tuk...tuk more than one or cannot run
<<
มิถุนายน 2563
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
16 มิถุนายน 2563

เจดีย์ล้านนาตอน 6 ... เจดีย์ทรงปราสาทยอดเจดีย์ และ เจดีย์อื่น ๆ


-@-เจดีย์ทรงเจดีย์ทรงปราสาทยอดเจดีย์-@-

เป็นกลุ่มที่นิยมสร้างมากที่สุดในล้านนา

มีลักษณะสำคัญคือ

มีปราสาท - ประดิษฐานพระพุทธรูป

ด้านบน - ยอดเป็นเจดีย์








วิหารเปรียบเหมือนกุฏิของพระพุทธรูป

จึงเข้าไปภายในเพื่อไหว้พระพุทธรูปซึ่งเป็นสัญญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้าได้

ในพุกามจะสร้างวิหารเป็นรูปจตุรมุข มีแกนกลางรับน้ำหนักหอสูงตรงกลางวิหาร

ทั้งสี่ด้านของแกนกลางประดิษฐานพระพุทธ - อดีตพุทธ

เริ่มจากทิศตะวันออก วนขวา คือพระ กกุสันธะ โกนาคม กัสสปะ สมณโคดม

ภายในมีทางเดินประทักษิณ เจาะช่องหน้าต่างให้คงามสว่างแก่ทางเดิน

หลังคาเป็นหลังคาลาดซ้อนชั้นลดหลั่นกันสามชั้น

ที่มุมหลังคาประดับสถูปิกะ


ส่วนล้านนานำแบบวิหารพุกามมาสร้างเป็นเจดีย์

เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม มีแกนกลางรับน้ำหนักของเจดีย์ที่อยู่ข้างบน

ดังนำมาสร้างเจดีย์ที่วัดนี้ ที่บอกว่าเป็นศิลปะพุกาม


- เจดีย์วัดเกาะกลาง อำเภอป่าซาง ลำพูน -

สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นราวต้นพุทธศตวรรษ ที่ 19

เป็นเจดีย์ทรงปราสาท เพราะเรือนธาตุมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป - ศิลปะพุกาม

ตรงกลางเจดีย์มีแกนกลางรับน้ำหนักยอดเจดีย์ - ศิลปะพุกาม

อาจเดินเข้าไปภายในได้ - ศิลปะพุกาม

หรืออาจเป็นซุ้มพระ มีมุกยื่นออกมา - จตุรมุข - ศิลปะพุกาม

เหนือขึ้นไปมาลาดเป็นหลังคาซ้อนชั้น เป็นฐานเพื่อวางเจดีย์ไว้ด้านบน - ศิลปะพุกาม








ฐานเขียงกลม 3 ชั้น

ฐานปัทม์ยืดต้วสูง มีบันไดขึ้นไปยังลานประทักษิณ มีมุกทั้งสี่ทิศ

เรือนธาตุมีซุ้มประตูเข้าไปได้ ... น่าจะมีพระพุทธรูปประดิษฐานรอบแกนกลางสี่ทิศ ...

แกนกลางนั้นใช้รับน้ำหนักส่วนยอดเจดีย์ด้านบน

เหนือหลังคาเรือนธาตุ มีร่องรอยของวงแหวนซ้อนลดหลั่นกันเป็นเจดีย์ที่หักหายไป








และอีกเจดีย์ในวัดเกาะกลาง








- เจดีย์ที่วัดเชียงมั่น -

เป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดระฆังล้านนา

ฐานเขียงสี่เหลี่ยม สองชั้น - ประดับช้างล้อม คติลังกาคือช้างแบกจักรวาล

ฐานบัวยืดสูงเป็นเรือนธาตุประดิษฐานพระพุทธรูป - ทรงปราสาท

ถัดไปเป็นหลังคาลดหลั่นกันสามชั้น

บัวถลาแปดเหลี่ยม - นิยมตั้งแต่สมัยพญาแก้ว

องค์ระฆัง

บัลลังก์ยกเก็จ - ล้านนา : ลังกาจะเป็นสี่เหลี่ยมเท่านั้นไม่ยกเก็จ

ปล้องไฉน ปลี ลูกแก้ว








- วัดเจดีย์หลวง เมือง เชียงใหม่ -

พระเจ้าติโลกปรากฎโปรดให้หมื่นด้ามพร้าคตสร้างเจดีย์ครอบเจดีย์ที่มีมาแต่เดิมในสมัยพญาแสนเมืองมา

เป็นเจดีย์ยอดเดียว บรรจุพระธาตุที่พระธรรมคัมภีร์นำมาจากลังกา

ถ้ายอดไม่หักลงจากแผ่นดินไหว จะสูง 80 เมตร หุ้มทองจังโก

ทรงระฆังน่าจะคล้ายวัดเชียงมั่น เพราะเห็นฐานบัวถาเป็นรูปแปดเหลี่ยม

การเรียงอิฐซุ้มโค้งที่เห็นที่ใต้ทางลาดด้านทิศเหนือของเจดีย์ ซ้ายมือในรูป

จะพบในสมัยพระเจ้าติโลก

เป็นช่องปากอุโมงค์เข้าภายในเจดีย์ - เมื่อก่อนเขาเล่ากันว่าเป็นอุโมงค์ต่อไปถึงถ้ำเชียงดาว








แบบล้านนา ในเชียงใหม่








จังหวัดอื่น








ผสมผสานแบบมีบัลลังก์ และปัทมบาท

ปัทมบาทคือดอกบัวที่กั้นระหว่างปล้องไฉน และปลี








แบบพุกาม คือไม่มีบัลลังก์ ปล้องไฉนจะสวมเข้ากับองค์ระฆัง และมีปัทมบาท

ปลีสั้น ๆ แบบพุกาม คือ ยอดเจดีย์ที่เป็นรูปบัวตูม








- เจดีย์เชียงยัน และ เจดีย์วัดป่าสัก เชียงแสน เชียงราย -








เจดีย์เชียงยัน - คณะศรีเชียงยัน ซึ่งครูบาศรีวิชัยเคยถูกกักบริเวณอยู่ที่นี่

อยู่นอกกำแพงด้านทิศเหนือของวัดพระธาตุหริภุญไชย

หรือเรียกว่า เจดีย์แม่ครัว - แม่ครัวช่วยกันออกเงินสร้าง

ตอนขุดค้นพบฐานเจดีย์ที่อยู่ในสมัยล้านนาแล้ว

ฐานสี่เหลี่ยม ลูกแก้วอกไก่คู่ ซุ้มจระนำสี่ด้าน

เหนือเรือนธาตุมีสถูปิกะ หรือ สถูปสี่องค์ที่มุม - เจดีย์ห้ายอด หรือ ปัญจรัตน

ตรงกลางเป็นฐานแปดเหลี่ยม มีลายลูกกรง - รั้วล้อมองค์สถูป

บัวปากระฆังเป็นพุ่มขนาดใหญ่

องค์ระฆังเป็นรูปหม้อดอก - ปูรณฆฏ - คาดรัดอก มีดอกประจำยามเป็นดอกไม้ทิศ

ยอดเป็นหม้อดอกซ้อนกันไปเรื่อย ๆ - อิทธิพลมอญโบราณ








- เจดีย์วัดป่าสัก เชียงแสน เชียงราย -


ฐาน ประดับพระพุทธรูป 3 องค์ ขนาบด้วยเทวดา

วงโค้งของซุ้มไม่ใช่พุกาม แต่เป็นแบบเปอร์เซีย - ผ่านทางอยุธยาเมื่อ?

บัวฟันยักษ์ - พบได้ตามปราสาทหิน








องค์ระฆังเป็นหม้อดอกประดับดอกไม้ทิศลายดอกประจำยามเหมือนกัน

เหนือองค์ระฆังไปเป็นหม้อปูรณฆฏ และดอกบัวซ้อนชั้น








ซุ้มเพกา หรือ เครก ประดับซุ้มแก้ว แบบพุกาม

ซึ่งอาจส่งต่อมาจากการที่พุกามไปบูรณะโพธิมหาวิหารที่พุทธคยา แล้วเราได้ไปเห็นมา

เกียรติมุขยอดซุ้ม หลังบายนนิยมมาก








เศียรนาค - มาดูชัด ๆ แล้วคิดถึงเขมรโบราณ

ยักษ์แบก >> ทวารวดี หรือ มอญโบราณมีคนแคระแบก








-@-เจดีย์ทรงปราสาทแปดเหลี่ยม-@-


วัดจามเทวี อนิมิสเจดีย์ที่วัดมหาโพธารามหรือวัดเจ็ดยอด และวัดอินทขิลสะดือเมือง










เจดีย์แบบวัดจามเทวี

ฐานเขียงแปดเหลี่ยม เรือนธาตุยืดขึ้นประดิษฐานพระพุทธรูปในซุ้มเครก

หลังคาซ้อน 3 ชั้น ท้องไม้เป็นรูปสี่เหลี่ยม ชั้นบนสุดเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรุป

รับองค์ระฆัง








- อนิมิสเจดีย์ที่วัดมหาโพธาราม -

ไม่ได้สร้างในสมัยพระเจ้าติโลก น่าจะสร้างภายหลัง

เพราะสร้างทับกำแพงแก้ว หรือ เวทิกาของวิหารเจ็ดยอด

ซุ้มหน้านางซ้อนชั้นมีปั้นลม - ล้านนา








-@- เจดีย์ปล่อง -@-


ปล่อง หรือป่อง หมายถึงช่องหน้าต่าง

เป็นเจดีย์ 7 ชั้น - อาจเป็นเจดีย์ทรงหอปราสาทหรือถะแบบจีน แต่ถะจีนจะมี 5, 8, 11 ชั้น ไม่ใช่เจ็ดชั้น


จากจารึกอักษรฝักขาม ระบุการสร้างเจดีย์วัดตะโปทารามว่าสร้างขึ้น จ.ศ. 854 คือ พ.ศ. 2035

ในรัชกาลของพญายอดเชียงราย

ว่า

พระยาอรรคราชภูมิบาลหมายถึงพญายอดเชียงรายได้ขึ้นครองเชียงใหม่

พระนางอะตะปาเทวีอัครมเหสี ได้ขอพระราชทานอนุญาตจากพระสวามีเพื่อสร้างวัดตะโปทาราม

พระนางได้อาราธนาพระสงฆ์ประมาณร้อยรูปมาชุมนุม พร้อมด้วยเสนาอำมาตย์ข้าราชการ

เพื่อประดิษฐานแก้วสามประการไว้ ณ วัดแห่งนี้

พิธีมีการอุทิศที่ดิน เงิน ทองคำ และข้าพระจำนวนมาก


การหาคำตอบถึงที่มาของรูปแบบ ยังไม่ทราบแน่

อาจารย์บางท่านก็คิดถึงสิ่งที่เป็นไปได้ ... เพราะการสร้างเจดีย์ต้องมีการอิงคัมภีร์ในศาสนา

ยกตัวอย่างเช่น

ถ้าใช้ระบบจักรวาลมาตีความ อาจตีความได้ว่า

7 ชั้น คือเขาพระสุเมรุ - สัตตบริภัณฑ์ 7 ลูก ล้อมเป็นวงกลม

เขาลูกข้างล่างจะสูงเป็นครึ่งหนึ่งของลูกข้างบน

หากมองด้านข้างจะเห็นเขาวงกลมซ้อนกัน 7 ลูก เขาลูกเตี้ยอยู่นอก เขาลูกสูงอยู่ใน

ตรงกลางสูงที่สุดที่เป็นยอดเจดีย์คือเขาพระสุเมรุ - เจดีย์จุฬามณี



วัดร่ำเปิง






วัดเชียงโฉม






วัดพวกหงษ์





แต่ เจดีย์วัดกู่เต้า มี 5 ชั้น ซุ้มแก้วประดิษฐานพระพุทธรูป

เราคิดว่า น่าจะเป็นเจดีย์ทรงกลม เป็นรูปหม้อดอก ปูรณฆฏซ้อนชั้น













รับเจดีย์แปดเหลี่ยม

ไม่มีบัลลังก์แบบพม่า







-@- เก็บตก -@-


เจดีย์กู่ม้า ลำพูน ทรงลอมฟางเหมือนเจดีย์ชาวปยู ในอาณาจักรศรีเกษตร - ก่อนพุกาม








ปิดท้ายด้วย

-@-วัดมหาโพธาราม หรือวัดเจ็ดยอด -@-

น่าจะเป็นมหาวิหารยอดเจดีย์ มีเวทิกาหรือรั้วล้อมรอบ

เป็นวิหารเพราะเข้าไปไหว้พระข้างในได้

หลังคาประดิษฐานเจดีย์ 7 ยอด

องค์ใหญ่สุดเป็นตรงกลางเป็น โพธิบัลลังก์ - ตรัสรู้

รอบ ๆ มี

อนิมิสเจดีย์ - ทิศอิสานหรือ ตะวันออกเฉียงเหนือ - ยืนจ้องดูต้นมหาโพธิ์เจ็ดวัน

รัตนจงกรมเจดีย์ - อยู่กึ่งกลางระหว่างอนิมิสกับโพธิบัลลังก์ - เดินจงกรมเจ็ดวัน

รัตนฆรเจดีย์ - ทิศพายัพหรือ ตะวันตกเฉียงเหนือของโพธิบัลลังก์ พิจารณาพระอภิธรรม (ธรรมอันยิ่งใหญ๋) - เกิดฉัพรังสี คือมีเกตุมาลา

อชปาลนิโครธ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ซึ่งเป็นที่พักของคนเลี้ยงแกะ - ธิดาพญามารมายั่ว

มุจลินท์ ฝนตกลงมาเป็นเวลา 7 วัน - นาคปรก

ราชายตนเจดีย์ - พระอินทร์เอาแปรงฟันมาให้ เทวดาจตุโลกบาลเอาบาตรมาถวาย พ่อค้าเอาของมาถวาย - ข้าว น้ำผึ้ง เสวยวิมุตติสุขตลอด 7 วัน








เช่นเดียวกับที่



เจดีย์วัดเจ็ดยอด เมือง เชียงราย





ประวัติศาสตร์คือการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร

จารึกก็เป็นการเขียนประวัติศาสตร์ตอนนั้นลงบนหลักศิลา บันทึกเป็นจดหมายเหตุ ฯลฯ

สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมในกรอบของคัมภีร์ทางศาสนา

เป็นก็เป็นการเขียนประวัติศาสตร์ลงบนศิลปะ



ดังนั้นที่ว่า

ผู้ชนะจึงเป็นผู้เขียนประวัติศาสตร์ จึงไม่ใช่อีกต่อไป

รายการโทรทัศน์ที่บางคนมีสัมผัสพิเศษ

ว่าใครเป็นใครในอดีตไม่สอดคล้องกับศิลปะวัตถุ และสถาปัตย์กรรม จึงไม่ใช่อีกต่อไป

อยู่แค่ว่าจะเราจะเลือกที่จะเชื่อสิ่งที่งมงาย หาข้อพิสูจน์ไม่ได้อีกต่อไปหรือเปล่า

แต่คนที่ทราบก็ควรต้องเผยแพร่ สิ่งที่รู้สิ่งที่เห็นใหม่ ๆ ออกไป

ไม่งั้นเราก็คงกลับไปอยู่ที่เทือกเขาอัลไตเหมือนเดิม







Create Date : 16 มิถุนายน 2563
Last Update : 19 มิถุนายน 2563 8:29:52 น. 17 comments
Counter : 2673 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณตะลีกีปัส, คุณhaiku, คุณThe Kop Civil, คุณวลีลักษณา, คุณmultiple, คุณnonnoiGiwGiw, คุณซองขาวเบอร์ 9, คุณSleepless Sea, คุณสองแผ่นดิน, คุณหอมกร, คุณKavanich96, คุณnewyorknurse, คุณผู้ชายในสายลมหนาว, คุณSai Eeuu, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณSweet_pills, คุณธนูคือลุงแอ็ด


