กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
มิถุนายน 2566
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
space
space
12 มิถุนายน 2566
space
space
space

แทรกเสริมคำศัพท์

คำศัพท์ที่ต้องอธิบายก่อนหน้า ซึ่งพูดถึงกันบ่อยๆ


คำศัพท์ : มหาบพิตร

คำสำหรับพระภิกษุใช้พูดแทนพระนามพระเจ้าแผ่นดินหรือพระมเหสี (ปัจจุบันเปลี่ยนใช้ว่า บรมบพิตร หรือ สมเด็จบรมบพิตร)

คำศัพท์ : อาตมภาพ   ฉัน, ข้าพเจ้า (สำหรับพระภิกษุสามเณรใช้เรียกตัวเอง เมื่อพูดกับคฤหัสถ์ผู้ใหญ่ ตลอดถึงพระเจ้าแผ่นดิน)

คำศัพท์ : อานนท์

    พระมหาสาวกองค์หนึ่ง    เป็นเจ้าชายในศากยวงศ์   เป็นโอรสของเจ้าอมิโตทนะ  (นี้ว่าตาม ม.อ.๑/๓๘๔; เป็นต้น   แต่ที่เรียนกันมามักว่าเป็นโอรสของเจ้าสุกโกทนะ)   ซึ่งเป็นพระเจ้าอาของเจ้าชายสิทธัตถะ  เมื่อพระโพธิสัตว์ออกผนวชและต่อมาได้ตรัสรู้แล้ว  ถึงพรรษาที่ ๒ แห่งพุทธกิจ     พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดพระประยูรญาติที่พระนครกบิลพัสดุ์ ... เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จออกจากเมืองกบิลพัสดุ์แล้ว ได้ทรงแวะประทับที่อนุปิยอัมพวัน ในอนุปิยนิคม แห่งแคว้นมัลละ
    ครั้งนั้น   พระเจ้าสุทโธทนะได้ทรงประชุมเจ้าศากยะทั้งหลาย และทรงขอให้บรรดาเจ้าศากยะมอบเจ้าชายออกบวชตามเสด็จพระพุทธเจ้าครอบครัวละหนึ่งองค์ ได้มีเจ้าชายศากยะออกบวชจำนวนมาก   รวมทั้งเจ้าชายอานนท์ด้วย  เจ้าชายอานนท์ได้เดินทางไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าและทรงบวชให้ที่อนุปิยอัมพวัน ... พร้อมกับเจ้าชายอื่น ๕ องค์  (ภัททิยะ อนุรุทธะ ภคุ กิมพิละ เทวทัต) รวมเป็น ๗ กับทั้งกัลบก  ชื่อว่า อุบาลี 
    พระอานนท์   มีพระอุปัชฌาย์ชื่อว่าพระเพลัฏฐสีสะ ... ในระยะต้นพุทธกาล  พระภิกษุที่บวชแล้วยังไม่มีอุปัชฌาย์   จึงได้ตรัสให้ถืออุปัชฌาย์   คือพระผู้ทำหน้าที่ดูแลฝึกอบรมพระใหม่ในการศึกษาเบื้องต้น ตามพระพุทธานุญาต ... ต่อมาจึงทรงบัญญัติใน วินย 4/133/180 ให้อุปสมบทผู้ที่มีอุปัชฌาย์พร้อมไว้แล้ว)   ท่านบรรลุโสดาปัตติผล   เมื่อได้ฟังธรรมกถาของพระปุณณมันตานีบุตร ... เมื่อพระพุทธบิดา  คือ  พระเจ้าสุทโธทนะประชวรทรงฟังธรรม   ได้บรรลุอรหัตตผล และดับขันธปรินิพพาน
    ในพรรษาที่ ๕  แห่งพุทธกิจแล้วพระนางมหาปชาบดี   ได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า  และทูลขอให้สตรีได้บรรพชา  แต่ยังไม่สำเร็จ ... จนกระทั่งต่อมาได้อาศัยพระอานนท์ช่วยทูลขอ   พระนางและสากิยานีทั้งหลายจึงได้บวช   เป็นจุดเริ่มกำเนิดภิกษุณีสงฆ์   
    พระอานนท์ได้เป็นอุปัฏฐากรับใช้พระพุทธเจ้าตามโอกาสเช่นเดียวกับพระเถระรูปอื่นมากท่าน จนกระทั่งในพรรษาที่ ๒๐ แห่งพุทธกิจ    ท่านได้รับเลือกให้เป็นพระอุปัฏฐากประจำพระองค์   (นิพัทธุปัฏฐาก) ของพระพุทธเจ้า...ซึ่งท่านตกลงรับหน้าที่ด้วยการทูลขอพร ๘ ประการ   
    ท่านได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะหลายด้าน คือ เป็นพหูสูต   เป็นผู้มีสติ  มีคติ มีธิติ และเป็นอุปัฏฐากที่ยอดเยี่ยม   ท่านบรรลุพระอรหัตหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๓ เดือน  เป็นกำลังสำคัญในคราวทำปฐมสังคายนา คือ เป็นผู้วิสัชนาพระธรรม (ซึ่งต่อมาแบ่งเป็นพระสูตร และพระอภิธรรม)   
    พระอานนท์ดำรงชีวิตสืบมาจนอายุได้ ๑๒๐ ปี   จึงปรินิพพานในอากาศ   เหนือแม่น้ำโรหิณี   ซึ่งเป็นเส้นกั้นแดนระหว่างแคว้นของพระญาติทั้งสองฝ่าย คือ ศากยะ และโกลิยะ


