กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
มิถุนายน 2566
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
space
space
12 มิถุนายน 2566
space
space
space

แทรกเสริมคำศัพท์ยาก



คำศัพท์ : อธิศีลสิกขา

    เรื่องอธิศีลอันจะต้องศึกษา, การศึกษาในอธิศีล, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมพัฒนาศีลอย่างสูง ที่จะให้ตั้งอยู่ในวินัย รู้จักใช้อินทรีย์ และมีพฤติกรรมทางกายวาจาดีงาม ในการสัมพันธ์ที่จะอยู่ร่วมสังคมกับผู้อื่นและอยู่ในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ด้วยดี ให้เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่เบียดเบียน ไม่ทำลาย และให้เป็นพื้นฐานแห่งการฝึกอบรมพัฒนาจิตใจในอธิจิตตสิกขา (ข้อ ๑ ในสิกขา ๓ หรือไตรสิกขา), เขียนอย่างบาลีเป็น อธิสีลสิกขา และเรียกกันง่ายๆ ว่า ศีล


คำศัพท์
 : สิกขาบท

    ข้อที่ต้องศึกษา, ข้อศีล, ข้อวินัย, บทบัญญัติข้อหนึ่งๆ ในพระวินัยที่ภิกษุพึงศึกษาปฏิบัติ, ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ศีล ๓๑๑ แต่ละข้อๆ เรียกว่าสิกขาบท เพราะเป็นข้อที่จะต้องศึกษา หรือเป็นบทฝึกฝนอบรมตนของสาธุชน อุบาสก อุบาสิกา สามเณร สามเณรี ภิกษุ และภิกษุณี ตามลำดับ


คำศัพท์ : อธิจิตตสิกขา

    เรื่องอธิจิตต์อันจะต้องศึกษา, การศึกษาในอธิจิตต์, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมพัฒนาจิตใจอย่างสูงเพื่อให้เกิดสมาธิ ความเข้มแข็งมั่นคง พร้อมทั้งคุณธรรมและคุณสมบัติที่เกื้อกูลทั้งหลาย เช่น สติ ขันติ เมตตา กรุณา สดชื่น เบิกบาน เป็นสุข ผ่องใส อันจะทำให้จิตใจมีสภาพที่เหมาะแก่การใช้งาน เฉพาะอย่างยิ่ง ให้เป็นฐานแห่งการเจริญปัญญา (ข้อ ๒ ในสิกขา ๓ หรือไตรสิกขา) เรียกกันง่ายๆ ว่า สมาธิ

คำศัพท์
 : กายานุปัสสนา

    การมีสติตามดูพร้อมด้วยปัญญารู้เห็นสภาวะของร่างกายเท่าทันอาการ ความเคลื่อนไหว สภาพองค์ประกอบ และความผันแปรเป็นไปตลอดจนแตกสลายของกาย  ตามที่มันมีอยู่เป็นไปอย่างไรๆ มองเห็นความก่อเกิดขึ้นมาและความเสื่อมสลายไปในกาย   ตระหนักต่อสภาวะที่มีอยู่ แค่รู้เท่าสติทัน ไม่ติดอิง ไม่ยึดเอา;   (ตามแบบเรียนว่า;  สติพิจารณากายเป็นอารมณ์ว่ากายนี้ก็สักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา)

กายานุปัสสนา  แยกเป็น อานาปานบรรพ  อิริยาปถบรรพ  สัมปชัญญบรรพ ปฏิกูลมนสิการบรรพ ธาตุมนสิการบรรพ และ นวสีวถิกาบรรพ (= ๙ สีวถิกาบรรพ) ที่แยกย่อยเป็น ๙ จึงเป็น ๑๔ บรรพ; ข้อ ๑ ใน สติปัฏฐาน ๔

 

คำศัพท์ : สัมปชัญญะ

    ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ตระหนัก, ความรู้ชัดเข้าใจชัด ซึ่งสิ่งที่นึกได้; มักมาคู่กับสติ (ข้อ ๒ ในธรรมมีอุปการะมาก ๒);  สัปชัญญะ ๔  ได้แก่   ๑. สาตถกสัมปชัญญะ  รู้ชัดว่ามีประโยชน์ หรือตระหนักว่าตรงตามจุดหมาย   ๒. สัปปายสัมปชัญญะ   รู้ชัดว่าเป็นสัปปายะ หรือตระหนักว่าเกื้อกูลเหมาะกัน ๓. โคจรสัมปชัญญะ   รู้ชัดว่าเป็นโคจร หรือตระหนักในแดนงานของตน  ๔. อสัมโมหสัมปชัญญะ   รู้ชัดว่าไม่หลง หรือตระหนักในตัวสภาวะ ไม่หลงใหล ไม่สับสนฟั่นเฟือน

