ฟังราชบัณฑิต
ฟังราชบัณฑิต

เมื่อปีที่แล้วมีข่าวเรื่องการปรับปรุงพจนานุกรมของราชบัณฑิตฉบับ พ.ศ. 2554 เป็นครั้งที่สอง ซึ่งฉบับปรับปรุงใหม่นี้ มีคำศัพท์ประมาณ 39,000 คำ รวมทั้งมีคำศัพท์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ในการพัฒนาทรัพยากรของประเทศเช่น กังหันชัยพัฒนา, แกล้งดิน แก้มลิง ฯลฯ และมีภาษาปากและภาษาที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันด้วย

จริงๆ ราชบัณฑิตมีความพยายามจะปรับปรุงพจนานุกรมเป็นระยะ อย่างปี 2555 มีการสำรวจความคิดเห็นเรื่องการแก้คำศัพท์ 176 คำที่เป็นคำจากภาษาต่างประเทศให้ตรงกับเสียงอ่านเช่น เทนนิส-เท็นนิส, แบคทีเรีย-แบ็คทีเรีย, ไนต์คลับ-ไน้ต์ขลับ, คอร์ด-ขอร์ด, ซัลเฟต-ซัลเฝต, กอริลลา-กอริลล่า, แกมมา-แกมม่า, เลเซอร์-เลเซ่อร์, โควตา-โควต้า, ชอล์ก-ช้อล์ก, ซอส-ซ้อส, ดราฟต์-ดร๊าฟต์, ดัตช์-ดั๊ตช์, กราฟ-กร๊าฟ, เซนติเมตร-เซ็นติเม้ตร, เทคโนโลยี-เท็คโนโลยี่, แทรกเตอร์-แทร็ก เต้อร์ (อ่านข่าวเต็มที่นี่ //news.sanook.com/1145382/ )

พอตามไปอ่านคอมเมนท์ในเว็บอื่นเรื่องการแก้คำศัพท์176 คำที่เป็นคำจากภาษาต่างประเทศให้ตรงกับเสียงอ่าน บางคนมาตอบเข้าประเด็นการเมืองเสื้อเหลืองเสื้อแดงซะงั้น(อ้างว่านายกฯ ในขณะนั้นใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้อง เลยต้องมีการชำระภาษา) บางคนก็เห็นด้วยเพื่อจะได้อ่านได้ถูกต้องตามเสียงภาษาอังกฤษ บางคนคิดว่า ใช้มายังไงก็ใช้ไปอย่างงั้นดีแล้ว เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา มันจะงง

และในปีเดียวกัน มีการออกพจนานุกรมคำใหม่เล่ม4 เบื้องต้น คำที่ได้คัดเลือกเพื่อบรรจุลงในพจนานุกรมคำศัพท์ใหม่เล่มล่าสุดมีอาทิ "กรรมสะสมไมล์","กระบือบำบัด" (ควายบำบัดเด็กออทิสติก), "กองร้อยน้ำหวาน" (ตำรวจจราจรหญิงในยุคบุกเบิก), "กอดเสาเข่าทรุด" (เกิดขึ้นจากเหตุการณ์อุทกภัยในปี2554 หลังจากประชาชนกลับเข้าไปบ้านเมื่อเห็นสภาพความเสียหายมากมายถึงขั้นเกิดอาการกอดเสาเข่าทรุด), "กากๆ" (คำศัพท์ที่วัยรุ่นนิยมใช้ในอินเตอร์เน็ตโดยเป็นการดูถูกว่าเป็นคนที่ทำตัวไม่ค่อยมีประโยชน์), "กิจกาม" (กิจกรรมมุ่งเรื่องเพศสัมพันธ์อย่างเดียว) (อ่านข่าวเต็มที่นี่//www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1349237253 )

ที่เราเขียนเรื่องราชบัณฑิตวันนี้เพราะเราเพิ่งมีเวลาได้อ่านหนังสือก่อนนอน เล่มที่อ่านก่อนนอนคือ คู่สร้างคู่สมซื้อเก็บไว้เรื่อยๆ แต่อ่านไม่ทันเพราะไปต่างประเทศบ่อย ช่วงนี้เลยจะรีบอ่านให้หมดเพื่อนำไปบริจาคให้คนอื่นอ่านบ้าง

