bloggang.com mainmenu search






























พริก

........

ชื่อสามัญ Chili, Chilli Pepper

พริกขนาดใหญ่ เรียกว่า Bell Pepper, Pepper,

Paprika, Capsicum มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้

มีการนำเข้ามาในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น

 แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่

"พวกต้นล้มลุก"

 พริกที่อยู่ในพวกนี้ เช่น พริกขี้หนู พริกยักษ์ พริกหยวก

 พริกจินดา พริกมัน หรือพริกชี้ฟ้า

 " พวกยืนต้น "

ส่วนใหญ่มีรสเผ็ดจัด เช่น พริกขี้หนูสวน พริกตาบาสโก

พันธุ์พริกที่ปลูกในประเทศไทย แตกต่างกันออกไปตามท้องที่ปลูก

 และชื่อพันธุ์พริก เรียกต่างกันไป

เช่น พริกพันธุ์ห้วยสีทน พริกเชียงใหม่ พริกบางช้าง

 และพริกที่นิยมปลูกมากที่สุด พริกขี้หนู

รองลงมาได้แก่ พริกชี้ฟ้า พริกมัน พริกสิงคโปร์ และพริกเหลือง

พริกเป็นเครื่องเทศที่ขาดไม่ได้ ในอาหารไทยเกือบทุกชนิด

 สามารถนำไปใช้บริโภคเป็นพริกสด หรือทำเป็นพริกแห้ง

 น้ำพริกถือเป็นอาหารหลัก ของคนไทย

 น้ำพริกมีความหลายหลายเมนู แทบจะทุกวัตถุดิบ

 สามารถนำมาประยุกต์ เป็นน้ำพริกทั้งหมด

อาหารไทย 4 ภาค น้ำพริก

 มีทั้ง น้ำพริก ภาค กลาง เหนือ ใต้ และอีสาน

ความเผ็ดของพริก มาจากสารชื่อ Capsaicin

ซึ่งจะมีอยู่มากใย บริเวณเยื่อแกนกลางสีขาว

 คือส่วนเผ็ดมากที่สุด ส่วนเปลือกและเมล็ดนั้น จะมีสารนี้น้อย

 มักเข้าใจผิดว่าส่วนเมล็ดและเปลือก คือส่วนที่เผ็ดที่สุด

 และสารชนิดนี้จะทนทาน ต่อความร้อนและความเย็นอย่างมาก

 แม้จะนำมาต้มให้สุกหรือแช่แข็งไม่ได้ทำให้สูญเสียความเผ็ดไป

 เราสามารถเรียงลำดับความเผ็ด ของพริกจากมากไปหาน้อยได้

คือ พริกขี้หนูhtmlentities(' >') พริกเหลืองhtmlentities(' >') พริกชี้ฟ้าhtmlentities(' >') พริกหยวกhtmlentities(' >') พริกหวาน

หน่วยวัดความเผ็ดเดิมคือ Seoville

ชื่อผู้คิดค้นวิธีการวัดระดับ ซึ่งก็คือ

วิลเบอร์ สโควิลล์ นักเคมีชาวอเมริกัน

โดยพริกขี้หนูสวนบ้านเราจะมีค่าอยู่ที่ 50,000-100,000 SHU

 ส่วนพริกที่ได้รับการบันทึกลงในกินเนสส์บุ๊กว่าเผ็ดที่สุดในโลก

ก็คือ พริก Carolina Creaper ค่าอยูที่ 2,200,000 SHU

พริกอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ

 อย่าง วิตามินเอ วิตามินบี6 วิตามินซี ธาตุแมกนีเซียม

ธาตุโพแทสเซียม ธาตุเหล็ก ใยอาหาร เป็นต้น

 โดยในพริก 100 กรัม จะมีวิตามินซีสูงถึง

 144 มิลลิกรัมเลยทีเดียว !

สรรพคุณ พริกช่วยขับเสมหะ ช่วยให้ทางเดินหายใจโล่ง

สาร Capsaicin ช่วยลดความไวของปอด

ต่อการเกิดอาการต่างๆ เช่น การบวมของเซลล์

 หลอดลมใหญ่และเล็ก ลดการหดเกร็ง เนื้อรอบหลอดลม

 พริกเผ็ดจึงเป็นประโยชน์ต่อคน ที่เป็นหอบหืด

เมื่อเราลองกินพริก ที่รสเผ็ดๆ น้ำตา น้ำมูกไหล

พริกช่วยให้เสมหะที่ข้นเหนียว เจือจางลง

ร่างกาย จะขับเสมหะออกจากหลอดลมได้ง่ายขึ้น

 ช่วยสลายลิ่มเลือด ผู้ป่วยที่ได้รับพริก

จะมีการทำงาน ของร่างกายเพื่อสลายลิ่มเลือด

ได้เร็วกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับพริก

คนไทยใช้พริกประกอบอาหาร

 โอกาสจะเกิดโรคหัวใจจึงมีน้อยกว่า

บรรเทาอาการปวด เช่น ลดอาการปวดฟัน

สารแคปไซซิน ออกฤทธิ์ต่อเซลประสาท

โดยชะลอการหลั่งของ neurotransmitter

 ที่ปลายประสาท substance P ส่งผลให้

สมองส่วนกลางรับรู้การเจ็บปวดช้าลง

4. พริกช่วยกระตุ้นสมองส่วนกลาง ให้หลั่งสาร endorphins

 ซึ่งเป็นสารสร้างความสุข เมื่อรับประทานพริก

 จะเกิดความสุข และเป็นส่วนหนึ่งทำให้อยากเพิ่ม ขนาดพริก

ในอาหารขึ้นเรื่อยๆ สาร endorphin มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน

 คือ การออกฤทธิ์ทำให้เกิดการผ่อนคลาย

ทำให้อยากหลับ (opiates) ซึ่งนั้นก็ให้เกิดความสุข แก่ตัวเรา

 และทำให้ความดันโลหิตลดลง

พริกจะช่วยกระตุ้นให้อยากอาหาร ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง

 เนื่องจากในพริกมีทั้งวิตามิน เอ ซี และโปรตีน

หากต้องการลด ความเผ็ดร้อนของพริก

ควรรับประทานอาหารที่มีไขมัน

หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากกว่าที่จะดื่มน้ำ

เพราะการดื่มน้ำจะมีผลเพียง แค่ช่วยให้บรรเทา

อาการแสบร้อนได้เท่านั้น แต่ความเผ็ดยังคงอยู่

 ระวังพริกป่นตามร้านอาหาร

พริกซองที่อาจจะมีสารอะฟลอทอกซินปนอยู่

ซึ่งเป็นสารพิษ ที่เกิดจากเชื้อรา

หากร่างกายได้รับอย่างต่อเนื่อง อาจจะเกิดการสะสม

จนกลาย เป็นมะเร็งตับในที่สุด

สูตรลับ น้ำปลาพริก จะไม่ให้สีคล้ำลง ไม่น่ากิน

 แช่พริกทิ้งไว้ในน้ำมะนาว ก่อนประมาณ 1 นาที

 วิธีนี้จะช่วยทำให้สีของพริกไม่คล้ำนั่นเอง











































ขอบคุณที่มา fb. Siriwan Jane
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ

Create Date :07 กันยายน 2558 Last Update :7 กันยายน 2558 11:17:22 น. Counter : 3850 Pageviews. Comments :0