ทริปน่าน ตุลาคม 2563 ตอนที่ 1 วัดพระธาตุแช่แห้ง

คำว่าพงศาวดาร มาจากคำว่า พงศ + อวตาร เป็นงานเขียนที่เน้นให้ความสำคัญของกษัตริย์ผู้ปกครอง
จาก
ประชุมพงษาวดารภาคที่ 10 เรื่อง ราชวงษปกรณ์ พงศาวดารเมืองน่าน
ฉบับพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช พระเจ้านครน่านยังให้แต่งไว้สำหรับบ้านเมือง
เริ่มต้นที่
พญาภูคาครองเมืองย่าง - ลุ่มน้ำย่าง
มีพรานล่าเนื้อไปถึงตีนดอยภูคา ได้พบไข่สองใบลูกเท่ามะพร้าว จึงนำมาถวายพญาภูคา
พญาภูคานำไปฟักในก๋วยงิ้ว 1 ฟอง (ก๋วย=ตะกร้า, งิ้ว=นุ่น) และก๋วยฝ้าย 1 ฟอง
ฟักออกมาเป็นคนผู้ชาย ก๋วยงิ้วผู้พี่ชื่อ เจ้าขุนนุ่น ก๋วยฝ้ายผู้น้องชื่อ เจ้าขุนฟอง
เมื่อเจ้าขุนนุ่นอายุ 18 ปี เจ้าขุนฟองอายุ 16 อยากปกครองเมือง
พญาภูคาจึงให้ไปหา พระยาเถรแต๋ง (น่าจะเป็นภาษาไทยว่า นักบวชที่ยิ่งใหญ่ชื่อแตง)
พระยาเถรแต๋ง ให้ผู้พี่ไปสร้างเมืองทางตะวันออกของแม่น้ำโขง
เอาไม้เท้าขีดเป็นจันทพยุหะ - ตั้งชื่อเมืองว่าจันทบุรี คือเมืองหลวงพระบาง
ให้ผู้น้องกลับมาทางตะวันตกเฉียงเหนือ ห้างแม่น้ำน่าน 5000 วา
เอาไม้เท้าขีดเป็นเตชะกะพยุหะ - ตั้งชื่อเมืองว่าวรนคร ให้ทั้งคู่กวาดคนรอบ ๆ ให้มาเป็นบริวาร
วรนคร คือเมืองปัว อำเภอปัว มีร่องรอยกำแพงเมืองอยู่

ขุนฟองที่วรนคร มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
จึงได้สร้างเจดีย์คู่กับเมืองไว้บนลานกว้าง ห่างจากเมืองไป 200 เมตร ครอบบ่อที่อยู่ตรงกลางลาน
ปากบ่อไม่มีหญ้าขึ้น เมื่อแหย่ไม้รวกลงไปไม้ก็หักเป็นท่อน ๆ >> สะกัด
และในงานฉลองมีแสงดั่งพระจันทร์ทรงกลดพุ่งออกมาจากพระธาตุ วนเวียนไปรอบพระธาตุ ส่งแสงสว่างไสว >> เป็ง (เพ็ญ) >> เบ็ง
ตั้งชื่อวัดว่า เบ็งสะกัด (คลิก)

ขุนฟองมีลูกชื่อเจ้าเก้าเถื่อน
เมื่อเจ้าเก้าเถือนขึ้นเป็นเจ้าเมืองวรนคร บ้านเมืองเจริญดี
พญาภูคาจึงให้เจ้าเก้าเถื่อนไปปกครองเมืองย่าง
ให้พญาท้าวคำปินเจ้าแม่มืองวรนคร ครองเมืองแทนขณะกำลังตั้งครรภ์
พญางำเมืองทราบช่าว จึงยกทัพมาตีเมืองวรนครได้
พญาท้าวคำปิน หนีไปได้และ คลอดเป็นโอรส
พระโอรส ได้เป็นบุตรบุญธรรมพญางำเมือง รับราชการจนได้ตั้งเป็นขุนใส่ยศ เจ้าเมืองปราด
พญางำเมืองได้หญิงชาววรนครชื่อนางอั้วสิมเป็นชายา มีโอรสองค์หนึ่ง ให้ทั้งคู่อยู่ที่วรนคร
นางอั้วสิม มีเรื่องแหนงใจกับพญางำเมือง และมีใจกับขุนใส่ยศ จึงอภิเษกสมรสกัน
พญางำเมืองยกทัพมา แต่เห็นลูกชายตนเองจึงเปลี่ยนใจยกทัพกลับ
ชาววรนครจึงยกพ่อขุนใส่ยศเป็นเจ้าเมืองวรนคร หรือเมืองพลัว หรือเมืองปัวพระนามว่า " พญาผานอง"
จารึกหลักที่ 1 พ่อขุนรามคำแหง พ.ศ. 1835 ปรากฎชื่อเมือง พลัว หรือเมืองปัว ในจารึก
พ.ศ.1899 พญาการเมือง (โอรสพญาผานอง)ได้รับเชิญจากพญาลิไท ให้ไปร่วมสร้างวัดอภัย
ได้รับพระบรมสารีริกธาตุมา จึงสร้างวัดพระธาตุแช่แห้ง - อิทธิพลสุโขทัย ลังกาวงศ์ ( นิยมพระธาตุ) เริ่มเข้ามาสู่เมืองน่าน
และสร้างเมืองภูเพียงแช่แห้งเป็นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน

พ.ศ. 1911 สมัยพญาผากอง เมืองภูเพียงแล้ง
จึงย้ายเมืองมายังฝั่งตะวันตกของจังหวัดน่าน >>> เวียงใต้
พญาผากอง ถึงแก่พิราลัย >>> พญาคำตันขึ้นครองน่าน
ปรากฏจารึกปู่สบถ พ.ศ. 1935 โดยพญาคำตัน และพญาไสลือไท
ซึ่งแสดงว่าอาจเป็นเครือญาติกันทางปู่และหลานก็ได้
ได้ให้สัตย์สาบานว่าจะช่วยเหลือกันเมื่อเกิดสงคราม
พระยาแพร่ 2 องค์ ก็ยกทัพมาตีเมืองน่าน >>> พ.ศ. 1950 เจ้าปู่เข่งตีคืนมาได้
เจ้าปู่เข่งได้สร้างวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร, วัดพระธาตุเขาน้อย, วัดพญาภู
ซึ่งวัดพญาภูนั้นสร้างไม่เสร็จถึงแก่พิราลัยก่อน
พญางั่วฬารผาสุม
ได้สร้างได้สร้างวัดพญาภูต่อจนเสร็จ
ได้สร้างพระพุทธรูปทองคำปางลีลา คือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี
ประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
พ.ศ. 1993 น่านได้ถูกผนวกเข้ากับล้านนา
เพราะพระเจ้าติโลกอยากได้บ่อเกลือจึงยกทัพมาน่าน - อิทธิพลจากล้านนาสมัยพระเจ้าติโลกเข้ามา
ได้สร้างวัดสวนตาล - แสดงชัยชนะ,
ได้สร้างวัดพญาวัด - เจดีย์เหลี่ยมแบบหริภุญไชย แต่ซุ้มพระเจ้าแบบสมัยพระเจ้าติโลก
พญาแก่นท้าวเจ้าเมืองน่านหนีไปเมืองเชลียง
พ.ศ. 2101-2326 บุเรงนองตีได้ล้านนา น่านจึงตกเป็นของพม่าไปด้วย - อิทธิพลพม่าเข้ามา
พ.ศ. 2134-2146 เจ้าเจตบุตรพรหมินทร์ ครองเมืองน่าน
สร้างวัดดอนแท่นที่เมืองป้อ (อำเภอเวียงสา)
สร้างวัดพรหมินทร์ >>> วัดภูมินทร์
เจ้าเจตบุตรพรหมินทร์ได้พยายามแข็งเมืองกับพม่า แต่ไม่สำเร็จ
จึงถูกจับไปประหารชีวิตที่เชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2146 (ตรงกับสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช)
น่านถูกทิ้งร้างในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีขับไล่พม่าออกจากเชียงใหม่ เพราะพม่ากวาดต้อนผู้คนไปเชียงแสน
พ.ศ. 2328 กองกำลังพื้นเมืองล้านนาขับไล่พม่าออกไปสำเร็จ น่านจึงรวมเข้าอยู่ในอาณาจักรสยาม
มีเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เป็นเจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน
และแต่งตั้งเจ้าสุมนเทวราชขึ้นเป็นเจ้าพระยาหอหน้าฯ
ได้รวบรวมเมืองน่านขึ้นโดยร่วมกับเมืองเชียงใหม่และลำปาง
ตีเมืองเชียงแสนคืนจากพม่า ไปจนถึงสิบสองปันนา เชียงรุ้ง
บูรณะ พัฒนาเมืองน่านและเวียงป้อ
บูรณะ วัดพระธาตุแช่แห้ง วัดบุญยืน(เวียงสา) สร้างและบูรณะกำแพงเมืองน่าน - เวียงใต้
พ.ศ. 2360 เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่
กำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันตกพังทลายลงทั้งแถบ บ้านเรือนวัดวาเสียหาย
พ.ศ. 2362 พญาสุมนเทวราช เจ้าผู้ครองนครน่าน จึงได้ย้ายเมืองไปอยู่ที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง
ทางทิศเหนือของเมืองเดิม เรียกว่า เวียงเหนือ ห่างจากเวียงใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร

ต่อมาแม่น้ำน่านเปลี่ยนเส้นทางเบี่ยงห่างจากกำแพงเวียงใต้ไปมาก
พ.ศ. 2387 เจ้าอนันตวรฤิทธิเดชฯ ผู้ครองนครน่าน
ได้ย้ายกลับมายังเมืองใต้ ณ ที่ตั้งปัจจุบันใน
สมัยเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงส่งข้าหลวงประจำเมืองมากำกับดูแลการบริหารบ้านเมืองของเจ้าผู้ครองนคร
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า
เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่านได้ประกอบคุณงามความดีแก่ราชการบ้านเมือง
เป็นที่รักใคร่นับถือของเจ้านายท้าวพระยาและพลเมืองโดยทั่วไป
จึงทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้เจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดชฯ เป็น "พระเจ้านครน่าน" มีพระนามปรากฏตามสุพรรณปัฏว่า
"พระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงศาธิบดี สุริตจารีราชนุภาวรักษ์ วิบูลยศักดิ์กิติไพศาล ภูบาลบพิตรสถิตย์ ณ นันทราชวงษ์ พระเจ้านครน่าน"
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ได้สร้าง หอคำ (คุ้มหลวง) ขึ้นแทนหลังเดิมซึ่งสร้างในสมัยของ เจ้าอนันตวรฤิทธิเดชฯ
พ.ศ. 2511 จังหวัดน่าน ได้มอบหอคำให้กรมศิลปากร ใช้เป็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน

นอกจากน่านจะมีศิลปะเฉพาะตัวแล้ว ยังได้รับอิทธิพลจาก สุโขทัย ล้านนา พม่า และ สยาม
ที่ผสมผสานออกมาเป็นเมืองน่านดั่งทุกวันนี้
*วัดพระธาตุแช่แห้ง*
ข้ามแม่น้ำน่านสู่อำเภอภูเพียง

ไปยังวัดพระธาตุแช่แห้ง

วิหารพระนอนพระพุทธไสยาสน์
อยู่ด้านหน้า นอกกำแพงแก้วขององค์พระธาตุ
วิหารก่อสร้างตามแนวยาวขององค์พระ
มีประตูทางเข้า ด้านหลัง คือทิศใต้
จารึกวิหารพระนอนพระพุทธไสยาสน์ วัดพระธาตุแช่แห้ง
นน. 5 จารึกนางแสนพลัวสร้างพระพุทธรูปไสยาสน์ จ.ศ. 948 ตรงกับ พ.ศ. 2129
ตรงกับสมัยพระเจ้าสาวถีนรตรามังซอศรีมังสรธาช่อ หรือ อโนรธาเมงสอ หรือ เจ้าฟ้าสารวตี พระโอรสของพระเจ้าบุเรงนอง
ปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2122-2150)

วิหารหลวง
ขนาด 6 ห้อง ยกเก็ดผนังแบ่งพื้นที่ออกเป็นสามส่วนคือ ด้านหน้า 2 ห้องกลาง 3 ด้านหลัง 1
หลังคา 4 ซด สามตับ เฟื้องเป็นรูปนาคพันสถูป ขึ้นไปสามชั้น เหมือนปูนปั้นเหนือประตู
เป็นเอกลักษณ์ของศิลปกรรมเมืองน่าน
สิงห์เฝ้าประตูตัวทางทิศใต้คาบนาง
จากตำนานสีหพาหุ ใน มหาพงศาวดารลังกา ว่า
ราชสีห์ตัวหนึ่งลักพาเจ้าหญิงองค์หนึ่งไปไว้ในป่า
ขณะนั้นเจ้าหญิงมีพระโอรสและพระธิดาซึ่งยังเป็นทารก ราชสีห์ก็ดูแลเลี้ยงดูจนเติบใหญ่
เมื่อพระโอรสทราบความจริงจึงพาพระมารดาและพระขนิษฐาหนีกลับเข้าวัง
ด้วยความรัก ราชสีห์ได้พยายามตามหาเพื่อพาเจ้าหญิงกลับไปอยู่ด้วย
ระหว่างทางใครมาขัดขวางห้ามปรามก็จะถูกฆ่าตายหมดด้วยเสียงที่ก้องกัมปนาท
พระโอรสจึงยิงธนูกรอกปากราชสีห์ตาย
เมื่อพระโอรสได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์ งานราชกาลไม่ราบรื่น
ปุโรหิตจึงทูลว่าเป็นเพราะบาปกรรมที่ฆ่าราชสีห์ผู้มีพระคุณ
พระองค์จึงปวารณาตนว่าจะสร้างรูปราชสีห์ไว้ที่ประตูวัด หรือที่มุมเจดีย์ เพื่อเป็นการไถ่บาป


ภายในวิหาร
ประดิษฐาน พระเจ้าล้านทอง
องค์พระประธานปางมารศรีวิชัยศิลปะล้านนา เปลวพระเกศแบบสุโขทัย
คำว่าล้านทองบางสถานที่ก็ว่าหมายถึงน้ำหนักทองเหลืองล้านหน่วย ราว 1-1.2 ตัน
แต่เราเข้าใจว่าคงเป็นพระทองเหลืององค์ใหญ่ที่สุกปลั่ง ทำด้วยทองสำริดเยอะมาก - เป็นล้าน
พระพุทธรูปปางประทับยืนและพระอุ่นเมือง
พระพักตร์ค่อนข้างเป็นรูปไข่ มีรัศมีรูปเปลว ชายสังฆาฏิยาวถึงพระนาภี

เจดีย์วัดพระธาตุแช่แห้ง
ประดิษฐานพระมหาชินธาตุเจ้า 7 พระองค์ พระพิมพ์เงิน และพระพิมพ์ทอง
ฐานเขียงสูงสี่เหลี่ยมจัตุรัสสามชั้น - อิทธิพลสุโขทัย ชั้นที่สามมีเจดีย์มุม
ถัดไปเป็นฐานปัทม์ยกเก็ด มีลูกแก้วอกไก่รัด 2 เส้น ด้านบนมีเจดีย์มุม
ถ้ดไปเป็นฐานเขียงแปดเหลี่ยมซ้อนกันสามชั้น
(ตกแต่งกลีบบัว - อิทธิพลพม่า)
รับบัวถลาสามชั้น บัวปากระฆัง องค์ระฆัง
บัลลังก์ ก้านฉัตรไม่มีเสาหาน ปล้องไฉน ปลี ลูกแก้วปกฉัตร
เป็นพระธาตุประจำปีเถาะ ตามคติการไว้พระธาตุตามปีนักษัตรของชาวล้านนา

อุโบสถมหาอุตม์
ประดิษฐานพระเจ้ามหาอุตม์ ปางมารวิชัย ประดับลายหม้อตอก ปูรณฆฏะ
ใช้ทำพิธีมหาพุทธาภิเษกและเจริญพระพุทธมนต์พิธีมงคลที่สำคัญ



Create Date : 29 พฤศจิกายน 2563 |
Last Update : 29 พฤศจิกายน 2563 14:16:00 น. |
|
16 comments
|
Counter : 280 Pageviews. |
|
 |
|
|
ผู้โหวตบล็อกนี้... |
คุณหอมกร, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณSleepless Sea, คุณtoor36, คุณเริงฤดีนะ, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณทนายอ้วน, คุณสองแผ่นดิน, คุณhaiku, คุณKavanich96, คุณผู้ชายในสายลมหนาว, คุณ**mp5**, คุณSai Eeuu |
โดย: หอมกร วันที่: 29 พฤศจิกายน 2563 เวลา:14:48:10 น. |
|
|
|
โดย: sawkitty วันที่: 29 พฤศจิกายน 2563 เวลา:16:12:44 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 29 พฤศจิกายน 2563 เวลา:17:38:26 น. |
|
|
|
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 29 พฤศจิกายน 2563 เวลา:18:11:55 น. |
|
|
|
โดย: ทนายอ้วน วันที่: 29 พฤศจิกายน 2563 เวลา:20:32:53 น. |
|
|
|
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 29 พฤศจิกายน 2563 เวลา:22:52:25 น. |
|
|
|
โดย: Kavanich96 วันที่: 30 พฤศจิกายน 2563 เวลา:4:20:43 น. |
|
|
|
โดย: ทนายอ้วน วันที่: 30 พฤศจิกายน 2563 เวลา:14:45:51 น. |
|
|
|
โดย: **mp5** วันที่: 30 พฤศจิกายน 2563 เวลา:19:10:43 น. |
|
|
|
โดย: Sai Eeuu วันที่: 1 ธันวาคม 2563 เวลา:0:20:35 น. |
|
|
|
โดย: พายุสุริยะ วันที่: 3 ธันวาคม 2563 เวลา:12:26:01 น. |
|
|
|
| |
ตำนานเจ้าเมืองเหนือนี่
ไม่คุ้นชื่อเอาเสียเลยค่ะพี่ตุ๊ก