|
|
| 1 | 2 | 3 |
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | |
|
 |
|
กิเลสภายในต้องเห็นชัดด้วยปัญญาจึงจะละมันได้ |
|
“ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่พึงละด้วยกาย มิใช่ด้วยวาจา ก็มี ธรรมที่พึงละด้วยวาจา มิใช่ด้วยกาย ก็มี ธรรมที่พึงละมิใช่ด้วยกาย มิใช่ด้วยวาจา ต้องเห็นชัดด้วยปัญญาจึงละได้ ก็มี”
“บรรดาธรรมที่พึงละด้วยกาย มิใช่ด้วยวาจา เป็นไฉน? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงความละเมิดอันเป็นอกุศลบางส่วนด้วยกาย เพื่อนพรหมจารีผู้เป็นวิญญูใคร่ครวญแล้ว กล่าวกะเธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุถึงความละเมิดอันเป็นอกุศลบางส่วนด้วยกาย จะเป็นการดีแท้ ที่ท่านผู้มีอายุได้โปรดละกายทุจริต จงบำเพ็ญกายสุจริตเถิด เธอถูกเพื่อนพรหมจารีผู้เป็นวิญญูใคร่ครวญแล้ว ว่ากล่าวอยู่ จึงละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต นี่เรียกว่า ธรรมที่พึงละด้วยกาย มิใช่ละด้วยวาจา” “ธรรมที่พึงละด้วยวาจา มิใช่ด้วยกายเป็นไฉน? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงความละเมิดอันเป็นอกุศลบางส่วนด้วยวาจา เพื่อนพรหมจารีผู้เป็นวิญญูใคร่ครวญแล้ว กล่าวกะเธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุถึงความละเมิดอันเป็นอกุศลบางส่วนด้วยวาจา จะเป็นการดีแท้ ที่ท่านผู้มีอายุได้โปรดละวจีทุจริต จงบำเพ็ญวจีสุจริตเถิด เธอถูกเพื่อนพรหมจารี ผู้เป็นวิญญูใคร่ครวญแล้ว ว่ากล่าวอยู่ จึงละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต นี่เรียกว่า ธรรมที่พึงละด้วยวาจา มิใช่ละด้วยกาย”
“ธรรมที่พึงละ มิใช่ด้วยกาย มิใช่ด้วยวาจา ต้องเห็นชัดด้วยปัญญาจึงละได้ เป็นไฉน ? คือ โลภะ...โทสะ...โมหะ...ความโกรธ...ความผูกโกรธ...ความหลบหลู่...ความยกตัวกดเขาไว้...ความตระหนี่....พึงละมิใช่ด้วยกาย มิใช่ด้วยวาจา ต้องเห็นชัดด้วยปัญญา จึงละได้...” (อง.ทสก. 24/23/41)
ปัญญาพุทธศาสนา ก็แยกเป็นสามระดับได้ ได้แก่ สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญา ดังนั้น กิเลสภายในต้องใช้ภาวนามยปัญญา ระดับที่สามที่เป็นสัมมาปฏิบัติ
บ้างก็ถามกันว่า "ธรรม" คือ อะไร หรือ ได้แก่ อะไร ตรงนี้ก็เหมือนให้คำตอบด้วย กล่าวคือ ทั้งกุศล อกุศล เรียกว่า "ธรรม" ได้ แยกให้ชัดก็ กุศลธรรม อกุศลธรรม
Create Date : 08 เมษายน 2564 |
Last Update : 8 เมษายน 2564 11:18:13 น. |
|
0 comments
|
Counter : 16 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|