กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
ตุลาคม 2566
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
19 ตุลาคม 2566
space
space
space

คม.ศัพท์ยาก


คำศัพท์ยากข้อที่ผ่านมา



     คำศัพท์:  ธรรมานุธรรมปฏิบัติ  การประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม หมายถึง การปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลัก เช่น หลักย่อยสอดคล้องกับหลักใหญ่ และเข้าแนวกับธรรมที่เป็นจุดมุ่งหมาย, ปฏิบัติถูกต้องตามกระบวนธรรม สอดสมที่จะให้ลุถึงจุดหมาย

     คำศัพท์:  อรรถ  ความหมาย, ความมุ่งหมาย, เนื้อความ, ใจความ, ประโยชน์, ผล


     คำศัพท์: อุทาน

        1. วาจาที่เปล่งขึ้นโดยความเบิกบานใจ  มักเป็นข้อความยาว ๑ หรือ ๒ คาถา ที่ยาวกว่านั้นมีน้อยครั้ง; ในภาษาไทย หมายถึงเสียงหรือคำที่เปล่งออกมาเวลาดีใจ แปลกใจ หรือตกใจ เป็นต้น   2. พระอุทานคาถาของพระพุทธเจ้า  อันสื่อธรรมที่ลึกซึ้งหรือเป็นคติธรรมสำคัญ พร้อมทั้งเรื่องราวที่เป็นข้อปรารภให้ทรงเปล่งพระอุทานนั้นๆ ๘๐ เรื่อง รวมจัดเป็นคัมภีร์ที่ ๓ แห่งขุททกนิกาย

     คำศัพท์:    อิติวุตตกะ   พระสูตรที่ไม่ขึ้นต้นด้วยคำว่า เอวมฺเม สุตํ  แต่ขึ้นต้นด้วย “วุตฺตํ เหตํ ภควตา, วุตฺตมรหตาติ เม สุตํ”   แล้วเชื่อมความเข้าสู่คาถาสรุปท้าย  ด้วยคำว่า อิติ วุจฺจติ รวม ๑๑๒ สูตร จัดเป็นคัมภีร์ที่ ๔ แห่งขุททกนิกาย

     คำศัพท์: ชาดก, ชาตกะ

        “เครื่องเล่าเรื่องราวที่พระพุทธเจ้าได้ทรงเกิดมาแล้ว”,  ชื่อคัมภีร์ในพระไตรปิฎก  อันเล่าเรื่องพระชาติในอดีตของพระพุทธเจ้า   เมื่อยังเป็นพระโพธิสัตว์ซึ่งกำลังทรงบำเพ็ญบารมี มีจำนวนทั้งหมดตามตัวเลขถ้วนที่กล่าวในอรรถกถาทั้งหลายว่า ๕๕๐ ชาดก  (นับตรงเลขว่า ๕๔๗ ชาดก แต่คนไทยมักพูดตัดเลขแค่หลักร้อยว่า พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ),  จัดเป็นคัมภีร์ที่ ๑๐ แห่งขุททกนิกาย ในพระสุตตันตปิฎก; ดู ไตรปิฎก (เล่ม ๒๗ และ ๒๘)   เนื่องจากชาดกทั้งหมดในพระไตรปิฎก เป็นคาถาล้วนๆ   (เว้นชาดกหนึ่งที่เป็นความร้อยแก้ว คือกุณาลชาดก)   และโดยมากเป็นเพียงคำกล่าวโต้ตอบกันของบุคคลในเรื่อง   พร้อมทั้งพระดำรัสของพระพุทธเจ้าที่ตรัสสรุปหรือแสดงคติธรรม   อันเรียกว่าอภิสัมพุทธคาถาเท่านั้นไม่ได้เล่าเรื่องโดยละเอียด   ผู้อ่านเข้าใจได้ยาก จึงมีอรรถกถาขึ้นมาช่วยอธิบายเรียกว่า  “ชาตกัฏฐกถา”    (เรียกให้ง่ายว่า อรรถกถาชาดก) ซึ่งขยายความออกไปมาก   จัดเป็นเล่มหนังสือฉบับบาลีอักษรไทยรวม ๑๐ เล่ม เรื่องชาดกที่เรียนและเล่ากันทั่วไป ก็คือเล่าตามชาตกัฏฐกถานี้   แต่นักศึกษาพึงรู้จักแยกระหว่างส่วนที่มีในพระไตรปิฎก กับส่วนที่เป็นอรรถกถา

