เรียนแปลหรือไม่เรียนดี


เรียนแปลหรือไม่เรียนดี

สืบเนื่องจากมีเวลาว่างบ้าง เลยได้อ่านกระทู้เก่าๆ มีความเห็นหลายอย่างที่น่าสนใจ  ความเห็นอย่างหนึ่งคือ มีคนกล่าวว่าคนที่เรียนโทการแปลจบแล้วส่วนใหญ่จะไม่ได้ทำงานแปลโดยตรง อืม น่าสนใจ

เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมามีการจัดเลี้ยงรุ่นนักเรียนโทการแปลรุ่น 3 ที่แถวทองหล่อเพื่อฉลองปีใหม่และสังสรรค์ เรานั่งบันทึกสถิติในใจระหว่างที่เพื่อนๆ กำลังเมาท์แตกกันว่าใครทำอะไรกันบ้าง  

พี่ อ. ทำงานเป็น บ.ก. เกี่ยวกับการจัดแสดงงานออกแบบ   พี่ ป. เป็นนักแปลนิยายชื่อเสียงโด่งดัง  พี่ น. เขียนนิยายขายดีเป็นเทน้ำเทท่า  พี่ ม. ทำงานองค์กรไม่หวังกำไรระหว่างประเทศเหมือนเดิม  พี่ อ.ทำงานบริษัทสินค้าผู้บริโภคอยู่ต่างประเทศ  เพื่อน ต. เคยเล่นโฆษณาหลายชิ้นแต่ปัจจุบันทำงานประจำที่บริษัทลอจิสติกส์  น้อง ต. ทำงานบริษัทเสิร์ชเอนจิ้นยักษ์ใหญ่อยู่ต่างประเทศ แนวๆ localization  เพื่อน ก. เรียนต่อ จบก็กลับมาทำงานองค์กรไม่หวังผลกำไรของญี่ปุ่น Harvard  เพื่อน ป. จบโทการแปล ปรากฎว่าเรียนทนายต่อ ตอนนี้เป็นทนายความไปแล้ว  เราเองจบแล้วก็ทำงานแปลมาเรื่อยๆ ตอนนี้เป็นนักแปลเต็มเวลา

เห็นสถิติคนเรียนจบแล้วมาทำงานแปลน้อยอย่างนี้แล้ว  จะเรียนการแปลดีมั้ย

หลายๆ คนที่เรียนแปลแล้วรวมทั้งเราด้วย เห็นว่าการเรียนแปลทำให้คนเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการแปลเพิ่มขึ้น สามารถวิเคราะห์ต้นฉบับเพื่อเตรียมการแปลได้ (วิชา discourse และ วิชา translation studies) รู้วิธีจัดการคำศัพท์ (วิชา terminology) รู้จักใช้เครื่องมือในการแปล (การใช้ CAT tools) นำทฤษฎีที่เกี่ยวข้องไปปฏิบัติได้ (วิชา practicum) แต่จะเรียนหรือไม่เรียนดี ต้องชั่งน้ำหนักเอง เช่น ค่าเรียนแพงและใช้เวลาเรียนนานอีกทั้งการบ้านก็เยอะ จะไหวมั้ย ถ้ามัวแต่เรียน ก็จะเบียดเวลาหาเงิน แต่ถ้าคนสอนเก่ง ทฤษฎีแน่น จบแล้วมีคุณวุฒิทำให้น่าเชื่อถือ ก็น่าเรียนใช่มั้ย

ถ้าอยากเป็นนักแปลจำเป็นต้องเรียนแปลไหม

ถ้าจะแปลหนังสือสำนักพิมพ์มักจะไม่สนใจว่าเรียนแปลมาหรือเปล่าเนื่องจากผู้แปลต้องส่งตัวอย่างงานแปลให้ บ.ก. พิจารณา แต่ก็ควรมีพื้นฐานด้านภาษาที่ดี ตีความได้ และใช้ภาษาได้ดี ถ้าเคยมีประสบการณ์แปลมาอยู่แล้ว มันก็คือการเรียนแปลโดยที่ไม่รู้ตัวนั่นเอง
สำหรับคนที่เน้นแปลงานเอกสารและโดยเฉพาะคนที่รับงานจากบริษัทต่างประเทศ หลายๆบริษัทจะกำหนดว่านักแปลที่จะสมัครรับงานในสังกัดต้องจบการแปลมาและบางที่กำหนดว่าต้องทำงานแปลมาอย่างน้อยกี่ปี ในขณะที่บางแห่งกำหนดว่าไม่ต้องเรียนแปลก็ได้แต่ต้องมีใบรับรองคุณวุฒิที่กำหนด เช่น ต้องขึ้นทะเบียนผู้เชี่ยวชาญศาล เป็นต้น  ข้อกำหนดพวกนี้หน่วยงานกำหนดตามมาตรฐานบางอย่าง เช่น  ISO 17100:2015 - Translation services ก็จะมีข้อกำหนดของหน่วยงานที่ขอรับ ISO ซึ่งก็ต้องนำข้อกำหนดมาใช้ในบริษัทรวมถึงผู้รับจ้างคือฟรีแลนซ์อย่างเราๆ ท่านๆ  

