กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
มิถุนายน 2566
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
space
space
15 มิถุนายน 2566
space
space
space

ความหมายคำว่า ศีลธรรม 


บันทึกที่ ๓: ความหมายของคำว่าศีลธรรม 

 
    ได้มีบางท่านพยายามขยายความหมายของคำว่า   ศีลธรรม   ให้กว้างขวาง   เช่น  ให้แปลศีลธรรมว่า ศีลและธรรม   ซึ่งจะ ทำให้ศีลธรรมคลุมคำสอนในทางพุทธศาสนาได้ทั้งหมด แต่ความรู้สึกของคนทั่วไปหายอมขยายตามไปด้วยไม่ เช่น เมื่อนึกถึง ศีลธรรม ก็ไม่อาจนึกไปถึงการฝึกสมาธิ   การเจริญสติปัฏฐาน  การพิจารณาสังขารธรรมโดยไตรลักษณ์ เป็นต้น การขยาย ความหมายนั้น จึงทำได้เพียงในขั้นความเพียรเชิงวิชาการเท่านั้น
 
    ส่วนความหมายที่เข้าใจกันทั่วไป ก็คงอยู่เพียงขั้นที่ต้องแปลศีลธรรมว่า ธรรมขั้นศีล หรือธรรมคือศีล แม้พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ก็ให้ความหมายเพียงแค่ว่า ความประพฤติที่ดีที่ชอบ
 
    คำว่า  ศีลธรรม  อย่างที่เข้าใจกันนี้ จะขยายกันอย่างไร ก็คงอยู่เพียงในขอบเขตของหมวดธรรมที่เรียกว่ากุศลกรรมบถ  ๑๐  ซึ่งมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า   ธรรมจริยา   ดังที่เคยกล่าวถึงมาแล้วในตอนก่อน บางทีถ้าหันไปใช้คำว่า   “ธรรมจริยา”  อาจจะเหมาะกันดีกระมัง   (พึงสังเกตว่า คำว่าศีลธรรม แม้จะมีต้นศัพท์อยู่ในบาลีสันสกฤต   แต่ก็เป็นคำไทย เกิดขึ้นในภาษาไทย มีใน ภาษาไทย และใช้กันอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น จึงเกิดปัญหาในการแสดงความหมายขึ้นในภายหลัง; ไทยเราในปัจจุบันให้คำ ศีลธรรม ตรงกับ moral หรือ morality ในภาษาอังกฤษ แต่ยังไม่พบประเทศใดอื่น แปลคำอังกฤษทั้งสองนั้นว่าศีลธรรม คง แปลเพียงว่า ศีล หรือ สีล เท่านั้น)
 
    อนึ่ง การแปล “ศีล” ว่าข้อห้าม เบื้องแรกก็มุ่งเพื่อให้เข้าใจกันง่ายๆ สำหรับชาวบ้านทั่วไป หรือสำหรับการศึกษา ขั้นต้นๆ แต่ต่อมาเกิดมีการติดในคำแปลนี้ บางทีถึงกับยึดเอาว่าข้อหามเป็นความหมายของศีลไปจริงๆ ทำให้ความเข้าใจ เกี่ยวกับศีลคับแคบและคลาดเคลื่อน มองแต่ด้านลบอย่างเดียว
 
    ความจริง แม้แต่ศีลระดับวินัย อย่างวินัยของพระสงฆ์ ก็มีทั้งฝ่ายละเว้นและข้อกำหนดให้ทำเช่น การเข้าร่วมประชุม    ทำสังฆกรรม   การทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจของส่วนรวม เช่น ภัตตุเทศก์ ก็เป็นเรื่องศีล หรือในระดับคนทั่วไป การประพฤติมีความ เคารพอ่อนน้อม การขวนขวายช่วยเหลือรับใช้ ก็เป็นเรื่องศีล  (ดู ที.อ.๓/๒๔๖)
 
    นอกจากนี้ เมื่อพูดถึงศีล มักมองข้ามเรื่องการทำมาหาเลี้ยงชีพ ที่เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของศีลไปเสีย
 
    ทั้งหมดนี้   ล้วนทำให้ความเข้าใจเกี่ยวกับศีลคับแคบลง ดังนั้น เมื่อพูดถึงศีล พึงคอยระวังขยายความรู้สึกให้กว้าง ครอบคลุมสัมมาวาจา  สัมมากัมมันตะ  และสัมมาอาชีวะ ให้หมดด้วย    (ความประพฤติดีงามสุจริต  นับว่าเป็นคำแปลที่ดีอย่างหนึ่งของศีล)


 


Create Date : 15 มิถุนายน 2566
Last Update : 15 มิถุนายน 2566 10:20:01 น. 0 comments
Counter : 164 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space