กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
เมษายน 2564
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
space
space
8 เมษายน 2564
space
space
space

ปัญญา ๓ ระดับ
ยาวไป เต็มๆ หัวข้อข้างบน  ส่วน กท. นี้ ตัดตอนเอาแค่นี้ แต่สาระยังคงเดิม  ดังนี้ 

      สำหรับในที่นี้   เมื่อแยกบุคคลพิเศษออกไปแล้ว   จึงกล่าวถึงปัญญา ๓  ครบจำนวน  และเรียงลำดับโดยถือเอาคนทั่วไปเป็นที่ตั้ง ดังนี้

      ๑.สุตมยปัญญา    ปัญญาเกิดจากสุตะ    ได้แก่    ปัญญาที่คนทั่วไปจะพัฒนาขึ้นไป  โดยต้องอาศัยสุตะ   คือ   เมื่อยังคิดเองไม่เป็น    หรือคิดไปไม่ถึง    มองอะไรไม่ออก   ไม่เข้าใจ   ก็ต้องมีผู้แนะนำสั่งสอนบอกให้   เช่น  มีท่านที่เรียกว่าเป็นกัลยาณมิตร   อย่างพระพุทธเจ้า   ท่านผู้รู้   ครูอาจารย์    มาแนะนำชี้แจงอธิบาย   จึงรู้เข้าใจหยั่งความจริงได้ในระดับหนึ่ง

     ๒.จินตามยปัญญา    ปัญญาเกิดจากจินตะ ได้แก่ การรู้จักคิด  คือ   เมื่อได้ความรู้เข้าใจในสุตะ   เกิดมีสุตมยปัญญาการเล่าเรียนสดับฟังแล้ว   ก็ฝึกโยนิโสมนสิการให้มองเห็นรู้เข้าใจกว้างไกลลึกรอบทั่วตลอดแยกโยงได้   ทำให้ก้าวต่อไปในการเข้าถึงความจริง   และใช้ความรู้อย่างได้ผล

     ๓.ภาวนามยปัญญา    ปัญญาเกิดจากภาวนา   คือการปฏิบัติบำเพ็ญ  ทำให้เป็นให้มีขึ้นได้จริง    โดยลงมือทำกับประสบการณ์ตรง    หมายถึงปัญญาที่พัฒนาต่อจากสุตมยปัญญา   และจินตามยปัญญาสองอย่างแรกนั้น   คืออาศัยปัญญาสองอย่างแรกนั้น    พัฒนาต่อไปด้วยการมนสิการ   (หมายถึงโยนิโสมนสิการ)   ที่ตัวสภาวะ   จนเกิดปัญญารู้แจ้งจริงที่สำเร็จเป็นมรรคให้บรรลุผล

     ขอให้สังเกตไว้เป็นข้อสำคัญประการแรกว่า    ภาวนามยปัญญานี้   อาศัยและต่อจากสุตมยปัญญา และจินตามยปัญญา   ไม่ใช่ว่ายังไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย  ไปนั่งสมาธิ   แล้วมาบอกว่าเข้าฌานได้ภาวนามยปัญญา    อย่างนั้นไม่ใช่  พึงตระหนักว่า  คนทั่วไปนี้  แม้แต่จินตามยปัญญาก็ยังทำให้เกิดเองไม่ได้   ต้องเริ่มจากสุตมยปัญญา   (สุตมยปัญญาก็ยังไม่ค่อยจะได้   มีแต่ได้แค่สุตะ อย่างที่พูดข้างต้น)
         
     จุดสังเกตสำคัญประการที่สอง  คือ  โยนิโสมนสิการ  เป็นตัวทำงาน  เรียกได้ว่าเป็นแกนในการพัฒนา หรือสร้างปัญญาทั้งสามอย่างนี้ทั้งหมด    เริ่มตั้งแต่บุคคลพิเศษอย่างพระพุทธเจ้า  ที่ว่าตั้งต้นด้วยจินตามยปัญญา    โดยไม่ต้องอาศัยสุตะจากคนอื่น  (ไม่ต้องพึ่งปรโตโฆสะ  ก็คือ  ใช้โยนิโสมนสิการที่มีขึ้นมาเป็นของเริ่มต้นในตนเอง   เป็นที่มาของปัญญาที่เกิดจากการคิด   ที่ทำให้คิดเป็นได้อย่างเฉพาะพิเศษ      ส่วนคนทั่วไป  แม้จะได้พึ่งสุตะจากผู้อื่น    แต่เมื่อจะก้าวต่อไปจากนั้น    จะให้ปัญญาพัฒนาขึ้นไป  ก็ต้องใช้โยนิโสมนสิการ   จนกระทั่ง  ในที่สุด  การเกิดของปัญญาข้อที่  ๓   อันสูงสุดนั้น   มีการทำงานของโยนิโสมนสิการเป็นสาระสำคัญเลยทีเดียว

      เรื่องจึงเป็นอย่างที่พูดแล้วแต่ต้นว่า   ปัญญา  ๓  อย่างในชุดสุตมยปัญญา จินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญา  นี้ในพระไตรปิฎกกล่าวถึงน้อยนัก    พระสารีบุตรประมวลมาแสดงไว้    เป็นการให้มองเห็นแหล่งเกิดที่มาของปัญญา   ไม่เป็นหลักที่ท่านเน้นย้ำมาก

     เรื่องที่พระพุทธเจ้าเน้นย้ำบ่อยมาก   ตรัสอยู่เสมอ   ก็คือ  โยนิโสมนสิการ  ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติในการทำให้เกิดปัญญา  เมื่อมีโยนิโสมนสิการแล้ว      ปัญญาทั้งสามนั้นก็มาได้  และให้สัมฤทธิ์บรรลุจุดหมาย

    ก็มาสรุปไว้ท้ายนี้อีกทีว่า  คนทั้งหลายที่รับข่าวสารข้อมูลกันนั้น

173 บางคน  ได้แต่สุตะ   โดยไม่ได้ปัญญาเลย   แม้แต่สุตมยปัญญาก็ไม่ได้
174 บางคน   รู้จักมนสิการไตร่ตรองพิจารณาสุตะนั้นแล้ว   สามารถทำสุตมยปัญญาให้เกิดขึ้น  
175 บางคน  ได้สุตมยปัญญาแล้ว รู้จักมนสิการคิดพินิจยิ่งขึ้นไป  ก็พัฒนาจินตามยปัญญาให้เกิดขึ้นมา
172 บางคน  ใช้สุตมยปัญญา   และจินตามยปัญญา  ที่มีที่ได้แล้วนั้น   เป็นฐาน พัฒนาปัญญาด้วยโยนิโสมนสิการยิ่งขึ้นไป   ก็อาจทำภาวนามยปัญญาให้เกิดขึ้นได้

     141หลักธรรมโยงถึงกันหมด  นี่ก็โยงไปที่โยนิโสมนสิการ170 

158 ขอนำประสบการณ์ภาคปฏิบัติตรงเทียบภาวนามยปัญญา  เขาทำยังไง  เป็นอะไร  ไปต่อได้ไม่ได้ เพราะอะไร 

ผมก็นั่งตามลมหายใจพุทโธไป

วันแรกๆก็ไม่เป็นอะไร   พอวันที่สามนั่งไปซักพักประมาณสิบนาทีเริ่มมีอาการเหวี่ยงแบบเหวี่ยงหมุนจน เวียนหัวจึงนั่งต่อไม่ได้ลืมตาขึ้นมานั่งดูพระรูปอื่น

เป็นอย่างนี้อยู่เกือบตลอด กลับมาที่กุฏิก่อนจะจำวัดก็นั่งก็เป็นอีก

จนมาถามพระพี่เลี้ยงท่านบอกเหมือนจิตกำลังจะได้เข้าสู่ความสงบให้ผ่านจุดนี้ไปให้ได้ แต่มันก็ได้แบบแปปๆแล้วก็หมุนอีกหมุนอีก

จนลาสิกขามาก็เริ่มมาหาอ่านเอง  จนได้อ่านบันทึกกรรมฐานของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ให้พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม

คราวนี้ก็ทำตามหนังสือ  หายใจตอนแรกก็ยาว    ก็ตามไปซักพัก เริ่มพิจารณาตามสติปัฐฐาน    คราวนี้หมุนเร็วเลยหมุนแรงมากจนรู้สึกจะอาเจียนเลย

ผมก็พิจารณาว่าเป็นทุกขเวทนา ก็ดีขึ้นแปปก็หมุนอีกเรื่อยๆ   จนตอนนี้ยังแก้ไม่ได้เลยครับ ไม่รู้ว่าจะทำยังไง  ล่าสุดเมื่อคืนหมุนจนจะอ้วกจนถอนสมาธิออกมา  ยังมีอาการเวียนหัวจะอ้วกมาอีกซักสิบห้านาทีค่อยดีขึ้น

คำถามครับ

1. ผมควรแก้ปัญหานี้ยังไงดี   ฝืนนั่งไปเรื่อยๆจนหายหรือต้องกำหนดอะไรยังไง

2. จุดมุ่งหมายจริงๆ   คือวิปัสสนากรรมฐานคืออะไรครับ     

ไม่ได้โอ้อวดว่าตัวเองเก่งนะครับ    พอดีผมเรียนแพทย์เลยเข้าใจพวกสรีระร่างกายมนุษย์อยู่แล้ว     เมื่อมาเรียนรู้ทางธรรมพิจารณาตามขันธ์ 5 ก็เข้าใจว่ามันไม่ได้มีตัวตนจริงๆของเรา     เหมือนเท่าที่อ่านการฝึกวิปัสสนา  ทำให้เราเข้าใจว่า  ทุกอย่างมีเกิด-ดับของมัน เป็นธรรมดา ไม่ให้เรายึดติด   แต่ถ้าผมอ่านแล้วเข้าใจแล้วจะทำไปเพื่ออะไร     หรือว่าให้จิตเราแข็งแกร่ง   จะได้มีสติรู้เท่าทันทุกการกระทำ   หลังสึกออกมาทุกวันนี้     เวลาจะโกรธใครก็เหมือนมีสติมาห้ามทัน   แต่ก็ยังมีหลุดบ้าง    ซึ่งก่อนหน้านี้จะตอบโต้แทบจะทันทีเพราะเป็นคนใจร้อน


Create Date : 08 เมษายน 2564
Last Update : 15 เมษายน 2564 14:43:05 น. 0 comments
Counter : 3015 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space