bloggang.com mainmenu search
















เต่าร้าง

.......

ชื่อสามัญ Common fishtail palm,

 Clustering Fishtail Palm, Jaggery Palm,

Burmese fishtail palm, Wart fishtail palm,

Tufted fishtail palm

ชื่อท้องถิ่น เต่ารั้ง เกี๋ยง, เขืองหลวง เต่าร้าง หมากมือ

กระจายพันธุ์ ในประเทศอินเดีย ตอนใต้ของจีน ศรีลังกา

เวียดนาม และไทย ในป่าดิบทุกแห่ง บริเวณที่มีความชุ่มชื้นสูง

เป็นพืชสมุนไพร อยู่ในตระกูลปาล์ม ไม่มีหนาม

 ความสูงของลำต้นประมาณ 10 – 15 เมตร

ใบ จะเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ออกแบบเรียงสลับกัน

 โดยบริเวณปลายใบ จะแหลม ส่วนโคนเป็นรูปลิ่ม มีสีเขียว

และดอกของต้นเต่าร้าง จะมีสีขาวแกมเหลือง โดยออกดอกเป็นช่อ

 เมื่อดอกบานเต็มที่ จะมีความกว้างอยู่ที่ 2 เซนติเมตร

สำหรับผลของเต่าร้าง จะเป็นผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว

ออกผลเป็นพวง รูปทรงกลม ส่วนผลที่สุกแล้ว จะมีสีแดงคล้ำ ทานได้

แต่ต้องระวังอย่าให้โดนยาง ของต้นเต่าร้างเข้า

ส่วนที่ใช้บริโภค ยอดอ่อน จะนำมาต้ม ลวก แกง หรือผัดกะทิ

กินแกล้มกับแกงหรือน้ำพริก ทานสด ๆ

แกนในยอดอ่อนบริเวณโคนต้น นำมาประกอบอาหาร

 แต่ต้องทำให้สุกเสียก่อน เช่น ทำแกง แกล้มกับน้ำพริก

 ผลสุกของเต่าร้าง ทานได้ มีรสชาติหวานอร่อย

ใบใช้มุงหลังคาได้ ส่วนเส้นใบจากกาบใบ ใช้ทำเป็นเชือก

สำหรับผูกของ หรือเป็นเครื่องจักสาน

ช่อดอกนำมาปาดเอาน้ำหวานผลิต เป็นน้ำตาลได้เช่นเดียวกับมะพร้าว

สรรพคุณทางสมุนไพร หัวและราก มีรสหวานเย็นขม

 ดับพิษที่ตับ ปอด และหัวใจพิการได้ดี

ข้อควรระวัง : ขนตามผล น้ำเลี้ยงตามผิวใบของลำต้น และยาง

โดยเฉพาะยางจากผล เมื่อถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการคัน

 เกิดผื่นแดง หรือหากเข้าตาก็อาจทำให้ตาบอดได้

 ส่วนขนที่ต้นเมื่อสัมผัสจะทำให้มีอาการคันเล็กน้อย













































ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพ

Create Date :02 ตุลาคม 2558 Last Update :2 ตุลาคม 2558 10:13:05 น. Counter : 2036 Pageviews. Comments :0