Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2552
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
23 มิถุนายน 2552
 
All Blogs
 

คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.25%

...


การประชุม 23-24 มิ.ย. ... คาดเฟดยังคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย


ในวันที่ 23-24 มิถุนายน 2552 คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee: FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด จะมีการประชุมรอบที่สี่ของปีเพื่อพิจารณาและตัดสินใจทิศทางนโยบายการเงิน ทั้งอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Fed Funds และนโยบายเชิงปริมาณที่ใช้แก้ปัญหาในตลาดสินเชื่อ (Quantitative Easing Policies) ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ภายใต้สถานการณ์ที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯยังมีความเปราะบางอยู่มาก ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อยังมีระดับต่ำและควบคุมได้ เฟดน่าจะยังให้น้ำหนักหลักอยู่ที่การดูแลความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ และมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่กรอบ 0.00-0.25% ตามเดิมในการประชุมวันที่ 23-24 มิถุนายนนี้ พร้อมๆ กับระบุว่าจะยังคงเดินหน้านโยบายการเงินเชิงปริมาณอย่างต่อเนื่องต่อไปอีกระยะ จนกว่าจะมั่นใจว่าความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจได้คลายตัวลงสู่ภาวะปกติ

โดยประเด็นสนับสนุนการคาดการณ์ดังกล่าว สามารถสรุปได้ดังนี้


 ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจยังมีน้ำหนักอยู่มาก
ในช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในบางภาคส่วนจะเริ่มทยอยปรากฏขึ้นบ้างแล้ว จนอาจกล่าวได้ว่าสภาวะที่เลวร้ายที่สุดของภาวะถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐฯได้ผ่านพ้นไปแล้ว ดังจะเห็นได้จากเครื่องชี้เศรษฐกิจบางตัวที่ชะลอการหดตัวลง อาทิ การจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Non-Farm Payrolls) ที่ลดลง 345,000 ตำแหน่งในเดือนพฤษภาคม เทียบกับที่ลดลง 504,000 ตำแหน่งในเดือนเมษายน และยอดสัญญาบ้านที่รอปิดการขาย (Pending Home Sales) ที่เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อน เป็นเวลา 2 เดือนติดต่อกันในเดือนมีนาคมและเมษายน อย่างไรก็ตาม การหดตัวในอัตราที่ชะลอลงและการปรับตัวดีขึ้นของเครื่องชี้ดังกล่าว ก็ยังคงห่างไกลอยู่มากเมื่อเทียบกับระดับที่ควรจะเป็นในภาวะปกติของเศรษฐกิจสหรัฐฯ

นอกจากนี้ การฟื้นตัวของเครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯก็ยังไม่ได้เกิดขึ้นอย่างทั่วถึงและครอบคลุมทุกภาคส่วน สะท้อนได้จากการที่ยังมีเครื่องชี้อีกหลายตัวที่ยังคงหดตัวลงต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นอัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) ที่ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องสู่ 9.4% ในเดือนพฤษภาคม เทียบกับ 8.9% ในเดือนเมษายน การผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) ที่ยังคงหดตัวจากเดือนก่อน 1.1% ในเดือนพฤษภาคม และอัตราการใช้กำลังการผลิต (Capacity Utilization) ที่ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องสู่ 68.3% ในเดือนพฤษภาคม เทียบกับ 69.0% ในเดือนเมษายน รวมถึงดัชนีราคาบ้านที่จัดทำโดย S&P/Case-Shiller ซึ่งยังคงหดตัวต่อเนื่องจากช่วงเดียวกันปีก่อนในอัตรา 18.7% ในเดือนมีนาคม ใกล้เคียงกับที่หดตัว 18.6% ในเดือนกุมภาพันธ์ ดังนั้น จึงอาจเป็นการเร็วเกินไปหากจะกล่าวว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ เฟดคงจะตระหนักเป็นอย่างดีว่า ควรที่จะดูแลการคาดการณ์ของตลาดไม่ให้มีผลกระทบกระเทือนต่อกลไกการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะตลาดอสังหาริมทรัพย์ หลังจากที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่ปรับตัวสูงขึ้นค่อนข้างมากและรวดเร็ว นับจากการประชุมรอบก่อนหน้าในวันที่ 28-29 เมษายน จนถึงขณะนี้ (19 มิถุนายน) (ซึ่งเป็นผลมาจากทั้งมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ ความกังวลต่อดุลการคลังของรัฐบาลสหรัฐฯ ปริมาณอุปทานพันธบัตรที่จะเข้าสู่ตลาด และการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันตลาดโลก) ได้ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยของสัญญาจำนองบ้าน (Mortgage Rate) พุ่งสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น เพื่อที่จะรักษาโมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งรวมถึงกลไกในตลาดสินเชื่อและตลาดอสังหาริมทรัพย์ ให้เกิดขึ้นโดยไม่หยุดชะงักลง เฟดคงจะยังมีหน้าที่และความจำเป็นที่จะต้องดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเชิงปริมาณผ่านมาตรการต่างๆ อย่างต่อเนื่องต่อไป


 ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อยังมีระดับต่ำและจัดการได้
แม้ว่าการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อที่วัดจากทั้งทางด้านผู้ผลิตและด้านผู้บริโภคเริ่มมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (Month-on-Month: MoM) แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (Year-on-Year: YoY) อัตราเงินเฟ้อก็ยังคงมีค่าติดลบหรือยังมีระดับที่ต่ำอยู่ นอกจากนี้ กำลังการผลิตส่วนเกินที่ยังเหลืออยู่ค่อนข้างมาก หลังจากที่ผู้ประกอบการได้มีการปรับลดการผลิตและการลงทุนลงมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เกิดวิกฤตเป็นต้นมา คงจะเป็นปัจจัยที่ทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อยังไม่เร่งตัวสูงขึ้นมากจนน่ากังวล ซึ่งทิศทางดังกล่าวก็น่าที่จะสนับสนุนให้เฟดยังพอมีความยืดหยุ่นที่จะเดินหน้านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อไปตลอดระยะที่เหลือของปีนี้


โดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) คงจะมีมติให้ยืนอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Fed Funds ไว้ที่กรอบ 0.00-0.25% ตามเดิมในการประชุมรอบที่สี่ของปีในวันที่ 23-24 มิถุนายน 2552 นี้ ต่อเนื่องนับตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม 2551 เป็นต้นมา พร้อมกันนี้ คาดว่าเฟดน่าจะยังระบุในแถลงการณ์ว่าจะยังคงเดินหน้านโยบายเชิงปริมาณในตลาดสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง เพราะแม้ว่าจะเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวดีขึ้นของเครื่องชี้เศรษฐกิจในบางภาคส่วน แต่การฟื้นตัวก็ยังคงมีความเปราะบางและยังไม่ได้กระจายไปอย่างทั่วถึงและครอบคลุมทุกภาคส่วน ซึ่งคงจะต้องอาศัยเวลาอีกนานพอสมควรกว่าที่จะมั่นใจได้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เพื่อลดกระแสการคาดการณ์ต่อภาวะเงินเฟ้อและแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย คาดว่าเฟดคงจะระบุในแถลงการณ์ด้วยว่า แม้ราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกอาจมีแนวโน้มขยับขึ้น แต่ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อยังอยู่ภายใต้การจัดการ และเฟดจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพื่อให้พร้อมดูแลความเสี่ยงทั้งด้านเศรษฐกิจและเงินเฟ้อได้อย่างเหมาะสมต่อไป ทั้งนี้เนื่องจากการคาดการณ์ถึงภาวะเงินเฟ้อและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดที่เกิดขึ้นในจังหวะเวลาที่เร็วเกินไป อาจเป็นการซ้ำเติมหรือทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯต้องล่าช้าออกไปอีก
แม้ว่าผลการประชุมนโยบายและแถลงการณ์ของเฟดน่าที่จะเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ แต่การปรับตัวของตลาดเงินและตลาดทุนนับจากนี้ คงจะขึ้นอยู่กับข่าวดีและร้ายเกี่ยวกับการปรับตัวของเครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมถึงทิศทางของราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก โดยหากเครื่องชี้เศรษฐกิจที่จะทยอยรายงานออกมา ยังคงสามารถรักษาโมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง ตลาดการเงิน (โดยเฉพาะตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ) ก็คงจะปรับตัวไปในทิศทางที่สะท้อนถึงการคาดการณ์ต่อภาวะเงินเฟ้อและการถอยออกจากนโยบายการเงินผ่อนคลายของเฟดในระยะที่เร็วขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากมีข่าวร้ายหรือการรายงานเครื่องชี้เศรษฐกิจที่หดตัวลงไปอีกเกิดขึ้น ตลาดก็คงจะเลื่อนการคาดการณ์ต่อภาวะเงินเฟ้อและแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดออกไปจากเดิม เช่นนี้แล้ว คาดว่าทิศทางตลาดเงินและตลาดทุนโลก (ไม่ว่าจะเป็นอัตราแลกเปลี่ยน ตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตร และตลาดสินค้าโภคภัณฑ์) คงจะยังมีแนวโน้มปรับตัวผันผวนอย่างต่อเนื่องในระยะข้างหน้า ส่งผลให้ตลาดการเงินไทยคงจะประสบกับภาวะผันผวนอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยงเช่นกัน ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงควรระมัดระวังและมีการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาดอย่างสม่ำเสมอ

นอกจากความผันผวนของตลาดการเงินโลกซึ่งจะมีผลต่อความเคลื่อนไหวของตลาดเงินและตลาดทุนไทยแล้ว คงจะยังต้องติดตามการตอบรับต่อการเสนอขายพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งของกระทรวงการคลังในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมนี้ ตลอดจนแผนการกู้เงินของรัฐบาลไทยหลังจากนั้น เนื่องจากคงจะมีผลต่อภาวะสภาพคล่องและการคาดการณ์ถึงแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินไทยในระยะถัดไปด้วยเช่นกัน สะท้อนได้จากการที่ธนาคารพาณิชย์เริ่มจะมีการล็อคเงินทุนด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะยาวบางประเภทและการออกผลิตภัณฑ์เงินออมผ่านโครงการต่างๆ บ้างแล้ว แม้ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.25% เพื่อช่วยประคับประคองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจก็ตาม 




...




