แปลหนังสือ อนาคต (ไม่) สดใส
แปลหนังสืออนาคต (ไม่) สดใส

เมื่อสัปดาห์ก่อน มีนักแปลท่านหนึ่งบ่นในหน้าเฟซบุ๊คของสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย  ใช้ชื่อหัวข้อว่า “อย่าทำให้วงการนี้น่าอยู่น้อยลงไปกว่านี้เลยครับ” สรุปสั้นๆ คือ นักแปลส่งงานแปลหนังสือให้สำนักพิมพ์แล้วก็คาดหวังจะได้ค่าแปลภายใน 1-3 เดือนเหมือนที่เคยแต่สำนักพิมพ์นี้ตอบมาว่า “หนังสือจะวางจำหน่ายสิ้นปีเมื่อวางจำหน่ายแล้วถึงจะทำสัญญาแปล แล้วจึงจะทำเรื่องเบิกค่าตอบแทนให้ได้” เท่ากับว่ากระบวนการทั้งหมดใช้เวลา 1 ปี ที่นักแปลท่านนี้ไม่ได้ตะขิดตะขวงใจตั้งแต่แรกเพราะไม่เคยโดนสำนักพิมพ์อื่นเบี้ยวค่าแปล พอเจอแบบนี้ก็เงิบ

หลังจากนั้นก็มีคอมเมนท์ต่างๆนาๆ ที่น่าสนใจคือ ของคุณสุรพันธ์ ซึ่งเป็นกรรมการสมาคมที่ให้ความเห็นในทางเดียวกับสิ่งที่เราบอกนักแปลรุ่นน้องๆ มาตลอด คือ นักแปลต้องทำตัวเหมือนเป็นเจ้าของกิจการ (ในบล็อกหัวข้อ เมื่อทนายมาเป็นนักแปล ที่เราเขียนไปก่อนหน้านี้ อดีตทนายท่านนั้นก็เรียกนักแปลว่าเป็นเอสเอ็มอี) คือ

(ก) ต้องทำประมาณการรายรับว่าเดือนนี้ทั้งเดือนกะจะมีงานมูลค่ารวมเท่าไหร่ ถ้าจังหวะเงียบๆ ก็ต้องพิจารณาหาทางเพิ่มรายได้ เช่น เพิ่มช่องทางโฆษณา โปรโมชั่น แปล 10 หน้า แถม 2 หน้า อันนี้ขยายทำประมาณการของทั้งปีได้ด้วยซึ่งจะให้ประโยชน์เรื่องการวางแผนภาษี

(ข) ประเมินรายจ่าย เช่น ค่าซอฟท์แวร์ ค่าเครื่องเขียนสิ่งพิมพ์ อินเทอร์เน็ต ค่ามือถือ ค่าไฟ ค่าเดินทางไปประชุมกับลูกค้า ค่าสมาชิกสมาคมวิชาชีพ ค่าอบรมสัมมนา ค่าประกันความรับผิดทางวิชาชีพแปลและล่าม เป็นต้น

(ค) คำนวณกระแสเงินสด ถึงมีรายได้ก็จริงตามที่ปรากฏในหน้าใบแจ้งหนี้ แต่อย่าลืมว่า กว่าจะถึงรอบรับชำระเงินอย่างน้อยต้อง 30 วัน ถ้าจะซื้อข้าวร้านริมทาง ร้านก็ยังนิยมรับเงินสดอยู่ ซื้อของเล็กๆ น้อยๆ ต้องใช้เงินสด ดังนั้น ต้องมีเงินสดไว้ให้พอใช้ด้วยไม่งั้นจะขาดสภาพคล่อง

(ง) เช็คเครดิตลูกค้า ว่ามีประวัติไม่จ่ายเงินนักแปลรายอื่นๆ หรือเปล่า หรือเครดิตเทอมยาวไปมั้ย เช่น 45 วัน ตัดรับใบแจ้งหนี้ทุกวันที่ 15 สรุปเสร็จสรรพกว่าจะได้เงินปาเข้าไป 60 วัน บางบริษัท บอกว่าจะชำระเงินให้ผู้รับจ้างต่อเมื่อบริษัทได้รับชำระเงินจากลูกค้าแล้ว  ถ้าลูกค้าเขาไม่จ่าย นักแปลก็จะไม่ได้เงิน (เรียกว่าเงื่อนไข back to back) นักแปลต้องคิดทางออกเผื่อเกิดกรณีอย่างนี้ไว้ด้วย  กรณีงานพิมพ์หนังสือ บางที่ไม่จ่ายค่าแปลจนกว่าหนังสือจะได้พิมพ์  บางคนต้องรอเป็นปีกว่าจะได้เงิน แย่เลย 

