วัดเบ็งสะกัด ณ เมืองปัว น่าน
วรนคร แปลว่าเมืองที่ดี
โดยพญาภูคาได้เลือกชัยภูมิที่ดี เหมาะสมในการสร้างเมืองแห่งนี้

ทางขึ้นไปยังวัดเบ็งสะกัด

ตำนานว่า
นายพรานผู้หนึ่งได้ขึ้นไปล่าสัตว์บนดอยภูคา ได้ไข่ขนาดลูก มะพร้าวมาสองฟอง
จึงนำมาถวายแก่พระยาภูคาผู้ครองเมืองย่าง
เมื่อไข่ฟักออกมาเป็นตัวจึงกลายเป็นทารกชาย 2 คน คือขุนนุ่น และขุนฟอง
พระยาภูคาได้เลี้ยงจนเติบใหญ่ และสร้างบ้านเมืองให้ปกครองสองเมืองคือ
เมืองจันทบุรี (หลวงพระบาง) แก่ขุนนุ่นผู้พี่
และเมืองวรนครหรือเมืองปัวให้แก่ขุนฟองผู้น้อง
ขุนฟองมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงได้สร้างเจดีย์คู่กับเมือง
บนลานกว้าง ห่างจากเมืองไป 200 เมตร ครอบบ่อที่อยู่ตรงกลางลาน
ซึ่งปากบ่อไม่มีหญ้าขึ้น เมื่อแหย่ไม้รวกลงไปไม้ก็หักเป็นท่อน ๆ ... สะกัด
และในงานฉลองมีแสงดั่งพระจันทร์ทรงกลดพุ่งออกมาจากพระธาตุ และวนเวียนไปรอบพระธาตุ ส่งแสงสว่างไสว
... เป็ง (พระจันทร์เต็มดวง เจ้าของกระทู้ว่าเองค่ะ) >> เบ็ง ...
พญาภูคาจึงตั้งชื่อวัดว่า เบ็งสะกัด
เมื่อเจ้าขุนฟองสิ้น พระโอรสชื่อเจ้าเก้าเกื่อนขึ้นครองเมืองปัวแทน
เมื่อพญาภูคามีอายุมาก ได้ให้เจ้าเก้าเถื่อนไปครองเมืองย่างแทน
เจ้าเก้าเถื่อนจึงให้ชายาคือ นางพญาแม่ท้าวคำปินซึ่งตอนนั้นตั้งพระครรภ์รักษาเมืองเมืองปัว
พญางำเมืองแห่งเมืองพะเยา จึงขยายอิทธิพลเข้าครอบครองปัวทั้งหมด นางพญาแม่เท้าคำปินได้หลบหนีไปอยู่บ้านห้วยแร้ง คลอดบุตรชายชื่อเจ้าขุนใส
นายบ้านห้วยแร้งที่เคยเป็นพ่อครัวพญาเก้าเกื่อน ได้เลี้ยงดูนางพญาแม่ท้าวคำปินและเจ้าขุนใส
เมื่อเจ้าขุนใส อายุได้ 16 ปี ก็นำไปไหว้สาพญางำเมือง ได้เป็นขุนนาง
จนได้สถาปนาให้เป็นเจ้าขุนใสยศ เจ้าเมืองปราด
ภายหลังมีกำลังเข้มแข็งจึงต่อสู้จนหลุดพ้นจากอำนาจเมืองพะเยา
สถาปนาเป็น พญาผานอง ครองเมืองปัวต่อมา
สมัยพญากรานเมือง โอรสของพญาผานอง
เมืองปัวขยายตัวมากขึ้น มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเมืองสุโขทัย
ได้รับเชิญจากพระมหาธรรมราชาลิไท ไปร่วมสร้างวัดหลวงอภัย (วัดอัมพวนาราม)
ได้รับพระราชทานพระธาตุ 7 องค์ พระพิมพ์ทองคำ 20 องค์ พระพิมพ์เงิน 20 องค์
จึงได้สร้างพระธาตุแช่แห้ง ขึ้นที่บนภูเพียงแช่แห้งเพื่อประดิษฐานพระธาตุ
แล้วสร้างเมืองใหม่ที่ขึ้นเรียกว่า เวียงภูเพียงแช่แห้ง เมือปี พ.ศ. 1902
มีพระธาตุแช่แห้งเป็นศูนย์กลางเมือง
พ.ศ. 1950-1960 สมัยเจ้าปู่เข่งครอง
ได้สร้างวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร วัดพระธาตุเขาน้อย วัดพญาภู
แต่สร้างไม่ทันเสร็จก็ถึงแก่พิราลัยเสียก่อน
พญางั่วฬารผาสุม ผู้เป็นหลานได้สร้างต่อจนแล้วเสร็จ
และได้สร้างพระพุทธรูปทองคำปางลีลา
... พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ...
ประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
พ.ศ. 1993 พระเจ้าติโลกราชกษัตริย์นครเชียงใหม่
ได้ยกทัพมายึดเมืองน่านและแหล่งเกลือบ่อมาง
เมืองน่านจึงถูกผนวกเข้าไว้ในอาณาจักรล้านนาแต่นั้นมา
เมื่อน่านตกอยู่ในอำนาจของพม่า ผู้คนอพยพหนีออกไปจนแทบเป็นเมืองร้าง
พ.ศ.2325-2354 พระเจ้ากาวิละด้วยนโยบายเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง
ได้ไปกวาดต้อนผู้คนมาจากสิบสองปันนามาอยู่ที่ เมืองเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง
พ.ศ.2355 เจ้าหลวงสุมนเทวราชเจ้าเมืองน่าน - พ.ศ.2399 เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช
ได้กวาดต้อน และรวมทั้งมีผู้อพยพจากสอบสองปันนาและลาว
มาอยู่ที่ทุ่งช้าง เชียงกลาง ปัว ท่าวังผา จ.น่านและเมืองเชียงม่วน จ.พะเยา
ดังนั้นวัดที่เมืองปัวปัจจุบันจึงเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทลื้อ
วัดพระธาตุเบ็งสกัด
เชื่อว่าบริเวณเป็นศูนย์กลางของเมืองปัวในอดีต

เจดีย์
อยู่ในกำแพงแก้ว
ตั้งอยู่บนฐานเขียงที่ยกสูง
ฐานบัวคง่ำ บัวหงาย สองชั้น ยกเก็จ
ชุดฐานบัวรับองค์ระฆังเป็นรูปแปดเหลี่ยม
เป็นที่นิยมสมัยพญาแก้วกษัตริย์ล้านนาราชวงศ์มังรายลำดับที่ 11

วิหารไทลื้อมีสองแบบคือ ไทลื้อฮ่างหงส์ และ ไทลื้อทรงโรง
วัดเบ็งสะกัดเป็นวิหารไทลื้อแบบทรงโรง
ผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 5 ห้อง
ห้องด้านหน้าเป็นระเบียงหรือมุข
ผนังวิหารเตี้ย ก่ออิฐฉาบปูน มีความสูงของวิหารต่างกันในแต่ละด้าน
หลังคาคลุมต่ำ ทรงโรง 2 ซด 2 ตับ
หลังคา 2 ซด (ซ้อนด้านหน้า 1 ,หลัง 1) จั่วซ้อนทับ 2 ชั้น ... สองตับ
... การซ้อนชั้นของหลังคาเพื่อการขยายขนาดของอาคาร แบบแผนสำคัญของวิหารล้านนา
การขยายความยาว ทำโดยลดชั้นด้าน หน้า - หลัง เรียก ซด
การขยายความกว้าง ทำโดยลดชั้นด้านข้าง เรียก ตับ ...
หน้าแหนบหรือหน้าบันกรุแผ่นไม้ปิดไว้แบบฝาปกล
คันทวยหรือนาคทันต์ เป็นรูปนาคม้วนหางขึ้นด้านบน

ฐานยกสูง เป็นบัวลูกแก้ว หรือ บัวคว่ำ บัวหงาย
บันไดตัวเหงา ด้านข้างสำหรับพระสงฆ์
เจาะช่องหน้าต่างไม่ใหญ่มาก

ลวดลายบานประตู


เสาเขียนลายคำ

พระประธานปางมารวิชัย
ศิลปะไทลื้อคือเรียบง่ายแบบงานศิลปะพื้นถิ่น
พระเกษาสีดำเท่ากันตลอด มีไรพระศก
ฝ่าพระบาทราบเสมอกัน ส้นพระบาทยาว
นิ้วพระหัตถ์ยาวเรียวเสมอกัน พระวรกายบริบูรณ์ดุจกึ่งท่อนหน้าแห่งพระยาราชสีห์
พระปฤษฎางค์(หลัง)ราบเสมอกัน
ดวงพระพักตร์สัณฐานยาวรูปไข่
พระกรรณมีสัณฐานยาวเหมือนกลีบดอกบัว
ประทับบนแท่นแก้วประดับปูนปั้นลวดลายหยดย้อย ผนังด้านหลังประดับกระจก 3 แผ่น
ด้านหน้ามีสัตตภัณฑ์ (เชิงเทียนจุดบูชาพระเจ้า)
ด้านข้างมีเครื่องสูง หรือ เครื่องเทียมยศ ... พระพุทธเจ้าทรงเป็นกษัตริย์

