กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
ตุลาคม 2566
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
22 ตุลาคม 2566
space
space
space

เตรียมเข้าสู่มัชฌิมาปฏิปทา


เตรียมเข้าสู่มัชฌิมาปฏิปทา


     กล่าวโดยสรุป   สำหรับคนทั่วไป   ผู้มีปัญญายังไม่แก่กล้า ยังต้องอาศัยการแนะนำชักจูงจากผู้อื่น การเจริญปัญญา นับว่าเริ่มต้นจากองค์ประกอบภายนอก คือ ความมีกัลยาณมิตร สำหรับให้เกิดศรัทธา (ความมั่นใจด้วยเหตุผลที่ได้พิจารณาเห็นจริงแล้ว) ก่อน

     จากนั้น  จึงก้าวมาถึงขั้นองค์ประกอบภายใน เริ่มแต่นำความเข้าใจตามแนวศรัทธาไปเป็นพื้นฐาน ในการใช้ความคิดอย่างอิสระ  ด้วยโยนิโสมนสิการ เป็นต้นไป ทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิ และทำให้ปัญญาเจริญยิ่งขึ้น  จนกลายเป็นญาณทัสสนะ คือการรู้การเห็นประจักษ์ในที่สุด*

     เนื่องด้วยศรัทธา เป็นองค์ประกอบสำคัญมาก  ซึ่งเมื่อเป็นศรัทธาที่ถูกต้อง และใช้ถูกต้อง ก็จะเชื่อมต่อเข้ากับโยนิโสมนสิการ นำให้เกิดปัญญาที่เป็นสัมมาทิฏฐิ


     จึงขอสรุปเรื่องศรัทธา ในแง่ที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ไว้อีกครั้งหนึ่ง

        ๑.ในขั้นศีล  ศรัทธาเป็นหลักยึด ช่วยคุ้มครองศีลไว้ โดยเหนี่ยวรั้งจากความชั่ว และทำให้มั่นคงในสุจริน ศรัทธาเพื่อการนี้ แม้ไม่มีความคิดเหตุผล คือไม่ประกอบด้วยปัญญา ก็ใช้ได้ และปรากฎบ่อยๆ ว่า ศรัทธาแบบเชื่อดิ่งโดยไม่คิดเหตุผลนั้น ใช้ประโยชน์ในขั้นศีล แน่กว่าศรัทธาที่มีการใช้ปัญญาด้วยซ้ำ

        ๒.ในขั้นสมาธิ  ศรัทธาช่วยให้เกิดสมาธิได้ ทั้งในแง่ที่ทำให้กิดปีติสุขแล้ว ทำให้จิตสงบนิ่งแนบสนิท หายฟุ้งซ่าน ไม่กระสับกระส่ายกระวนกระวาย และในแง่ที่ทำให้เกิดความเพียรพยายามแกล้วกล้า ไม่หวั่นกลัว จิตใจพุ่งแล่นไปในทางเดียว เกิดความเข้มแข็งมั่นคง แน่วแน่ ศรัทธาเพื่อการนี้ แม้เป็นแบบเชื่อดิ่งโดยไม่ใช้ความคิดเหตุผล ก็ใช้ได้เช่นเดียวกัน

     ในกรณีที่เป็นศรัทธาแบบเชื่อดิ่งโดยไม่ยอมคิดเหตุผล แม้จะใช้งานได้ผลทั้ง ๒ ระดับ แต่มีผลเสียที่ทำให้ใจแคบ ไม่ยอมรับฟังผู้อื่น และบางทีถึงกับเป็นเหตุให้เกิดการบีบบังคับเบียดเบียนคนอื่นพวกอื่น เพราะความเชื่อนั้น และที่สำคัญในเรื่องนี้คือ ไม่เกื้อหนุนแก่การเจริญปัญญา


        ๓.ในขั้นปัญญา   ศรัทธาช่วยให้เกิดปัญญา เริ่มแต่โลกียสัมมาทิฏฐิเป็นเบื้องแรก เหนือกว่านั้นไป ศรัทธาเชื่อมต่อกับโยนิโสมนสิการ ๒ ลักษณะ คือ

          - อย่างแรก   เป็นช่องทาง   ให้กัลยาณมิตรสามารถชี้แนะความรู้จักคิด คือกระตุ้นให้คนผู้นั้นเริ่มใช้โยนิโสมนสิการ (มิฉะนั้น อาจไม่ยอมเปิดรับการชี้แนะหรือการกระตุ้นเลย)

          - อย่างที่สอง   ศรัทธาช่วยเตรียมพื้นหรือแนวของเรื่องที่จะพิจารณาบางอย่างไว้ สำหรับให้โยนิโสมนสิการนำไปคิดอย่างอิสระต่อไป ศรัทธาเพื่อการนี้ เห็นชัดอยู่ในตัวแล้วว่า ต้องเป็นศรัทธาที่มีการใช้ปัญญา และเป็นศรัทธาที่ต้องการในที่นี้


     เพื่อความมั่นใจที่จะให้ศรัทธา   เกื้อหนุนแก่ปัญญา โดยทางโยนิโสมนสิการ เห็นควรสรุปวิธีปฏิบัติต่อศรัทธาไว้  ดังนี้

