bloggang.com mainmenu search












ฝาง หรือฝางเสน

............. 

รู้ไหม ! น้ำสีแดงเราก็ทำได้เองจากสมุนไพรธรรมชาติ

คือ แก่นฝาง สรรพคุณเด่นคือ บำรุงโลหิต

 สีแดงให้สารอาหารสีเดียวกับโลหิตของเรา

ที่เรียกว่านำยาอุทัย หอมชื่นใจ เดี่ยวนี้ก็น่าจะยังมีดื่มอยู่บ้าง

 เด็กๆรุ่นหลังหรือผู้ใหญ่บางคนอาจจะไม่รู้จักหรือเคยพบเห็น

น้ำยาอุทัยจะมีกลิ่นหอมเฉพาะ

ซึ่งคงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเจ้าของสูตร



ฝางที่ผ่าชิ้นเล็กๆ พอประมาณกับน้ำที่ต้มแต่ละครั้งไม่ต้องมาก

ในน้ำเดือด ประมาณ 30 นาที สีแดงของฝางจะออกมา

สรรพคุณน้ำฝางเพื่อสุขภาพบำรุงโลหิต

 แก้ร้อนในกระหายน้ำ ฯ -

ฝาง ฝางเสน ,ง้าย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี),

หนามโค้ง (แพร่) ,Sappan

แก่น รสฝาดขม ต้มเอาน้ำดื่ม บำรุงโลหิต

 แก้ปอดพิการ แก้ร้อนในกระหายน้ำ

แก้ท้องร่วง แก้ธาตุพิการ แก้โลหิตออกทางทวารหนัก

แก้กำเดา แก้เสมหะ

ตามตำรับยาแผนโบราณ ฝางจัดเป็นยาเย็น

แก่นฝางมีสรรพคุณบำรุงโลหิต ขับประจำเดือน

แก้ปอดพิการ ขับเสมหะ แก้ร้อนใน ช่วยลดความร้อนในร่างกาย

 กระหายน้ำ แก้ไอ ขับระดู เป็นยาบำรุงโลหิตสตรี

แก้ธาตุพิการ แก้เลือดกำเดา แก้โลหิตออกทางทวารหนัก

 และแก้อาการเลือดออกภายในอวัยวะต่างๆ

 เช่น เลือดออกในกระเพาะอาหารหรือในลำไส้

 หรือคนที่ขาดวิตามินเค มักเลือดไหลหยุดช้า

คนที่เส้นเลือดฝอยเปราะแตกง่าย

และคนที่มีเลือดกำเดาออกบ่อย ดื่มน้ำฝาง

จะค่อยๆ ช่วยให้เลือดหยุดไหลได้

และยังใช้แก่นฝางฝนกับน้ำเป็นยาทาภายนอก

ในโรคผิวหนังบางชนิด เพื่อฆ่าเชื้อโรค ขับหนอง

ส่วนเปลือก ลำต้น และเนื้อไม้ ใช้รักษาวัณโรค ท้องเสีย

 และอาการอักเสบในลำไส้ เป็นยาฝาดสมานและรักษาแผล

รสชาติของฝางเวลาต้มหากเราไม่ใส่มากน้ำจะไม่ขมไม่ฝาด

 ดื่มได้ง่ายไม่ต้องเพิ่มความหวานก็ได้ ทำแช่เย็นดื่มแทนน้ำ

ได้ประโยชน์หลายอย่างต่อสุขภาพร่างกาย

นำไปทำเป็นสีผสมอาหารก็ได้ หรือนำไปหุงข้าว

 เป็นสมุนไพรสีแดงเมื่อนำไปหุงข้าวแล้ว

จะมีลักษณะเปลี่ยนสีด้วย 

ดื่มได้ทันที จะเพิ่มความหวานหรือไม่แล้วแต่ชอบ

ยาบำรุงโลหิตสตรี

ตำรับที่ ๑

ใช้แก่นฝางตากแห้ง ๑ ชิ้น ขนาด ๓ นิ้ว น้ำประมาณ ๑ ลิตร

 ต้มหลังจากน้ำเดือดประมาณ ๑๕-๒๐ นาที

 จนได้น้ำฝางสีแดง ดื่มเป็นประจำ แก้ร้อนในกระหายน้ำ

ลดเสมหะ เป็นยาบำรุงโลหิตสตรี

ตำรับที่ ๒ 

แก่นฝาง แก่นไม้แดง รากเดื่อหอม อย่างละเท่ากัน

ต้มกิน บำรุงร่างกายทั้งสตรีและบุรุษ แก้ประดง

ตำรับที่ ๓

ดอกคำไทย ดอกคำฝอย แก่นฝางเสน

ทำเป็นผงละลายด้วยน้ำมะกรูดหรือน้ำมะนาว

อาจผสมน้ำผึ้งลงไปด้วย กินครั้งละประมาณครึ่งช้อนชา

วันละ ๓ เวลา

ยาบำรุงกำลัง แก้กษัย แก้ปวดเมื่อย

ตำรับที่ ๑ 

แก่นฝาง ๑ บาท ดอกคำไทย ๒ สลึง ต้มน้ำ ๓ แก้ว

เอา ๑ แก้ว แบ่งรับประทานเช้าเย็น

 รับประทานเถิดวิเศษจริง

ตำรับที่ ๒ 

แก่นฝาง รากกระจ้อนเน่า กำลังช้างสาร

ม้ากระทืบโรง อย่างละเท่าๆ กัน ต้มกินบำรุงกำลัง

ยาแก้กษัยปัสสาวะขุ่นข้น

แก่นฝาง เถาวัลย์เปรียง รากเตย อย่างละเท่ากัน

ต้มกับน้ำ อาจเติมน้ำตาลพอหวานเพื่อช่วยทำให้รสชาติดีขึ้น

ยาแก้หวัด แก้ไอ

ตะไคร้ ๓ ต้นทุบให้ละเอียด แก่นฝางหนัก ๓ บาท น้ำ ๑ ลิตร

 ใส่น้ำปูนใสเล็กน้อย ต้มพอให้ได้น้ำยาสีแดง

รับประทาน ครั้งละ ๑ แก้ว วันละ ๓ เวลา

หรือจะผสมน้ำตาลกรวดก็ได้

ยาแก้หอบหืด

แก่นฝางเสน ใบมะคำไก่ แก่นแสมสาร เถาวัลย์เปรียง

อย่างละ ๒ บาท ๒ สลึง ใส่น้ำพอท่วมยา ต้มเดือด ๑๐ นาที

 กินยาต่างน้ำให้หมดภายในวันนั้น

 วันต่อมาเติมน้ำเท่าเดิม ต้มเดือด ๕ นาที กินเหมือนวันแรก

 ต้มกินจนยาจืด(ประมาณ ๕ วัน) เปลี่ยนยาใหม่

 ต้มกิน ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหาย

ข้อควรระวัง

ระมัดระวังในคนท้อง เพราะในยาแผนไทย

ใช้ฝางเป็นส่วนประกอบของยาขับประจำเดือน

และมีรายงานการวิจัยว่ามีฤทธิ์เป็นยับยั้งการแข็งตัวของเลือด

( ขอบคุณ สรรพคุณจากหนังสือเภสัขภรรมไทย โดย วุฒิ วุฒิธรรมเวช )
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 157 มกราคม 2557 โดย มีคณา)

ขอบคุณที่มา fb.นันทวดี น้อยนิติ









ฝาง ชื่อสามัญ Sappan หรือ Sappan Tree

ฝาง ชื่อวิทยาศาสตร์ Caesalpinia sappan Linn.

จัดอยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE (FABACEAE)

และอยู่ในวงศ์ย่อย CAESALPINIACEAE

สมุนไพรฝาง มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ขวาง, ฝางแดง,

หนามโค้ง (แพร่), ฝางส้ม (กาญจนบุรี),

ฝางเสน (ทั่วไป, กรุงเทพฯ, ภาคกลาง),

ง้าย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ลำฝาง (ลั้วะ),

สะมั่วะ (เมี่ยน), โซปั้ก (จีน),

ซูมู่ ซูฟังมู่ (จีนกลาง) เป็นต้น











ต้นฝาง

จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง หรือเป็นไม้พุ่ม

หรือไม้พุ่มกึ่งไม้เถาผลัดใบ

มีความสูงของต้นประมาณ 5-13 เมตร

 ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็งและโค้งสั้นๆ อยู่ทั่วไป

ถ้าเนื้อไม้หรือแก่นเป็นสีแดงเข้มและมีรสขมหวาน

 จะเรียกว่า “ฝางเสน”

