หลักสูตรการแปล

หลักสูตรการแปล

มีผู้อ่านอีเมลเข้ามาถามเรื่องหลักสูตรการแปล คำถามคือ

1. หลักสูตรการแปลในเมืองไทยในเรื่องของคุณภาพการเรียนการสอนที่เป็นที่ยอมรับ มีแค่ที่ จุฬา กับ ธรรมศาสตร์หรือเปล่าครับ

ตอบ มีหลายมหาวิทยาลัย เท่าที่รู้คือ

- อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต(การแปลอังกฤษ-ไทย) จุฬาฯ

- ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การแปลอังกฤษ-ไทย) ธรรมศาสตร์

- ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสื่อสารและการพัฒนา(เอกการแปล) มหิดล

- ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การแปลภาษาอังกฤษ - ไทย) รามคำแหง

- ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การแปลเพื่อการศึกษาและธุรกิจ) พระจอมเกล้าพระนครเหนือ

การจะตอบว่าคุณภาพการเรียนการสอนที่ไหนที่เป็นที่ยอมรับ ต้องดูว่าเอามาตรฐานไหนมาเทียบ ที่เราเคยเขียนไปในบล็อกเก่าๆ เราพูดถึงมาตรฐาน NAATI ออสเตรเลีย ซึ่งกำหนดว่าจะต้องเรียนทฤษฎีการแปลอย่างน้อย 210 ชั่วโมงและต้องเรียนวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการแปลอีก 400 ชั่วโมง นั่นแปลว่าถ้าหลักสูตรที่ผู้อ่านไปเรียนมีวิชาหรือชั่วโมงเรียนไม่ครบตามที่กำหนด ก็จะเอาวุฒิไปเทียบกับมาตรฐานที่ต้องการไม่ได้

จากหลักสูตรข้างบน เท่าที่ดูรายชื่อวิชาที่เรียนพระนครเหนือมีเรียนวิชาการแปลเบื้องต้น ซึ่งระบุว่าสอนทฤษฎีการแปลด้วย และที่พระนครเหนือนี้น่าสนใจตรงที่เป็นหลักสูตรการแปลเพื่อธุรกิจ มีวิชาการแปลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการแปลเอกสารเทคนิค ซึ่งเราเข้าใจว่าที่อื่นไม่มีสอน

ทฤษฎีการแปลของจุฬาฯ จะอยู่ในวิชา Translation Studies ที่เรียนหลักการของ Newmark, Seleskovitch, Lederer, Nida, Jakobson และอีกมากมาย ที่นี่สอนวิชา corpus หรือterminology ด้วยนะ แถมตอนนี้มีวิชา localization ด้วย ทันสมัยมากๆ

มหิดลก็มีวิชาทฤษฎีและหลักการแปล ของมหิดลมีวิชาจรรยาบรรณและกฎหมายในวิชาชีพ ตรงนี้เราว่าน่าสนใจเพราะมหาวิทยาลัยอื่นไม่มีเปิดเป็นวิชาของมันเอง

รามคำแหงก็มีสอนวิชาเฉพาะอย่างการแปลด้านสังคมศาสตร์ นี่ก็แหวกแนวมีวิชาที่ทื่อื่นไม่มี

ของธรรมศาสตร์ก็มีวิชาแนวคิดและทฤษฎีแปล แต่รายวิชาอื่นเราหาไม่เจอว่าสอนอะไรบ้าง

ส่วนใหญ่ถ้าเรียนหลักสูตรการแปลโดยตรง จะไม่ค่อยมีปัญหา ปัญหาจะไปเจอกับคนที่เรียนหลักสูตรทั่วไป เช่นภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ภาษาศาสตร์ เวลา NAATI ตรวจคุณวุฒิ เขาจะไล่ดูรายวิชาว่าเรียนวิชาการแปลกี่หน่วยครบชั่วโมงที่กำหนดมั้ย ถ้าครบเขาก็ให้ใบคุณวุฒินะ ถ้าไม่ครบก็ไปเรียนเพิ่ม (ที่ไหนก็ได้) แล้วมาเทียบอีกรอบนึง