ฉะนั้นในระยะยาวถ้าต้องการยกระดับวิชาชีพและเพิ่มมูลค่าให้ตัวเอง เรียนเถอะถ้างบถึง มีเวลา และใจสู้เพราะการบ้านเยอะอยู่นะ  คนที่เรียนแปลจะได้เปรียบคนที่ไม่ได้เรียนอย่างหนึ่งคือจะทำงานแปลโดยพิจารณาทุกปัจจัยได้รอบด้าน มองหาเหตุผลในการเลือกคำมาใช้ในงานแปล คือเวลาจะใช้คำ จะมีเหตุผลที่น่าเชื่อถือรองรับ ไม่ใช่เปลี่ยนคำที่ใช้ตามอารมณ์โดยไม่สามารถอธิบายให้เจ้าของงานเข้าใจว่าทำไม 
  
เรียนที่ไหนดี

เห็นมีบอร์ดหนึ่งเถียงกันเรื่องสถาบันของรัฐที่นั่นมีชื่อเสียงมากกว่า หางานทำง่ายกว่า ถ้าไม่ใช่ที่นี่ฝีมือจะด้อยกว่า เถียงกันเมามันด้วยภาษาพ่อขุน ส่วนตัวแล้ว เราว่าที่ไหนก็ได้แต่ให้ดูวิชาที่เรียน อาจารย์ผู้สอนการรับรองคุณวุฒิ ชื่อเสียงของสถาบัน คิดให้ยาวๆว่าจะเรียนไปทำอะไร ถ้าจะเรียนเพื่อ ควรเลือกสถาบันที่มีชื่อเสียงและมีผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญ หน่วยงานรับรองคุณวุฒิบางประเทศกำหนดว่าคนที่จะขอรับรองวุฒิต้องจบจากสถาบันการศึกษาที่รัฐบาลรับรองหมายความว่าถ้าไปเรียนตามคอร์สที่บริษัทแปลเปิดสอนเอง หน่วยงานฯ จะไม่รับรองคุณวุฒิให้ ฉะนั้นตรวจสอบหน่วยงานเหล่านี้ก่อน เช่น ถ้าอยากได้ใบรับรองคุณวุฒิของญี่ปุ่น (ญี่ปุ่นไทย ญี่ปุ่นอังกฤษ ก็แล้วแต่) เขากำหนดว่าต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง แล้วค่อยมาหาที่เรียนแปลที่เหมาะสม

ถ้าไม่เรียนกับสถาบันจะเรียนรู้ด้วยตัวเองได้มั้ย

ได้สิ ถ้าคนเราใฝ่รู้ อะไรมันก็ทำได้หมด  จะมีกี่คนที่มานั่งอ่านทฤษฎีการแปลก่อนเริ่มลงมือแปล ทั้งของ Danica Seleskovitch และ Peter Newmark, Mona Baker, Susan Bassnette, Katharina Reiss เราอ่านมาหมดแล้ว แต่ตอนเรียนน่ะมันไม่ get เนื้อหามันนามธรรมเลยทำให้เข้าใจยากมาก แต่พอเริ่มทำงานแปลไป  สมองมันจะดึงที่เรียนๆ มาออกมาใช้เอง ปัจจุบันนี้เข้าใจถ่องแท้หมดแล้ว

วิธีเรียนรู้ด้วยตัวเองง่ายๆ คือ ลงมือแปล แล้วหาคนมาอ่านเพื่อออกความเห็น  หรือไปขอฝึกงานในหน่วยงานที่ต้องมีการแปลเอกสาร ซึ่งมีเยอะแยะ ธนาคารก็ต้องแปลระเบียบต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าอ่าน ตลาดหลักทรัพย์ก็ต้องแปลกฎที่ออกมาให้หน่วยงานนำไปปฏิบัติ หลายบริษัทก็ต้องมีแปลคู่มือของสาขาแม่เพื่อให้พนักงานในสาขาพื้นที่อ่าน หรือแม้แต่สมัครกับบริษัทแปลเลย  แต่ฝึกงานนี่ต้องมีพี่เลี้ยงคอยตรวจเช็คด้วยนะ เหมือนทำการบ้าน ถ้าทำผิดแล้วไม่มีคนแก้มาให้ ก็จะไม่รู้ว่าคำตอยที่ถูกมันคืออะไร

สนใจพูดคุยเรื่องการแปล อีเมลมาที่ natchaon@yahoo.com

ณัชชาอร ชูเชิดศักดิ์
 
ปรับปรุงเนื้อหาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2563




Create Date : 17 มกราคม 2556
Last Update : 27 พฤษภาคม 2563 7:14:26 น.
Counter : 8033 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
มกราคม 2556

 
 
1
2
3
4
5
6
7
9
10
11
12
13
14
15
16
18
19
20
21
22
23
24
25
27
29
30
31
 
 
All Blog