คู่สร้างคู่สม ฉบับที่อ่านเมื่อคืนคือฉบับวันที่29 ส.ค. 57 หัวข้อ “น่าเศร้า เด็กไทยเปิดพจนานุกรมน้อยกว่าเปิดดิกชันนารี” มีเนื้อหาส่วนที่คู่สร้างคู่สม สนทนานอกรอบกับ ศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิตซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการชำระพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งน่าสนใจ

“บางคนถามมาว่าทำไมคำนั้นไม่มีคำนี้ไม่มีในพจนานุกรม ทำไมพจนานุกรมถึงไม่บรรจุคำโน้นคำนี้ไว้…ที่ไม่มีเป็นเพราะว่าคำนั้นยังไม่ได้ใช้กันอย่างแพร่หลายติดต่อกัน5 ปี ต้องใช้กัน 5 ปีก่อนถึงจะใส่เข้าไปได้ อย่างคำศัพท์สมัยใหม่ เช่น คำว่า ชิว คำว่า เกรียน นี่ต้องรอ 5 ปีถ้ามันไม่ตายไปเสียก่อนก็จะได้เห็นกัน

….กว่าจะบรรจุคำหรืออธิบายคำศัพท์แต่ละคำได้ไม่ใช่ว่าจะทำกันได้ง่ายๆ เช่น คำว่า เพชรบุรี จะใส่คำอ่านว่า เพ็ด-ชะ-บุ-รี ก็ได้ เพ็ด-บุ-รี ก็ได้ ถามว่าอันไหนผิดอันไหนถูก ตอบลำบากเพราะว่าอะไรที่ไม่ถูกก็ไม่จำเป็นต้องผิด เพ็ด-บุ-รีอ่านไม่ถูกแต่ก็ไม่ผิด มันเป็นคำนิยม เราต้องยอมรับ

เรื่องการบรรจุคำเข้าไปในพจนานุกรมขอยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ จากกรณีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ …พระองค์ท่านทรงเป็นห่วงเรื่องการใช้ภาษาไทยของเด็กไทยและอยากให้คนไทยใช้คำไทย หรือคิดคำไทยขึ้นมาใช้เอง เช่น คำว่า คอมพิวเตอร์ ….พระองค์ช่วยราชบัณฑิตคิดว่าควรจะใช้คำว่าสัณจินตกรณ์ และทรงให้ความเห็นว่า คำว่า คณนากลศาสตร์ คณิตกลศาสตร์ ที่คิดขึ้นมาไม่ใช่ความหมายที่แท้จริงของคำว่า คอมพิวเตอร์

ราชบัณฑิตก็นำคำว่าสัณจินตกรณ์ ของพระองค์มาเข้าที่ประชุมกัน แต่สุดท้ายเมื่อไม่เป็นที่นิยมคำนี้ก็ตกไป ไม่ได้รับการบรรจุในพจนานุกรม ทั้งๆที่เป็นคำที่พระองค์ทรงพระราชทานมา

นับตั้งแต่มีราชบัณฑิตตั้งแต่ปีพ.ศ. 2476 มีการจัดทำพจนานุกรมทั้งหมด 4ฉบับคือ ปี 2493 ปี 2525 ปี 2542 และปี 2554 ของปี 2554 นี้พิมพ์ล่าสุดเป็นครั้งที่ 2….เป็นฉบับที่สมบูรณ์ที่สุดที่ราชบัณฑิตเคยชำระมา”

คนที่สนใจ หาซื้อพจนานุกรมของราชบัณฑิตฉบับ พ.ศ. 2554 ฉบับพิมพ์ครั้งที่สอง ได้จากร้านหนังสือต่างๆ ในราคา 750 บาท





Create Date : 19 มกราคม 2558
Last Update : 19 มกราคม 2558 9:46:58 น.
Counter : 2092 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
มกราคม 2558

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
19 มกราคม 2558
All Blog