จับโกหกออนไลน์ด้วยภาษาศาสตร์

จับโกหกออนไลน์ด้วยภาษาศาสตร์

วันนี้(28 ม.ค. 56) ม. ศรีนครินวิโรฆ จัดบรรยายหัวข้อ “จับโกหกออนไลน์ด้วยภาษาศาสตร์” โดยอาจารย์ มณฑรัตน์ รุ่งเรืองธรรม (อาจารย์กำลังทำวิจัยปริญญาเอกด้านภาษาศาสต์ประยุกต์ คณะศิปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)

ชื่อหัวข้อแหวกแนวและไม่เคยมีใครบรรยายหัวข้อนี้มาก่อนในประเทศไทย ฉะนั้นพลาดไม่ได้ต้องไปฟังว่ามีเนื้อหาอะไรบ้าง

จากการบรรยายสรุปได้ดังต่อไปนี้

การสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตมีแบบreal-time เช่นการแชทผ่าน line หรือ whatsapp และการสื่อสารแบบไม่ได้มีการโต้ตอบทันทีเช่น อีเมล เว็บบอร์ด

ลองสังเกตภาษาแชทจะเห็นว่าเป็นการใช้ภาษาพูด (ในการเขียนหรือพิมพ์เพื่อแชท) ตัดคำให้สั้นลงใช้สัญลักษณ์ (emoticon)พิมพ์ตัวเลขซ้ำ (555) เปลี่ยนการสะกดคำเป็นต้น

จากคลิปข่าวVoice TV (ไม่ระบุวันที่)คุณณัฐ พยงค์ศรี นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการของกระทรวง ICT แยกประเภทของปัญหาที่เกิดจากการใช้อินเทอร์เน็ตว่ามี (ก) หมิ่นประมาทให้ร้าย (ข) สวมรอยบุคคล (ค) การฉ้อโกงจากการซื้อขายทางอินเทอร์เน็ต และ (ง)การหาคู่บนเว็บไซต์

ตัวอย่างกรณีที่เกิดขึ้นเช่น

- การกล่าวว่าคนคนหนึ่งไม่สวยอาจเป็นการกล่าวร้ายได้

- การแชร์ภาพว่าเป็นบุคคลอันตรายแม้จะเป็นการล้อเล่นแต่เมื่อมีการส่งต่อไปมากขึ้นบุคคลในภาพก็ได้รับความเสียหาย

- การสร้างโพรไฟล์แทนคนอื่นอย่างในกรณีแฟนคลับของดารา สร้างหน้า FB แทนดาราเพื่อคอยอัพเดทแฟนๆว่าดาราทำอะไรที่ไหน ถึงจะทำด้วยความชอบแต่ดาราอาจจะไม่ชอบก็ได้

- การทำหน้า FBปลอม ปลอมเป็นคนอื่นแล้วเชิญชวนเพื่อนของเจ้าของ FB ที่แท้จริงให้เป็นเพื่อน จากนั้นก็เริ่มหาเรื่องทะเลาะกับเพื่อนๆเสมือนว่าคนชวนทะเลาะคือเจ้าของ FB ที่แท้จริง

- การใช้เลขที่บัญชีของคนอื่นมาทำธุรกรรมฉ้อโกงทั้งที่เจ้าของเลขที่บัญชีไม่รู้เรื่อง

- การประกาศหมายเลขโทรศัพท์มือถือของคนอื่นแล้วบอกว่าคนนั้นขายบริการ

ดังนั้นคงจะดีถ้าผู้สื่อสารรู้วิธีจับโกหกเพื่อป้องกันภัยเหล่านี้

การจับโกหกสามารถทำได้โดยใช้เครื่องมือต่างๆเช่น เครื่องจับเท็จ เครื่องตรวจการเคลื่อนไหวของดวงตา เป็นต้นแต่การบรรยายวันนี้จะพูดถึงการจับโกหกออนไลน์ซึ่งไม่มีอวัจนภาษามาเกี่ยว(ทำให้ประเมินจากสีหน้า น้ำเสียง ท่าทาง แววตา ไม่ได้เลยว่าโกหกหรือเปล่า)

แล้วเราใช้ภาษาในการจับโกหกออนไลน์ได้หรือไม่

คำตอบคือทำได้ ในต่างประเทศมีการพัฒนาโปรแกรมภาษาศาสตร์เพื่อการจับโกหกแล้ว เช่น

- Linguistic Inquiry and WordCount (LIWC) ซึ่งเป็นการนับความถี่ของประเภทของคำ(คำสรรพนามแทนตัวเอง คำแสดงบริบททางสังคม คำแสดงว่าอารมณ์ดี คำแสดงว่าอารมณ์ไม่ดีคำยาวๆ ที่มี 6 ตัวอักษรขึ้นไป)

- Corpus analysis หรือคลังภาษา

- Agent 99 Analyzer ที่FBI ใช้อยู่ โดยมีความแม่นยำถึง 99%

แล้วจะให้อะไรเป็นเกณฑ์วัดว่าใครโกหก

คนโกหกจะ(1) ใช้สรรพนามแทนตัวเองน้อยมาก(2) ใช้คำแสดงว่าอารมณ์ไม่ดีบ่อย (3) ลักษณะของภาษาที่ใช้ไม่ซับซ้อน(ใช้คำที่พยางค์น้อยกว่า 3 พยางค์) ไม่มีความหลากหลาย(คนโกหกมัวแต่คิดว่าจะโกหกยังไงเลยไม่มีเวลาคิดคำสวยๆ) (4) ใช้คำกริยาช่วยเยอะ(เช่น อาจจะ น่าจะ ควรจะ) และ (5) ใช้คำฟุ่มเฟือย(คนโกหกมักให้รายละเอียดเกินจริง) พิมพ์แชทแล้วกดส่งเร็ว(เพื่อทำให้ดูเนียนว่าไม่ได้แต่งเรื่อง)

ดูตัวอย่างที่อาจารย์ มณฑรัตน์ ให้ไว้ด้านล่างแล้วตอบว่าเรื่องไหนเป็นเรื่องจริงและเรื่องไหนเป็นเรื่องโกหก

What is your favorite movie?

