|
 |
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
 |
18 พฤษภาคม 2562
|
|
|
|
ตามรอยทับหลังมาจนถึง วัดทองทั่ว ... จันทบุรี

ตำนานเล่าสืบต่อมาว่ามีเมืองหนึ่งที่ตั้งอยู่เชิงเขาสระบาป มีผู้ครองเมืองต่อกันมามาหลายสมัย ชื่อเมืองเพนียด
ถึงสมัยของพระเจ้าพรหมทัต ทรงมีพระโอรสกับพระมเหสีเอก 2 พระองค์ คือ พระไวยทัต และพระเกตุทัต
ต่อมามเหสีเอกสิ้นพระชนม์ พระเจ้าพรหมทัตได้อภิเษกกับ พระนางกาไว และมีพระราชโอรส 1 พระองค์
เมื่อพระเจ้าพรหมทัตสวรรคต พระนางกาไวอยากให้บุตรของตนได้ขึ้นครองราชย์แทน จึงทูลขอให้พระเจ้าพรหมทัตส่งพระโอรสทั้ง 2 ไปสร้างเมืองใหม่
เมื่อพระเจ้าพรหมทัตสิ้นพระชนม์ พระนางกาไวได้ให้พระโอรสของตนขึ้นครองราชย์ และพระนางเป็นผู้สำเร็จราชการ ชาวบ้านจึงเรียกเมืองนั้นว่า เมืองนางกาไว
พระไวยทัต และพระเกตุทัต ก็ยกทัพมาเมืองเพนียดเพื่อชิงเมืองคืน แต่สู้ไม่ได้ จึงขอเขมรมาช่วย
พระนางกาไว รู้ว่ากองทัพตนคงสู้ไม่ได้ จึงได้หนีเมื่อเห็นจวนตัวก็โปรยทรัพย์สมบัติเพื่อล่อให้ทหารเก็บ
สถานที่ที่พระนางกาไวได้หว่านเพชรทองเอาไว้ จึงได้มีชื่อเรียกว่าทองทั่ว คือ บริเวณวัดทองทั่ว
และเมื่อเห็นว่าไม่มีทางรอด จึงดื่มยาพิษชื่อว่า ยามหาไวย สิ้นพระชนม์
อาณาเขตเมืองเพนียด อยู่ในเขตอำเภอเมือง จันทบุรี

โบราณวัตถุที่พบบริเวณโบราณสถานเมืองเพนียด และบริเวณใกล้ ๆ ได้ถูกเก็บไว้ที่วัดทองทั่ว และ อีกหลายที่
แต่เราปราถนาจะมาวัดทองทั่ว เพราะอยากมาดูทับหลังเก่าแก่ที่สุด
ไม่แน่ชัดว่าวัดที่สร้างมาแต่เมื่อใด แต่ได้รับวิสุงคามเสมาเมื่อปี พ.ศ. 2310 และได้รับการบูรณะต่อมาเรื่อง ๆ
ในภาพเสมาอุโบสถใหม่วัดทองทั่ว อุโบสถเก่าวัดทองทั่ว และ ศาลพระเจ้าตาก


อุโบสถเก่า
เป็นหลังคาทรงโรง คือหลังคาจั่วและมีปีกนกทั้งสี่ด้าน ด้านหน้าและหลังมีพาไล
ขนาดสามห้อง ก่ออิฐถือปูน ประตูทางเข้าทั้งด้านหน้าและด้านหลังด้านละ 2 ประตู
หน้าต่างเป็นวงโค้ง ... น่าจะได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์
ฐานบัว ... บัวคว่ำ-บัวหงาย

เสมาอุโบสถเก่าเป็นเสมาคู่ มีทับหลังวางจัดแสดงอยู่

เสมากลางด้านหน้าเป็นรูปเทวสตรีพนมมือ ถือดอกบัว

ด้านในอุโบสถ
ตั้งเสาไม้เอนสอบเข้าหากัน บนเพดานเขียนรูปท้องฟ้าและดวงดาว
พระประธาน พระพุทธสุวรรณมงคลศากยมุนีศรีสรรญเพ็ชญ์ หรือ หลวงพ่อทอง



มีเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ-อิทธิพลลังกาสององค์ คือทางตะวันออกเฉียงใต้ของอุโบสถเก่า และทางตะวันตกของอุโบสถเก่า
ภูเขาที่เห็นไกล ๆ คือเขาสระบาป