คำศัพท์ : กัลยาณมิตร   "มิตรผู้มีคุณอันบัณฑิตพึงนับ", เพื่อนที่ดี


คำศัพท์ : กัลยาณชน  คนประพฤติดีงาม, คนดี


คำศัพท์ : อัตถะ

    1. ประโยชน์, ผลที่มุ่งหมาย, จุดหมาย, อัตถะ ๓ คือ ๑. ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ปัจจุบัน, ประโยชน์ในภพนี้    ๒. สัมปรายิกัตถะ ประโยชน์เบื้องหน้า, ประโยชน์ในภพหน้า ๓. ปรมัตถะ ประโยชน์อย่างยิ่ง, ประโยชน์สูงสุด คือ พระนิพพาน;   อัตถะ ๓   อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑. อัตตัตถะ ประโยชน์ตน ๒. ปรัตถะ ประโยชน์ผู้อื่น ๓. อุภยัตถะ ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย 

    2. ความหมาย, ความหมายแห่งพุทธพจน์, พระสูตร   พระธรรมเทศนา หรือพุทธพจน์ ว่าโดยการแปลความหมาย  แยกเป็น  อัตถะ ๒ คือ  ๑.  เนยยัตถะ   (พระสูตร)   ซึ่งมีความหมายที่จะต้องไขความ, พุทธพจน์ที่ตรัสตามสมมติ   อันจะต้องเข้าใจความจริงแท้ที่ซ้อนอยู่อีกชั้นหนึ่ง เช่นที่ตรัสเรื่องบุคคล ตัวตน เรา-เขา ว่า บุคคล ๔ ประเภท, ตนเป็นที่พึ่งของตน เป็นต้น  ๒. นีตัตถะ  (พระสูตร) ซึ่งมีความหมายที่แสดงชัดโดยตรงแล้ว,  พุทธพจน์ที่ตรัสโดยปรมัตถ์ ซึ่งมีความหมายตรงไปตรงมาตามสภาวะ  เช่น  ที่ตรัสว่า รูป  เสียง กลิ่น รส เป็นต้น; อรรถ ก็เขียน


คำศัพท์ : อินทรีย์

    ความเป็นใหญ่, สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน, ธรรมที่เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่อย่างหนึ่งๆ  เช่น ตาเป็นใหญ่หรือเป็นเจ้าการในการเห็น  หูเป็นใหญ่ในการได้ยิน  วิริยะเป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งความเกียจคร้าน เป็นต้น