 
สวัสดีมีสุขค่ะ

ได้ชมเจดีย์แบบต่างๆ สวยงาม
เก็บไว้ศึกษารูปแบบได้ภายหลังค่ะ
มีหลายวัด เคยไปมาแล้ว
แต่ไม่ได้ดูลึกซึ้งขนาดนี้ เพราะไม่เคยได้ศึกษาหรือรู้จักมาก่อน
ถ้ามีโอกาสไปวัดเหล่านี้อีก
คงได้บล็อคของคุณตุ๊กเป็นคู่มือค่ะ


โดย: ตะลีกีปัส วันที่: 19 มิถุนายน 2563 เวลา:9:20:16 น.  

 
ต่อไปเวลาจะไปเที่ยวต้องมาอ่านรีวิวบล็อกคุณตุ๊กก่อนละครับ เพื่อให้ได้ความรู้มากยิ่งขึ้น


โดย: The Kop Civil วันที่: 19 มิถุนายน 2563 เวลา:11:50:57 น.  

 
เจดีย์ก็มีรูปทรงหลากหลายเลยนะคะ


โดย: วลีลักษณา วันที่: 19 มิถุนายน 2563 เวลา:13:23:44 น.  

 
ตามไปแอ่วด้วยคนเจ้าวววว


โดย: nonnoiGiwGiw วันที่: 19 มิถุนายน 2563 เวลา:16:28:57 น.  

 
รีวิววัดแบบลึกซึ้ง
ปกติไปวัด ไหว้พระเสร็จก็เดินดูโน้นดูนี่นิด
ไม่ค่อยได้อะไรมาหรอกค่ะ

มาอ่านแบบนี้เสียดายเวลาที่เราเข้าวัดจริงๆ


โดย: ซองขาวเบอร์ 9 วันที่: 19 มิถุนายน 2563 เวลา:18:14:58 น.  

 
แวะมาชมเจดีย์ด้วยครับ



โดย: Sleepless Sea วันที่: 19 มิถุนายน 2563 เวลา:18:25:26 น.  

 
tuk-tuk@korat Travel Blog ดู Blog
มาตามไปเที่ยวชมเจดีย์ค่ะพี่ตุ๊ก



โดย: หอมกร วันที่: 19 มิถุนายน 2563 เวลา:22:28:48 น.  

 
ขอบคุณที่แบ่งปัน


โดย: Kavanich96 วันที่: 20 มิถุนายน 2563 เวลา:3:31:59 น.  

 
ทีเด็ดอยู่ตอนท้ายนี่เอง ให้กลับไปอยู่ เทือกเขาอัลไต 555

อ.เต๊ะ จำได้ว่าเคยเรียนสมัยเด็กๆ วิชาประวัติศาสตร์ หรือ ภูมิศาสตร์ อะไรซักอย่าง
รู้แต่ว่า เวลาเรียน จะง่วงมาก นั่งน้ำลายยืด

ไม่เหมือนวิชาเพศศึกษา เอ๊ย สุขศึกษา นั่งเลือดกำเดาไหล 555

เรื่องสถาปัตยกรรมไทยนี่ เนื้อหา รายละเอียดมากมาย น้อยคนจะสนใจ ใฝ่รู้แบบคุณตุ๊กนะครับนี่ ต้องคนรัก คนชอบจริงๆ

นี่ถ้าไปเจอกันข้างนอก ไม่รู้จักกันละก็
ใครจะไปคิดว่า คุณป้า หน้าตาเหมือนแม่บ้านธรรมดาๆ จะมีความรู้ ลึกซึ้งขนาดนี้
ประมาทไม่ได้จริงๆ555

เหมือนอย่าง อ.เต๊ะ นี่ เวลาไม่ได้ไปทำงาน
แต่งตัวเสื้อผ้าเก่าๆขาดๆ ซกม้กหน่อยๆ คนเห็นก็ นึกว่าพวกซาเล้ง เก็บขวดขาย อีกทีก็นึกว่าเป็นภารโรงไปนู่นเลยนะครับ 555





โดย: multiple วันที่: 20 มิถุนายน 2563 เวลา:5:17:59 น.  