2. สำหรับที่ จุฬาการสอบเข้าศึกษาต่อ ผู้สมัครเรียน ควรพิจารณาปัจจัยหรือคุณสมบัติอะไรบ้างครับ

ตอบ แนะนำให้ถามที่จุฬาฯโดยตรง จะชัดเจนกว่า แต่สมัยที่เราไปสอบ ผู้สมัครภาษาอังกฤษดีๆทั้งนั้น แต่สอบภาษาไทย ตกกันระนาว สอบผ่านเข้าไปแล้ว อาจารย์ถึงเฉลยให้ฟังว่าคนส่วนใหญ่ที่มาสอบจะอ่อนภาษาไทย ซึ่งคนที่แปลเก่งๆ จะต้องเก่งภาษาไทยถ่ายทอดเป็น เดี๋ยวนี้ใครๆก็เรียนต่างประเทศ ฉะนั้นภาษาอังกฤษเข้าใจได้ ทะลุปรุโปร่งแต่ปัญหาคือเวลาอธิบายสิ่งที่ตัวเองเข้าใจให้คนอื่นฟัง หลายๆ คนจะอธิบายไม่ได้ ตัวเองรู้เรื่องอยู่คนเดียวว่างั้น ถ้าจะไปสอบ ขอให้อ่านหลักภาษาไทยเยอะๆ คำซ้ำคำซ้อน โครงสร้างประโยค ลีลาการเขียน การสะกด ระดับของคำ ฯ

3. วงการแปลเอกสาร ในต่างจังหวัดมีความต้องการ หรือขาดแคลน แค่ไหนครับ

ตอบ ข้อนี้ถามตรงใจมาก ในต่างจังหวัดที่จะต้องการบริการแปลงาน เราว่าน่าจะเป็นจังหวัดที่มีการติดต่อกับชาวต่างชาติเยอะเช่น

- ภูเก็ต นักท่องเที่ยวต่างชาติชอบมาจดทะเบียนสมรสที่นี่

- ขอนแก่น เขยฝรั่งทั้งนั้น

- เชียงใหม่ นักท่องเที่ยวเยอะอาจจะมีพวกคดีความ เอกสารราชการที่ต้องแปลให้ชาวต่างชาติ

- พิจิตร เหมืองทองคำต่างชาติเข้ามาทำงานเยอะ น่าจะมีแปลเอกสารเพื่อประกอบคำขอวีซ่าทำงาน

- อุบลราชธานี เดี๋ยวนี้มีผู้สมัครเรียนต่างประเทศเยอะมาก เห็นจากเอกสารวีซ่าที่ส่งเข้ามาแปลแทบทุกวัน

ส่วนผู้อ่านที่ถามมานั้น บ้านอยู่เชียงราย เหมาะมาก ที่จะไปเปิดกิจการแปลที่บ้านเกิด เพราะเดาว่าคู่แข่งน่าจะน้อยยิ่งถ้ามีใบรับรองคุณวุฒิ เช่น มีใบผู้เชี่ยวชาญศาลยุติธรรม ศาลจะเรียกใช้บริการล่าม หัวบันไดไม่แห้ง ไม่ว่าจะว่าจ้างผ่านทนายความหรือบริษัทแปล เห็นเพื่อนที่ศาลเรียกใช้บริการบอกว่าได้ค่าแรง บัลลังก์ละ 2,000 บาทอย่างต่ำ เพื่อนเราอีกคนนึงอยู่ภูเก็ต ผู้เชี่ยวชาญศาลที่นั่นรู้สึกจะมีเพื่อนคนนี้คนเดียว เงินไหลมาเป็นเทน้ำเทท่าเลยแหละ คนที่จะเป็นล่ามศาลในประเทศไทยไม่จำเป็นต้องมีใบล่าม ใช้ใบผู้เชี่ยวชาญการแปลของศาลยุติธรรมก็ได้

