กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
มิถุนายน 2566
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
space
space
10 มิถุนายน 2566
space
space
space

บทนำ ต่อ


ต่อ  

     
๑. อาหารของอวิชชา
 
    “ภิกษุทั้งหลาย   เรากล่าวดังนี้ว่า:  อวิชชา ก็อีกนั่นแล  มีสิ่งนี้เป็นปัจจัย จึงปรากฏ เรากล่าวว่า
 
   ๑. อวิชชา  มีอาหาร    อาหารของอวิชชา  คือ  นิวรณ์ ๕
 
   ๒. นิวรณ์ ๕ มีอาหาร .......................... คือ ทุจริต  ๓
 
   ๓. ทุจริต ๓ มีอาหาร ...........................คือ การไม่สำรวมอินทรีย์
 
   ๔. การไม่สำรวมอินทรีย์ มีอาหาร ............. คือ ความขาดสติสัมปชัญญะ
 
   ๕. ความขาดสติสัมปชัญญะ มีอาหาร .......   คือ ความขาดโยนิโสมนสิการ
 
   ๖. ความขาดโยนิโสมนสิการ มีอาหาร ......   คือ ความขาดศรัทธา
 
   ๗. ความขาดศรัทธา มีอาหาร ................. คือ การไม่ได้สดับสัทธรรม
 
   ๘. การไม่ได้สดับสัทธรรม มีอาหาร ..........  คือ การไม่ได้เสวนาสัปบุรุษ
 
   การไม่ได้เสวนาสัปบุรุษอย่างบริบูรณ์            ย่อมยังการไม่ได้ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
 
   การไม่ได้ฟังสัทธรรมอย่างบริบูรณ์               ย่อมทำความไม่มีศรัทธาให้บริบูรณ์
 
                               ฯลฯ
 
   นิวรณ์ ๕ บริบูรณ์                                ย่อมทำอวิชชาให้บริบูรณ์
 
   อวิชชา มีอาหาร และมีความบริบูรณ์ อย่างนี้”
 

๒. อาหารของวิชชาและวิมุตติ
 
   “๑. วิชชาและวิมุตติ  มีอาหาร  อาหารของวิชชาและวิมุตติ  คือ  โพชฌงค์  ๗
 
   ๒. โพชฌงค์ ๗ มีอาหาร .....................................คือ สติปัฏฐาน  ๔
 
   ๓. สติปัฏฐาน ๔ มีอาหาร .....................................คือ สุจริต  ๓
 
   ๔. สุจริต ๓ มีอาหาร .......................................... คือ อินทรีย์สังวร *
 
   ๕.  อินทรียสังวร  มีอาหาร ....................................คือ สติสัมปชัญญะ
 
   ๖.  สติสัมปชัญญะ มีอาหาร ...................................คือ โยนิโสมนสิการ
 
   ๗. โยนิโสมนสิการ มีอาหาร ...................................คือ ศรัทธา
 
   ๘. ศรัทธา มีอาหาร .............................................คือ การสดับสัทธรรม
 
   ๙. การสดับสัทธรรม มีอาหาร ..................................คือ การเสวนาสัปบุรุษ
 
   การเสวนาสัปบุรุษอย่างบริบูรณ์                ย่อมยังการได้สดับสัทธรรมให้บริบูรณ์
 
   การได้เรียนสดับสัทธรรมอย่างบริบูรณ์         ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์
 
                                     ฯลฯ
 
   โพชฌงค์  ๗  บริบูรณ์                             ย่อมยังวิชชาวิมุตติให้บริบูรณ์
 
   วิชชาวิมุตติ   มีอาหารอย่างนี้    มีความบริบูรณ์อย่างนี้”
 

    ในกระบวนธรรมแนวนี้   ขอให้สังเกตองค์ธรรม ๒ ข้อไว้เป็นพิเศษ ในฐานะเป็นองค์ประกอบสำคัญในระบบการฝึกอบรมในทางพระพุทธศาสนา คือ โยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นหลักการใช้ความคิดอย่างถูกวิธี ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญฝ่ายภายใน กับ การเสวนาสัปบุรุษ (= การมีกัลยาณมิตร) ซึ่งแสดงความสำคัญของปัจจัยทางสังคม ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญฝ่ายภายนอก องค์ประกอบสองฝ่ายนี้  มีศรัทธาเป็นตัวเชื่อมต่อ   ดังจะได้มองเห็นต่อๆ ไป
 
