bloggang.com mainmenu search














ตะโก

 ....

ต้นไม้ถิ่นกำเนิดไทย จึงเป็นต้นไม้ไทยแท้ๆ

ขึ้นเองตามธรรมชาติ ตามป่าหรือใกล้นา

เป็นไม้เนื้อเหนียวจึงนิยมใช้เป็นไม้ดัด

ตะโกดัด เป็นไม้ที่ใช้ตกแต่งบ้านเรือน มาตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์

 เป็นต้นไม้ ที่นำมาทำเป็นไม้บอนไซ ที่สวยงามได้หลายรูปแบบ

ลำต้นจะดำสนิทด้วยหมึกสีดำ

เป็นต้นไม้ชนิดเดียว ที่ได้รับการยอมรับลงสีดำที่ลำต้น -กิ่ง

 ปกติตะโกตามธรรมชาติ เมื่ออายุแก่มากหลายปีลำต้น ก็จะมีสีดำ

 ตะโกเป็นต้นไม้อายุยืน

 ยอมรับการอยู่ในกระถางบอนไซเล็ก-บางได้.

ในแง่ของคุณค่าของการเป็นยาสมุนไพร

 ตะโกเป็นยาอายุวัฒนะ เป็นไม้โบราณอายุยาวนาน โตช้า

แต่มีความสวยงามแบบคลาสสิค เป็นไม้เก่าที่ควรปลูกในบ้าน

เพราะมีคุณค่ามาก นอกจากเป็น ไม้ดัด ไม้บอนไซ แล้ว

 ตะโกยังมีสรรพคุณด้านสมุนไพร

 เป็นยารักษาโรค ลดอาการเครียด ลดน้ำตาลในเลือด

 ต้านเชื้อบิด เชื้อไวรัส


"ตะโกนา" ชื่อสามัญ Ebony

ชื่อท้องถิ่น พญาช้างดำ ตะโก มะโก (เหนือ)

 โก (อีสาน) ตองโก(เขมร) มะถ่านไฟผี (เชียงใหม่)

ลูกตะโก รสฝาดหวาน ผลขณะที่ดิบมียาง ใช้ย้อมแห อวน

 เพราะมีน้ำฝาด ผล มีรสฝาดเฝื่อนขม แก้ท้องร่วง

แก้ตกโลหิต แก้ท้องเดิน แก้บวม แก้พยาธิ

แก้มวนท้อง ขับพยาธิ แก้กษัย แก้ฝีเน่าเปื่อย

"ตะโกสวน " ชื่อท้องถิ่น ตะโกไทย ปลาบ(เพชรบุรี)

มะเขือเถื่อน (สกลนคร ) มะสุลัว (กะเหรี่ยง-ลำปาง)

 ผลดิบ รสฝาด สมานแผล ห้ามเลือด

แก้บิดแก้ท้องร่วง เมล็ด รสฝาดเฝื่อน แก้บิดแก้ท้องร่วง

"ตะโกป่า " ชื่ออื่น โก มะถ่านไฟผี นมงัว มะโก พระยาช้างดำ

 ไม้ยืนต้น สูงประมาณ 8 – 15 ม. ไม่ผลัดใบ

เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ผลกลม กลมแป้น และรูปไข่

ผลแก่สีเหลืองส้มผิวเกลี้ยงเป็นมัน

ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 ซม.

เมล็ดสีน้ำตาลดำแข็งทรงรี ขนาดประมาณ 1.5 ซม.

1 ผลมี 4 เมล็ด รสฝาดหวาน แก้ท้องร่วง แก้ตกเลือด

แก้มวนท้อง ขับพยาธิ แก้กะษัย แก้ฝี และแผลเน่าเปื่อย































ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ

Create Date :04 พฤษภาคม 2558 Last Update :4 พฤษภาคม 2558 10:16:46 น. Counter : 3725 Pageviews. Comments :0