    อินทรีย์ ๕ ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน   โดยเป็นเจ้าการในการทำหน้าที่ และเป็นหัวหน้านำสัมปยุตตธรรมในการครอบงำกำจัดธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ มี ๕ อย่าง ได้แก่  ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา (ข้อธรรมตรงกับ พละ ๕),  ธรรม ๕ อย่างชุดเดียวกันนี้  เรียกชื่อต่างกันไป ๒ อย่าง ตามหน้าที่ที่ทำ คือ เรียกชื่อว่า พละ  โดยความหมายว่าเป็นกำลังให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคง ซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่างจะเข้าครอบงำไม่ได้  เรียกชื่อว่า อินทรีย์ โดยความหมายว่าเป็นเจ้าการในการครอบงำเสีย ซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่าง คือความไร้ศรัทธา  ความเกียจคร้าน  ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงงมงาย  ตามลำดับ; 

    อินทรีย์ ๖   สภาวะที่เป็นใหญ่หรือเป็นเจ้าการในการรับรู้ด้านนั้นๆ ได้แก่ อายตนะภายใน ๖ คือ จักขุ-ตา โสตะ-หู ฆานะ-จมูก ชิวหา-ลิ้น กาย-กาย มโน-ใจ

    อินทรีย์ ๒๒ สภาวะที่เป็นใหญ่ในการทำกิจของตน คือ ทำให้ธรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นไปตามตน ในกิจนั้นๆ  ในขณะที่เป็นไปอยู่นั้น  มีดังนี้ 
หมวด ๑:
    ๑. จักขุนทรีย์   (อินทรีย์ คือ จักขุปสาท)   ๒. โสตินทรีย์   (อินทรีย์ คือ โสตปสาท)   ๓. ฆานินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ฆานปสาท)    ๔. ชิวหินทรีย์    (อินทรีย์ คือ ชิวหาปสาท)    ๕. กายินทรีย์   (อินทรีย์ คือ กายปสาท)    ๖. มนินทรีย์    (อินทรีย์ คือ ใจ)   
หมวด ๒: 
    ๗. อิตถินทรีย์    (อินทรีย์ คือ อิตถีภาวะ)   ๘. ปุริสินทรีย์   (อินทรีย์ คือ ปุริสภาวะ)   ๙. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ชีวิต) 
หมวด ๓:
    ๑๐. สุขินทรีย์    (อินทรีย์ คือ สุขเวทนา)    ๑๑. ทุกขินทรีย์    (อินทรีย์ คือ ทุกขเวทนา)   ๑๒. โสมนัสสินทรีย์    (อินทรีย์ คือ โสมนัสสเวทนา)    ๑๓. โทมนัสสินทรีย์    (อินทรีย์ คือ โทมนัสสเวทนา)    ๑๔. อุเปกขินทรีย์    (อินทรีย์ คือ อุเบกขาเวทนา)   
หมวด ๔:
    ๑๕. สัทธินทรีย์    (อินทรีย์ คือ ศรัทธา)    ๑๖. วิริยินทรีย์    (อินทรีย์ คือ วิริยะ)    ๑๗. สตินทรีย์ (อินทรีย์ คือ สติ)    ๑๘. สมาธินทรีย์   (อินทรีย์ คือสมาธิ)    ๑๙. ปัญญินทรีย์    (อินทรีย์ คือ ปัญญา) 
หมวด ๕:
    ๒๐. อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์   (อินทรีย์แห่งผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่าเราจักรู้สัจจธรรมที่ยังมิได้รู้ ได้แก่ โสตาปัตติมัคคญาณ) ๒๑. อัญญินทรีย์   (อินทรีย์ คือ อัญญาหรือปัญญาอันรู้ทั่วถึง ได้แก่ ญาณ ๖ ในท่ามกลาง คือ โสตาปัตติผลญาณ ถึงอรหัตตมัคคญาณ)   ๒๒. อัญญาตาวินทรีย์    (อินทรีย์แห่งท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว กล่าวคือ ปัญญาของพระอรหันต์ ได้แก่ อรหัตตผลญาณ)

 

