บริษัทแปลคาดหวังอะไร

บริษัทแปลคาดหวังอะไร

เช้านี้อ่านสัญญาว่าจ้างแปลส่งมาจากบริษัทแปลรายหนึ่งในอังกฤษ ลูกค้าส่งมาสัปดาห์กว่าๆแล้ว ที่อ้อยอิ่งอยู่เพราะลูกค้าขอตัวอย่างงานแปล ค้นอยู่ตั้งนานว่าจะส่งอะไรให้ได้ดูได้ ทุกอย่างที่แปลเป็นความลับหมดไม่สามารถเปิดเผยได้เลยยกเว้นจะได้รับความยินยอมจากลูกค้าเจ้าของงาน แต่สุดท้ายก็หาส่งไปได้เรียบร้อย

หัวข้อหนึ่งที่ระบุไว้ในสัญญาคือ “เราคาดหวังอะไรจากคุณ” นั่นดิ สงสัยเหมือนกัน ปกติบริษัทแปลจะไม่ค่อยใส่เงื่อนไขข้อนี้แต่จะใช้วิธีบอกกันทีละงาน  ในส่วนนี้ระบุไว้ 6 ข้อคือ

1. แปลให้ถูกต้องตามต้นฉบับ – คำแปลมีเนื้อหาตรงกับต้นฉบับมั้ย ถ่ายเสียงชื่อและพิมพ์ตัวเลขต่างๆ ถูกต้องมั้ย หมายเลขโทรศัพท์และที่อยู่ล่ะ มีส่วนไหนที่แปลตกบ้างหรือเปล่า

2. ไวยากรณ์ – ตรวจสอบการสะกด ความถูกต้องของประโยค การเรียบเรียงคำ เครื่องหมายวรรคตอน และรายละเอียดอื่น ๆ เทียบกับคู่มือหรือขนบการใช้ภาษา

(หมายเหตุจากเจ้าของบล็อก - ของไทยก็ตรวจกับราชบัณฑิต เรื่องเครื่องหมายคำถามคนตรวจแก้งานแปลมีความเห็นไม่ตรงกัน คนหนึ่งบอกว่าห้ามใช้เพราะภาษาไทยไม่ใช้เครื่องหมายนี้แต่ให้แปลออกมา คือมันก็แปลเป็นคำถามได้ แต่อีกคนบอกให้ใส่เพื่อดึงความสนใจจากผู้อ่าน  อีกเรื่องคือการเขียนตัวเลขเป็นคำอ่าน ที่เจอบ่อยคือ คนตรวจ แก้คำว่า 1 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ เป็น หนึ่งห้องนอน สองห้องน้ำ ขนาดคำว่า 8 เตียง เขียนว่า แปดเตียง เออเทรนด์การเขียนภาษาไทยมันเปลี่ยนไป เรากูเกิลดูว่าเว็บส่วนใหญ่เขียนแบบไหน ปรากฎว่าส่วนใหญ่จะใช้เป็นตัวเลข เดาว่าที่สะกดเป็นคำอ่านกันนั่นก็เพราะคนตรวจแก้ใช้มาตรฐานการเขียนภาษาอังกฤษในการตรวจแก้ภาษาไทย  ถามราชบัณฑิตไปเมื่อเดือนก่อน ถ้าจำไม่ผิดราชบัณฑิตให้ใช้เป็นตัวเลขนะ ส่วนร้อยละเขียนว่า ร้อยละสิบห้าก็ได้ อย่างที่เห็นในประมวลกฎหมาย แต่สมมติ 44.98% คงไม่มีใครเขียนว่าร้อยละสี่สิบสี่จุดเก้าแปด เพราะมันอ่านยาก)

3. สไตล์ – สไตล์การแปลเป็นไปตามคู่มือสไตล์หรือเปล่าสมมติ คู่มือบอกว่า คำย่อที่รู้ว่าหมายถึงคำไหน ให้สะกดเต็ม คำว่า calc ก็ต้องแปลว่า คำนวณ หรือคู่มือบอกว่าให้แปลชื่อหน่วยงานแล้วตามด้วยชื่อหน่วยงานในภาษาต้นทางในวงเล็บ ก็ต้องแปลว่ากระทรวงตรวจคนเข้าเมืองและการเป็นพลเมือง (Department of Immigration and Citizenship) (ชื่อกระทรวงฯ นี้มีภาษาไทยหลายเวอร์ชั่น) หรือคู่มือบอกให้เว้นวรรค 1 เคาะเมื่อใช้เครื่องหมายไม้ยมก แต่พอใส่ 1 เคาะ บางครั้งคำมันจะขาด คำศัพท์อยู่บรรทัดบน แต่ไม้ยมกลงมาบรรทัดล่างเพราะโปรแกรมมันตัดคำอัตโนมัติ ก็ต้องมานั่งแก้ด้วยมืออีก ถ้าคู่มือให้ใช้ภาษาอ่านง่าย คนแปลก็ต้องเกลาคำแปลหน่อย ถ้าคู่มือบอกให้แปลสั้นๆ กระชับ คำว่า required แทนที่จะแปลว่า“จำเป็นต้องกรอก” ก็ตัดเหลือ “ต้องกรอก” ก็พอ

