หลักจรรยาบรรณ (ตอนที่ 1)

หลักจรรยาบรรณ (Code of Ethics)

วันนี้จะขอขยายความหลักจรรยาบรรณที่เคยพูดถึงไปแล้ว ซึ่ง AUSITกำหนดไว้ 8 ข้อ

1.การประพฤติตนอย่างผู้มีวิชาชีพ (Professional Conduct)

หมายความว่านักแปลหรือล่ามจะต้องประพฤติตนตามมาตรฐานการปฏิบัติ (standardof conduct) และมาตรฐานของผู้ประกอบวิชีพแปลและล่าม เช่น

- รับเฉพาะงานที่ตนเองมีคุณวุฒิหรือใบรับรอง ถ้ามีใบรับรองคุณวุฒิการแปลภาษาอังกฤษเป็นไทยก็รับได้เฉพาะงานแปลจากภาษาอังกฤษเป็นไทยไม่สามารถรับงานแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษได้

- ถ้าเป็นล่ามเมื่อต้องพบลูกค้า ให้แต่งตัวสุภาพถูกกาลเทศะอันนี้สำหรับล่ามไทยไม่ค่อยห่วงเพราะเราใส่ใจเรื่องพิธีการอยู่แล้ว ไปศาลก็ควรใส่สูท NAATI เองกำหนดให้ล่ามต้องใส่สูทหรือเสื้อผ้าสีเข้มเมื่อต้องไปปฏิบัติงานนอกสถานที่(น่าจะยกเว้นกรณีไปเป็นล่ามในถิ่นทุรกันดาร เช่น งานล่ามสำหรับผู้ลี้ภัย เป็นต้น)

- ก่อนเริ่มงานล่ามให้แจ้งลูกค้าเสมอว่าตัวเองมีหน้าที่อะไรบ้าง (มีหน้าที่ในการสื่อสารระหว่างภาษาเท่านั้นโดยไม่สามารถให้ความเห็นหรือคำแนะนำอื่นใดได้)

- กรณีรับงานจากบริษัทแปลภายหลังลูกค้าของบริษัทแปลมาติดต่อให้แปลเอกสารโดยไม่ต้องผ่านบริษัทแปลตามหลักจรรยาบรรณแล้ว นักแปลต้องแจ้งบริษัทแปลว่าลูกค้าของบริษัทมาติดต่อให้แปลหลายๆ กรณีบริษัทแปลจะระบุไว้อยู่แล้วว่านับจากวันทำสัญญาไปอีก 3 ปี 5 ปี หากมีลูกค้าของบริษัทมาติดต่อให้แปลนักแปลห้ามรับงานเว้นแต่จะได้รับการอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัทแปล(เหมือนพนักงานขายที่พอย้ายไปที่ใหม่ก็ห้ามขายสินค้าประเภทเดียวกันอีก 3 ปี 5 ปี)

2.การรักษาความลับของลูกค้า (Confidentiality)

หมายความว่านักแปลและล่ามต้องไม่เปิดเผยข้อมูลที่ได้มาระหว่างการทำงาน

- ข้อนี้นักแปลในประเทศไทยทำผิดกันมากโดยไม่รู้ตัว เช่นลูกค้ามีงานแปลจำนวนหน้าหรือจำนวนคำเยอะๆ ส่งให้นักแปล นักแปลรู้ว่าทำคนเดียวไม่ทันกำหนดส่งแน่ๆเลยกระจายงานให้เพื่อนๆ นักแปลช่วยทำเพื่อให้ส่งงานได้ทันเวลา นักแปลส่วนใหญ่ที่ทำอย่างนี้มักจะไม่ได้ขออนุญาตลูกค้าล่วงหน้าว่าจะต้องกระจายงานให้นักแปลรายอื่นแปล ถือว่าเป็นการประพฤติผิดเรื่องการรักษาความลับของลูกค้า แม้ว่าลูกค้าจะไม่ห้ามหรือไม่พูดอะไรนักแปลก็ไม่มีสิทธิเผยแพร่งานของลูกค้าให้ใครรู้ อันนี้ก็เหมือนเทปผีซีดีเถื่อน จับไม่ได้ ไม่ได้หมายความว่าทำได้

-ขอให้สังเกตท้ายอีเมลที่ลูกค้าบริษัทส่งมา จะเห็นว่ามักมีเงื่อนไขต่างๆระบุและบางครั้งรวมถึงการไมเปิดเผยข้อมูลที่อยู่ในอีเมลหรือเอกสารที่แนบมากับอีเมลนั้น ใครที่มาเจออีเมลนั้นก็อ่านไม่ได้เพราะไม่ใช่ผู้รับ ฉะนั้นถ้าตัวผู้รับเองเปิดอีเมลอ่านแล้วส่งอีเมลต่อหรือส่งเอกสารแนบต่อไปให้คนอื่นก็ถือว่าทำผิดเงื่อนไขที่ลูกค้ากำหนดไว้

- ถ้าเจอกรณีอย่างที่บอกไปข้างต้นถ้านักแปลขออนุญาตลูกค้าลูกค้าจำนวนไม่มากอาจจะอนุญาตโดยเปิดเผยในขณะที่ลูกค้าหลายรายอาจไม่ยอม เคยมีกรณีหนึ่งที่มีผู้โพสต์ลงพันธ์ทิพย์ว่ารับงานแปลคำฟ้องมา 80 หน้าแล้วแปลไม่ทัน ส่งต่อให้เพื่อนแปลโดยที่ตัวเองเป็นคนเซ็นรับรองคำแปลต่อมาทนายของคู่ความแจ้งว่าคำแปลนั้นไม่ถูกต้องและให้นักแปลไปขึ้นศาลเพื่อให้การกรณีนี้เดาว่า (ก)นักแปลคนนี้ไม่ได้แจ้งลูกค้าว่าต้องส่งต่องานแปลให้เพื่อนช่วยแปลไม่อย่างนั้นไม่ทันใช้ในศาลแน่ๆและ(ข) นักแปลคนนี้ลืมเรื่องความรับผิดชอบในหน้าที่ตัวเองเป็นคนเซ็นรับรองคำแปลแต่งานนั้นคนอื่นเป็นคนแปลก็เหมือนคนอื่นกู้เงินแต่ตัวเองเป็นคนเซ็นกู้ พอคนกู้หนี้ไป ตัวเองก็ต้องตามใช้หนี้ให้เพราะเป็นคนเซ็นเอกสาร ไม่แน่ใจว่าคดีจบลงกันยังไง 

- เราเองก็มีประสบการณ์ตรงเรื่องนี้เราเคยลงเลขคดีต่างๆ ที่เราเคยแปลไว้ในประวัติการทำงานทนายความที่รู้จักบอกว่าให้ลบออกเพราะแค่เลขคดีก็สามารถค้นได้แล้วว่าเป็นคดีอะไรเนื้อหายังไง อีกครั้งหนึ่งเราตัดเนื้อหาย่อหน้าสั้นๆของเอกสารหนึ่งไปลงเป็นตัวอย่างงานแปลทนายความก็บอกให้ลบออกอีกเพราะคดีนั้นเป็นคดีเดียวในประเทศไทยที่มีใครก็ตามที่ใช้คำค้นเรื่องนี้จะเจออยู่เพียงคดีเดียว ซึ่งคดีนี้เป็นคดีปกปิดไม่สามารถให้ใครรู้ได้เลยว่าใครเป็นคู่ความบ้างเนื่องจากจะทำให้เสียชื่อเสียง

- กรณีรับงานจากบริษัทแปลบางบริษัทอาจไม่อนุญาตให้ลงชื่อลูกค้าของบริษัทไว้ในประวัติการทำงาน เช่นปีนี้เราได้งาแปลคู่มือพนักงานของธุรกิจเสื้อผ้าที่มีชื่อเสียงบริษัทแปลไม่อนุญาตให้ระบุชื่อยี่ห้อเสื้อผ้า ให้ระบุแค่เพียงว่าเป็นธุรกิจค้าปลีกเสื้อผ้า