    การมีสติทันโดยทำความรู้ตัวทั่วพร้อมมีสัมปชัญญะในการเคลื่อนไหวทำการทุกอย่าง ไม่ว่าก้าวเดิน การถอย การมอง เหลียว คู้ เหยียด ทรงผ้าสังฆาฏิบาตรจีวร กิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด นิ่ง เป็นหมวดหนึ่งของกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือสัมปชัญญบรรพ เป็นบรรพที่ ๓ ของกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน


คำศัพท์ : สติปัฏฐาน

    ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ, ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน, การตั้งสติถึงทันไว้โดยปัญญาพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง, การมีสติกำกับดูสิ่งต่างๆ และความเป็นไปทั้งหลาย โดยปัญญารู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส มี ๔ อย่าง คือ ๑. กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน  การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันกายและเรื่องทางกาย  ๒. เวทนานุปัสสนา  สติปัฏฐาน  การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันเวทนา  ๓. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันจิตหรือสภาพและอาการของจิต  ๔. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน   การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม,   การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันธรรม; เรียกสั้นๆ ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม


คำศัพท์ : อธิปัญญาสิกขา

    เรื่องอธิปัญญาอันจะต้องศึกษา, การศึกษาในอธิปัญญา, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมพัฒนาปัญญาอย่างสูง เพื่อให้เกิดความรู้แจ้ง มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง อันจะทำให้จิตใจหลุดพ้นเป็นอิสระ ปราศจากกิเลสและความทุกข์   (ข้อ ๓ ในสิกขา ๓ หรือไตรสิกขา) เรียกกันง่ายๆ ว่า ปัญญา


คำศัพท์
 : สิกขา

    การศึกษา, การสำเหนียก, การเรียน, การฝึกฝนปฏิบัติ, การเล่าเรียนให้รู้เข้าใจ และฝึกหัดปฏิบัติให้เป็นคุณสมบัติที่เกิดมีขึ้นในตนหรือให้ทำได้ทำเป็น   ตลอดจนแก้ไขปรับปรุงหรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไปจนถึงความสมบูรณ์; ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมพัฒนาบุคคล; 

    สิกขา ๓ คือ  ๑. อธิสีลสิกขา    สิกขาคือศีลอันยิ่ง, อธิศีลอันเป็นข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติเพื่อการฝึกอบรมพัฒนาศีลอย่างสูง  (ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ เป็นศีล, ปาติโมกขสังวรศีลเป็นอธิศีล; แต่ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ที่รักษาด้วยความเข้าใจ ให้เป็นเครื่องหนุนนำออกจากวัฏฏะ ก็เป็นอธิศีล) 
    ๒. อธิจิตตสิกขา   สิกขาคือจิตอันยิ่ง, อธิจิตอันเป็นข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติเพื่อการฝึกอบรมพัฒนาจิตใจให้มีสมาธิเป็นต้นอย่างสูง   (กุศลจิตทั้งหลายจนถึงสมาบัติ ๘ เป็นจิต, ฌานสมาบัติที่เป็นบาทแห่งวิปัสสนา เป็นอธิจิต; แต่สมาบัติ ๘ นั้นแหละ ถ้าปฏิบัติด้วยความเข้าใจมุ่งให้เป็นเครื่องหนุนนำออกจากวัฏฏะก็เป็นอธิจิต) 
    ๓. อธิปัญญาสิกขา    สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง,   อธิปัญญาอันเป็นข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติเพื่อการฝึกอบรมพัฒนาปัญญาอย่างสูง   (ความรู้เข้าใจหลักเหตุผลถูกต้องอย่างสามัญ อันเป็นกัมมัสสกตาญาณคือความรู้จักว่าทุกคนเป็นเจ้าของแห่งกรรมของตน เป็นปัญญา, วิปัสสนาปัญญาที่กำหนดรู้ความจริงแห่งไตรลักษณ์ เป็นอธิปัญญา; แต่โดยนัยอย่างเพลา กัมมัสสกตาปัญญาที่โยงไปให้มองเห็นทุกข์ที่เนื่องด้วยวัฏฏะ หรือแม้กระทั่งความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้ก้าวไปในมรรค ก็เป็นอธิปัญญา);    สิกขา ๓ นี้ นิยมเรียกว่า ไตรสิกขา และเรียกข้อย่อยทั้งสามง่ายๆ สั้นๆ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา

 




Create Date : 12 มิถุนายน 2566
Last Update : 12 มิถุนายน 2566 18:07:00 น. 0 comments
Counter : 222 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space