4. คำศัพท์เฉพาะทาง – ถ้าเป็นงานใหญ่ๆ มักจะมีเมมโมรี่คำศัพท์เฉพาะทางมาให้ด้วย พอต้นฉบับโผล่ในเครื่องปั๊บ ทางขวาจะโชว์รายการคำศัพท์สำหรับงานนั้น ก็สะดวกสำหรับนักแปลเลือกได้ว่าจะใช้คำแปลเวอร์ชั่นไหน ทำให้เสร็จงานไวขึ้น (แต่ได้ค่าแปลน้อยลง) ใครที่ไม่มีโปรแกรมช่วยแปล ก็ใช้ฟังก์ชั่นในเวิร์ดนี่แหละ ctrl + h แต่ดูดี ๆ นะบางครั้งจะแก้คำว่า “คุณ” เป็น “ท่าน” พอใช้ replace all คำว่า “ขอบคุณ” ก็กลายเป็น “ขอบท่าน” ฟังก์ชั่นนี้ช่วยประหยัดเวลาพิมพ์ได้   งานไหนที่ไม่มีเมมโมรี่คำศัพท์เฉพาะทางมาให้ นักแปลก็ควรทำรายการคำศัพท์สำหรับงานนั้น ๆ แนบไปให้ลูกค้า ถ้าลูกค้าไม่ถูกใจก็จะได้แทนที่ทั้งหมดตามรายการที่ส่งได้เลย หลายๆ ทีเราใส่ที่มาของคำศัพท์ไว้ด้านหลังด้วยนะ คนตรวจแก้จะได้รู้ว่าเราไม่ได้คิดเอาเอง

5. รูปแบบ – คำแปลต้องจัดรูปแบบเหมือนต้นฉบับ ตัวหนา ตัวเอียง ขีดเส้นใต้ จัดไว้กลางหน้าติดริมขวา ขนาดตัวหนังสือ คือพอวางตัวแปลเทียบกับต้นฉบับแล้วรู้เลยว่าเป็นเอกสารประเภทเดียวกันแต่คนละภาษา

6. คำแปลต้องเหมาะกับวัตถุประสงค์ – เอกสารที่เขียนมาแบบเป็นทางการ บางครั้งมีคำศัพท์ที่ใช้กันเฉพาะในวงการเช่น แผ่นพับการฉีดวัคซีนภูมิคุ้มกัน ถ้าเป็นโรคที่เข้าใจได้ยากคนทั่วไปจะไม่ค่อยรู้คำศัพท์เกี่ยวกับโรคนี้ นักแปลอาจต้องแปลขยายความ ส่วนแปลแล้ว ถ้าคนตรวจแก้ไม่เห็นด้วย เขาจะแก้กลับมาเอง  (งานแปลนี้สุดท้ายแล้วคือผลงานของนักแปลนักแปลเป็นคนรับผิดชอบความถูกต้องของงานแปลดังนั้นนักแปลเลือกที่จะไม่แก้ตามที่คนตรวจแก้บอกมาก็ได้)  

บางกรณีลูกค้าตรวจแก้งานแปลด้วยวิธี แปลกลับ (back translation) ตัวแก้ส่งกลับมาที่เราแดงเถือก หลาย ๆ ส่วนก็ต้องอธิบายกลับไปว่าภาษาไทยเราไม่ได้เรียงคำเหมือนภาษาอังกฤษ ถ้าจะให้เรียงแบบคำแปลวิธี แปลกลับ อ่านแล้วมันจะไม่เป็นธรรมชาติ

***************
ปรับปรุงเนื้อหาเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2563

 




Create Date : 22 มีนาคม 2556
Last Update : 11 มิถุนายน 2563 16:06:57 น.
Counter : 3029 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
8
9
10
11
12
15
16
17
18
19
20
21
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog