ผู้ที่ควรแก่การยกย่องและเคารพ คือผู้ที่ทรงไว้ซึ่งคุณธรรม มิใช่ผู้ที่ทรงอำนาจ แต่ไร้คุณธรรม "ป๋วย อึ้งภากรณ์"
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2550
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
6 มิถุนายน 2550
 
All Blogs
 

ลักษณะสำคัญ 5 ประการของรัฐธรรมนูญปี 2550

เครดิตสำหรับบล็อกนี้ต้องยกให้คุณ Darksingha ค่ะ
เพราะไปขโมยของเขามาทั้งดุ้น (หยาบไปหรือเปล่า)
ที่บ้านคุณ Darksingha เขามีข้อมูลดีดีเชิงวิชาการที่ให้ข้อคิดมากมาย
ยังไงก็แวะไปแสวงหาความรู้ดีดีเหล่านั้นกันเอาเองแล้วกันนะคะ


วันนี้ขอนำเอาเฉพาะข้อมูลเรื่อง ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์
: ลักษณะสำคัญ 5 ประการของรัฐธรรมนูญ 50 มาฝากกัน
เนื่องจาก จขบ. เห็นว่ามีสาระดีมากๆ เลยขออนุญาตนำมาฝากกัน
(แต่ไม่รู้นะว่าเจ้าของเขาจะอนุญาตหรือเป่า อิอิ)

บทความนี้คุณ Darksingha นำมาจากเว็บไซน์ประชาไท
โดยเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม เวลา 13.00-16.00 น.
ที่ห้อง 222 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)

ภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มธ. ร่วมกับ
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ศูนย์ข่าวอิศรา และ มูลนิธิ Friedrich Ebert Stifting
จัดการอภิปรายสาธารณะทางวิชาการ
โครงการวิพากษ์ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ครั้งที่ 1
เรื่อง ‘ปัญหาหลักการพื้นฐานในร่างรัฐธรรมนูญฯ’ ค่ะ

วิทยากรประกอบไปด้วย ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน,
ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มธ.
และ รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มธ.
ดำเนินรายการโดย ประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ เลขาธิการสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

ต่อไปนี้คือ การอภิปรายเฉพาะในส่วนของ ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์
คณะเศรษฐศาสตร์ มธ. ค่ะ


ผมจะพูดถึงลักษณะสำคัญบางประการของร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550
ผมเตรียมมาพูดอยู่ 5 ประเด็น
ประเด็นแรก เรื่องการขาดเป้าหมายในการปฏิรูปการเมืองที่ชัดเจน
ประเด็นที่สอง การยึดข้อสมมติในการร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่สอดคล้องต้องกัน
ประเด็นที่สาม การเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อให้ก้าวก่ายอำนาจซึ่งกันและกัน
ประเด็นที่สี่ การเขียนรัฐธรรมนูญด้วยความหวาดกลัว
พรรคการเมืองขนาดใหญ่และการผูกขาดทางการเมือง
ประเด็นที่ห้า การฟื้นคืนระบอบอำมาตยาธิปไตย

ประการแรก ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550
ไม่มีเป้าหมายการปฏิรูปการเมืองที่ชัดเจน

ส.ส.ร. ไม่ได้มีการถกกันว่าจะร่างรัฐธรรมนูญเพื่อการปฏิรูปการเมือง
และถ้าจะต้องถามต่อไปก็ต้องถามว่าปฏิรูปการเมืองเพื่ออะไร
ไม่มีคำตอบที่ชัดเจน แต่ว่าคณะกรรมาธิการและ ส.ส.ร.
ก็สามารถร่างรัฐธรรมนูญได้โดยที่ไม่มีเป้าหมายร่วมกัน

ผมคิดว่ากระบวนการร่างรัฐธรรมนูญควรจะเริ่มต้นจาก
การกำหนดเป้าหมายร่วมกันว่า จะร่างรัฐธรรมนูญเพื่ออะไร
แล้วจึงตามมาด้วยการออกแบบรัฐธรรมนูญเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว
แต่สิ่งซึ่งเกิดขึ้นไม่ได้เป็นเช่นนั้น

เป้าหมายที่ซ่อนเร้นอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีอยู่สองประการ
ประการแรกคือการป้องกันการกลับมาของระบอบทักษิณ
เห็นได้จากการล้มระบบปาร์ตี้ลิสต์ในการเลือกตั้ง ส.ส.
และเห็นได้จากการลดทอนความเข้มข้นของแนวความคิดว่าด้วย
Strong Executive ซึ่งอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับ 2540
ความเกรงกลัวการกลับคืนมาของระบอบทักษิณปรากฏอย่างชัดเจน
ในมาตรการต่างๆ ซึ่งผมจะพูดถึงต่อไป
ส่วนอีกเป้าหมายที่ผมอ่านได้จากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็คือ
การลงรากระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

นั่นเป็นลักษณะที่สำคัญในประการแรก
การขาดเป้าหมายการปฏิรูปการเมืองที่ชัดเจนในการร่างรัฐธรรมนูญ
ทำให้เราไม่สามารถที่จะไปคาดหวังได้ว่า
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะมีผลต่อการปฏิรูปการเมือง

ลักษณะเด่นที่สำคัญในประการที่สอง คือ
การยึดข้อสมมติในการร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่สอดคล้องต้องกัน


ถ้าอ่านจากร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ พูดด้วยภาษาเศรษฐศาสตร์
กรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญมีข้อสมมติว่า
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็ดี นักการเมืองก็ดีเป็น Utility Maximizer
เป็นคนที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ต้องการแสวงหาอรรถประโยชน์สูงสุด
ถ้าหากว่ารัฐธรรมนูญฉบับ 2540 มีข้อสมมติว่านักการเมืองเป็นอัปรียชน
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 มีข้อสมมติยิ่งไปกว่านั้น
คือนักการเมืองเป็นมหาอัปรียชน
ในขณะที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นจุลอัปรียชน
คือระดับของความอัปรีย์มันน้อยกว่า

ในอีกด้านหนึ่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 มีข้อสมมติว่า
ตุลาการผู้พิพากษา เป็น Social Welfair Maximizer
เป็นคนที่ไม่มีกิเลส ไม่มีตัณหา ไม่มีราคะ
เป็นคนที่เห็นแก่ประโยชน์ของสังคมโดยส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
ด้วยเหตุดังนั้นการออกแบบรัฐธรรมนูญของร่างรัฐธรรมนูญ 2550
จึงเป็นไปในทางที่ให้บทบาทสำคัญกับตุลาการและผู้พิพากษา
นี่เป็นลักษณะเด่นที่สำคัญในประการที่สอง

ลักษณะเด่นที่สำคัญในประการที่สาม คือ
การเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อให้ก้าวก่ายอำนาจซึ่งกันและกัน


นักเรียนไทยมักจะได้รับการอบรมสั่งสอนว่า
ในสังคมการเมืองไทย มีการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Power)
เวลาที่เราพูดถึงเรื่องการแยกอำนาจ
มันมีความหมายซึ่งแตกต่างกันหลายความหมาย
Jeffrey Marshall ซึ่งเป็นปรมาจารย์ทางด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ
แห่งมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ได้แยกแยะความหมายของ
Separation of Power ไว้อย่างน้อย 5 ความหมาย
แต่ผมอยากจะหยิบยกขึ้นมาพูดเพียง 3 ความหมาย
ประการแรกก็คือ Separation of Functions (การแบ่งแยกหน้าที่)
ประการที่สองคือ Physical Separation of Persons
(การแยกตัวบุคคลผู้มีอำนาจอธิปไตย) โดยรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540
มี Physical Separation of Persons
ก็คือห้าม ส.ส. ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
แต่ว่าแนวความคิดนี้ก็หายไปในร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550
และแนวความคิดประการที่สามเกี่ยวกับการแบ่งแยกอำนาจก็คือ
Check and Balance (การตรวจสอบถ่วงดุล)

สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นก็คือ Separation of Functions มันค่อยๆ เลือนหายไป
ผมนั่งไล่ดูตั้งแต่ธรรมนูญการปกครองสยามปี 2475 เป็นต้นมา
ผมเห็นภาพของการที่อำนาจอธิปไตยสามฝ่ายก้าวก่ายซึ่งกันและกัน
และระดับของการก้าวก่ายอำนาจอธิปไตยซึ่งกันและกัน
มีมากที่สุดในร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550

