บล็อก "บ้านหมอ" ขอนำเสนอเรื่องสุขภาพ + ภาษาอังกฤษ + ข่าวต่างประเทศสบายๆ สไตล์เราครับ...

<<
พฤษภาคม 2554
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
9 พฤษภาคม 2554
 

อ้วนลงพุงเสี่ยงตาเสื่อม+วิธีป้องกัน [EN]

สำนักข่าวสุขภาพ 'VirtualMedicalCentre' จากออสเตรเลีย ตีพิมพ์เรื่อง'Bulging bellies linked to degenerative eye disease' = "พุงป่อง (อ้วนลงพุง) เพิ่มเสี่ยง (มีความสัมพันธ์กับ) โรคตาเสื่อม", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ



  • [ belly ] > [ เบ๊ล - หลี่ ] > //www.thefreedictionary.com/belly > noun = ท้อง พุง

  • [ bellyache; -ache = ปวด ] > [ เบ๊ล - ลี - เอค ] > //www.thefreedictionary.com/bellyache > noun = abdomen pain / abdominal pain = ปวดท้อง; verb = บ่นไปเรื่อย (แบบไร้เหตุผล)

  • [ stomachache; stomach = กระเพาะอาหาร ท้อง; -ache = ปวด ] > [ s - ตั๊ม - หมัก - เอค ] > //www.thefreedictionary.com/stomachache > noun = abdomen pain / abdominal pain = ปวดท้อง


อ.พญ.เมดเดลีน อดัมส์ นักศึกษาปริญญาเอกจากสถาบัน CERA ออสเตรเลียทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างอายุ 40-69 ปี 21,287 คน

.

ผลการศึกษาพบว่า ภาวะอ้วนลงพุงในผู้ชายเพิ่มเสี่ยงโรคตาเสื่อม-ตาบอดชนิดจอรับภาพส่วนกลางเสื่อมสภาพ (age-related macular degeneration / AMD) = 75%

.

ไขมันลงพุง ซึ่งประกอบด้วยไขมันในช่องท้อง-หลังช่องท้อง-ใต้ผิวหนัง (ส่วนพุง) ต่างจากไขมันส่วนอื่นๆ ของร่างกาย คือ ไขมันลงพุงเป็นไขมันที่ทำงานคล้ายอวัยวะ (organ) ที่มีชีวิต หรือต่อมไร้ท่อ

.

ไขมันส่วนอื่นๆ ของร่างกายมีลักษณะคล้ายไขมันเงียบ ถ่านที่ไม่ติดไฟ หรือคล้ายน้ำมันพืชในขวด ไม่ค่อยปล่อยสารเคมีออกไปในกระแสเลือด

.

ไขมันลงพุงทำงานคล้ายถ่านพรุติดไฟ ครุกรุ่นไปเรื่อยๆ ปล่อยสารก่อการอักเสบที่ทำให้ธาตุไฟในร่างกายกำเริบ คล้ายกับไฟไหม้ป่า และปล่อยฮอร์โมนออกมา

.

การศึกษานี้พบว่า ไขมันลงพุงส่งผลร้ายต่อผู้ชายมากกว่าผู้หญิง, กลไกที่เป็นไปได้ คือ ฮอร์โมนเอสโทรเจนในผู้หญิง (ฮอร์โมนเพศ) มีส่วนช่วยป้องกันอันตรายจากสารเคมีร้ายๆ ได้บางส่วน

.

โรคจอรับภาพส่วนกลางเสื่อมสภาพ ซึ่งพบบ่อยในคนสูงอายุ (AMD) เป็น 1 ในสาเหตุหลักที่ทำให้คนออสเตรเลียมีตาเสื่อมสภาพ และตาบอด

.

โรคนี้พบประมาณ 1 ใน 7 ของคนที่มีอายุเกิน 50 ปี และพบมากขึ้นในคนสูงอายุ (โรคนี้พบในฝรั่งผิวขาวมากกว่าคนเอเชีย)

.

วิธีถนอมสายตาให้ใช้การดีได้นานๆ ที่สำคัญได้แก่ [ preventblindness ]; [ FFB ]; [ FFB ] ; [] ; []

.

(1). ไม่สูบบุหรี่ และไม่หายใจเอาควันบุหรี่ที่คนอื่นสูบเข้าไป โดยเฉพาะห้องแอร์ที่ไม่ห้ามสูบบุหรี่ เช่น ไนท์คลับ ผับ บาร์ ฯลฯ

.

บุหรี่เพิ่มเสี่ยง AMD มากกว่า 2 เท่า และทำให้เป็นตั้งแต่อายุน้อยๆ (น้อยกว่าคนที่ไม่สูบประมาณ 10 ปี)

.

(2). กินอาหารสุขภาพพอประมาณ เช่น ผักใบเขียว ผลไม้ทั้งผล (ควรกินอาหารจากพืชหลายๆ สี อย่างน้อยสีจราจร (เหลือง-แดง-เขียว) หรือดีกว่านั้นให้ได้สีรุ้ง (ม่วง-คราม-น้ำเงิน-เขียว-เหลือง-แสด-แดง) และบวกสีขาว เช่น หอม กระเทียม ฯลฯ ปลาทะเลที่ไม่ผ่านการทอด 2 ครั้ง/สัปดาห์ ฯลฯ และควรใช้น้ำมันชนิดดี (ไม่ใช่น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว น้ำมันจากไขมันสัตว์)

.

หลีกเลี่ยงอาหารทอด อาหารไขมันสูง ไขมันทรานส์ (พบในเบเกอรี่ เค้ก คุกกี้ ขนมกรุบกรอง ขนมใส่ถุง ฟาสต์ฟูด), คนที่กินไขมันทรานส์หรือไขมันแปรรูปเพิ่มเสี่ยง 2 เท่า

.

(3). ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ

.

(4). ไม่นั่งนิ่งนานเกิน 1-2 ชั่วโมง ควรลุกเดินไปเดินมาสลับ

.

(5). ตรวจเช็คความดันเลือด-น้ำตาลในเลือด-ไขมันในเลือด (โคเลสเตอรอล), ถ้าสูงควรปรับเปลี่ยนแบบแผนการใช้ชีวิต (ไลฟ์สไตล์) หรือใช้ยา รักษาให้ต่อเนื่อง

.

(6). หลีกเลี่ยงแสงแดดจ้า (ช่วง 9.00-16.00 น.), ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรใช้แว่นกันแดด สวมหมวกที่มีปีกป้องกัน

.

(7). ตรวจสุขภาพตาเมื่อมีอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือก่อนหน้านั้นถ้ามีปัญหาสายตา เช่น สายตาสั้นมาก ฯลฯ

.

(8). ไม่ดื่ม (แอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์ ฯลฯ) หนัก, การดื่มหนักเพิ่มเสี่ยง 47%

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

> [ Twitter ]




  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 9 พฤษภาคม 2554.




  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.








Free TextEditor




 

Create Date : 09 พฤษภาคม 2554
0 comments
Last Update : 9 พฤษภาคม 2554 21:24:00 น.
Counter : 1737 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

wullop
 
Location :
ลำปาง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]




บล็อกสุขภาพ + เรื่องทั่วไป... ท่านนำบทความไปใช้ โดยไม่ต้องขออนุญาตครับ... นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์...
New Comments
[Add wullop's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com