คำตอบที่1 - Whenever someone asks me aboutmy favorite movie I have ever seen, I would say that’s “The Game”. I’m not a big fan of movies and I can’t evenremember the name of the director and the actors and actresses in that moviebut I just like it and enjoy watching it over and over! The movie in fact ha sa brilliant theme and anoble story which one can easily feel its implication in today’s everyday life. And as the name implies “The Game”, one canconclude that the life is totally a game which we all are playing it in withouteven knowing it. The movie shows howtrivial coincident lead to big troubles and how funny these troubles are whenyou come to know that all are part of a game!.

What is your favorite movie?

คำตอบที่2 – When I think of a movie Ilove, the first movie that comes to mind is the Titanic. It was amazing at its time and its’definitely unforgettable. Millions ofpeople still love it and enjoy watching it over and over. Many people believe that the success of themovie is the ability of director to show a true love on a famous ship whichmakes a tragedy! A love which won’t takelong! That makes Titanic an amazingromantic tragedy which is difficult to forget. I have still many of the movie’s scenes in mind which gives me a goodfeeling whenever I ritualize it. Overall, I’m sure Titanic will remain a great movie in the history thatpeople in 2020 will like that as much as the people have watched that in thepast and the present!

วิธีเช็คง่ายๆกด F7 หน้าจอจะแสดง wordcount ให้ดูหัวข้อ Readability Statistics บรรทัดGrade Level จะเห็นว่าคำตอบที่1 อยู่ระดับ 11 ในขณะที่คำตอบที่ 2อยู่ในระดับ 8 หมายความว่าคำตอบที่ 1 ใช้คำและลักษณะโครงสร้างภาษาที่ยากกว่าซึ่งเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของเรื่องที่เป็นเรื่องจริง ส่วนปัจจัยอื่นๆให้ดูตามเกณฑ์ด้านบนประกอบ

อะไรคือตัวบ่งบอกการโกหกในภาษาไทย

ในการสื่อสารแบบเห็นหน้าคนที่พูดความจริงจะใช้สรรพนามเฉพาะเพื่อแทนตัวเองจะบอกรายละเอียดสิ่งที่พูดได้ชัดเจน เจาะจงเวลาได้ส่วนคนโกหกจะตอบแบบย้อนถามเพื่อเลี่ยงการตอบคำถามและชอบใช้คำที่แสดงความรู้สึกที่ไม่ดี

ส่วนการสื่อสารออนไลน์นั้นคนโกหกจะชอบใช้คำที่ติดปาก เช่น เอ่อ คร้า อิอิ 555 ชอบใช้คำว่า น่าจะ อาจจะ คาดว่า มักจะไม่แนะนำตัวเองกับผู้พูด คอยล้วงความลับของคนที่คุยด้วยแต่ไม่ยอมเล่าเรื่องตัวเอง ชอบถามคำถามแบบปิด(เช่น เรียนที่มหาวิทยาลัย ก ใช่มั้ย แทนที่จะถามว่า เรียนอยู่ที่ไหน) และที่สำคัญคือคนโกหกจะชอบจีบ หว่านเสน่ห์ (ภาษาชาวบ้านคือ ขี้หลี)

สำหรับคนที่สนใจอ่านงานวิจัยเพิ่มเติมให้สืบค้นเรื่อง Cyber Deception: Linguistic Analysis of Truthful and DeceptiveMessages in Thai Online Chat (Rungruangthum & Watson Todd, 2011) และ Detection Deception-Hidden Truth and Lies in Thai Speech(Rungruangthum & Watson Todd, 2011)

อาจารย์มนฑรัตน์ แนะนำให้ว่าหากต้องการทำวิจัยด้านนี้ อาจไม่ต้องทำกับคนก็ได้อาจเลือกวิจัยจากงานเขียน เช่น เรื่อง “อำ” ของคุณวินทร์ เลียววาริณ ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องจริงผสมโกหกโดยลองวิเคราะห์ลักษณะการเขียนว่า 2 แบบนี้เขียนต่างกันยังไง

สนใจพูดคุยเรื่องการแปลอีเมลมาที่ natchaon@yahoo.com

ณัชชาอร ชูเชิดศักดิ์ NAATI No. 67061 ออสเตรเลีย




Create Date : 28 มกราคม 2556
Last Update : 29 กรกฎาคม 2556 22:06:14 น.
Counter : 10553 Pageviews.

2 comments
  


มีสาระดีจัง...ชอบๆ
โดย: YuZuPoN วันที่: 6 มีนาคม 2556 เวลา:14:03:35 น.
  
อาจารย์มณฑรัตน์ เจ้าของงานวิจัยก็อีเมลมาหาเมื่อวานนี้ ได้รับลิงค์เกี่ยวกับงานเขียนของอาจารย์ แนะนำให้อ่านเพิ่มทีนี่นะคะ

//thaigrads.wordpress.com/
โดย: แน้ท (ณัฎฐินี ) วันที่: 7 มีนาคม 2556 เวลา:9:11:19 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
มกราคม 2556

 
 
1
2
3
4
5
6
7
9
10
11
12
13
14
15
16
18
19
20
21
22
23
24
25
27
29
30
31
 
 
All Blog