๗. สัมมาสติ
คำจำกัดความ
สัมมาสติ เป็นองค์มรรคข้อที่ ๒ ในหมวดสมาธิ จัดเข้าในอธิจิตตสิกขา มีคำจำกัดความในพระสูตร ดังนี้
"ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสติ เป็นไฉน ? นี้ เรียกว่า สัมมาสติ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑) ตามเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ ปลอดไร้อภิชฌา และโทมนัสในโลก
๒) ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ ปลอดไร้อภิชฌาและโทมนัสในโลก
๓) ตามเห็นจิตในจิต มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ ปลอดไร้อภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้
๔) ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ ปลอดไร้อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ (ที.ม.๑๐/๒๙๙/๓๔๙ ฯลฯ)
คำจำกัดความอีกแบบหนึ่งที่ปรากฏในคัมภีร์อภิธรรมว่า ดังนี้
“สัมมาสติ เป็นไฉน ? สติคือการคอยระลึกอยู่เนื่องๆ การหวนระลึกก็ดี สติคือภาวะที่ระลึกได้ ภาวะที่ทรงจำไว้ ภาวะที่ไม่เลือนหาย ภาวะที่ไม่ลืมก็ดี สติคือสติที่เป็นอินทรีย์ สติที่เป็นพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ ที่เป็นองค์มรรค นับเนื่องในมรรค นี้เรียกว่า สัมมาสติ" (อภิ.วิ.34/182/140;587/321)
สัมมาสติ ตามคำจำกัดความแบบพระสูตรนั้น ก็คือหลักธรรมที่เรียกว่า สติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง หัวข้อทั้ง ๔ ของหลักธรรมหมวดนี้ มีชื่อเรียกสั้นๆ คือ
๑) กายานุปัสสนา การพิจารณากาย, การตามดูรู้ทันกาย
๒) เวทนานุปัสสนา การพิจารณาเวทนา, การตามดูรู้ทันเวทนา
๔) จิตตานุปัสสนา การพิจารณาจิต, การตามดูรู้ทันจิต
๔) ธัมมานุปัสสนา การพิจารณาธรรมต่างๆ,การตามดูรู้ทันธรรม
ก่อนจะพิจารณาความหมายของสัมมาสติ ตามหลักสติปัฏฐาน ๔ นี้ เห็นว่า ควรทำความเข้าใจทั่วๆไปเกี่ยวกับเรื่องสติไว้เป็นพื้นฐานก่อน
ศึกษาให้จบเรื่องจบตอนสัมมาสติ
Create Date : 29 ตุลาคม 2566 |
Last Update : 24 เมษายน 2568 12:20:24 น. |
|
0 comments
|
Counter : 534 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|