    กระบวนธรรมแห่งความดับทุกข์แบบต่างๆ เท่าที่กล่าวมาในตอนนี้ พร้อมทั้งระบบวิธีปฏิบัติบางอย่างที่ควรทราบ อาจนำมาเขียนสรุปไว้ เพื่อทบทวน และให้มองเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนี้


    ๑. กระบวนธรรมแห่งความดับทุกข์  กับ  การจัดระบบในทางปฏิบัติ  เป็นองค์ประกอบแห่งทางดับทุกข์  ดังนี้   

       ปฏิจจสมุปบาท  นิโรธวาร: อวิชชาดับ → สังขารดับ → วิญญาณดับ ฯลฯ →ชาติดับ → ชรามรณะดับ โสกะ ฯลฯ อุปายาสดับ = ดับทุกข์
 
       มัชฌิมาปฏิปทา/มรรค: สัมมาทิฏฐิ+สัมมาสังกัปปะ+สัมมาวาจา + สัมมากัมมันตะ+สัมมาอาชีวะ +สัมมาวายามะ+สัมมาสติ+สัมมาสมาธิ→ ดับทุกข์
 

     ๒. กระบวนธรรมแห่งความดับทุกข์   ผ่อนขยายเป็นกระบวนกุศลธรรมนำสู่วิมุตติ  โดยถือเอาทุกข์เป็นจุดตั้งต้น   แต่ดำเนินไปในทิศทางตรงข้ามกับกระบวนธรรมแห่งความเกิดทุกข์ ดังนี้
 
       
        
 

       (วิมุตติ และขยญาณ อาจแทนด้วย วิมุตติญาณทัสสนะ)
   
    ๓. กระบวนการปฏิบัติแบบลำดับขั้นตอน  ซึ่งจัดเป็นระบบขึ้นจากองค์ประกอบแห่งทางดับทุกข์ (มรรค) กระบวนการปฏิบัติแบบนี้  ไม่ใช่กระบวนธรรมตามธรรมชาติโดยตรง  แต่เป็นระบบวิธีของการปฏิบัติธรรมที่   ดำเนินไปอย่างมีขั้นตอน   แต่ละขั้นเป็นความก้าวหน้าที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดการปฏิบัติในขั้นถัดขึ้นไป  เช่น


    ธรรมเป็นอาหารอุดหนุนกัน:  เสวนาสัตบุรุษ → สดับธรรม → ศรัทธา→ โยนิโสมนสิการ → สติสัมปชัญญะ → อินทรียสังวร → สุจริต → สติปัฏฐาน → โพชฌงค์ →  วิชชาวิมุตติ
 
    การนำเอาองค์มรรคมาจัดเป็นกระบวนการปฏิบัติธรรมอย่างนี้  อาจทำให้มีขั้นตอนที่เป็นรายละเอียดแตกต่างออกไปได้อีกหลายอย่าง ตามความมุ่งหมายเฉพาะ และแง่ที่เน้น แต่โดยทั่วไป ขั้นตอนต่างๆ จะอยู่ในแนวและลำดับของไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา)* ซึ่งเป็นหลักใหญ่ของการนำเอาองค์มรรคมาใช้ในการปฏิบัติ
 


 
* อินทรียสังวร    ความสำรวมอินทรีย์     ไม่ได้หมายถึง  การปิดหู ปิดตา ไม่ให้เห็น ไม่ให้ได้ยิน เป็นต้น   แต่หมายถึง การระวังรักษารู้จักใช้อินทรีย์ เมื่อรับรู้ทางตา หู เป็นต้น ไม่ให้บาปอกุศลครอบงำ   สูงขึ้นไป  บุคคลสามารถเจริญอินทรีย์   ถึงขั้นเป็นนายเหนือความรู้สึกต่างๆ ที่จะเกิดจากการรับรู้เหล่านั้น   สามารถบังคับความรู้สึกได้ตามต้องการ ดู อินทรียภาวนาสูตร ม.อุ. ๑๔/๘๕๓/๕๔๑
 
 

 * สัมมาทิฏฐิ + สัมมาสังกัปปะ   จัดเข้าในหมวด ปัญญา; สัมมาวาจา + สัมมากัมมันตะ + สัมมาอาชีวะ จัดเข้าในหมวด ศีล; สัมมาวายามะ + สัมมาสติ + สัมมาสมาธิ จัดเข้าในหมวด สมาธิ (จะอธิบายอีกข้างหน้า)


 


Create Date : 10 มิถุนายน 2566
Last Update : 28 พฤศจิกายน 2566 18:05:31 น. 0 comments
Counter : 207 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space