 

Create Date : 23 มิถุนายน 2552
2 comments
Last Update : 23 มิถุนายน 2552 1:47:52 น.
Counter : 590 Pageviews.

 

...
...จดหมาย...

...

ดากานดา

ที่ชั้นไม่ค่อยมีใครคุยด้วย ปัญหาอันนึงก็มาจากตัวชั้นเองน่ะแหละ...
ที่ไม่ค่อยถูกโรคกับโทรศัพท์เท่าไหร่... เลยไม่ค่อยอยากใช้มัน...
ถ้าโทรไปไหนต่อไหน ก็คงมีคนคุยด้วยบ้างอ่ะนะ... (คิดเอาเองนะอันนี้...555)

ทำไมน่ะเหรอ?... ก็ปากมันมักจะพาจน พูดไม่ดี ไม่ถูกใจ พูดไม่ไพเราะ...สารพัด...

หมอแนะนำให้ผ่าตัดครั้งใหญ่... เอาฝูงหมาข้างในออกมาบ้าง...
ฉันก็เออๆ... แต่ก็อดไม่ได้...ดันทะลึ่งย้อนไปว่า
" ทีแกล่ะ... ไม่เห็น...(จะพุดดีๆ กะคนไข้มั่งเลย)"

ยังไม่ทันที่จะได้พูดจบดีเลย... แกเอ๊ยยย... คุณหมอก็เสือกไสฉันลงจากเตียงด้วยเท้า...
ข้างใดข้างหนึ่ง... ฉันมองไม่ทัน... มองไม่ทันจิงๆ...

ที่เหลือก็ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น... จำได้เลาๆ ว่าโดนแถวๆก้านคอไปทีนึง...

พอรู้ตัวอีกที ก็อยู่ตรงบันไดทางเข้าโรงพยาบาลนั้นอ่ะ...

เสื้อของชั้นเต็มไปด้วยรอยประทับ จาก รองเท้า...
ไม่ต้องให้หมอพรทิพย์มาช่วยเดาชั้นก็รู้...
มันรอยเท้าของไอ่หมอนั่นแหละ...

นี่ดีนะ ที่เป็นเพื่อนเก่าเคยเรียนกันมาสมัยมัธยม...
ตอนนี้มันได้ดิบได้ดี เป็นหมอไปละ...
เลยมองเห็นหมาในปากของเราชัดเจนขึ้น...
สมัยก่อนตอนที่ตัวเท่ากัน... มันไม่ยักกะมองเห็น... เฮ้อออ...

ถ้าได้ผ่าออกซะตอนนั้น ฉันคงเจ็บตัวน้อยกว่านี้นะ...


อ่ะ... ยังไงก็ดีใจด้วยนะ ที่แกได้ผ่านวันที่มีความสุขมาอีกวันนึง...

ขอให้กินอิ่ม นอนหลับ ขับถ่ายตามเวลา...
อุ่ยยย... ลืมไป แกไม่ใช่...เอ่อ...
ไม่ใช่คนที่จะทำอะไรตามตารางเวลาเนอะ...

เอาเป็นว่า ก็กินอิ่มตามใจปาก อาจฝันมากเวลาได้นอนหลับ...
ส่วนเรื่องขับถ่าย ก็ตามแต่จะสะดวกเมื่อไหร่ ก็เมื่อนั้น...
ก็แค่ลุกเดินไปห้องน้ำ... 5555

ส่วนที่เหลือของวันต่อๆ ไป... ก็คงต้องค่อยๆเป็นไปตามจังหวะของชีวิตเนอะ...
ก็ว่ากันไป... ทำได้แค่ไหน ก็ทำให้ดีๆเนอะ...

รักษาสุขภาพกาย สุขภาพใจให้...
เข้มแข็ง หนังเหนียว... เหี่ยวง่าย ตายยาก... โย่ววว...

หมดมุขละ พอ ๆ....


ไข่น้อย... เอ๊ยยย... ไข่ย้อย...อิอิอิ

...


Create Date : 29 พฤศจิกายน 2549

...

 

โดย: loykratong 23 มิถุนายน 2552 1:57:11 น.  

 

แวะมาทักทายค่ะ

 

โดย: CrackyDong 23 มิถุนายน 2552 3:40:16 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


loykratong
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]






ไม่มีอะไรขึ้นตลอด
ไม่มีอะไรลงตลอด
...ไม่มี the end of the world ...

Web Site Hit Counters

ราคาทองคำ
 

ราคาทองคำต่างประเทศ



Friends' blogs
[Add loykratong's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.