 

มาชมเจดีย์ด้วยค่ะ
ได้ความรู้ด้วย


โดย: newyorknurse วันที่: 21 มิถุนายน 2563 เวลา:1:37:37 น.  

 
ท่านประธาน ออกเดินทางไปเที่ยวบ้วงเถิด..
เขาผ่อนคลายไป เฟส 4 กันแล้ว...
อย่ากล้วมากเลยครับ โควิม มันก็อยู่ในกฎ อนจจัง มันต้องสูญสลายไปเช่นกันครับ


โดย: พายุสุริยะ วันที่: 21 มิถุนายน 2563 เวลา:18:25:05 น.  

 
แก้ไข...เพิ่่มเติม


โควิด มันก็อยู่ภายใต้กฎ อนิจจัง เช่นกัน
มันมาได้ มันก็ไปได้เช่นเดียวกัน


โดย: พายุสุริยะ วันที่: 21 มิถุนายน 2563 เวลา:18:28:27 น.  

 
ถ้ามีโอกาสไปคราวหน้า จะไปเก็บเมืองลำพูนกับพวกเจดีย์ปล่อง

เมื่อไหร่จะได้ไปหนอ ..


โดย: ผู้ชายในสายลมหนาว วันที่: 22 มิถุนายน 2563 เวลา:13:51:38 น.  

 
มาตามชมไปเรื่อยๆ ตามกินไปด้วย
เรียนรู้ไปบ้างเนอะ ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม



โดย: ภาวิดา คนบ้านป่า วันที่: 23 มิถุนายน 2563 เวลา:8:55:02 น.  

 
เก็บบล็อกนี้ไว้ตามรอยนะคราบ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 23 มิถุนายน 2563 เวลา:14:31:00 น.  

 
เป็นบล็อกที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเจดีย์อย่างมาก
ขอบคุณค่ะพี่ตุ๊ก


โดย: Sweet_pills วันที่: 24 มิถุนายน 2563 เวลา:0:10:29 น.  

 
จริงหรือ?...ที่.. ว่า
ฅนไทยมาจากเขาอัลไต
ตอนเด็กๆพวกครูสอนบอกเช่นนั้น
แต่เขาอัลไต มันอยู่ถึงถิ่นน้ำแข็งนี่
มันจะเป็นไปได้อย่างไร?กัน
ไอ้เด็กวัดไว้หางเปียแต่แรกมันเชื่อ
แต่วันนี้ เป็นคนแก่....
ถ้าเชื่อก็คงเป็น"ฅนแก่"ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์กระมัง


โดย: ธนูคือลุงแอ็ด วันที่: 24 มิถุนายน 2563 เวลา:17:34:27 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tuk-tuk@korat
Location :
นครราชสีมา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 148 คน [?]




งานหลักคืองานอดิเรก

10 บล็อกล่าสุด


This I Promise You - NSYNC ... ตะพาบหลักกิโลเมตรที่ 350


What I Did For Love - Josh Groban ... ความหมาย


วัดพระธาตุเสด็จ อำเภอเมือง ลำปาง



Oh, Pretty Woman - Roy Orbison ... ความหมาย


I Will Whisper Your Name - Michael Johnson ... ตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 349


เชียงใหม่ - วัดสันทรายหลวง อำเภอสันทราย



In Dreams - Roy Orbison ... ความหมาย



ลำปาง - วัดพระธาตุหมื่นครื้น ... อย่างฉุกละหุก ตะพาบหลักกิโลเมตรที่ 348



For Lovin' Me - Gordon Lightfoot ... ความหมาย


เชียงใหม่ - วัดสันทรายมูล อำเภอสันทราย















ของแต่งบล็อกจาก
ป้าเก๋า "ชมพร"
คุณญามี่
คุณ Rainfall in August
ขอบคุณค่ะ

[Add tuk-tuk@korat's blog to your web]