แต่ขอให้ระลึกไว้ว่าเดี๋ยวนี้ลูกค้าสามารถจ้างแปลผ่านอินเตอร์เน็ตได้ผู้แปลแค่ส่งเอกสารให้ทางไปรษณีย์ฉะนั้นต้องสร้างคุณค่าให้ลูกค้าอยากใช้บริการ จริงๆ การมีหน้าร้านในเขตธุรกิจก็เป็นปัจจัยสนับสนุนที่ดีอย่างหนึ่งแล้ว ถ้ามีคุณวุฒิด้วยก็ยิ่งดี จะได้รับความน่าเชื่อถือมากขึ้น

แนะให้กระจายความเสี่ยงด้วยอย่าหวังได้งานจากลูกค้าในพื้นที่อย่างเดียว ต้องเผื่อไว้ว่า ถ้าวันหนึ่งเกิดเหตุให้ไม่มีนักท่องเที่ยวไม่มีนักธุรกิจเข้ามาในจังหวัดที่ตัวเองทำกิจการเลย (เป็นไปได้นะเหมือนสึนามิลงภูเก็ต ธุรกิจซบไปหลายเดือน) จะประคองกิจการยังไง

นักแปลสามารถกระจายความเสี่ยงได้ด้วยการกระจายฐานลูกค้าอาจจะแบ่งกลุ่ม ลูกค้าต่างประเทศลูกค้าประเภทบริษัทแปล ลูกค้าประเภทบุคคล ลูกค้าประเภทบริษัทลูกค้าประเภทหน่วยงานราชการ การกระจายแหล่งที่มาของรายได้อย่างนี้ทำให้นักแปลมีรายได้หมุนเวียนต่อเนื่อง ถ้ากิจการซบก็จะไม่หมดงานทีเดียว ยังมีงานอื่นมาช่วยเรื่องรายได้บ้าง

สนใจพูดคุยเรื่องการแปลอีเมลมาที่ natchaon@yahoo.com

ณัชชาอรชูเชิดศักดิ์ NAATI No.67061 ออสเตรเลีย




Create Date : 02 กรกฎาคม 2556
Last Update : 29 กรกฎาคม 2556 10:31:29 น.
Counter : 11940 Pageviews.

3 comments
  

มาเยี่ยมชม มาทักทาย

มาอ่านเป็นความรู้ครับ

ขอบคุณครับ

อิอิ
โดย: อาคุงกล่อง วันที่: 3 กรกฎาคม 2556 เวลา:0:06:07 น.
  
ขอถามหน่่อยนะคะ แล้วถ้าเรียนปริญญาตรีรามคำแหง ที่ naati เค้าจะนับชั่วโมงเรียนให้ไหมคะ อย่างไรคะ ขอบคุณค่ะ ปล. ยังไม่ได้เรียนหรอกค่ะ อยากสอบถามดูก่อนค่ะ
โดย: Leenalilly (leenalilly ) วันที่: 14 กันยายน 2556 เวลา:11:03:22 น.
  
ของราม ไม่แน่ใจว่ามีวิชาทฤษฎีครบชั่วโมงมั้ย ต้องเรียน 210 ช.ม. นะคะ ถึงจะเทียบ NAATI ได้ หลายๆ มหาวิทยาลัยจะสอนไม่ครบ ช.ม. อย่าลืมดูเกณฑ์อื่นๆ ของ NAATI ด้วยนะคะ

ถ้าจะให้เทียบผ่านชัวร์ ต้อง ป.โท การแปล จุฬาฯ ค่ะ
โดย: Nat (Natchaon ) วันที่: 17 ธันวาคม 2556 เวลา:22:03:44 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
กรกฏาคม 2556

 
1
3
4
5
6
7
8
9
10
12
13
14
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
29
30
31
 
 
2 กรกฏาคม 2556
All Blog