40.3 พระสูตรหลักถัดไป คือทหรสูตร [พระสูตรที่ 112]
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
40.2 พระสูตรหลักถัดไป คือทหรสูตร [พระสูตรที่ 112]
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=05-08-2014&group=4&gblog=63

ความคิดเห็นที่ 32
ฐานาฐานะ, 30 กรกฎาคม 2557 เวลา 21:12 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ปุริสสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=2218&Z=2243

              พระสูตรหลักถัดไป คือ ราชสูตร [พระสูตรที่ 114].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              ราชสูตรที่ ๓
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=2244&Z=2268
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=331

ความคิดเห็นที่ 33
GravityOfLove, 30 กรกฎาคม 2557 เวลา 21:14 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค โกสลสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑
.            ๑๑๔. ราชสูตร ว่าด้วยพระราชา
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2244&Z=2268&bgc=snow&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามแห่งท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วกราบทูลว่า
             ผู้ที่เกิดมาแล้วที่พ้นจากชราและมรณะมีอยู่บ้างหรือไม่
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
             คนเกิดมาแล้วที่จะพ้นจากชรามรณะไม่มีเลย
             แม้กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล คฤหบดีมหาศาลซึ่งเป็นผู้มั่งคั่ง
มีทรัพย์มาก ก็ไม่มีพ้นจากชรามรณะ
             ภิกษุแม้ทุกองค์ ซึ่งเป็นพระอรหันต์ ร่างกายของพระอรหันต์เหล่านั้น
ก็เป็นสภาพแตกดับ ถูกทอดทิ้งเป็นธรรมดา
             พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาต่อไปอีกว่า
                          ราชรถอันวิจิตรดีย่อมชำรุด แม้สรีระก็ย่อมเข้าถึงชรา
                          แต่ว่าธรรมของสัตบุรุษหาเข้าถึงชราไม่
                          สัตบุรุษเท่านั้น ย่อมรู้กันได้กับสัตบุรุษ
             คำว่า สัตบุรุษ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สัตบุรุษ

ความคิดเห็นที่ 34
ฐานาฐานะ, 30 กรกฎาคม 2557 เวลา 22:15 น.

GravityOfLove, 18 นาทีที่แล้ว
...
9:13 PM 7/30/2014

             สรุปความได้ดีครับ.

คำศัพท์ที่พบ (ศัพท์ที่ 1) :  สพฺภิ
คำอ่าน (ภาษาบาลี) :  สับ-พิ
คำแปลที่พบ :  ด้วยสัปบุรุษทั้งหลาย

ความคิดเห็นที่ 35
ฐานาฐานะ, 30 กรกฎาคม 2557 เวลา 22:16 น.

             คำถามในราชสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2244&Z=2268

             เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.

ความคิดเห็นที่ 36
GravityOfLove, 30 กรกฎาคม 2557 เวลา 22:22 น.

             ตอบคำถามในราชสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2244&Z=2268

             เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง.
             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             คนทุกคนไม่ว่ายากจนหรือร่ำรวย เป็นปุถุชนหรือเป็นพระอริยะ ก็ไม่พ้นจากชรามรณะ
             ราชรถอันวิจิตรดีย่อมชำรุด แม้สรีระก็ย่อมเข้าถึงชรา
             แต่ว่าธรรมของสัตบุรุษหาเข้าถึงชราไม่
             สัตบุรุษเท่านั้น ย่อมรู้กันได้กับสัตบุรุษ
             ๒. กษัตริย์เหล่าใดมีทรัพย์เก็บไว้ ๑๐๐ โกฏิเป็นอย่างต่ำ มีกหาปณะ ๓ หม้อ
จัดกองไว้กลางคฤหะ (เรือน) สำหรับใช้สอย กษัตริย์เหล่านั้น ชื่อว่ากษัตริย์มหาศาล.
             พราหมณ์เหล่าใดมีทรัพย์เก็บไว้ ๘๐ โกฏิ มีกหาปณะหม้อครึ่ง
จัดกองไว้กลางคฤหะ สำหรับใช้สอย พราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าพราหมณมหาศาล.
             คฤหบดีเหล่าใดมีทรัพย์เก็บไว้ ๔๐ โกฏิ มีกหาปณะหม้อหนึ่ง
จัดกองไว้กลางคฤหะ สำหรับใช้สอย คฤหบดีเหล่านั้น ชื่อว่าคฤหบดีมหาศาล.
             ๓. ภิกษุชื่อว่าอรหันต์ เพราะไกลจากกิเลสทั้งหลาย.
             ชื่อว่าขีณาสพ ก็เพราะภิกษุเหล่านั้นสิ้นอาสวะ ๔ แล้ว.
             ชื่อว่าวุสิตวันตะ ก็เพราะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์แล้ว คืออยู่จบพรหมจรรย์แล้ว.
             ชื่อว่ากตกรณียะ เพราะภิกษุเหล่านั้นมีกิจที่ควรทำด้วยมรรค ๔ ทำเสร็จแล้ว.
             ชื่อว่าโอหิตภาระ เพราะภิกษุเหล่านั้นปลงภาระเหล่านี้ คือขันธภาระ กิเลสภาระ
อภิสังขารภาระ กามคุณภาระเสียแล้ว.
             ชื่อว่าอนุปปัตตสทัตถะ ก็เพราะภิกษุเหล่านั้นบรรลุประโยชน์ของตน กล่าวคือพระอรหัตแล้ว.
             ชื่อว่าภวปริกขีณสังโยชนะ เพราะภิกษุเหล่านั้นสิ้นภวสังโยชน์ทั้ง ๑๐ แล้ว.
             ชื่อว่าสัมมทัญญาวิมุตตะ เพราะภิกษุเหล่านั้นหลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ คือโดยเหตุ.
อธิบายว่า รู้สัจธรรม ๔ ด้วยมรรคปัญญาแล้ว หลุดพ้นโดยผลวิมุตติ.
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อาสวะ_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มรรค_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สังโยชน์_10
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยสัจ_4

ความคิดเห็นที่ 37
ฐานาฐานะ, 30 กรกฎาคม 2557 เวลา 22:27 น.

GravityOfLove, 2 นาทีที่แล้ว
             ตอบคำถามในราชสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2244&Z=2268
...
10:22 PM 7/30/2014

             ตอบคำถามได้ดีครับ.

ความคิดเห็นที่ 38
ฐานาฐานะ, 30 กรกฎาคม 2557 เวลา 22:33 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า ราชสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=2244&Z=2268

              พระสูตรหลักถัดไป คือ ปิยสูตร [พระสูตรที่ 115].
              พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
              สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
              ปิยสูตรที่ ๔
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=2269&Z=2315
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=334

ความคิดเห็นที่ 39
GravityOfLove, 30 กรกฎาคม 2557 เวลา 22:45 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
             สังยุตตนิกาย สคาถวรรค โกสลสังยุตต์ ปฐมวรรคที่ ๑
.            ๑๑๕. ปิยสูตร ว่าด้วยผู้รักตน
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2269&Z=2315&bgc=snow&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามแห่ง
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
             พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทรงถวายบังคม
แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
             (วันนี้) ข้าพระองค์เข้าที่ลับพักผ่อนอยู่ ได้เกิดความนึกคิดอย่างนี้ว่า
ชนเหล่าไหนชื่อว่ารักตน ชนเหล่าไหนชื่อว่าไม่รักตน
             ก็ชนเหล่าใดประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่รักตน
ถึงแม้ชนเหล่านั้นจะกล่าวว่า เรารักตน
             เพราะเป็นการทำความเสียหายให้แก่ตนด้วยตนเอง
เหมือนชนที่ไม่รักใคร่กัน ย่อมทำความเสียหายแก่อีกฝ่าย
             ส่วนชนเหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารักตน
ถึงแม้ชนเหล่านั้นจะกล่าวว่า เราไม่รักตน
             เพราะเป็นการทำความดีความเจริญให้แก่ตนด้วยตนเอง
เหมือนชนที่รักใคร่กัน ย่อมทำความดีความเจริญให้แก่อีกฝ่าย
             พระผู้มีพระภาคตรัสรับรองคำกล่าวนั้นว่า
             ถูกแล้วๆ มหาบพิตร (เอวเมตํ  มหาราช) ก็ชนเหล่าใด ... ย่อมทำความเจริญให้แก่อีกฝ่าย
             พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาต่อไปอีกว่า
                          ถ้ารักตน ก็ไม่ควรทำบาป เพราะเมื่อทำบาปย่อมไม่ได้ความสุขโดยง่าย
                          เมื่อตายไป ละทิ้งภพมนุษย์ไป อะไรเล่าเป็นสมบัติของเขา
                          เขาเอาอะไรไปได้ อะไรจะติดตามเขาไปดุจเงาติดตามตัว
                          บุคคลทำกรรมใดไว้คือ เป็นบุญและเป็นบาป
                          บุญและบาปนั่นเองเป็นสมบัติของเขา
                          เขาจะพาเอาบุญและบาปนั้นเองไป (สู่ปรโลก)
                          บุญและบาปนั้นย่อมติดตามเขาไปดุจเงาติดตามตน
                          เพราะฉะนั้น บุคคลพึงทำกัลยาณกรรม (กรรมดี) สะสมไว้เป็นสมบัติในปรโลก
                          (เพราะว่า) บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในปรโลก

ความคิดเห็นที่ 40
ฐานาฐานะ, 31 กรกฎาคม 2557 เวลา 22:00 น.