ต๋าแหลว หมายถึง ดวงตาของนกเหยี่ยวที่สามารถมองเห็นเหยื่อได้ในระยะไกล
เวลาเห็นเหยื่อ เหยี่ยวจะบินวน หรือบินอยู่นิ่ง ๆ จนถูกเรียกว่านกปักหลัก
ชาวล้านนาจึงคิดสร้างต๋าแหลวไม้ขึ้นมา
เพื่อสอดส่องดูแลสิ่งอาถรรพ์ขึด เสนียดจัญไร มิให้เข้ามา
โดยใช้ไม้ไผ่มาจักเป็นตอก ลบคม สานเป็นวงกลม ปล่อยปลายเส้นตอกพุ่งออกจากศูนย์กลาง
ที่แขวนอยู่นี้คือ ตาแหลวหลวง
หลวงแปลว่าใหญ่ จึงเป็นตาแหลวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาตาแหลวทั้งหมด

วิวดอยภูคา ที่วัดเบ็งสะกัด


Create Date : 05 กันยายน 2561 |
Last Update : 5 กันยายน 2561 14:49:02 น. |
|
22 comments
|
Counter : 655 Pageviews. |
|
 |
|
|
ผู้โหวตบล็อกนี้... |
คุณเกศสุริยง, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณInsignia_Museum, คุณตะลีกีปัส, คุณmoresaw, คุณmcayenne94, คุณวลีลักษณา, คุณเนินน้ำ, คุณmariabamboo, คุณสองแผ่นดิน, คุณtoor36, คุณSweet_pills, คุณKavanich96, คุณkae+aoe, คุณจารุพิชญ์, คุณJinnyTent, คุณnewyorknurse |
โดย: เกศสุริยง วันที่: 5 กันยายน 2561 เวลา:10:31:35 น. |
|
|
|
โดย: เกศสุริยง วันที่: 5 กันยายน 2561 เวลา:10:31:56 น. |
|
|
|
โดย: ภาวิดา (คนบ้านป่า ) วันที่: 5 กันยายน 2561 เวลา:10:48:32 น. |
|
|
|
โดย: ตะลีกีปัส วันที่: 5 กันยายน 2561 เวลา:14:32:04 น. |
|
|
|
โดย: moresaw วันที่: 5 กันยายน 2561 เวลา:14:58:41 น. |
|
|
|
โดย: พายุสุริยะ วันที่: 5 กันยายน 2561 เวลา:17:35:52 น. |
|
|
|
โดย: mcayenne94 วันที่: 5 กันยายน 2561 เวลา:17:58:22 น. |
|
|
|
โดย: วลีลักษณา วันที่: 5 กันยายน 2561 เวลา:19:30:52 น. |
|
|
|
โดย: mariabamboo วันที่: 5 กันยายน 2561 เวลา:20:53:58 น. |
|
|
|
โดย: เนินน้ำ วันที่: 5 กันยายน 2561 เวลา:22:29:46 น. |
|
|
|
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 5 กันยายน 2561 เวลา:23:13:09 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 6 กันยายน 2561 เวลา:0:16:21 น. |
|
|
|
โดย: Sweet_pills วันที่: 6 กันยายน 2561 เวลา:0:20:15 น. |
|
|
|
โดย: Kavanich96 วันที่: 6 กันยายน 2561 เวลา:3:29:58 น. |
|
|
|
โดย: kae+aoe วันที่: 6 กันยายน 2561 เวลา:8:35:49 น. |
|
|
|
โดย: คนโคราช (Ni.Somsak ) วันที่: 6 กันยายน 2561 เวลา:14:00:25 น. |
|
|
|
โดย: จารุพิชญ์ วันที่: 6 กันยายน 2561 เวลา:14:57:16 น. |
|
|
|
โดย: ตะลีกีปัส วันที่: 6 กันยายน 2561 เวลา:20:22:24 น. |
|
|
|
โดย: JinnyTent วันที่: 6 กันยายน 2561 เวลา:20:31:03 น. |
|
|
|
| |
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
พันคม Literature Blog ดู Blog
วลีลักษณา Home & Garden Blog ดู Blog
haiku Book Blog ดู Blog
คนบ้านป่า Literature Blog ดู Blog
กะว่าก๋า Literature Blog ดู Blog
toor36 Cartoon Blog ดู Blog
tuk-tuk@korat Travel Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น
ตามมาเที่ยวต่อกับพี่ตุ๊กค่ะ