คำศัพท์ : ปรมัตถ์, ปรมัตถะ

1. ประโยชน์อย่างยิ่ง, จุดหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน 2. ก)   ความหมายสูงสุด, ความหมายที่แท้จริง เช่น ในคำว่า ปรมัตถสัจจะ ข)   สภาวะตามความหมายสูงสุด, สภาวะที่มีในความหมายที่แท้จริง, สภาวธรรม บางทีใช้ว่า ปรมัตถธรรม

ปรมัตถ์ที่พบในพระไตรปิฎก   ตามปกติใช้ในความหมายนัยที่   1. คือจุดหมาย หรือประโยชน์สูงสุด เฉพาะอย่างยิ่ง ได้แก่นิพพาน แต่ในคัมภีร์สมัยต่อมา มีการใช้ในนัยที่   2. บ่อยขึ้น คือในความหมายว่าเป็นจริงหรือไม่    แต่ไม่ว่าจะใช้ในแง่ความหมายอย่างไหน   ก็บรรจบที่นิพพาน เพราะนิพพานนั้น   ทั้งเป็นประโยชน์สูงสุด และเป็นสภาวะที่จริงแท้    (นิพพานเป็นปรมัตถ์ในทั้งสองนัย)

 

คำศัพท์ : มรรค

ทาง, หนทาง   1. มรรค   ว่าโดยองค์ประกอบ   คือ   ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค   แปลว่า   “ทางมีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐ”   เรียกสามัญว่า  มรรคมีองค์ ๘  คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ  ๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ   ๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ  ๔. สัมมากัมมันตะ ทำการชอบ  ๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ  ๘. สัมมาสมาธิ   ตั้งจิตมั่นชอบ;   มรรค  ว่าโดยระดับการให้สำเร็จกิจ คือ ทางอันให้ถึงความเป็นอริยบุคคลแต่ละขั้น,   ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด เป็นชื่อแห่งโลกุตตรธรรมคู่กับผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค ๑ สกทาคามิมรรค ๑ อนาคามิมรรค ๑ อรหัตตมรรค ๑; คู่กับ ผล


คำศัพท์ : อภัยทาน  ให้ความไม่มีภัย, ให้ความปลอดภัย


คำศัพท์ : สัมมาทิฏฐิ

ปัญญาอันเห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจจ์ ๔, เห็นชอบตามคลองธรรมว่าทำดีมีผลดี ทำชั่วมีผลชั่ว มารดาบิดามี (คือมีคุณความดีควรแก่ฐานะหนึ่งที่เรียกว่ามารดาบิดา) ฯลฯ, เห็นถูกต้องตามที่เป็นจริงว่าขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นต้น (ข้อ ๑ ในมรรค)


คำศัพท์ : อธิจิต, อธิจิตต์

จิตอันยิ่ง, เรื่องของการเจริญสมาธิอย่างสูง หมายถึงฌานสมาบัติที่เป็นบาทแห่งวิปัสสนา หรือแม้สมาธิที่เจริญด้วยความรู้เข้าใจโดยมุ่งให้เป็นปัจจัยแห่งการก้าวไปในมรรค

คำศัพท์ : อธิปัญญา

ปัญญาอันยิ่ง โดยเฉพาะวิปัสสนาปัญญา ที่กำหนดรู้ความจริงแห่งไตรลักษณ์


คำศัพท์ : ญาณทัศนะ, ญาณทัสสนะ

การเห็น กล่าวคือการหยั่งรู้, การเห็นที่เป็นญาณ หรือเห็นด้วยญาณ อย่างต่ำสุด หมายถึง วิปัสสนาญาณ นอกนั้นในที่หลายแห่ง หมายถึง ทิพพจักขุญาณ บ้าง มรรคญาณ บ้าง และในบางกรณี หมายถึง ผลญาณ บ้าง ปัจจเวกขณญาณ บ้าง สัพพัญญุตญาณ บ้าง ก็มี ทั้งนี้สุดแต่ข้อความแวดล้อมในที่นั่นๆ

คำศัพท์ : ราคะ    ความกําหนัด, ความติดใจหรือความย้อมใจติดอยู่, ความติดใคร่ในอารมณ์


 


Create Date : 12 มิถุนายน 2566
Last Update : 12 มิถุนายน 2566 12:06:57 น. 0 comments
Counter : 178 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space