     คำศัพท์: พหุสูต, พหูสูต  ผู้ได้ยินได้ฟังมามากคือทรงจำธรรมและรู้ศิลปวิทยามาก, ผู้เล่าเรียนมาก, ผู้ศึกษามาก, ผู้คงแก่เรียน


     คำศัพท์: สุตะ

        “สิ่งสดับ”, สิ่งที่ได้ฟังมา, สิ่งที่ได้ยินได้ฟัง, ความรู้จากการเล่าเรียน หรือรับถ่ายทอดจากผู้อื่น, ข้อมูลความรู้จากการอ่านการฟังบอกเล่าถ่ายทอด; สำหรับผู้ศึกษาปฏิบัติ  “สุตะ”  หมายถึงความรู้ที่ได้เล่าเรียนสดับฟังธรรม   ความรู้ในพระธรรมวินัย   ความรู้คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่านวังคสัตถุศาสน์ หรือ ปริยัติ,  สุตะเป็นคุณสมบัติสำคัญอย่างหนึ่งของผู้ที่จะเจริญงอกงาม ไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิต   โดยเป็นเหตุปัจจัยให้ได้ปัญญา ที่เป็นเบื้องต้น หรือเป็นฐานของพรหมจริยะ และเป็นเครื่องเจริญปัญญาให้พัฒนาจนไพบูลย์บริบูรณ์ ... พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้เป็นผู้มีสุตะมาก  (เป็นพหูสูต หรือมีพาหุสัจจะ)  และเป็นผู้เข้าถึงโดยสุตะ

     คำศัพท์: สัทธรรม  ธรรมที่ดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของคนดี, ธรรมของสัตบุรุษ

        สัทธรรม ๓ คือ ๑. ปริยัติสัทธรรม  สัทธรรมคือคำสั่งสอนอันจะต้องเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์  ๒. ปฏิบัติสัทธรรม  สัทธรรมคือปฏิปทาอันจะต้องปฏิบัติ ได้แก่ ไตรสิกขา (รวมตลอดบุพภาคปฏิปทา เช่น ธุดงค์)  ๓. ปฏิเวธสัทธรรม  หรือ  อธิคมสัทธรรม   สัทธรรมคือผลอันจะพึงเข้าถึงหรือบรรลุด้วยการปฏิบัติ   ได้แก่  มรรค ผล และนิพพาน ... สัทธรรม ๗ คือ ๑. ศรัทธา ๒. หิริ ๓. โอตตัปปะ ๔. พาหุสัจจะ ๕. วิริยารัมภะ ๖. สติ ๗. ปัญญา


     คำศัพท์: อกุศลธรรม   ธรรมที่เป็นอกุศล, ธรรมฝ่ายอกุศล, ธรรมที่ชั่ว, ธรรมฝ่ายชั่ว

     คำศัพท์: กุศลธรรม   ธรรมที่เป็นกุศล, ธรรมฝ่ายกุศล ธรรมที่ดี, ธรรมฝ่ายดี


     คำศัพท์: ปัสสัทธิ   ความสงบกายสงบใจ, ความสงบใจและอารมณ์, ความสงบเย็น, ความผ่อนคลายกายใจ

     คำศัพท์:  ยถาภูตญาณทัสสนะ   ความรู้ความเห็นตามเป็นจริง


     คำศัพท์:    นิพพิทา    “ความหน่าย”   หมายถึง   ความหน่ายที่เกิดขึ้นจากปัญญาพิจารณาเห็นความจริง  ถ้าหญิงชายอยู่กินกันเกิดหน่ายกัน เพราะความประพฤติไม่ดีต่อกัน หรือหน่ายในมรรยาทของกันและกัน อย่างนี้ไม่จัดเป็นนิพพิทา; ความเบื่อหน่ายในกองทุกข์

     คำศัพท์: วิราคะ   ความสิ้นกำหนัด, ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ, ความคลายออกได้หายติด เป็นไวพจน์ของ นิพพาน


     คำศัพท์:  วิมุตติญาณทัสสนะ   ความรู้เห็นในวิมุตติ, ความรู้เห็นว่าจิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย


     คำศัพท์: ปรินิพพาน  การดับรอบ, การดับสนิท 1. ดับกิเลสและทุกข์สิ้นเชิง, บรรลุอรหัตตผล (ได้แก่ กิเลสปรินิพพาน)  2. ตาย  (ได้แก่ ขันธปรินิพพาน, ใช้แก่พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์; ในภาษาไทยบางทีแยก  ให้ใช้แก่พระพุทธเจ้าว่าปรินิพพาน และให้ใช้แก่พระอรหันต์ทั่วไปว่า นิพพาน แต่ในภาษาบาลีไม่มีการแยกเช่นนั้น)


