กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
ตุลาคม 2566
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
23 ตุลาคม 2566
space
space
space

คำจำกัดความของสัมมาทิฏฐิ



คำจำกัดความของสัมมาทิฏฐิ


   คำจำกัดความที่พบบ่อยที่สุด คือ ความรู้ในอริยสัจ ๔ ดังพุทธพจน์ว่า

     “ภิกษุทั้งหลาย  สัมมาทิฏฐิ คืออะไร ?  ความรู้ในทุกข์  ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ   ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา   นี้เรียกว่าสัมมาทิฏฐิ

  คำจำกัดความนอกจากนี้ ได้แก่

     รู้อกุศลและอกุศลมูล กับ กุศลและกุศลมูล:   “เมื่อใด  อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอกุศล...อกุศลมูล...กุศล...และกุศลมูล  ด้วยเหตุเพียงเท่านี้  เธอชื่อว่ามีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสแน่วแน่ในธรรมเข้าถึงสัทธรรมนี้แล้ว”* (ม.มู.12/111/85)

     เห็นไตรลักษณ์:   “ภิกษุเห็นรูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ ซึ่งเป็นของไม่เที่ยง ว่าไม่เที่ยง ความเห็นของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อเห็นชอบ ก็ย่อมหน่าย เพราะสิ้นเพลินก็สิ้นการย้อมติด เพราะสิ้นการย้อมติด ก็สิ้นเพลิน เพราะสิ้นเพลินและย้อมติด จิตจึงหลุดพ้น เรียกว่า พ้นเด็ดขาดแล้ว”

     “ภิกษุเห็นจักษุ...โสตะ...ฆานะ...ชิวหา...กาย...มโน...รูป... เสียง...กลิ่น...รส...โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ซึ่งเป็นของไม่เที่ยง ว่าไม่เที่ยง ความเห็นของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ”

     เห็นปฏิจจสมุปบาท:   "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ ดังนี้ แค่ไหน จึงจะชื่อว่า เป็นสัมมาทิฏฐิ" (สํ.ข.16/42/20)

     "แน่ะท่านกัจจานะ โลกนี้ โดยมากอิง (ทฤษฎีของตน) ไว้กับภาวะ ๒ อย่างคือ อัตถิตา (ความมี) และนัตถิตา (ความไม่มี) เมื่อเห็นโลกสมุทัยตามที่มันเป็น ด้วยสัมมาปัญญา นัตถิตาในโลกก็ไม่มี เมื่อเห็นโลกนิโรธตามที่มันเป็น ด้วยสัมมาปัญญา อัตถิตาในโลกก็ไม่มี โลกนี้โดยมากยึดมั่นถือมั่นในอุบาย (systems) และคล้องขังไว้ด้วยอภินิเวส (dogmas) ส่วนอริยสาวก ย่อมไม่เข้าหา ไม่ยึด ไม่ติดอยู่กับความยึดมั่นถือมั่นในอุบาย ความปักใจ อภินิเวส และอนุสัยว่า "อัตตาของเรา" ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า ทุกข์นั่นแหละ เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับ ก็ย่อมดับ อริยสาวกย่อมมีญาณในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องอาศัยผู้อื่นเลย เพียงเท่านี้แล ชื่อว่ามีสัมมาทิฏฐิ"

     “ดูก่อนกัจจานะ ข้อว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ นี้เป็นที่สุดข้างหนึ่ง ข้อว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี นี้เป็นที่สุดข้างหนึ่ง ตถาคตย่อมแสดงธรรมเป็นกลางๆ ไม่เข้าไปติดที่สุดทั้งสองนั้นว่า “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ฯลฯ เพราะอวิชชานั่นแหละสำรอกดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ”

     พุทธพจน์อีกแห่งหนึ่ง    แยกความหมายของสัมมาทิฏฐิ เป็น ๒ ระดับ คือ ระดับที่เป็นสาสวะ กับ ระดับโลกุตระ

        “ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ? เรากล่าวว่าสัมมาทิฏฐิมี ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ ซึ่งจัดเป็นฝ่ายบุญ อำนวยวิบากแก่ขันธ์ อย่างหนึ่ง กับ สัมมาทิฏฐิที่เป็นอริยะ ไม่มีอาสวะเป็นโลกุตระ และเป็นองค์มรรค อย่างหนึ่ง”

        “สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ จัดอยู่ในฝ่ายบุญ อำนวยวิบากแก่ขันธ์เป็นไฉน ? คือความเห็นว่าทาน ที่ให้แล้วมีผล การบำเพ็ญทานมีผล การบูชามีผล กรรมที่ทำไว้ดีและชั่ว มีผลมีวิบาก โลกนี้มี ปรโลกมี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี สมณพรามหณ์ ผู้ประพฤติชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ และปรโลกให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองมีอยู่ นี้แล สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ จัดเป็นฝ่ายบุญ อำนวยวิบากแก่ขันธ์”

        “สัมมาทิฏฐิที่เป็นอริยะ   ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคเป็นไฉน ? คือ องค์มรรค ข้อสัมมาทิฏฐิ ที่เป็นตัวปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ของผู้มีจิตเป็นอริยะ มีจิตไร้อาสวะ มีอริยมรรคเป็นสมังคี ผู้กำลังเจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาทิฏฐิที่เป็นอริยะ ไม่มีอาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค” (ม.อุ.14/258/181)




* อกุศลมูล = โลภะ โทสะ โมหะ กุศลมูล = อโลภะ อโทสะ อโมหะ

 


Create Date : 23 ตุลาคม 2566
Last Update : 23 ตุลาคม 2566 8:00:01 น. 0 comments
Counter : 108 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space