ฝ่ายบริหารก้าวล่วงไปมีอำนาจนิติบัญญัติ
ฝ่ายบริหารมีอำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกา
เริ่มต้นตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2475
ฝ่ายบริหารมีอำนาจในการตราพระราชกำหนด
เริ่มต้นตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2489
ฝ่ายบริหารมีอำนาจเด็ดขาดในการตรากฎหมายเกี่ยวด้วยการเงิน
เริ่มต้นด้วยรัฐธรรมนูญฉบับปี 2489
ฝ่ายบริหารมีอำนาจในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ
ทั้งหมดนี้ยังคงดำรงอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550
รวมทั้งการที่ฝ่ายบริหารเข้าไปมีบทบาทในกระบวนการนิติบัญญัติในรัฐสภา
ในขั้นตอนของการพิจารณาขั้นกรรมาธิการ

สิ่งซึ่งเด่นชัดมากในร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ก็คือ
การที่ฝ่ายตุลาการก้าวล่วงไปใช้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ
และก้าวล่วงไปใช้อำนาจบริหาร นี่เป็นปรากฏการณ์ใหม่

อาจจะเป็นผลมาจากเพื่อนของเราบางคนที่พูดถึงเรื่องตุลาการภิวัตน์
ฝ่ายตุลาการสามารถใช้อำนาจนิติบัญญัติได้
เพราะว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550
ให้อำนาจตุลาการในการเสนอร่างพระราชบัญญัติในมาตรา 138(3)
ให้มีอำนาจในการเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญอยู่ในมาตรา 134(2)
ผมไม่เคยพบรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้ที่ฝ่ายตุลาการก้าวล่วงไปใช้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ

ฝ่ายตุลาการก็ยังก้าวล่วงไปใช้อำนาจฝ่ายบริหารตามมาตรา 68
ในการป้องกันและแก้ไขวิกฤติการณ์การเมือง
และที่สำคัญก็คือการที่ฝ่ายตุลาการมีอำนาจในการคัดสรรบุคคลเข้าสู่ระบบการเมือง
ฝ่ายตุลาการมีบทบาทสำคัญในการคัดสรรสมาชิกวุฒิสภา
ฝ่ายตุลาการมีบทบาทสำคัญในการคัดสรรและเลือกบุคคล
เลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เลือก กกต. เลือก ปปช.
เลือกคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และเลือกคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

จะเห็นได้ว่าอำนาจของฝ่ายตุลาการภายใต้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550
มีมากขึ้น ฝ่ายตุลาการก้าวล่วงไปใช้อำนาจนิติบัญญัติ
และก้าวล่วงไปใช้อำนาจบริหาร
ผมจึงชี้ประเด็นว่า รัฐธรรมนูญ 2550 เป็นรัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้น
เพื่อให้มีการก้าวก่ายอำนาจอธิปไตยซึ่งกันและกัน
และเป็นการก้าวก่ายที่มากที่สุดเท่าที่เคยเห็นตั้งแต่ปี 2475 เป็นต้นมา

ในประการที่สี่ การเขียนรัฐธรรมนูญด้วยความหวาดกลัว
พรรคการเมืองขนาดใหญ่และการผูกขาดทางการเมือง

แต่เดิมรัฐธรรมนูญมีอคติว่าด้วยขนาดของพรรค
กล่าวคือฐานคติของรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ นับตั้งแต่ปี 2521 เป็นต้นมา
ยึดฐานคติที่ว่าพรรคใหญ่ดีกว่าพรรคเล็ก
นี่เป็นอิทธิพลของนักรัฐศาสตร์ที่ไปรับใช้ผู้นำฝ่ายทหาร
ในยุคเผด็จการคณาธิปไตยในการร่างรัฐธรรมนูญ

อคติว่าด้วยขนาดของพรรคปรากฏชัดเจนครั้งแรกในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2521
ก็คือการจำกัดอำนาจนิติบัญญัติของพรรคการเมืองขนาดเล็ก
รัฐธรรมนูญฉบับ 2521 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ ส.ส.
ไม่สามารถนำเสนอร่างพระราชบัญญัติได้ในนามของปัจเจกบุคคล
ร่างกฎหมายที่ ส.ส. จะเสนอเข้าสภาจะต้องได้รับ
มติจากพรรคการเมืองที่ตัวเองสังกัด และจะต้องมี ส.ส.
ร่วมพรรคเดียวกันลงนามรับรองไม่น้อยกว่า 20 คน
เป็นครั้งแรกที่รัฐธรรมนูญมีอคติว่าด้วยขนาดของพรรค
ลงโทษพรรคการเมืองขนาดเล็กที่มี ส.ส. น้อยกว่า 20 คน
ไม่ให้มีบทบาทในกระบวนการนิติบัญญัติ


ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 มาตรา 138 ไม่ได้มีข้อจำกัดในเรื่องนี้
อคติว่าด้วยขนาดของพรรคลบเลือนไป
แนวความคิดที่ว่าพรรคใหญ่ดีกว่าพรรคเล็กถูกลบออกไป
จากร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550
ส.ส. สามารถที่จะเสนอร่างกฎหมายในนามปัจเจกบุคคลได้
ไม่ต้องผ่านเป็นมติของพรรค แล้วก็ไม่ต้องมีสมาชิกในสังกัด
พรรคเดียวกันลงนามรับรองอย่างน้อย 20 คน
รวมไปถึงกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญด้วย
รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ถึงแม้ว่าจะให้ ส.ส.
มีสิทธิในการเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
แต่ว่ารัฐธรรมนูญ 2540 กำหนดว่า
ญัตติเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต้องเป็นมติของพรรค

อคติว่าด้วยขนาดของพรรคที่ว่าพรรคการเมืองขนาดใหญ่
ดีกว่าพรรคการเมืองขนาดเล็ก นอกจากปรากฏในบทบัญญัติ
ว่าด้วยการเสนอร่างกฎหมายแล้ว ก็ยังปรากฏในระบบการเลือกตั้ง
อคติที่รุนแรงที่สุดก็คือระบบปาร์ตี้ลิสต์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
ฉบับปี 2540 ทำไมจึงบอกว่าเป็นคติที่รุนแรง
ก็เพราะว่าระบบปาร์ตี้ลิสต์ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับ 2540
cut-off ที่ 5 เปอร์เซ็นต์ พรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียง
ไม่ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ไม่มี ส.ส. ในระบบปาร์ตี้ลิสต์ ที่นั่ง ส.ส.
ก็เกลี่ยไปให้กับพรรคการเมืองขนาดใหญ่
ระบบปาร์ตี้ลิสต์ทำให้พรรคการเมืองขนาดใหญ่
มี Over Representation และทำให้
พรรคการเมืองขนาดเล็กมี Under Representation


ภายใต้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550
ซึ่งใช้ Popultional Representation หวังว่า
จะไม่มี cut-off ในแง่นี้ก็ทำให้อคติที่ว่า
พรรคการเมืองใหญ่ดีกว่าพรรคการเมืองเล็ก
ถูกลบไปในร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 หมายความว่า
พรรคการเมืองขนาดใหญ่ไม่มีความได้เปรียบเกินกว่า
ที่ควรจะได้จากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ
นี่เป็นการร่างรัฐธรรมนูญด้วยความเกรงกลัว
พรรคการเมืองใหญ่ แต่ผมคิดว่ามันเป็นทิศทางที่ดี

ฐานคติของร่างรัฐธรรมนูญเก่าๆ อย่างน้อยตั้งแต่ปี 2521 เป็นต้นมา
ด้วยอิทธิพลของนักรัฐศาสตร์กระแสหลักมีความเชื่อว่า
ระบบทวิพรรคดีกว่าระบบพหุพรรค
นักรัฐศาสตร์ไทยต้องการให้สังคมการเมืองไทยพัฒนา
ไปสู่ระบบที่มีพรรคการเมืองเพียง 2-3 พรรค
ดังที่เป็นอยู่ในอังกฤษและในสหรัฐอเมริกา
แล้วรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ซึ่งให้ประโยชน์กับ
พรรคการเมืองขนาดใหญ่อย่างรุนแรง
เราก็เห็นพัฒนาการของการเมืองไทยในทางที่
สังคมการเมืองไทยกำลังเคลื่อนไปสู่ระบบทวิพรรค
(Bi-Party System) เพราะว่าพรรคการเมืองขนาดใหญ่
ได้โบนัสจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ โบนัสดังกล่าวเป็นสิ่งจูงใจ
ที่ทำให้พรรคการเมืองอาศัยวิธีการเติบโตจากภายนอก
(External Growth) คือการครอบ-การควบกลุ่ม
และพรรคการเมืองอย่างที่พรรคไทยรักไทยทำ
พรรคไทยรักไทยซื้อกลุ่มการเมือง ซื้อพรรคการเมือง

แต่ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550
มีความเป็นไปได้อย่างสูงมากที่สังคมการเมืองไทย
จะเปลี่ยนไปสู่ระบบหพุพรรค (Multi-Party System)
เพราะอะไร เพราะว่าระบบเลือกตั้งที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
เลือกเป็นระบบการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตพวงใหญ่
ต่างกับระบบการเลือกตั้งเขตเล็กคนเดียว
ระบบการเลือกตั้งเขตเล็กคนเดียวนั้นมีแนวโน้ม
จะเปลี่ยนแปลงสังคมการเมืองไปสู่ Bi-Party System
แต่ระบบการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตพวงใหญ่
มีแนวโน้มที่จะทำให้สังคมการเมืองไทยเปลี่ยนไปสู่ Multi-Party System

อย่างไรก็ดี วงวิชาการเศรษฐศาสตร์ไม่มีผลการวิจัยที่ยืนยันว่า
Bi-Party System ดีกว่าหรือเลวกว่า Multi-Party System

นี่คือบทบัญญัติส่วนที่สองซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง
ความหวาดกลัวพรรคการเมืองขนาดใหญ่


บทบัญญัติในส่วนที่สามคือการกำหนด Term Limit
ของผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีอยู่ในมาตรา 167 วรรค 4
นายกรัฐมนตรีจะมีวาระไม่เกิน 2 วาระ หรือไม่เกิน 8 ปี

บทบัญญัติในส่วนที่สี่ที่สะท้อนให้เห็นถึงความหวาดกลัว
พรรคการเมืองขนาดใหญ่และการผูกขาดทางการเมือง
ร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ตรงกันข้ามกับฉบับปี 2540
กล่าวคือฉบับปี 2540 ต้องการส่งเสริม Strong Executive
และต้องการส่งเสริม Strong Prime Minister
แต่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือมีการผูกขาดทางการเมือง
รัฐบาลทักษิณมีอำนาจผูกขาดทางการเมืองทั้งในตลาดนักการเมือง
และตลาดพรรคการเมือง ส่วนร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550
ทำให้ Strong Executive ลดความเข้มข้นลง

ทำไมถึงบอกว่าลดความเข้มข้น
ประการแรกทีเดียว
อคติว่าด้วยขนาดของพรรคลดลง
Over Representation ของพรรคการเมืองขนาดใหญ่ลดลง
ประการที่สอง การตรวจสอบของฝ่ายนิติบัญญัติง่ายขึ้น
แต่ก่อนนี้ในรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 การเสนอญัตติอภิปราย
ไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีต้องอาศัยคะแนนเสียง 2 ใน 5 ของจำนวน ส.ส.
ที่มีอยู่ แต่ว่าภายใต้รัฐธรรมนูญ 2550 เพียง 1 ใน 4
ประการที่สาม เหตุผลที่ Strong Executive
ลดความเข้มข้นลงก็คือนายกรัฐมนตรีมีอำนาจควบคุมรัฐมนตรีน้อยลง
ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 ห้าม ส.ส. ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรีสามารถควบคุมรัฐมนตรีในรัฐบาลได้ง่าย
เพราะว่าในทันทีที่นายกฯ ปรับคณะรัฐมนตรี ปลดรัฐมนตรีออกจากตำแหน่ง
รัฐมนตรีคนนั้นก็จะว่างงานทันทีในทางการเมือง
ไม่สามารถที่จะกลับไปดำรงตำแหน่ง ส.ส. ได้
ถึงแม้ว่าก่อนที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีจะเป็น ส.ส.
อยู่ก่อนแล้วก็ตาม แต่ภายใต้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550
ไม่ได้ห้าม ส.ส. ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
แม้จะถูกปลดออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีก็ยังคงมีตำแหน่ง ส.ส.
รองรับอยู่ นี่เป็นลักษณะสำคัญในประการที่สี่

ลักษณะที่สำคัญในประการที่ห้า ก็คือ
การฟื้นคืนของระบอบอำมาตยาธิปไตย

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ต้องการฟื้นคืนระบอบอำมาตยาธิปไตย
ผมไม่เคยมีความเชื่อว่าการรัฐประหารจะก่อให้เกิดการผลิตรัฐธรรมนูญ
ที่เป็นประชาธิปไตย ไม่เคยมีนะครับ ยกเว้นรัฐประหารปี 2490
แล้วเกิดขึ้นด้วยอุบัติเหตุ ลองไล่เหตุการณ์ดูสิครับ

รัฐประหารปี 2500 กับ 2501 ของสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ก่อให้เกิดผลผลิตรัฐธรรมนูญฉบับปี 2511
ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญกึ่งเผด็จการกึ่งประชาธิปไตย
เป็นรัฐธรรมนูญอำมาตยาธิปไตย

รัฐประหารปี 2512 ยังไม่ทันผลิตรัฐธรรมนูญ
ก็เกิดเหตุการณ์ตุลาคม 2516
เพราะขบวนการสิทธิเสรีภาพของประชาชนในเมืองไทย
ไม่เชื่อว่าจะมีการผลิตรัฐธรรมนูญ

รัฐประหารปี 2519 ก่อให้เกิดรัฐธรรมนูญ 2521
ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญเผด็จการ

รัฐประหารปี 2534 ก่อให้เกิดรัฐธรรมนูญฉบับ 2534
ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญกึ่งเผด็จการกึ่งประชาธิปไตย
เป็นรัฐธรรมนูญซึ่งพยายามฟื้นอำนาจของระบอบอำมาตยาธิปไตย

ในทำนองเดียวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2550
ก็เป็นรัฐธรรมนูญของระบอบอำมาตยาธิปไตย

โครงสร้างชนชั้นปกครองไทยเปลี่ยนแปลงไปมาก
หลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเดือนตุลาคม 2516
ก่อนหน้านั้นการรับราชการเกือบจะเป็นหนทางเดียวในการไต่เต้า
ขึ้นไปเป็นชนชั้นปกครอง แต่หลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
เดือนตุลาคม 2516 มีมนุษย์ต่างดาวนอกระบบราชการ
ถีบตัวขึ้นมาเป็นชนชั้นปกครอง
โดยผ่านกระบวนการเลือกตั้งของประชาชน
นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ

จากการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้มีความหมายแต่เพียงว่า
มีมนุษย์ต่างดาวขึ้นมาเป็นชนชั้นปกครองเท่านั้น
แต่มันยังมีนัยยะสำคัญต่อกระบวนการแบ่งปันส่วนเกินทางเศรษฐกิจ
จากการกำหนดและการบริหารนโยบายทางเศรษฐกิจ
แต่ก่อนนี้ส่วนเกินทางเศรษฐกิจจากการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ
กระจุกอยู่ในระบบราชการ และแบ่งปันกัน
ในหมู่ผู้นำข้าราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน
หลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเดือนตุลาคม 2516
ส่วนเกินทางเศรษฐกิจนี้เริ่มรั่วไหลออกนอกระบบราชการ
ตกไปสู่มนุษย์ต่างดาวที่มาจากกระบวนการเลือกตั้ง
รัฐประหารเดือนกันยายน 2519 เป็นความพยายาม
ที่จะดึงเอาส่วนเกินทางเศรษฐกิจดังกล่าวนี้กลับเข้ามาสู่ระบบราชการ


ระบอบอำมาตยาธิปไตยที่จะฟื้นคืนด้วยการบังคับใช้
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 อาศัยตุลาการ ผู้พิพากษา เป็นหัวหอก

และนี่เป็นลักษณะสำคัญห้าประการของร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550

ศ.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ เป็นนักเศรษฐศาสตร์การเมืองที่มีชื่อเสียง
เป็นนักวิชาการที่มีอิสระ แสดงความคิดเห็นได้อย่างเฉียบคม
และตรงไปตรงมาเช่นนี้
ถือเป็นกระจกสะท้อนให้กับสังคมไทยได้เป็นอย่างดี
จขบ. จึงอดนำของดีดีเช่นนี้มาฝากกันไม่ได้ค่ะ





 

Create Date : 06 มิถุนายน 2550
32 comments
Last Update : 12 ธันวาคม 2550 8:09:53 น.
Counter : 724 Pageviews.

 

มีประโยชน์จริงๆ ขอ copy ไปอ่านประกอบการเรียนโทเลยนะคะ

 

โดย: มนวินนี่ (tomdome ) 6 มิถุนายน 2550 9:29:28 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ค่ะท่านพี่เจ๊..

ชมดาวเป็นพิเศษเลยนะคะ..ดางร่วง..พิ้นหลังก็ดาว..คริๆๆ

หนูแวะมาเยี่ยมเหมือนปกติ..ไม่มีไรมาก..
จะให้อะไรแด่คนช่างฝันนะ...?

 

โดย: ดอกหญ้าเมืองเลย 6 มิถุนายน 2550 10:30:06 น.  

 

สงสัย...ต้องใช้เวลากะ blog นานแน่ๆ เพราะคงอ่านผ่านไม่ได้...อิอิ สาระแน่จริงๆ

เข้ามาชวนไปดู blog ใหม่ ภาค 2 update เรียบร้อย....

คำเตือน ทาครีมกันแดดไปด้วยน้า เดี๋ยวดำเหมือนจขบแล้วจะหาว่าไม่เตือน......

 

โดย: วิตามินโซดา 6 มิถุนายน 2550 10:55:00 น.  

 

หวัดดีจ้า แวะมาชวนไปกินข้าว มีเพื่อนกินข้าวยัง
เรื่องการเมืองมะรุ้เรื่องเลยค่ะ

 

โดย: lozocat 6 มิถุนายน 2550 12:37:01 น.  

 

แวะมาเยี่ยมเฉย ๆ ครับ

 

โดย: 9A 6 มิถุนายน 2550 19:58:29 น.  

 

แวะมาเยี่ยมค่ะ
เรื่องการเมืองมะรุเรื่อเหมือนกันค่ะ
emoemoemo

 

โดย: whitelady 6 มิถุนายน 2550 20:46:36 น.  

 

แค่นึกถึงหน้า ตาประสงค์ สุ่น

ก็ทำใจให้ยอมรับรัฐธรรมนูญเผด็จการไม่ลงแล้วล่ะค่ะ

 

โดย: ปุ๊กกี้&คิตตี้ (ปุ๊กกี้&คิตตี้ ) 6 มิถุนายน 2550 22:06:32 น.  

 

มีเรื่องน่าอ่านมาให้อ่านอีกแล้ว มันยาวอ่ะแล้วจะกลับมาอ่านใหม่จ้า แบบว่าพักนี้งานยุ่งค่ะ

 

โดย: bluecomet 7 มิถุนายน 2550 0:40:56 น.  

 



ว้าว..เช้านี้ได้อ่านอะไรดีๆ มีสาระด้วย ดีจังเลย อิๆๆ ขอบคุณที่หามาฝากนะคะ

 

โดย: pataramin 7 มิถุนายน 2550 9:45:22 น.  

 

อาเจ๊..หนูแวะมาบอกว่า ไม่เป็นไรค่ะ..เต็มใจทำค่ะ..
แล้วอาเจ๊อยากจะเอาดวงจันทร์ออกไหม..หมายถึงลบทิ้งนะ..
ถ้ายังบอกหนูได้นะคะ..จะเอาให้หรือเพิ่มเติมให้ได้..

สนุกกับวันทำงานะคะอาเจ๊...

 

โดย: ดอกหญ้าเมืองเลย 7 มิถุนายน 2550 10:42:29 น.  

 

อิ อิ ดาวตก

ป.ล. เมื่อเช้าดูเรื่องเล่าเช้านี้ เค้าแจกบัตรดู เซซามี่ สตรีท ค่ะ อยากได้จัง

ป.ล. 2 อยากไปสนามหลวง

 

โดย: ปุ๊กกี้&คิตตี้ (ปุ๊กกี้&คิตตี้ ) 7 มิถุนายน 2550 10:48:32 น.  

 

แวะเข้ามาเยี่ยมนะครับ

ไว้ผมค่อยเขียนเรื่องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญบ้างดีกว่า เพราะว่าคราวที่แล้วเรื่องของผม แค่เฉียด ๆ คุกเอง คุณหอมกรว่าดีไหมครับ?

อิอิ

ช่วงนี้ผมวุ่นนิดนึงครับ เลยไม่ค่อยได้แวะเข้ามาเยี่ยมนะครับ

แต่ว่าที่บล็อคของผมยังมีเรื่องให้อ่านอยู่ตลอดนะครับ



อิอิ

 

โดย: อาคุงกล่อง (อาคุงกล่อง ) 7 มิถุนายน 2550 11:30:51 น.  

 

เป็นเรื่องที่หนักจัง (สำหรับป้ามด)
แต่ก็น่าเก็บไว้ศึกษา .. ถ้ามีเวลาจะมาอ่านแบบลึกซึ้งค่ะ

 

โดย: ป้ามด 7 มิถุนายน 2550 17:09:03 น.  

 



เพิ่งเคยได้ยินนะเนี๊ย "อำมาตยาธิปไตย"

 

โดย: mooemp 7 มิถุนายน 2550 17:52:55 น.  