- ถ้านักแปลรับงานในฐานะบริษัทแปลก็ต้องบอกลูกทีมเรื่องข้อกำหนดในการรักษาความลับ ทุกคนจะปฏิบัติได้ถูกต้อง

- การใช้ googletranslate ล่าสุดนี้มีบริษัทแปลจากต่างประเทศส่งสัญญามาให้เซ็นว่าจะไม่ใช้ google translate แปล แสดงว่าต้องมีนักแปลจำนวนไม่น้อยที่ใช้วิธีนี้ช่วยแปล การตัดแปะประโยคลงไปในโปรแกรมช่วยแปลนี้เป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นความลับ และเมื่อประโยคต่างๆ เข้าไปอยู่ใน googletranslate แล้ว มันจะเข้าไปอยู่ในความจำของระบบลูกค้าตามลบได้ยาก ฉะนั้นอย่าใช้โปรแกรมแปลให้อ้างอิงพจนานุกรมที่เชื่อถือได้เท่านั้น

- ข้อยกเว้นเดียวที่สามารถเปิดเผยความลับได้คือการเปิดเผยความลับตามที่กฎหมายกำหนด เช่นลูกค้าสารภาพกับล่ามว่าเป็นคนทำร้ายผู้เสียหายจริง แต่ตอนที่ให้ปากคำตำรวจลูกค้าไม่บอก อย่างนี้ล่ามก็ต้องบอกตำรวจว่าลูกค้าสารภาพแล้วแต่สารภาพเป็นภาษาตัวเองเพื่อไม่ให้ตำรวจรู้ หรือกรณีแปลหนังสือแล้วเป็นหนังสือลามอนาจารหากเป็นงานแปลในประเทศไทย อย่างนี้มีทางเลือกคือ จะปฏิเสธงาน(เพื่อรักษาจรรยาบรรณข้อ การวางตนเป็นกลาง) หรือจะแจ้งตำรวจ (ฝ่าฝืนจรรยาบรรณข้อการรักษาความลับ)

3.การรู้ถึงขอบเขตความสามารถของตน (Competence)

- ถ้าลูกค้าจ้างแปลงานที่เกี่ยวกับสาขากฎหมายแล้วตัวเองไม่มีความรู้ด้านนี้หรือไม่เคยมีประสบการณ์ด้านนี้หรือมีแต่ไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่ อย่ารับงาน เพราะถ้ารับแล้ว จะมีข้อสงสัยตามมาว่างานที่แปลนั้นถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ จะทำให้วิชาชีพแปลเสื่อมเสีย

- คำว่า accreditedและ recognised นั้นไม่เหมือนกันคุณวุฒิที่สามารถประกอบวิชาชีพได้คือ คุณวุฒิ accreditation ระดับ3 (Professional Level) ขึ้นไปเท่านั้น

-กรณีที่ลูกค้าขอข้อมูลหรือความช่วยเหลือเพิ่มเติมนักแปลหรือล่ามสามารถช่วยได้โดยต้องไม่ประพฤติผิดหลักจรรยาบรรณ เช่นลูกค้าขอให้ทำเอกสารวีซ่าแทนและคิดเงินเพิ่มนอกเหนือจากค่าแปลเสมือนเป็นนักแปลเป็นตัวแทนการเข้าเมือง(migration agent) อย่างนี้นักแปลไม่สามารถรับได้เพราะไม่มีคุณวุฒิ สิ่งที่ทำได้คืออ่านข้อมูลจากเว็บไซต์ของกระทรวงตรวจคนเข้าเมืองและการเป็นพลเมือง(DIAC) และอธิบายให้ลูกค้าฟังว่าขั้นตอนเป็นยังไงต้องใช้เอกสารอะไร ต้องมีคุณสมบัติอะไร

สนใจพูดคุยเรื่องการแปล อีเมลมาที่ natchaon@yahoo.com

ณัชชาอรชูเชิดศักดิ์ NAATI No. 67061 ออสเตรเลีย



Create Date : 30 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 28 สิงหาคม 2557 6:31:01 น.
Counter : 4305 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
พฤศจิกายน 2555

 
 
 
 
1
2
3
4
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
19
20
22
23
25
28
29
 
 
All Blog