GravityOfLove, 9 นาทีที่แล้ว
...
10:44 PM 7/30/2014

             สรุปความได้ดีครับ.
             สรุปความส่วนพระคาถาประพันธ์นั้น
ใช้การจับใจความแล้วสรุปความ หรือว่าคัดลอกจากที่ใด?
             เริ่มใช้วิธีนี้ตั้งแต่พระสูตรใด?

ความคิดเห็นที่ 41
ฐานาฐานะ, 31 กรกฎาคม 2557 เวลา 22:08 น.

             คำถามในปิยสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2269&Z=2315

             1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง
             2. นัยของการรักตนและไม่รักตนนี้
นัยนี้ ได้เคยใช้หรือเคยพบในพระสูตรใด?

ความคิดเห็นที่ 42
GravityOfLove, 31 กรกฎาคม 2557 เวลา 22:43 น.

             ใช้การจับใจความแล้วสรุปความค่ะ เริ่มต้นจากพระสูตรใดไม่แน่ชัด
คือถ้าเห็นว่า ยาวมากและเป็นภาษาโบราณ ก็จะพยายามถอดให้เป็น
ภาษาปัจจุบัน ที่ตัวเองอ่านแล้วเข้าใจ
             ตอบคำถามในปิยสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=2269&Z=2315

             1. เมื่อศึกษาแล้วได้อะไรบ้าง
             ๑. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ก็ชนเหล่าใดประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่รักตน
ถึงแม้ชนเหล่านั้นจะกล่าวว่า เรารักตน
             เพราะเป็นการทำความเสียหายให้แก่ตนด้วยตนเอง
เหมือนชนที่ไม่รักใคร่กัน ย่อมทำความเสียหายแก่อีกฝ่าย
             ส่วนชนเหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารักตน
ถึงแม้ชนเหล่านั้นจะกล่าวว่า เราไม่รักตน
             เพราะเป็นการทำความดีความเจริญให้แก่ตนด้วยตนเอง
เหมือนชนที่รักใคร่กัน ย่อมทำความดีความเจริญให้แก่อีกฝ่าย

                          ถ้ารักตน ก็ไม่ควรทำบาป เพราะเมื่อทำบาปย่อมไม่ได้ความสุขโดยง่าย
                          เมื่อตายไป ละทิ้งภพมนุษย์ไป อะไรเล่าเป็นสมบัติของเขา
                          เขาเอาอะไรไปได้ อะไรจะติดตามเขาไปดุจเงาติดตามตัว
                          บุคคลทำกรรมใดไว้คือ เป็นบุญและเป็นบาป บุญและบาปนั่นเอง
                          เป็นสมบัติของเขา เขาจะพาเอาบุญและบาปนั้นเองไป (สู่ปรโลก)
                          บุญและบาปนั้นย่อมติดตามเขาไปดุจเงาติดตามตน
                          เพราะฉะนั้น บุคคลพึงทำกัลยาณกรรมสะสมไว้เป็นสมบัติ
                          ในปรโลก (เพราะว่า) บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในปรโลก
             ๒. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงนำสูตรนี้ให้เป็นคำตรัสของพระสัพพัญญู
จึงตรัสในสูตรนี้ว่า เอวเมตํ มหาราช
-----------
             2. นัยของการรักตนและไม่รักตนนี้ นัยนี้ ได้เคยใช้หรือเคยพบในพระสูตรใด?
             อันนสูตร
             เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ต่างก็พอใจอาหารด้วยกันทั้งนั้น
             เออ ก็ผู้ที่ไม่พอใจอาหารชื่อว่ายักษ์โดยแท้
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=934&Z=942&bgc=honeydew&pagebreak=0
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=09-06-2014&group=4&gblog=25

             เสรีสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=15&A=1837&Z=1903&bgc=honeydew&pagebreak=0
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=29-07-2014&group=4&gblog=55

             มัลลิกาสูตร
             บุคคลค้นหาด้วยจิตตลอดทิศทั้งหมด ไม่ได้พบใครซึ่งเป็นที่รัก
             ยิ่งกว่าตนในที่ไหนๆ เลย สัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่นก็รักตนมาก
             เช่นนั้นเหมือนกัน ฉะนั้น ผู้รักตนจึงไม่ควรเบียดเบียนสัตว์อื่น
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=2395&Z=2425&pagebreak=0

ย้ายไปที

สารบัญ ๑
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=gravity-of-love&month=12-03-2013&group=1&gblog=1



Create Date : 05 สิงหาคม 2557
Last Update : 6 สิงหาคม 2557 0:06:35 น.
Counter : 621 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
3
4
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog