นักเขียนไส้แห้ง นักแปลไส้ไม่แห้ง

นักเขียนไส้แห้งนักแปลไส้ไม่แห้ง

ส่งท้ายวันสุดท้ายของปี 2555 ด้วยบล็อกเกี่ยวกับรายได้ของนักแปล

บังเอิญกำลังหาอ่านบทความเกี่ยวกับนักแปล แล้วเจอเว็บหนึ่งพูดถึงนักเขียนไส้แห้งและนักแปลก็ไส้แห้งเหมือนนักเขียน

หัวข้อนี้เราเคยพูดคร่าวๆไปแล้วตอนไปบรรยายเรื่องจรรยาบรรณนักแปลที่จุฬาฯ เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เราเห็นด้วยกับหลายๆความเห็นว่าคนที่อยากเป็นนักแปลอย่าลาออกจากงานประจำ งานแปลวรรณกรรมถ้าชื่อนักแปลไม่เป็นที่รู้จักจริงๆ งานไม่ชุกจริงเงินจะหมุนไม่ทัน ฉะนั้นควรมีรายได้จากงานประจำยืนพื้นแล้วเสริมด้วยรายได้จากการแปลแต่....

นักแปลเอกสารที่มีงานเยอะมากๆโดยเฉพาะงานที่ได้มาจากบริษัทแปลในต่างประเทศ รายได้ต่อเดือนถือว่าไม่น้อยทีเดียว

สมมตินักแปล NAATI มีรายได้จากการแปลเอกสารส่วนตัวของผู้สมัครวีซ่าชุดละ3,000 บาท x 1 ชุดต่อวัน ถ้าได้งานแปลอย่างนี้ทุกวัน เดือนหนึ่ง รายได้อย่างต่ำก็90,000 บาทแล้วโดยเวลาที่ใช้ทำงานแปลประเภทนี้จะอยู่ที่ 1ชั่วโมงต่อวันเท่านั้นทว่า….

ปกตินักแปลจะไม่ได้รับแต่งานเอกสารประกอบการสมัครวีซ่าทั่วไปมักจะมีงานโปรเจ็กต์เล็กใหญ่มาให้ทำ อย่างเราเองตั้งเป้าแค่ว่า ได้งานแปลมูลค่าวันละ 1,500 บาทเราก็พอใจเพราะเราไม่มีหนี้สิน เราใช้เงินพออยู่พอกิน บ้านก็มีแล้ว ไม่ได้ซื้อรถ ไม่มีลูก ไม่มีสามี(ประเภทที่ชอบเกาะผู้หญิงกิน) พ่อแม่ก็เสียหมดแล้ว(เสียดาย ยังไม่ได้ตอบแทนบุญคุณเลย)

ทีนี้งานโปรเจ็กต์ต่างๆ มูลค่างานเท่าไหร่ เท่าที่เรารู้ ในไทยจะให้ค่าแปลคำละ 1-2บาทเพราะตลาดแข่งขันสูง เรารับงานจากบริษัทในไทยอย่างเดียวอยู่ไม่ได้แน่ๆ แบบว่าแปลทั้งหน้าได้มา 600 บาท ส่วนงานโปรเจ็กต์ที่ได้จากต่างประเทศค่าแปลขั้นต่ำที่นักแปลในประเทศไทยคิดจะอยู่ที่ 0.10 เหรียญหรือคำละ 3 บาท หน้าหนึ่งก็ 900 บาทแล้ว ราคานี้พอเสนอให้ลูกค้าในประเทศไทยต่างก็พากันส่ายหน้า (จะแพงไปไหนคะคุณนักแปล) แม้จะอธิบายว่านักแปลมีคุณวุฒิของทั้งประเทศไทยและประเทศออสเตรเลียก็ตาม(อยากให้ลูกค้ารู้จังว่า นักแปลคุณภาพดีๆหลายคนไม่ได้ตรวจสอบความหมายของคำกับพจนานุกรมหลายๆ เล่มเท่านั้นแต่ยังตรวจสอบการใช้คำนั้นๆ ในภาษาปลายทางด้วยเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นคำที่ใช้จริงไม่ผิดธรรมเนียมการเขียนในภาษาปลายทาง ในบางกรณีต้องยกโทรศัพท์โทรหารุ่นพี่ รุ่นป้าเพื่อหาข้อมูลจากคนในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไหนจะต้องทำรายการศัพท์พร้อมระบุที่มาของคำแปลหรือเว็บไซต์ที่ใช้อ้างอิงเพื่อความถูกต้อง) ถึงอย่างนั้นแล้ว....

อัตรา 0.10 เหรียญนี้ยังมีช่องให้เพิ่มราคาได้อีกเพราะอัตราค่าแปลที่นักแปลในต่างประเทศคิดอยู่ที่0.25 เหรียญ หรือประมาณ 7.50 บาทเป็นอย่างต่ำ (อันนี้ในประเทศออสเตรเลียนะประเทศอื่นเราไม่แน่ใจ) แม่เจ้า งานแปลเนื้อหาทั่วไปหน้าหนึ่งๆ นักแปลรับไป 2,000กว่าบาทแล้ว ถ้างานแปลประเภทเทคนิค จำได้ว่าคิดกันคำละ0.40 เหรียญ หรือคำละประมาณ 12 บาท ถ้านักแปลจะขึ้นราคาก็ต้องดูก่อนว่าคู่แข่งเป็นใคร ถ้าคู่แข่งคือนักแปลในประเทศไทย เรียบร้อยไม่ต้องขึ้นราคาเลยเพราะนักแปลในประเทศไทยจำนวนไม่น้อยโดนกดราคาแล้วก็ยอมให้กดด้วยนะเพราะถ้าไม่ลดราคาก็จะไม่ได้งานไม่ได้เงิน ถ้าคู่แข่งเป็นนักแปลในต่างประเทศแนะนำให้ค้นหาอัตราค่าแปลในประเทศนั้นๆเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าแปลของตัวเองอย่าลืมดูคุณสมบัติของนักแปลที่เสนออัตรานั้นด้วยว่าจบอะไรมา มีใบรับรองอะไรประสบการณ์ทำงานกี่ปี แปลเฉพาะด้านหรือไม่

เราเองออกจากงานประจำเมื่อเดือนธันวาคม 2554อยากออกมานานแล้วแต่เจ้านายกี่คนๆ ก็ไม่ยอมให้ซองขาวเพราะเงินเดือนสูงมากเจ้านายถึงกับเอ่ยว่าค่าชดเชยคุณนี่ปิดแผนกได้เลย จนกระทั่งบริษัทอเมริกันที่เราทำงานขายกิจการให้บริษัทญี่ปุ่น นายญี่ปุ่นก็ขอคุยด้วย บอกตรงๆเลยว่าจะไม่ไล่ใครออกทั้งนั้น แต่ขอร้องให้เรายื่นจดหมายลาออกเอง แล้วจะให้เงินมาก้อนนึง เข้าทางเลย อยากออกนานแล้วให้แค่นี้ก็เอาวะ สรุปได้มาครึ่งเดียวของที่กฎหมายแรงงานกำหนด (4 เดือน +ล่วงหน้า1 เดือน) เราไม่โลภ แค่นี้ก็ดีใจแทบแย่ ที่สำคัญเราได้เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่สะสมไว้ 6 ปีครึ่งในอัตราสมทบ15% เงินกองทุนฯเราซื้อทาวน์เฮ้าส์ได้หลังนึงเลยอ่ะ (ปล. ตอนนี้เงินเหลือพอติดบัญชีไม่ให้น่าเกลียดเพราะเราเอาไปซื้อที่ดินเก็บไว้และส่วนหนึ่งเอาไปลงทุนเผื่อวันนึงสมองกระเทือนทำงานแปลไม่ได้ จะได้มีเงินพอประทังชีวิต)

ออกจากงานมาแรกๆ ก็ใจหายไม่ได้ตื่นเช้าแต่งตัวสวยๆ เข้าออฟฟิสแล้วเหรอเนี่ย เป็นอย่างนี้อยู่เดือนนึง สักพักเริ่มชิน เออสบายดี มีอิสระแปลงานตอนเช้า กลางวันกินข้าวที่ห้างในเมือง บ่ายๆ กลับมาทำงานต่อหรือวันไหนโหมงานทั้งวันกลางคืนก็นัดเจอเพื่อนจนดึกได้เลยเพราะวันรุ่งขึ้นจะตื่นกี่โมงก็ได้ ทำงานมันทั้งชุดนอนนี่แหละ มีนาคมปีนี้เราไปเที่ยวญี่ปุ่น1 เดือน ทำงานด้วยแหละ วันไหนงานมาก็งดเที่ยว พอกลางปีเราไปอังกฤษอีก 1เดือนนี่ก็เที่ยวไปทำงานไป เหนื่อยที่สุดแล้ว พอเดือนสิงหาคม เราไปออสเตรเลียอีก 3 เดือนช่วงนี้สวรรค์บันดาล ประมูลได้งานของลูกค้าออสเตรเลียแทบจะวันเว้นวันเลยแต่...

อย่าชะล่าใจเราคิดเสมอว่ามันต้องมีสักช่วงที่เราประมูลงานแปลไม่ได้เลยหรือไม่มีลูกค้าประจำส่งงานให้เราเลย เงินค่าแปลที่ได้ก็ควรจะเก็บให้มากที่สุดเพราะความไม่แน่นอนในอาชีพอิสระสูงมาก สูงดิ สมัครบัตรเครดิตเพิ่ม ธนาคารยังไม่ให้เลย

สรุป นักแปลฝีมือดี มีงานสม่ำเสมอไส้ไม่แห้งแน่นอน ขอแค่ทำการบ้าน สำรวจตลาด สำรวจคู่แข่งและลูกค้าสรรหาคุณวุฒิมาประดับไว้เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพ นักแปลก็จะได้ทำงานแปลที่ใจรักไปอย่างนี้เรื่อยๆ

สนใจพูดคุยเรื่องการแปล อีเมลมาที่ natchaon@yahoo.com

ณัชชาอร ชูเชิดศักดิ์ NAATI No. 67061 ออสเตรเลีย




Create Date : 31 ธันวาคม 2555
Last Update : 29 กรกฎาคม 2556 22:17:29 น.
Counter : 9966 Pageviews.