     คำศัพท์: อานิสงส์

        ผลดี หรือ ผลที่น่าปรารถนาน่าพอใจ อันสืบเนื่องหรือพลอยได้ จากกรรมดี, ผลงอกเงยแห่งบุญกุศล, คุณ, ข้อดี, ผลที่เป็นกำไร, ผลได้พิเศษ;   “อานิสงส์”   มีความหมายต่างจาก “ผล” ที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยขอบเขตที่กว้างหรือแคบกว่ากัน หรือโดยตรงโดยอ้อม เช่น ทำกรรมดีโดยคิดต่อคนอื่นด้วยเมตตาแล้วเกิดผลดี คือ มีจิตใจแช่มชื่น สบาย ผ่อนคลาย เลือดลมเดินดี มีสุขภาพ ตลอดถึงว่าถ้าตายด้วยจิตอย่างนั้น ก็ไปเกิดดี นี้เป็นวิบาก พร้อมกันนั้นก็มีผลพ่วงอื่นๆ เช่น หน้าตาผ่องใส เป็นที่รักใคร่ชอบใจของคนอื่น อย่างนี้เป็นอานิสงส์ แต่ถ้าทำกรรมไม่ดีโดยคิดต่อคนอื่นด้วยโทสะแล้วเกิดผลร้ายต่อตนเองที่ตรงข้ามกับข้างต้น จนถึงไปเกิดในทุคติ ก็เป็นวิบาก และในฝ่ายร้ายนี้ไม่มีอานิสงส์ (วิบาก เป็นผลโดยตรง และเป็นได้ทั้งข้างดีและข้างร้าย ส่วนอานิสงส์ หมายถึงผลพ่วงพลอยหรืองอกเงยในด้านดีอย่างเดียว ถ้าเป็นผลพลอยด้านร้าย ก็อยู่ในคำว่านิสสันท์), อนึ่ง วิบาก ใช้ฉพาะกับผลของกรรมเท่านั้น แต่อานิสงส์ หมายถึงคุณ ข้อดี หรือผลได้พิเศษในเรื่องราวทั่วไปด้วย เช่น อานิสงส์ของการบริโภคอาหาร อานิสงส์ของธรรมข้อนั้นๆ จีวรที่เป็นอานิสงส์ของกฐิน, โดยทั่วไป อานิสงส์ มีความหมายตรงข้ามกับ อาทีนพ ซึ่งแปลว่าโทษ ข้อเสีย ข้อด้อย จุดอ่อน หรือผลร้าย เช่นในคำว่า กามาทีนพ (โทษของกาม) และเนกขัมมานิสงส์ (คุณหรือผลดีในเนกขัมมะ)


     คำศัพท์: กังขาวิตรณวิสุทธิ   ความบริสุทธิ์ด้วยหมดสงสัยในนามรูป คือ กําหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้ว่า เพราะอะไรเกิด นามรูปจึงเกิด เพราะอะไรดับ นามรูปจึงดับ

     คำศัพท์:  มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ   ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง

     คำศัพท์: ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ   ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ ได้แก่วิปัสสนาญาณ ๙

     คำศัพท์: ญาณทัสสนวิสุทธิ   ความหมดจดแห่งญาณทัศนะ ได้แก่ญาณในอริยมรรค ๔


     คำศัพท์: สีลัพพตปรามาส

        ความยึดถือว่าบุคคลจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ด้วยศีล และพรต  (คือถือว่าเพียงประพฤติศีลและพรตให้เคร่งครัดก็พอที่จะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ไม่ต้องอาศัยสมาธิและปัญญาก็ตาม ถือศีลและพรตที่งมงายหรืออย่างงมงายก็ตาม), ความถือศีลพรต  โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย หรือโดยนิยมว่าขลังว่าศักดิ์สิทธิ์ ไม่เข้าใจความหมาย และความมุ่งหมายที่แท้จริง, ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่าจะมีได้ด้วยศีล หรือพรตอย่างนี้ล่วงธรรมดาวิสัย  (ข้อ ๓ ในสังโยชน์ ๑๐, ข้อ ๖ ในสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยพระอภิธรรม)

 


Create Date : 19 ตุลาคม 2566
Last Update : 19 ตุลาคม 2566 16:44:08 น. 0 comments
Counter : 68 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space