 

ระบอบอำมาตย์ ก๊อพวกเจ้าขุนมูลนายทั้งหลาย

เฮ้อ เบื่อจัง พวกอนุรักษ์นิยม ไม่อยากให้บ้านเมืองก้าวหน้า
เป็นไดโนเสาร์เต่าล้านปี

 

โดย: ปุ๊กกี้&คิตตี้ (ปุ๊กกี้&คิตตี้ ) 7 มิถุนายน 2550 18:32:22 น.  

 

แวะมาหาคุณหอมกร พร้อมกับเสาะหาความรู้ค่ะ ...

ไม่ได้แวะมาสักพักใหญ่ๆ ตอนนี้ว่างแลว้ ไม่ได้ไปหลังเขาแล้ว ก็แวะมาหาเรื่อยๆ
อย่าเพิ่งเบื่อกันซะก่อนนะค่ะ

 

โดย: JewNid 7 มิถุนายน 2550 22:41:09 น.  

 

 

โดย: วดิม้ผสด IP: 124.120.190.134 22 มิถุนายน 2550 18:19:13 น.  

 


รักนะ

 

โดย: เก๊บ IP: 203.156.38.193 5 สิงหาคม 2550 14:07:51 น.  

 

คนไทย รักกันอยู่เเล้วค่ะ เชื่อว่าต้องมีทางออกที่ดีแน่นอนค่ะ emoemoemo

 

โดย: น้อยหน่า IP: 202.91.23.1 7 สิงหาคม 2550 8:55:38 น.  

 

รักชาติค่ะ

 

โดย: เเก้ว IP: 203.113.46.9 18 สิงหาคม 2550 16:46:45 น.  

 

 

โดย: ioojj IP: 203.113.46.9 18 สิงหาคม 2550 16:49:20 น.  

 

สะเด้ะเเ

 

โดย: ราสาสา IP: 125.25.214.193 16 กันยายน 2550 16:11:34 น.  

 

emoemoemoemo

 

โดย: okedaa IP: 202.28.35.1 18 กันยายน 2550 15:34:40 น.  

 

emoemoemoemoemoemoemo

 

โดย: juoon IP: 202.28.35.1 18 กันยายน 2550 15:40:05 น.  

 

 

โดย: toyi IP: 222.123.65.202 24 กันยายน 2550 19:15:27 น.  

 

emoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemoemo

 

โดย: yirkju IP: 222.123.65.202 24 กันยายน 2550 19:18:47 น.  

 

 

โดย: 11 IP: 202.183.233.11 22 พฤศจิกายน 2550 18:43:20 น.  

 

ดีค่ะก็ดีค่ะ

 

โดย: นิว IP: 222.123.22.78 27 พฤศจิกายน 2550 18:41:07 น.  

 

ดีครับ


ได้ความรู้มากเลย


งาม

มากกกกกกกกกกกกกกก



คร๊าบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ

 

โดย: บอยน้อย IP: 222.123.228.52 5 ธันวาคม 2550 19:21:44 น.  

 



ดีงับบบบบบบบบบบบ
เขียนได้งาม

มากกกกกกกกกกกก


ค่ะ

 

โดย: boy IP: 222.123.228.52 5 ธันวาคม 2550 19:35:52 น.  

 

ขอบคุณมากมายสำหรับแขกหลายท่านที่แวะมาเยี่ยมกัน
แต่ไม่มีบ้านให้เราแวะไปเยี่ยมเยียนนะจ๊ะ
emoemoemo

 

โดย: หอมกร 10 ธันวาคม 2550 20:26:41 น.  

 

ใครเคยอ่าน ร่ารัฐธรรมนูญ 87654321 บ้างเอ่ย
อยากรู้ว่ามันเกี่ยวกะเรื่องอะไร

 

โดย: 87654321 IP: 202.69.140.6 30 มกราคม 2551 14:46:47 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


หอมกร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 66 คน [?]




ทำงานราชการมีจิตใจรักชาติไม่น้อยกว่าใคร จากเดิมทำบล็อกหลากหลายที่ตนเองสนใจ ปัจจุบันเน้นแปะเรื่องราวจากภาพยนตร์ไว้เป็นข้อมูลเบื้องต้นเพื่อการตัดสินใจไปดู
Hello ! Hello ! Hello ! ขอบคุณสำหรับการเยี่ยมเยียนจ้า
Friends' blogs
[Add หอมกร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.