3 comments
  
สวัสดีคะ
ขอสมัครเป็นแฟนคลับด้วยคนนะคะ
ดิฉันเป็นล่ามเหมือนกัน เป็นล่ามภาษาญี่ปุ่น
อนาคตฝันอยากทำงานแปลอิสระบ้างแต่คิดว่าความสามารถตัวเองยังถึง ยังไงจะติดตามบล็อกของคุณเพื่อเก็บข้อมูลต่อไปคะ
โดย: jeblue (jeblue ) วันที่: 2 มกราคม 2556 เวลา:17:03:54 น.
  
คุณ Jeblue

ยินดีต้อนรับค่ะ ก่อนหน้านี้ไม่รู้ว่ามีคนอ่านเยอะมั้ย แต่มีคนอีเมลมาหาหลายคนแล้ว บางคนโทรศัพท์มาหาด้วย เลยรู้ว่ามีคนตามอ่านบล็อก ดีใจค่ะ

น้องสาวแน้ทก็เป็นล่ามระดับ 1 สอบที่ญี่ปุ่น เขาจบโทญีปุ่น ตอนนี้ทำงานอยู่ฮอนด้า อยุธยา แน้ทบอกให้เขาไปสอบใบประกาศคุณวุฒิแปลของญี่ปุ่นเลย แต่เขาบอกว่าหาแล้ว ไม่มีหน่วยงานไหนจัดสอบหรือควบคุมวิชาชีพนี้ เลยให้เขาไปหาของ NAATI ดูว่ามีหรือเปล่า

อาชีพแปลและล่ามเป็นงานอิสระ แต่ความแตกต่างคือ ล่ามส่วนใหญ่จะต้องไปหาลูกค้าด้วยในขณะที่งานแปล นั่งทำงานอยู่บ้านตลอด ฉะนั้นต้นทุนจะต่างกัน มีล่ามส่วนน้อยที่ได้งานทางโทรศัพท์ เช่น ล่าม NAATI ในประเทศออสเตรเลียที่รับงานล่ามให้คนไข้ที่ไปหาหมอโดยสื่อสารทางโทรศัพท์ นี่เป็นสาเหตุนึงที่แน้ทไม่ได้เลือกสายล่ามค่ะ

ถ้าคุณ Jeblue ยังไม่มีวุฒิล่าม แนะนำให้ไปเรียนที่จุฬาฯ นะคะ ยืนยันว่าหลักสูตรเขาได้มาตรฐานออสเตรเลีย แน้ทเอาวุฒิไปเทียบมาแล้วค่ะ

สวัสดีปีใหม่นะคะ
โดย: แน้ท (ณัฎฐินี ) วันที่: 4 มกราคม 2556 เวลา:21:45:56 น.
  
สวัสดีค่ะ ตามอ่านมาพักหนึ่งแล้วค่ะ
รบกวนถามคุณแน้ทว่า วุฒิล่าม หรือการแปล ที่แนะนำให้ไปเรียนที่จุฬา หมายถึง certificate หรือ ปริญญาตรี/โทคะ

ที่จริงเจินเรียนตรีและโทใบแรกที่จุฬาฯอยู่แล้ว แต่ว่าตอนนี้กำลังแปลงานนิตยสาร วรรณกรรม และสนใจอยากเรียนเพิ่มเติมอีกค่ะ

เห็นรุ่นน้องชมรมคนหนึ่ง (เด็กอักษร) เรียนโทการแปลฯเหมือนกัน แต่ว่าไม่มีเวลาได้คุยกันค่ะ เลยไม่ได้ถาม เพราะว่าตอนแรกเจินไปอยู่ต่างประเทศ ตอนนี้ก็กลับมาอยู่เชียงใหม่

ที่จริงคิดว่าจะหาเรียนที่ใกล้ๆค่ะ ไม่ค่อยอยากไปกรุงเทพฯ แพ้อากาศค่ะ แต่ถ้าเรียนที่จุฬาฯแล้วเทียบวุฒิกับประเทศอย่างออสเตรเลียได้ ก็อาจต้องกลับไปเรียนค่ะ

ขอบคุณในคำแนะนำมาล่วงหน้า
และขอบคุณสำหรับประสบการณ์และความรู้ดีๆที่แบ่งปันให้กันอ่านในบลอกนะคะ ^^
โดย: เจิน (dararye ) วันที่: 20 พฤศจิกายน 2558 เวลา:17:27:53 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
ธันวาคม 2555

 
 
 
 
 
 
1
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog