bloggang.com mainmenu search
























กลอย

.....

ชื่อสามัญ Wild yam ชื่อท้องถิ่น กลอยข้าวเหนียว

 กลอยหัวเหนียว กลอยนก กอย มักจะขึ้นตามป่าเบญจพรรณ

 ที่ค่อนข้างโปร่ง หัวกลอยฝังอยู่ใต้ดินตื้น ๆ หัวใหญ่ ๆ

 โตได้เท่ากับ ไหกระเทียม

กลอยมีอาหารจำพวก Starch อยู่มาก

คนในชนบท ขุดหัวกลอยมาต้มกิน หรือ หุงรวมกับข้าว

ส่วนคนเมืองนิยม ทำเป็นอาหาร ได้หลายรูปแบบ

 เช่น กินกลอยคลุกน้ำตาลกับมะพร้าว

หรือนึ่งปนกับข้าวเหนียวมูล

ทำเป็นข้าวเหนียวกลอยหน้าสังขยา

หรือโรยน้ำตาลป่นปนกับงา

หรือจะหั่นกลอยเป็นชิ้นบาง ๆ นำไปชุบแป้งทอด

 กินแบบกล้วยแขก อาบน้ำตาล

หรือจะทำเป็นกลอยบด กลอยแผ่น

ข้าวเกรียบกลอย และบัวลอยกลอย


ในประเทศไทยมีกลอย ประมาณ 32 ชนิด

 พบมากในภาคเหนือ ช่วงฤดูฝนจนถึงฤดูหนาว

ในต่างประเทศสามารถพบกลอย ได้ทั่วในเขตป่าฝน ในเขตร้อน

 ตั้งแต่ประเทศอินเดียไปจนถึงเทือกเขาหิมาลัย

 ชาวบ้านจะแบ่งง่ายๆ ตามลักษณะของลำต้น

และตามสีในเนื้อหัวกลอย คือ

"กลอยข้าวเจ้า"จะมีลักษณะของ เถาและก้านใบสีเขียว

 เนื้อในสีขาว และ เนื้อหยาบ

ส่วน "กลอยข้าวเหนียว" มีเถาสีน้ำตาลอมดำ

เนื้อในมีสีเหลืองอ่อนถึงเหลืองเข้ม เนื้อเหนียว

และรสชาติดีกว่ากลอยข้าวเจ้า

คนจึงนิยมรับประทานกลอยข้าว เหนียวมากกว่า

ลักษณะใบของกลอย ทั้งสองชนิดมี 3 แฉกคล้ายใบถั่ว

เส้นใบถี่ส่วนเถาจะมีหนามแหลม ตลอดเถา

ดอกออกเป็นช่อมีดอกย่อย ดอกเล็กๆสีขาวจำนวนมาก

หัวกลอยจะฝังในดิน ตื้นๆ มีหลายหัวติดกันเป็นกลุ่ม

 มีตั้งแต่3 -14 หัวใน 1กอขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ของหัวกลอย

วัดได้ตั้งแต่ 2.5 ซม ถึง 25 ซม.

 เมื่อนำหัวกลอยมาปลอกเปลือกและหันเป็นแว่นบางๆ

 จะพบว่ากลอยข้าวเจ้าจะมีเนื้อสีขาวนวล

และเนื้อหยาบกว่ากลอยข้าวเหนียว

ซึ่ง มีสีเหลืองอ่อมถึงเหลืองเข้ม(สีทอง)เนื้อเหนียว

และรสชาดดีกว่ากลอยข้าวเจ้า ซึ่งมีเนื้อร่วยซุย

ฉะนั้นชาวบ้านหรือเกษตรกรจึงนิยม รับประทาน

กลอยข้าวเหนียวมากกว่ากลอยข้าวเจ้า

กลอยเป็นพืชป่า พืช Starch มีพิษอย่างแรง

 เพราะในเนื้อแป้ง มีสาร Dioscorine

 ถ้านำมารับประทานโดยไม่ทำลายสารพิษก่อน

จะทำให้เกิดอาการเบื่อเมา เพราะสารนี้จะไปทำลาย

ระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เป็นอัมพาต

ถ้ารับประทานสดๆ ขนาดเท่าผลมะม่วงอกร่องจะทำให้ตาย

ภายใน6 ชั่วโมง

วิธีเอาสารพิษ ออกจากกลอย ก่อนนำไปบริโภค

วิธีการทั่วๆไป คือปอกเปลือกหัวกลอยให้สะอาด

 หั่นเป็นแว่น แต่ละแว่นหนา ประมาณ1-1.5ซม.

นำหัวกลอยที่ หั่นแล้วใส่ในภาชนะ

 ใส่ชิ้นกลอยที่หั่นแล้ว ลงไปในภาชนะหนาประมาณ10 ซม

. โรยเกลือให้ทั่วหน้า1-2ซม.แล้วใส่ชิ้นกลอยลงไป

ทำสลับกับเกลือ จนกว่าจะหมดทิ้งไว้ค้างคืน

วันรุ่งขึ้นนำกลอย ที่หมักออกมาล้างน้ำ ให้สะอาด

ใส่ชิ้นกลอยที่ล้างแล้ว ลงไปในถุงผ้าดิบหรือผ้าขาวบาง

นำของหนักทับไว้ เพื่อไล่น้ำเบื่อเมา ของกลอยออกให้หมด

หลังจากนั้นนำชิ้นกลอยจากถุงผ้าเทกลับลงไปในภาชนะเดิม

ใส่น้ำ ให้ท่วมเนื้อกลอย ทิ้งไว้ค้างคืน

รุ่งเช้า จึงนำชิ้นกลอยมาล้างให้สะอาด

 ทำเช่นเดิม ประมาณ5-7 วันจึงจะปลอดภัยจากสารพิษ

 และนำมาบริโภคหรือ ปรุงอาหารได้

 หรือจะผึ่งแดดให้แห้งเก็บตุนไว้

เมื่อจะบริโภคจึงนำ ชิ้นกลอยมาแช่น้ำ

นำไปนึ่งหรือปรุงอาหารอื่นรับประทานได้



































ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ

Create Date :01 สิงหาคม 2558 Last Update :1 สิงหาคม 2558 11:13:30 น. Counter : 3542 Pageviews. Comments :0