แต่ถ้าแก่นไม้เป็นสีเหลืองส้มและมีรสฝาดขื่น

จะเรียกว่า “ฝางส้ม”

พรรณไม้ชนิดนี้เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย

 มักจะพบพรรณไม้ชนิดนี้ได้ตามป่าละเมาะ ปาเต็งรัง

 ป่าดิบแล้ง และตามเขาหินปูน






ใบฝาง

ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น

ออกเรียงสลับ แก่นช่อใบยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร

มีช่อใบย่อยประมาณ 8-15 คู่ และในแต่ละช่อ

จะมีใบย่อยประมาณ 5-18 คู่ ออกเรียงตรงข้าม

 ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน

มีขนาดกว้างประมาณ 5-10 มิลลิเมตร

และยาวประมาณ 8-20 มิลลิเมตร

ปลายใบย่อยกลมถึงเว้าตื้น

โคนใบตัดและเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบ

แผ่นใบมีลักษณะบางคล้ายกระดาษ

ใบเกลี้ยงหรือมีขนบ้างประปรายทั้งสองด้าน

ก้านใบมีขนาดสั้นมากหรือไม่มีก้านใบ

และมีหูใบยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร หลุดร่วงได้ง่าย







ดอกฝาง

ออกดอกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง

 โดยจะออกที่ปลายกิ่งหรือตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง

 และจะออกรวมกันเป็นช่อๆ ช่อดอกยาวได้ถึง 40 เซนติเมตร

มีใบประดับลักษณะเป็นรูปใบหอก ร่วงได้ง่าย

ยาวประมาณ 5-8 มิลลิเมตร ปลายเรียวแหลมและมีขน

ส่วนก้านดอกย่อยยาวประมาณ 1.2-1.8 เซนติเมตร

 มีขนสั้นนุ่ม มีข้อต่อหรือเป็นข้อที่ใกล้ปลายก้าน

ดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบเกลี้ยง ที่ขอบมีขนครุย

ขอบกลีบเกยซ้อนทับกัน

โดยกลีบเลี้ยงล่างสุดจะมีขนาดใหญ่สุด

และเว้ามากกว่ากลีบอื่นๆ ส่วนกลีบดอกเป็นสีเหลืองมี 5 กลีบ

 ลักษณะเป็นรูปไข่กลับ มีขนาดกว้างประมาณ 6-10 มิลลิเมตร

และยาวประมาณ 9-12 มิลลิเมตร ผิวและขอบกลีบย่น

 โดยกลีบกลางจะมีขนาดเล็กกว่า มีก้าน

กลีบด้านในมีขนจากโคนไปถึงกลางกลีบ

ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน แยกจากันเป็นอิสระ

ส่วนก้านชูอับเรณูมีขน รังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ

มีขนสั้นนุ่ม มีช่อง 1 ช่อง และมีออวุล 3-6 เม็ด

 โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม









ผลฝาง

ผลเป็นฝักรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ

 ฝักแบนแข็งเป็นจะงอยแหลม เป็นสีน้ำตาลเข้ม

มีขนาดกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร

และยาวประมาณ 5-8.5 เซนติเมตร

และส่วนที่ค่อนมาทางโคนฝักจะสอบเอียงเล็กน้อย

และด้านปลายฝักจะผายกว้าง

และมีจะงอยแหลมที่ปลายด้านหนึ่ง

ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 2-4 เมล็ด

ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปรี

 มีขนาดกว้างประมาณ 0.8-1 เซนติเมตร

และยาวประมาณ 1.5-1.8 เซนติเมตร

โดยจะเป็นผลในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤษภาคม






ขอบคุณที่มา  logo frynn

ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ

Create Date :16 กุมภาพันธ์ 2558 Last Update :25 เมษายน 2558 12:22:39 น. Counter : 4984 Pageviews. Comments :0