะ เฉินหลง มีกรอบบางประการที่ทำให้เราไม่รู้สึกประหลาดใจ หรือ ไม่รู้สึกว่า อาจารย์ คนนี้มีพลังความสงบเยือกเย็นในเชิงลึก แต่ เฉินหลง เล่นออกมาดูเก่งกังฟู อายุมาก ดูท่าทางกระเสาะกระแสะ ไม่ได้ดูเหมือน เพชรในตมที่เก็บงำของดีไว้เหมือนกับ ตัวอาจารย์ในต้นฉบับ

3.บท ... บทดีในแง่พัฒนาการของ เดร ที่ทำใหเราคล้อยตามในความเก่งกาจ แต่ผมคิดว่าในส่วนอื่นๆหนังยังทำได้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ในแง่การกระจายความสำคัญของตัวละครหรือเนื้อหา เมื่อเทียบกับความยาวของหนังที่มากถึงสองชั่วโมงกว่า

เช่น การใส่ตัวละครเด็กฝรั่งที่จู่ๆก็หายไปจากหนัง , ความสัมพันธ์แม่ลูกที่น่าจะลงมากกว่านี้ซักหน่อย , การเน้นการฝึกมากบางช่วงจนน่าเบื่อแต่พอถึงบทสรุปเช่น ส่วนของอาจารย์ , ปมขัดแย้งของพ่อแม่นางเอกที่มีต่อพระเอก ก็คลี่กันได้ง่ายๆทั้งที่เวลาก็มีเหลือเฟือ


สรุป ... เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เข้าข่าย ความสนุกของหนัง สามารถลบจุดอ่อนในบทภาพยนตร์ที่ดีประมาณพอใช้ ให้หายไปจากความคิดของคนดู เพราะ ตัวหนังทำให้เราสนุก , อิน และ ลุ้นไปกับจังหวะการเล่าเรื่องที่ลงตัว และ การกำกับที่น่าชื่นชม


ป.ล. ตัวหนังก็ออกจะดี ไม่น่าจะป๊อด ตั้งชื่อตามชื่อเก่าเลย สู้ตั้งชื่อใหม่เป็น The Kungfu Kid แล้วบอกว่าได้แรงบันดาลใจ ยังจะดูใจใจมากกว่า




บทความใน blog ที่อ้างอิงถึง

The Pursuit of Happyness , ปัญหาชีวิตก็เหมือน รูบิค - ถ้าทำไม่ได้จะ สู้ต่อ หรือ โยนทิ้ง-
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=aorta&month=14-03-2007&group=1&gblog=221

Knight & Day - อีธาน ฮันต์ เวอร์ชั่น กระโดดบนโซฟาโอปร่าห์ & นางฟ้าชาร์ลี เวอร์ชั่น รั่ว
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=aorta&month=26-06-2010&group=14&gblog=220

The A-team - มันโคตรจะเว่อร์ เว่อร์โคตรจะมันส์
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=aorta&month=21-06-2010&group=14&gblog=218

Prince of Persia – ความสนุกพอไปได้สไตล์ดีสนีย์ ของ เจ้าหญิงวุ่นวายและเจ้าชายชอบกระโดด
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=aorta&month=15-06-2010&group=14&gblog=217

Kick Ass , 5 ข้อ ที่ขอเชียร์หนังเรื่องนี้
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=aorta&month=04-2010&date=18&group=14&gblog=202


ขอฝาก หนังสือเล่ม 5 ของ "ผมอยู่ข้างหลังคุณ" จ้า
(วางอยู่ตามร้านหนังสือทั่วไทยแล้ว)










อ่านจบแล้ว ชวนมาคุยกันที่นี่ครับ //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=aorta&group=18

และ

ความเห็นของ เพื่อนผู้อ่านที่อ่านจบแล้ว และสละเวลาเขียนถึง

//blogs.lumamagic.com/?p=1957



หนังสือ 4 เล่มก่อนหน้าที่ว่าด้วย 'ภาพยนตร์ - จิตวิทยา - พัฒนาตัวเอง(self - development)' ของ "ผมอยู่ข้างหลังคุณ"








สำหรับเพื่อนๆที่เล่น FaceBook หรือ Twitter ณ.บัดนาว "ผมอยู่ข้างหลังคุณ" ขยายสาขาเรียบร้อยแล้วจ้า



Create Date :30 มิถุนายน 2553 Last Update :30 มิถุนายน 2553 1:47:27 น. Counter : Pageviews. Comments :4