(จ) ประเมินความเสี่ยง เช่น ค่าเสียโอกาส รับงานนี้แล้วจะขาดโอกาสในการรับงานลูกค้าประจำมั้ย ถ้าเป็นอย่างนั้น อาจเสียลูกค้าประจำได้นะ หรือรับงานนี้แล้ว มีแนวโน้มจะมีข้อยุ่งยากต่างๆ ตามมาไหม ถ้ามี สามารถเพิ่มค่าความยุ่งยากเข้าไปในต้นทุนที่เรียกเก็บกับลูกค้าได้ไหม ในกรณีงานแปล ที่เจออยู่หลายที คืองานแปลไม่ยากแต่เอกสารมันต้องเสียเวลามานั่งจัดรูปแบบนาน หรือบางงานคนจ้างจุกจิกเพราะเคยรับงานกันมาก่อน นักแปลก็อาจใช้วิธีบวกเพิ่มไปเลย ยิ่งงานไม่อยากทำแต่จำใจต้องเสนอราคา ก็บวกเยอะๆ แบบกะว่าเขาไม่จ้างแน่ 

(ฉ) วางแผนกำลังคน ถ้านักแปลเป็นเอสเอ็มอี พอมีงานใหญ่เข้ามา ก็ต้องสรรหาคนมาช่วย ถ้างานกำลังจะมา ให้สอบถามเพื่อนนักแปลเลยว่าจะมีเวลาว่างมั้ย ถนัดรับแปลงานสาขาที่ลูกค้าจะจ้างมั้ย   วันหนึ่งทำงานแปลได้กี่คำ มีบุคคลอ้างอิงให้ตรวจสอบมั้ย

(ช) จัดการลูกค้า มีลูกค้าประจำก็ดี แต่อย่าลืมกระจายความเสี่ยง หาลูกค้าให้ได้ในหลายๆ ส่วนธุรกิจ เช่น ลูกค้ากลุ่มโรงพยาบาล ลูกค้ากลุ่มโรงงานผลิต ลูกค้ากลุ่มราชการ ลูกค้ากลุ่มอสังหาริมทรัพย์  และขยายไปหาลูกค้าในต่างประเทศเผื่อจังหวะงานในประเทศน้อยจะได้พอมีงานจากต่างประเทศมาชดเชยรายได้ที่หายไปได้บ้าง

อีกอย่างหนึ่งที่คุณสุรพันธ์ บอกคือ “ทางเลือกในการทำงานแปลมีมากเหลือเกินถ้าไม่มีงานแปลหนังสือ งานแปลเอกสารที่ให้รายได้สูงกว่าเป็นทางเลือกที่ดีมากไม่ต้องง้อสำนักพิมพ์ ถ้าแปลเป็นอังกฤษไม่เป็น ก็ไปเรียนเพิ่มได้  ผมเชื่อว่าจะมีคอร์สเขียน/คอร์สแปลให้เลือกเรียนเพิ่มขึ้น  ลูกค้า/บริษัทแปลในแวดวงแปลเอกสารที่ดีกว่าและซื่อตรงกว่าสำนักพิมพ์หลายร้อยเท่ามีให้เลือกมากเหลือเกิน  แหล่งงานแปลก็มีดาษดื่น ไม่จำกัดแค่ในเมืองไทยเท่านั้น….ไม่ต้องกลัวตกงาน เปลี่ยนไปทำงานแปลอย่างอื่น ในอุตสาหกรรมแปลทั่วโลก literary มีสัดส่วนไม่ถึง 10% ตลาด non-literary/document ที่มีสัดส่วนกว่า 90% รอคุณอยู่”

ที่คุณสุรพันธ์บอกด้านบนนี่ เราเห็นด้วยอย่างยิ่ง ช่วงปีที่แล้วมีข่าวออกมาเป็นระลอกว่าวงการหนังสือสื่อสิ่งพิมพ์กำลังจะอยู่ไม่ได้เพราะต้นทุนมากขึ้น ความนิยมของลูกค้าที่เปลี่ยนไป คือ เน้นอีบุ๊คแทนที่จะซื้อเป็นเล่มๆ และหลายคนเลือกอ่านภาษาอังกฤษแทนหนังสือแปล  เราว่านักแปลหนังสือที่คิดจะทำเป็นอาชีพประจำเพื่อเลี้ยงชีวิต  อนาคตอาจจะไม่สดใสดังใจคิด ฉะนั้นขอให้วางแผนการเงินให้รอบคอบ

*****************

ปรับปรุงเนื้อหาเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2563

 



Create Date : 12 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 14 มิถุนายน 2563 11:11:52 น.
Counter : 4235 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
กุมภาพันธ์ 2559

 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
13
14
15
16
17
18
19
20
21
23
24
25
26
27
28
29
 
 
All Blog