ด้านหลังศาลาการเปรียญเป็นพิพิธภัณฑ์
ที่ได้เล่าเรื่องเมืองจันทบุรีที่พัฒนาผ่านกาลเวลามาอย่างไม่หยุดนิ่ง
จากอาณาจักรฟูนันอาณาจักรแรกของเขมรโบราณ สืบมาจนถึงปัจจุบัน

การทำการค้าขายในยุคแรก ๆ เป็นแบบเลียบชายฝั่งทะเล
อาจมาขึ้นบกทางชายฝั่งทะเลตะวันตก แล้วมาลงเรื่อต่อทางชายฝั่งตะวันออก แบบแลนด์บริดจ์
สู่อาณาจักรที่ถือบูชาเขาศักดิ์สิทธิ์หรือพนม ตามบันทึกจดหมายเหตุจากจีนเรียกว่า ฟูนัน
เมืองท่าทีสำคัญของฟูนันคือเมืองอังกอร์บอเรย หรือ เมืองออกแก้ว
ในปัจจุบันไม่มีสถาปัตยกรรมหลงเหลืออยู่ เหลือแต่ปฏิมากรรม เรียกว่าศิลปะพนมดา พ.ศ.1090-1150
ตามชื่อภูเขาที่เป็นที่ตั้งของเทวาลัยใกล้ เมืองท่าออกแก้ว
ตรงกับประติมากรรมลอยตัวที่พบที่เมืองเพนียด ... เทวรูปพระหริหระ ... แสดงถึงความมีอยู่ของเมืองเพนียดในตอนนั้น
โดยดูจากผ้านุ่งหรือพระประคต และวงโค้งเพื่อให้ความแข็งแรงของปฏิมากรรม
พระหริหระเป็นภาครวมกันของเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดูสูงสุดสององค์ ผสมผสานทั้งสองนิกาย
หริ=พระวิษณุ ครึ่งซ้าย , หระ=พระศิวะ ครึ่งขวา
พระศิวะ สวมชฎามุกุฎ (ชฏ คือ รกชัฏ) เป็นผมที่คลุกด้วยขี้เถ้าจากเชิงตะกอนมัดรวมขึ้น แสดงความเป็นนักบวช
มีพระจันทร์เสี้ยวเป็นปิ่นปักผม มีตาที่สามบนหน้าผาก
พระวิษณุ สวมกีรีฏมุกุฎ แสดงความเป็นกษัตริย์ ถือ ภู สังข์ จักร คฑา เหมือนในปฏิมากรรม ... ให้ความสำคัญพระวิษณุมากว่า

ต่อมาการค้าขายทางเรือเปลี่ยนเส้นทางเป็นอ้อมแหลมมลายู ฟูนันจึงซบเซาลง
แต่การค้าขายทางบกของอาณาจักรเจนละ ที่เป็นอาณาจักรคู่ขนานกับฟูนัน เจริญก้าวหน้าขึ้น
พระเจ้าภัทรวรมันที่ 1 และ พระเจ้ามเหนทรวรมัน(พระเจ้าจิตรเสน)แห่งเจนละ
ได้แผ่ขยายอาณาเขตสู่ดินแดนอาณาจักรฟูนัน ลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง และยังครอบคลุม ลุ่มแม่น้ำ ชี มูล พระเจ้าอิศานวรมันพระโอรสพระเจ้าจิตรเสน ขึ้นครองราชย์(พ.ศ. 1153- 1198)
ได้สถาปนานครหลวงชื่ออิศานปุระขึ้น ทางตะวันออกของโตนเลสาป คือบริเวณเมืองสมโบร์ไพรกุก
ศิลปะในยุคนี้จึงเรียกว่าศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุก
ที่เมืองเพนียดพบทับหลังแบบถาลาบริวัติ แบบที่พบที่เมืองถาลาบริวัติ บริเวณแม่น้ำเซกองมาบรรจบกับแม่น้ำโขง
ที่น่าจะพัฒนาเป็นทับหลังสัมโบไพรกุก
มีรูปสลักมีความเรียบง่าย คือ
1. ปลายทั้งสองข้างของภาพ เป็นรูปมกร มกร คือ ช้าง มีหางเป็นปลา ว่ายน้ำได้ กินกล้วยเป็นอาหาร มีงวง มีงาซึ่งงาจะพัฒนาไปเป็นเขี้ยว เป็นสัญญลักษณ์ของ น้ำ ความอุดมสมบูรณ์ กำเนิดของจักรวาล และการให้
2. มกรคายสายรุ้งออกมาเป็นวงโค้ง 2 สาย สายรุ้ง คือสะพานเชื่อมโลกมนุษย์และสวรรค์ คือลำตัวของนาคทอดจากสวรรค์มายังโลกมนุษย์
3. สายรุ้งมาบรรจบกันตรงกลาง ที่ภาพประธานเป็นบุคคลคนตัวเล็ก มีปีก มือจับงูหรือนาคไว้ทั้งสองข้าง คือ ครุฑ ในรูปไข่ เป็นสัญญลักษณ์ของแสงสว่าง ในเวลาเที่ยงวัน สามารถทำลายอวิชาที่ทำให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิด
4. เหนือและใต้สายรุ้ง รวมทั้งกรอบภาพประธาน มีกนกใบไม้วงโด้ง ... "กนกผักกูด"
5. ใต้สายรุ้งมีเฟื่องโค้ง ๆ และอุบะ (5.1)
6. ใต้ภาพมกรมีแท่นหัวเสาหลอก เพื่อรับเสา

นอกจากนั้นที่เมืองเพนียดได้พบทับหลังแบบไพรกเมง พ.ศ.1185-1250 ที่น่าจะพัฒนามาจากสมโบร์ไพรกุกคือ
1. ปลายทั้งสองข้างของภาพ ไม่มีมกร * 2. สายรุ้งออกมาเป็นเส้นตรงเส้นเดียว แบ่งออกเป็น 4 ท่อน ม้วนปลายสองข้างเข้าด้านใน เหมือนช่องหน้าต่าง เรียกว่า กุฑุ * 3. สายรุ้งมีรูปในวงรีมี "กนกเปลวเพลิง" ล้อมรอบ 3 ภาพขึ้นไปใต้ภาพประธานมีอุบะ 4. เหนือสายรุ้งมีกนกใบไม้ 5. ใต้สายรุ้งมีเฟื่อง และอุบะ มีความสูงมากขึ้น

ต่อมาชวาเข้ามารุกรานอาณาจักรเจนละ
เจ้าชายพระองค์หนึ่งของเจนละ จึงอภิเษกกับกษัตริยตรีแห่งเมือง ศัมภูปุระ แล้วอพยพไพร่พลเข้าป่า ไปตั้งราชธานีที่พนมกุเลน
ได้ปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ พระนามว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 สถาปนาอาณาจักรกัมพูชา ... เข้าสู่ "ยุคเมืองพระนคร" ...
(หลักฐานตอนนี้ได้มาจากตามจารึกสด๊กก๊กธม ที่จารขึ้นภายหลัง คือในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1)
ต่อมาสมัยพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 ทรงย้ายราชธานีจากภูเขา ออกมาอยู่ที่ราบ บริเวณโรลัวะ หรือ "หริหราลัย"
สร้างปราสาทพระโคเพื่อเป็นหอผีบรรพบุรุษ ไว้ในบริเวณพระราชวัง โดยมีความเชื่อว่า เมื่อกษัตริย์สวรรคตลงแล้วกลับไปรวมองค์เป็นพระศิวะ และมเหษีจะรวมองค์เป็นนางปารวตี
มีพระโคพาหนะของพระศิวะอยู่หน้าปราสาท จึงเรียก ปราสาทพระโค
สร้างปราสาทบากองเพื่อประดิษฐานศิวลึงก์ประจำรัชกาล อยู่กลางน้ำ
ต่อมาพระเจ้ายโศธรวรมันที่ 1 ทรงย้ายราชธานีจากหริหราลัย มายังบริเวณเมืองพระนคร ชื่อ "ยโศธรปุระ"
ปัจจุบันอยู่บริเวณเมืองเสียมราฐ สันนิษฐานว่าต้องการที่ประดิษฐานลึงค์ประจำรัชกาลไว้บนภูเขา แต่หริหราลัยไม่มีภูเขา
สร้างปราสาทพนมบาแค็งประดิษฐานลึงค์ประจำรัชกาลชื่อ ศรียโศธรคิริศวร
โดยการตัดยอดเขา สร้างปราสาทด้วยหิน ... เป็นครั้งแรก ** การสลักจึงเป็นภาพนูนต่ำ ไม่ลึกเหมือนแกะอิฐ
มีวิมานทั้งหมด 108 หลัง
ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 ย้ายราชธานีไป โฉกกรกยะ (แปลว่าต้นตะเคียน) เมืองที่เคยประทับ ... คือเกาะแกร์
ส่วนยโศธรปุระ (บริเวณปราสาทบาแค็ง) ปกครองโดย พระเจ้าหรรษวรมันที่ 2
ตามการนุ่งผ้าเป็นแบบเทวนารีเกาะแกร์ นุ่งผ้าจีบเป็นริ้วแล้วชักผ้าออกมา
เหมือนรูปพระโพธิสัตว์ปรัชญาปารมิตตาที่พบที่เกาะแกร์ ตามคัมภีร์ปรัชญาปารมิตตา มหายาน ... น่าจะเป็นพระโพธิสัตว์ ปรัชญาปารมิตา
(มีอุบายและความกรุณาทำให้เกิดจิตแห่งการตรัสรู้)

พระเจ้าราเชนทรวรมันย้ายราชธานีกลับมา ยโศธรปุระ หรือเมืองพระนคร
แล้วต่อ ๆๆๆ มาถึงบาปวน
ศิลปะแบบบาปวน
พระภูษาทรงประคตจีบเป็นริ้ว ด้านบนยกสูงและต่ำลงด้านหน้า
มัดปมทิ้งชายออกมาทั้งสองข้างเหนือพระนาภี *บาปวน* ชายผ้าสะบัดทางซ้าย
รัดประคตทิ้งชายทางด้านขวาทิ้งชายไปด้านขวา

เทวนารีแบบบาปวน มัดปมทิ้งชายออกมาทั้งสองข้างเหนือพระนาภี
มีรัดประคต นิยมเกล้าผมเป็นมวย

เอกมุขลึงค์ คือลึงค์ที่มีรูปหน้าพระศิวะอยู่หนึ่งหน้า

เล่าเท่าที่เข้าใจนะคะ
พุทธศาสนานิกายตันตระยาน ตันตระแปลว่าเส้นด้าย หมายถึงการยึดโยง
จากคุรุ หรือครู ส่งคำสั่งสอนสู่สิทธะหรือศิษย์
สิทธะแต่ละท่านเปลี่ยนสภาพเป็นคุรุ
เขียนคัมภีร์ส่งต่อเคล็ดลับวิชาเฉพาะไปยังสิทธะเฉพาะสายของตน
เพื่อให้สิทธะได้เข้าถึงสุญญตา คือความว่างเปล่า หรือ นิพพาน
ดังนั้น
ตันตระยานคือ วิถีทางแห่งภาษาลับ
เมื่อนำวัชระที่เป็นอาวุธสายฟ้าของพระอินทร์ และมัณฏะหรือกระดิ่ง มาใช้ประกอบพิธีกรรม
เรียกวัชรยาน แปลว่ายานที่แข็งแกร่งประดุจเพ็ชร
พระพุทธเจ้าในลัทธิตันตระยานมี 5 องค์ เรียก พระชินะ แปลว่าผู้ชนะ ประจำทิศทั้งสี่และตรงกลาง
ทิศตะวันออกคือ พระอักโษภยะพระพุทธเจ้า แปลว่าผู้ไม่หวั่นไหว ... ปางมารวิชัย
มีพระวัชรินหรือพระเหวัชระ เป็น อิษฏเทวดา อัษฎ คือ การบูชา
หมายถึงเทพที่ใครก็ตามเลือกบูชา เป็นบุคลาธิษฐานในการทำสมาธิ
โดยท่องมนต์ประจำองค์ของเทพองค์นั้น แล้วจะบรรลุสุญญตา
แม่พิมพ์พระเหวัชระศิลปบายน พุทธศตวรรษที่ 17-18
และพระพิมพ์เหวัชระที่ทางวัดเคยทำแจกในงานประเพณีสงกรานต์
พระวัชริน หรือเขมรเรียก พระเหวัชระ
มี 8 เศียรเรียงจากบนลงมา คือ 1-4-3 เศียรมีพระเนตรสามดวง
3 เศียรล่าง หมายถึง พระพุทธเจ้า พระโลเกศวร และพระวัชรปาณิ
5 เศียรบน หมายถึง พระชินพุทธะทั้ง 5 พระองค์ โดยเศียรบนสุดตรงกลางแทนพระไวโรจนะ
พระหัตถ์ 16 กร 8 พระกรขวา ถือหัวกะโหลก ช้าง ม้า ลา มนุษย์ อูฐ โค สิงโต และแมว 8 พระกรซ้าย ถือ โลก น้ำ อากาศ ไฟ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ พระยม (เทพเจ้าแห่งความตาย) และพระเวสสุวรรณ (เทพเจ้าแห่งความมั่งคั่ง)
4 พระบาท
สองฝ่าพระบาทหน้าเหยียบอยู่บนร่างมนุษย์หรือซากศพ หมายถึง อวิชชา
ทังสองข้างมีพระพุทธรูปปางสมาธิและมารวิชัย