         ๑) มีศรัทธาที่มีเหตุผล หรือมีความเชื่อที่ประกอบด้วยการคิดเหตุผล คือ ไม่ใช่ศรัทธาประเภทบังคับให้เชื่อ หรือเป็นข้อที่ต้องยอมรับตามที่กำหนดไว้ตายตัว หรือต้องถือตามไปโดยไม่เปิดโอกาสให้คิดหาเหตุผล ไม่ใช่ความเชื่อชนิดที่กีดกันห้ามความคิด บีบกดความคิด หรือที่ทำให้ไม่ยอมรับฟังใคร* แต่เป็นความเชื่อที่สนับสนุนการคิดเหตุผล เกื้อหนุนแก่การเจริญปัญญาต่อๆไป

        ๒) มีท่าทีแบบสัจจานุรักษ์ หรืออนุรักษ์สัจจะ หรือรักสัจจะ คือ ซื่อตรงต่อสัจจะ และแสดงศรัทธาตามสภาพที่เป็นจริง กล่าวคือ เมื่อตนเชื่ออย่างไร ก็มีสิทธิกล่าวว่า ข้าพเจ้ามีความเชื่อว่าอย่างนั้นๆ หรือเชื่อว่าเป็นอย่างนั้นๆ แต่ไม่เอาศรัทธาตนเป็นเครื่องตัดสินสัจจะ คือ ไม่ก้าวข้ามเขตไปว่า ความจริงต้องเป็นอย่างที่ข้าพเจ้าเชื่อ หรือเอาสิ่งที่เป็นเพียงความเชื่อไปกล่าวว่าเป็นความจริง เช่น แทนที่จะพูดว่า ข้าพเจ้าเชื่อว่าสิ่งนั้น เรื่องนั้นเป็นอย่างนั้นๆ กลับพูดว่า สิ่งนั้นเรื่องนั้นเป้นอย่างนั้นๆ

        ๓) ใช้ศรัทธา หรือสิ่งที่เชื่อนั้น  เป็นพื้นสำหรับโยนิโสมนสิการคิดพิจารณา ให้เกิดปัญญาต่อไป พูดอีกนัยหนึ่งว่า ศรัทธาไม่ใช่สิ่งจบสิ้นในตัว  มิใช่ศรัทธาเพื่อศรัทธา  แต่ศรัทธาเป็นเครื่องมือหรือเป็นบันไดก้าวสู่จุดหมายที่สูงขึ้นไปกว่า กล่าวคือ ศรัทธาเพื่อปัญญา

     เท่าที่กล่าวมา   ก็เป็นอันเข้ากับลำดับขั้นของการเจริญปัญญา ที่เคยแสดงไว้แล้ว คือ

          เสวนาสัตบุรุษ => สดับสัทธรรม => ศรัทธา => โยนิโสมนสิการ ฯลฯ

     ต่อจากโยนิโสมนสิการ ก็คือการเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฐิ   เมื่อถึงสัมมาทิฏฐิ ก็เป็นอันก้าวเข้าสู่องค์ประกอบของมัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งหมายถึงว่า วิถีชีวิตที่ถูกต้องดีงามได้เริ่มต้นแล้ว




* ผู้ที่จะช่วยแนะความรู้คิดแก่ผู้อื่น อาจถือโยนิโสมนสิการ ๓ อย่างต่อไปนี้ เป็นหลักพื้นฐานสำหรับตรวจสอบพื้นเพทางด้านภูมิปัญญา หรือความรู้คิดของบุคคล คือ

๑. การคิดแบบปัจจยาการ คือ ดูว่า เขามีความเป็นเหตุเป็นผล รู้จักคิดเหตุผล หรือเป็นคนมีเหตุผล รู้จักสืบค้นเหตุปัจจัยหรือไม่

๒. การคิดแบบวิภัชชวาท คือ ดูว่า เขารู้จักมองสิ่งทั้งหลาย หรือเรื่องราวต่างๆ ได้หลายแง่หลายมุม รู้จักแยกแยะแง่ด้านต่างๆ ที่อาจเป็นไปได้ ไม่มองแง่เดียว ไม่คิดคลุมเครือ ดังนี้หรือไม่

๓. การคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ คือ ดูว่า เขาพูด ฟัง หรืออ่านอะไร สามารถจับหลักจับประเด็นหรือแก่นของเรื่อง (ธรรม) และเข้าใจความหมาย ความมุ่งหมาย หรือคุณค่า ประโยชน์ หรือแนวที่จะกระจายขยายความของเรื่องนั้นๆ (อรรถ) หรือไม่


* พึงแยกระหว่าง ศรัทธาชนิดที่คิดเหตุผลเห็นสมจริงแล้ว จึงเชื่อ กับ ศรัทธาชนิดเชื่อก่อนแล้ว จึงคิดทำให้มีเหตุผล

 


Create Date : 22 ตุลาคม 2566
Last Update : 22 ตุลาคม 2566 9:53:36 น. 0 comments
Counter : 105 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space