กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
ตุลาคม 2566
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
18 ตุลาคม 2566
space
space
space

๑.วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย



๑. วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย


     วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย คือ พิจารณาปรากฏการณ์ที่เป็นผล ให้รู้จักสภาวะที่เป็นจริง หรือพิจารณาปัญหา  หาหนทางแก้ไข ด้วยการค้นหาสาเหตุและปัจจัยต่างๆ ที่สัมพันธ์ส่งผลสืบทอดกันมา อาจเรียกว่า วิธีคิดแบบอิทัปปัจจยตา หรือ คิดตามหลักปฏิจจสมุปบาท  จัดเป็นวิธีโยนิโสมนสิการแบบพื้นฐาน  ดังจะเห็นว่าบางครั้ง  ท่านใช้บรรยายการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

     ไม่เฉพาะเริ่มจากผล  สืบค้นโดยสาวไปหาสาเหตุและปัจจัยทั้งหลายเท่านั้น  ในการคิดแบบอิทัปปัจจยตานั้น  จะตั้งต้นที่เหตุแล้วสาวไปหาผล หรือ จับที่จุดใดๆ ในกระแส หรือในกระบวนธรรม แล้วค้นไล่ตามไปทางปลาย หรือสืบย้อนมาทางต้น ก็ได้

     วิธีนี้กล่าวตามบาลี  พบแนวปฏิบัติ ดังนี้

     ก. คิดแบบปัจจัยสัมพันธ์   โดยอริยสาวกโยนิโสมนสิการที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกัน จึงเกิดขึ้น ดังที่ว่า

        "ภิกษุทั้งหลาย  การที่ปุถุชนขาดสุตะ  จะพึงเข้าไปยึดถือเอาร่างกาย อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตรูปทั้ง ๔ นี้ โดยความเป็นอัตตา ยังดีกว่า  แต่การจะเข้าไปยึดถือเอาจิต โดยความเป็นอัตตา หาควรไม่

        "ข้อนั้นเพราะเหตุไร  เพราะร่างกาย  อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตรูปทั้ง ๔ นี้ ที่ดำรงอยู่ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สืบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสืบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง  ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง  ยังปรากฏ  แต่สิ่งที่เรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง นั้น เกิดขึ้นอย่างหนึ่ง ดับไปอย่างหนึ่ง ทั้งคืน ทั้งวัน

        "ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีสุตะ ย่อมมนสิการโดยแยบคาย เป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาท ในกองมหาภูตนั้นว่า เพราะดังนี้ๆ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ

        "อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา  จึงเกิดสุขเวทนาขึ้น  เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นดับไป  สุขเวทนาที่เกิดขึ้น  เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้น  ก็ย่อมดับ ย่อมสงบไป  อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา  จึงเกิดทุกขเวทนาขึ้น  เพราะ ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นดับไป  ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้น ก็ย่อมดับ  ย่อมสงบไป  อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งเวทนาที่ไม่สุขไม่ทุกข์  จึงเกิดอทุกขมสุขเวทนาขึ้น  เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นดับไป  อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้น  ก็ยอมดับ  ย่อมสงบไป

        "ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม้สองอันครูดสีกัน จึงเกิดไออุ่น เกิดความร้อน แต่ถ้าแยกไม้ทั้งสองอันนั้นแหละ ออกเสียจากกัน ไออุ่นซึ่งเกิดจากการครูดสีกันนั้น ก็ดับไป สงบไป แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา จึงเกิดสุขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นดับไป สุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้น ก็ย่อมดับ ย่อมสงบไป" * (สํ.นิ.16/236/116)


     ข. คิดแบบสอบสวน หรือตั้งคำถาม เช่น ที่พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาว่า

        "เรานั้นได้มีความคิดว่า เมื่ออะไรมีอยู่หนอ อุปาทานจึงมี อุปาทานมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ? ลำดับนั้น เพราะโยนิโสมนสิการ จึงรู้ได้ด้วยปัญญาว่า เมื่อตัณหามีอยู่ อุปาทานจึงมี อุปาทานมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย

        "ลำดับนั้น เราได้มีความคิดว่า เมื่ออะไรมีอยู่หนอ ตัณหาจึงมี ตัณหามี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ? ลำดับนั้น เพราะโยนิโสมนสิการ จึงรู้ได้ด้วยปัญญาว่า เมื่อเวทนามีอยู่ ตัณหาจึงมี ตัณหามี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ฯลฯ" (สํ.นิ.16/26/11 ฯลฯ)

     เนื่องจากถือได้ว่า คำอธิบายในเรื่องปฏิจจสมุปบาท   ที่ผ่านมาแล้วในบทหนึ่ง  ก็เหมือนเป็นคำอธิบายวิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัยนี้ด้วยแล้ว  คำอธิบายวิธีคิดแบบนี้   จึงยุติเพียงเท่านี้




* สำหรับแบบมาตรฐาน  ที่ว่า "...เพราะสิ่งนี้ดับ  สิ่งนี้จึงดับ คือ  เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี  ฯลฯ  พบได้ทั่วไป เช่น สํ.นิ.16/144/77 ฯลฯ

 


Create Date : 18 ตุลาคม 2566
Last Update : 19 ตุลาคม 2566 5:23:11 น. 0 comments
Counter : 214 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space