bloggang.com mainmenu search



ดื่มน้ำมะพร้าวแล้วปวดประจำเดือน 

 ดื่มน้ำเต้าหู้แล้วไม่ปวดประจำเดือนจริงหรือ










ทั้งในน้ำมะพร้าว และ น้ำเต้าหู้ต่างก็มีส่วนประกอบ

หรือสารสำคัญ   ที่มีลักษณะโครงสร้างคล้ายกับฮอร์โมน

ในร่างกายมนุษย์ การดื่มน้ำมะพร้าวหรือน้ำเต้าหู้

มิได้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอาการปวดประจำเดือน

ในสตรีเหมือนกันทุกคน

 บางคนดื่มน้ำมะพร้าวหรือน้ำเต้าหู้ในช่วงมีประจำเดือน

อาจมีอาการปวดประจำเดือนมากขึ้นหรือน้อยลง

หรือบางคนอาจมีประจำเดือนขาดหายหรือมาน้อยกว่าปกติ

หรือมามากกว่าปกติได้ค่ะ

ในสภาวะปกติฮอร์โมน estrogen เป็นฮอร์โมนที่มีบทบาท

ในการช่วยการเจริญเติบโตของเยื่อบุผนังมดลูก estrogen

 จะสูงสุดในช่วงก่อนการตกไข่เล็กน้อย 

หลังจากนั้นจะลดฮวบลง แล้วกลับค่อยๆสูงขึ้นและค่อยๆลดลง

ปริมาณ estrogen ที่ลดลงในช่วงท้ายของรอบเดือน

มีผลทำให้ผนังมดลูกฝ่อ

และหลุดลอกเป็นประจำเดือน ซึ่งอาการปวด

ก่อนช่วงมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome) นั้น

ก็มีความสัมพันธ์กับการที่ระดับฮอร์โมนในร่างกาย

มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย

สำหรับในน้ำมะพร้าวอ่อน เชื่อว่ามีสาร phytoestrogen

 (สารสำคัญในพืชที่มีส่วนประกอบคล้าย estrogen)

มีการศึกษาในระดับสัตว์ทดลองพบว่า

การป้อนน้ำมะพร้าวอ่อนให้กับหนูเมาส์ วันละ 3 ครั้ง

เป็นเวลา 7 วันพบว่า

มีผลทำให้น้ำหนักของมดลูกของหนูเพิ่มขึ้น

 แต่ผลนี้ไม่แตกต่างจากหนูกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ

 และยังพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเซลล์เยื่อบุผิวชั้น

endometrium ของผนังมดลูกอีกด้วย

 แสดงให้เห็นว่า น้ำมะพร้าวอ่อนน่าจะมีฤทธิ์ agonist

กับ estrogen อยู่ด้วย

 และอีกหนึ่งการศึกษาที่ทำในหนูที่ตัดรังไข่

การศึกษานี้สรุปผลการศึกษาว่า

สารคล้ายฮอร์โมน estrogen ในน้ำมะพร้าวอ่อนมีฤทธิ์

antagonist effect

โดยแย่งจับกับ estrogen receptor

จากการศึกษาทั้งสองนี้อาจจะแสดงให้เห็นว่า

สารสำคัญในน้ำมะพร้าวอ่อนอาจมีฤทธิ์

ต่อการเปลี่ยนแปลงของผนังมดลูกได้บ้างค่ะ

สำหรับในน้ำเต้าหู้ ซึ่งทำมาจากถั่วเหลืองและมีสารสำคัญในถั่วเหลือง

ชื่อ Genistein เป็นสาร phytoestrogen เช่นกัน

จากผลการวิจัยที่มีอยู่มากมาย

 บางการศึกษาก็พบว่ามีฤทธิ์เป็น anti-estrogen โดยตัว Genistein

สามารถจับ (Block) กับ estrogen receptor ได้ดี

ในขณะที่บางการศึกษาก็พบว่าสามารถออกฤทธ์

agonist effect ได้ด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประมาณและความเข้มข้นของ Genistein ที่รับเข้าไป

 รวมถึงสภาวะและความเข้มข้นของระดับ estrogen ที่มีอยู่ในร่างกายด้วย

ดังนั้นไม่ว่าจะมีผลในด้านกระตุ้นให้เพิ่มระดับหรือลดระดับ

การแสดงฤทธิ์ของเอสโตรเจนในร่างกาย

ก็อาจมีผลกระทบผลต่อการเปลี่ยนแปลง

ของการหนาตัวของมดลูกได้ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการ

บีบตัวของมดลูกได้ด้วยเช่นกันค่ะ

จากข้อมูลของทั้งน้ำมะพร้าวและน้ำเต้าหู้ สรุปว่าทั้งสองอย่าง

อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย

แต่ไม่สามารถสรุปผลได้ว่าจะมีฤทธิ์ในทางเพิ่มหรือลดการบีบตัว

หรืออาการปวดประจำเดือนได้อย่างชัดเจนค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก ภญ.พรยุพา ธัญภัทรกุล

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

#RamaChannel




Create Date :13 มีนาคม 2557 Last Update :3 สิงหาคม 2557 13:11:13 น. Counter : 2933 Pageviews. Comments :0