เศียรเทวรูป

เครื่องปั้นดินเผาที่พบที่เมืองเพนียด


และอื่น ๆ อีกมากมายที่เล่าเรื่องเมืองเพนียด - จันทบุรี ว่า
เป็นเมืองที่มีการต่อเมื่องมาแต่เดิมจนถึงปัจจุบัน





ปิดท้ายด้วยเจดีย์ที่น่าจะสร้างในสมัยรัชกาลที่ 4-5 เพราะกระเบื้องจีนสีเขียวที่กำแพงแก้วบอก
หรืออาจบูรณะในสมัยนั้นก็ได้เนาะ

จาก คห. 24 คุณต่อสงสัยเรื่องตาชั่งโบราณ จึงไปขยายรูปดู และคิดว่าเป็นดังนี้ค่ะ

Create Date : 18 พฤษภาคม 2562 |
Last Update : 22 พฤษภาคม 2562 13:02:46 น. |
|
29 comments
|
Counter : 6686 Pageviews. |
|
 |
|
|
ผู้โหวตบล็อกนี้... |
คุณhaiku, คุณคนผ่านทางมาเจอ, คุณสันตะวาใบข้าว, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณวลีลักษณา, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณสองแผ่นดิน, คุณruennara, คุณKavanich96, คุณJinnyTent, คุณmariabamboo, คุณ**mp5**, คุณMDG, คุณtoor36, คุณSweet_pills, คุณkae+aoe, คุณเริงฤดีนะ, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณทนายอ้วน, คุณโอพีย์คุณนายกุ๊งกิ๊ง, คุณกะว่าก๋า, คุณnewyorknurse |
โดย: พายุสุริยะ วันที่: 18 พฤษภาคม 2562 เวลา:9:14:40 น. |
|
|
|
โดย: อ้อมแอ้ม (คนผ่านทางมาเจอ ) วันที่: 18 พฤษภาคม 2562 เวลา:14:12:45 น. |
|
|
|
โดย: Topp Hero วันที่: 18 พฤษภาคม 2562 เวลา:16:20:27 น. |
|
|
|
โดย: JinnyTent วันที่: 18 พฤษภาคม 2562 เวลา:18:17:30 น. |
|
|
|
โดย: วลีลักษณา วันที่: 18 พฤษภาคม 2562 เวลา:22:11:33 น. |
|
|
|
โดย: Kavanich96 วันที่: 19 พฤษภาคม 2562 เวลา:2:25:18 น. |
|
|
|
โดย: JinnyTent วันที่: 19 พฤษภาคม 2562 เวลา:11:10:31 น. |
|
|
|
โดย: mariabamboo วันที่: 19 พฤษภาคม 2562 เวลา:18:37:46 น. |
|
|
|
โดย: **mp5** วันที่: 19 พฤษภาคม 2562 เวลา:20:23:32 น. |
|
|
|
โดย: MDG วันที่: 19 พฤษภาคม 2562 เวลา:23:09:14 น. |
|
|
|
โดย: Sweet_pills วันที่: 20 พฤษภาคม 2562 เวลา:0:51:55 น. |
|
|
|
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 20 พฤษภาคม 2562 เวลา:10:15:18 น. |
|
|
|
โดย: kae+aoe วันที่: 20 พฤษภาคม 2562 เวลา:10:26:29 น. |
|
|
|
โดย: poongie วันที่: 20 พฤษภาคม 2562 เวลา:15:48:59 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 20 พฤษภาคม 2562 เวลา:20:49:06 น. |
|
|
|
โดย: ทนายอ้วน วันที่: 20 พฤษภาคม 2562 เวลา:21:08:45 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 20 พฤษภาคม 2562 เวลา:22:19:12 น. |
|
|
|
โดย: โอพีย์ วันที่: 20 พฤษภาคม 2562 เวลา:22:59:34 น. |
|
|
|
โดย: ruennara วันที่: 20 พฤษภาคม 2562 เวลา:23:38:20 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 21 พฤษภาคม 2562 เวลา:6:27:55 น. |
|
|
|
| |
|
 |
tuk-tuk@korat |
|
 |
|
 |
|
พระของเขมรนี่หน้าตามีเอกลักษณ์เฉพาะช่างเขมรจริงๆ ส่วนใหญ่ชอบหลับตาน๊อ