กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
ตุลาคม 2566
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
31 ตุลาคม 2566
space
space
space

๑. การเจริญสมาธิแบบธรรมดาพาไปเอง



๑. การเจริญสมาธิแบบธรรมดาพาไปเอง


     การเจริญสมาธิในข้อนี้ ก็คือ การปฏิบัติตามหลักการเกิดขึ้นของสมาธิในกระบวนธรรมที่เป็นไปเองตามธรรมดาของธรรมชาติ หรือธรรมดาพาไปโดยไม่ต้องคิดตั้งใจ ซึ่งมีพุทธพจน์แสดงไว้มากมายหลายแห่ง สาระสำคัญของกระบวนธรรมนี้คือ กระทำสิ่งที่ดีงามอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้เกิดปราโมทย์ขึ้น จากนั้น  ก็จะเกิดมีปีติ ซึ่งตามมาด้วยปัสสัทธิ ความสุข และสมาธิในที่สุด พูดเป็นคำไทยว่า เกิดความชื่นบานบันเทิงใจ จากนั้น ก็จะเกิดความเอิบอิ่มใจ ร่างกายผ่อนคลายสงบ จิตใจสบายมีความสุข แล้วสมาธิก็เกิดขึ้นได้ เขียนให้ดูง่าย ดังนี้

        ปราโมทย์ => ปีติ => ปัสสัทธิ => สุข => สมาธิ

     หลักทั่วไป มีอยู่อย่างหนึ่งว่า การที่กระบวนธรรมเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้นั้น ตามปกติจะต้องมีศีลเป็นฐานรองรับอยู่ก่อน สำหรับคนทั่วไป ศีลนี้ ก็หมายเอาเพียงแค่การที่มิได้ไปเบียดเบียนล่วงละเมิดใครมา ที่จะเป็นเหตุให้ใจคอวุ่นวายคอยระแวงหวาดหวั่นกลัวโทษ หรือเดือดร้อนใจในความผิดความชั่วร้ายของตนเอง มีความประพฤติสุจริตเป็นที่สบายใจของตน ทำให้เกิดความเป็นปกติมั่นใจตัวเองได้

     ส่วนการกระทำที่จะให้เกิดปราโมทย์  ก็มีได้หลายอย่าง  เช่น  อาจนึกถึงความประพฤติดีงามสุจริตของตนเองแล้ว เกิดความปลาบปลื้มบันเทิงใจขึ้นก็ได้ อาจระลึกถึงการทำงานการบำเพ็ญประโยชน์ของตน อาจระลึกถึงพระรัตนตรัย และสิ่งดีงามอื่นๆ อาจหยิบยกเอาหลักธรรมบางอย่างขึ้นมาพิจารณา แล้วเกิดความเข้าใจได้หลักได้ความหมาย เป็นต้น (วินย.5/153/213 ฯลฯ) แล้วเกิดความปลาบปลื้มบันเทิงใจขึ้นมา ก็ได้ทั้งสิ้น

     องค์ธรรมสำคัญที่จะเป็นบรรทัดฐาน หรือเป็นปัจจัยใกล้ชิดที่สุดให้สมาธิเกิดขึ้นได้ ก็คือ ความสุข ดังพุทธพจน์ที่ตรัสเป็นแบบไว้เสมอๆ ว่า "สุขิโน จิตฺตํ สมาธิยติ" แปลว่า ผู้มีสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ  ขอยกตัวอย่าง ความเต็มมาดูสักแห่งหนึ่ง

        "(เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม)* ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อมีใจปีติ กายย่อมผ่อนคลายสงบ ผู้มีกายผ่อนคลายสงบ ย่อมได้เสวยสุข ผู้มีสุข จิตย่อมตั้งมั่น" (ที.ปา.11/301/254ฯลฯ)

     อย่างไรก็ตาม ว่าที่จริง การเจริญสมาธิในข้อนี้ ก็คือ หลักทั่วไปของการฝึกสมาธิ ซึ่งเป็นแกนกลางของวิธีฝึกทั่วไปถึงขั้นก่อนจะได้ฌานนั่นเอง ในที่นี้ จะไม่กล่าวถึงรายละเอียดใดๆ จึงยุติเพียงเท่านี้ก่อน



* ข้อความในวงเล็บ   แสดงเหตุให้เกิดปราโมทย์ในกรณีนี้   ซึ่งในกรณีอื่นๆ จะแปลกกันไปได้ต่างๆ ส่วนความนอกวงเล็บ คือหลักทั่วไป

- ปราโมทย์    ความบันเทิงใจ, ความปลื้มใจ,  (ปราโมช ก็ใช้)


 


Create Date : 31 ตุลาคม 2566
Last Update : 18 ธันวาคม 2566 18:24:53 น. 0 comments
Counter : 77 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space