bloggang.com mainmenu search
















หอมแดง

 ..........

ชื่อสามัญ Shallot จัดอยู่ในวงศ์พลับพลึง

ชื่อท้องถิ่น ผักบั่ว หอมหัวขาว หอมบัว หอมปั่ว หอมแกง

 หอมไทย หอมเล็ก หอมหัว

หอมแดง พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ

ในแถบเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้

ไทยมีการปลูกมากภาคอิสาน และภาคเหนือ

 และหอมแดงที่ขึ้นชื่อว่าเป็นหอมแดงคุณภาพดี

 จากจังหวัดศรีษะเกษ

หอมแดง เป็นพืชผัก ที่ปลูกเพื่อบริโภคส่วนของหัว

 เป็นพืชเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นที่นิยมปลูกทานกันมาก

ใช้ในการประกอบอาหาร และเป็นสมุนไพร

เนื่องด้วยมีสาร Allicin และ n-propyl disulphide

 ที่ทำให้มีกลิ่นฉุน ในบ้านเรา ใช้เป็นส่วนประกอบ

ของ เครื่องแกงเผ็ด น้ำพริกต่าง ซุปหางวัว ผสมใส่ไข่เจียว

 ไข่ลูกเขย เนื้อ/หมูหวาน เป็นส่วนประกอบของหลน

หรือฝานเป็นแว่น ทาน กับแหนมสด เมี่ยง ปลาเค็ม

 และยังใช้เป็นส่วนประกอบ ของขนมหวาน

 อย่างเช่น ขนมหม้อแกงถั่ว ข้าวเหนียวหน้าปลาแห้ง

หอมแดง มีการใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ

เมื่อเด็กมีอาการคัดจมูก คล้ายจะเป็นหวัด

ในช่วงปลายฝนต้นหนาว เรียกว่า “ไข้หัวลม”

นำเอาหอมแดง พอประมาณ ทุบพอแตกต้มกับน้ำสะอาดจนเดือด

 ทิ้งไว้ให้พออุ่นแล้วนำ น้ำต้มมาราดศีรษะเด็ก

 หลังจากอาบน้ำเสร็จประมาณ 2 - 3 ขัน

ส่วนหอมแดงที่เราต้มนั้น นำมาขยี้บนศีรษะ

แล้วเช็ดผมให้สะอาด อาการคัดจมูก หรือเป็นหวัดก็จะหายไป

นิยมทำตอนเย็น ส่วนการใช้หอมแดงในผู้ใหญ่

เมื่อเป็นไข้หัวลมนั้น จะนำเอาหอมแดง พอประมาณ

ทุบพอแตกต้ม กับน้ำสะอาดให้เดือดแล้วใช้ผ้าคลุมศีรษะ

 แล้วสูดเอาไอร้อนจากน้ำที่ต้ม หายใจลึกๆ

 ทำวันละครั้งก่อนนอน อาการหวัดก็จะหายได้

นอกจากนี้ หอมแดง ยังสามารถใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการคัดจมูก

หายใจไม่สะดวก ก็จะใช้หอมแดงทุบพอประมาณ

แล้วใส่ในถ้วย มาวางไว้ใกล้ๆ เวลานอน

ก็จะทำให้หายใจสะดวกมากขึ้น

หอมแดงนั้นประกอบด้วย น้ำมันหอมระเหย

แคลเซียม ฟอสฟอรัส เบต้าแคโรทีน

 ซึ่งน้ำมันหอมระเหยช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกได้

หอมแดงจะสร้าง กลุ่มหัวแยกออกจากกันอย่างชัดเจน

 โดยเชื่อมติดกันบริเวณฐาน ของหัว เมื่อปลูกจาก 1 หัว

จะสามารถเติบโต แยกเป็นหัวใหม่ได้ประมาณ 2-10 หัวต่อกอ

 ขึ้นอยู่กับการปลูก การดูแลรักษา และสภาพแวดล้อม

พันธุ์หอมแดงที่ปลูกในไทย มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ได้แก่

1. พันธุ์ศรีสะเกษ เปลือกหัวนอกหนา มีสีม่วงแดง

หัวมีลักษณะกลมป้อม มีกลิ่นฉุน ให้รสหวาน

ใบเขียวเข้มมรกต มีนวลจับเล็กน้อย

2. พันธุ์บางช้าง มีลักษณะคล้าย กับพันธุ์ศรีสะเกษ

 แต่สีเปลือกนอกจางกว่า หัวมีลักษณะกลมป้อม

 ใบสีเขียวเข้ม มีนวลจับเล็กน้อย

3. พันธุ์เชียงใหม่ มีเปลือกบาง สีส้มอ่อน หัวมีลักษณะกลมรี

กลิ่นไม่ฉุนเหมือนพันธุ์อื่น ให้รสหวาน

หัวจะแบ่งเป็นกลีบชัดเจน ไม่มีเปลือกหุ้ม

ใบสีเขียวมีนวลจับเล็กน้อย

4. พันธุ์สีขาว มีเปลือกบางสีขาว หรือขาวอมเหลือง

 ซึ่งเป็นลักษณะเด่น ของพันธุ์ หัวมีลักษณะกลมป้อม

 กลิ่นไม่ฉุนเหมือนพันธุ์อื่น ให้รสหวาน

ใบเรียวยาว สีเขียวแกมน้ำเงิน มีนวลจับมาก

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ คือ ต้นหรือหัว

พบสารสำคัญ คือ น้ำมันหอมระเหย coumarins

มีรสขม เผ็ดร้อน เนื่องจากมีองค์ประกอบ ของกำมะถัน

 น้ำมันนี้ มีฤทธิ์ทำให้ รู้สึกระคายเคืองตา ทำให้แสบจมูก

และอาจเป็นพิษต่อผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นคัน ปวดแสบปวดร้อน

สารสำคัญที่ทำให้เกิดกลิ่น คือ Propyl Disulfide

ส่วนสารสำคัญที่ช่วยลดปริมาณไขมัน

และน้ำตาลกลูโคสในเลือด คือ Propyl-allyl Disulfide

และ Dipropyl Disulfide

ภูมิปัญญาไทยท้องถิ่น ในการแก้ปัญหา

 อาการน้ำตาไหล-แสบตาเมื่อปลอกหัวหอม

 ด้วยการ นำเกลือใส่ภาชนะตั้งวางไว้

กรณีปลอก และนำมาโรยไว้บนเขียง รวมถึงบริเวณรอบๆเขียง

 หรือวัสดุที่ใช้สำหรับรองหั่น เกลือจะช่วยดูดซับ

เอาน้ำมันหอมระเหย ที่ออกมาจากหัวหอมออกไป

 ทำให้ไม่ต้องแสบตาเมื่อทำการหั่น-ปลอกหรือซอยหอม อีกเลย































ขอบคุณข้อมูลจาก fb. Siriwan Jane
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ

Create Date :08 กันยายน 2558 Last Update :8 กันยายน 2558 10:26:37 น. Counter : 1451 Pageviews. Comments :0