bloggang.com mainmenu search















ปวยเล้ง

.....

ชื่อสามัญ Spinach ผักที่เพิ่มพลังให้ Popeye

คนไทยเข้าใจผิด เรียกว่า ผักโขม ผักโขม ชื่อว่า Amaranth

 มีถิ่นกำเนิดในแถบอาหรับ ชาวอาหรับให้สมญาผักปวยเล้งว่า

 “ราชาแห่งผัก” มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ถัง

สมัยพระเจ้าถังไท่จง กษัตริย์เนปาล

ได้ถวายเครื่องราชบรรณาการ โดยมีผักป๋วยเล้งอยู่ด้วย

ปวยเล้ง มีสรรพคุณ มากมาย มีคุณสมบัติเย็น รสหวาน

สรรพคุณบำรุงเลือด ห้ามเลือด รักษาอาการเลือดกำเดาออก

อุจจาระเป็นเลือด ท้องผูก เป็นแหล่งที่ดี ของแคลเซียม

 ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม เหล็ก วิตามินเอ บี 1 บี 2 บี 3 บี 6 ซี

 และมีสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ คือ ลูทีน สารสีเหลือง

 ที่มีอยู่หนาแน่น บริเวณเซลล์รับภาพ จอประสาทตา

ทำหน้าที่กรองแสงสีฟ้า เช่น แสงจากดวงอาทิตย์

จอคอมพิวเตอร์ หลอดไฟ ซึ่งเป็นอันตราย กับจอประสาทตา

 ลูทีนยังทำหน้าที่ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

ซึ่งจะเป็นตัวทำลายเซลล์ รับภาพ

และทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับจอประสาทตา

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ ผู้สูงอายุตาบอด

 ปวยเล้งยังมีแคโรทีนอยด์ Neoxanthin

 ที่กระตุ้นเซลล์มะเร็งอัณฑะ ให้ทำลายตัวเอง

และถูกระบบลำไส้เปลี่ยนเป็นสารใหม่

ที่มีคุณสมบัติหยุดการแบ่งตัว ของเซลล์มะเร็งอัณฑะได้

ในปวยเล้ง 600 กรัม มีโปรตีน 12 กรัม ซึ่งเท่ากับไข่ 2 ฟอง

สูงกว่าโปรตีน ในผักกาดขาว 2 เท่า และมี Carotene 17.76 ม.ก.

 ผลการทดลองพบว่า Carotene ในปวยเล้ง

สามารถนำไปใช้ในอัตราสูง มีวิตามินซี 174 ม.ก.

 นักวิชาการเชื่อว่าผักป๋วยเล้งเป็นผักที่เหมาะสำหรับเด็กและผู้ป่วย

เพราะมีโปรตีนและแร่ธาตุต่างๆ มากมาย 100 กรัม

มีปริมาณวิตามินซีที่พอเพียงกับความต้องการของร่างกายใน 1 วัน

 และมีปริมาณ Carotene ที่พอเพียงใน 2 วัน

ปวยเล้งมีเหล็กและ Folate สูงมากกว่าผักชนิดอื่น ๆ

Folate คือสารในกลุ่มวิตามินบี ที่ช่วยในกระบวนการ

 สังเคราะห์ DNA มีความจำเป็นในการแบ่งตัว ของเซลล์

และการเจริญเติบโต ของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย

ส่วนเหล็ก เป็นส่วนประกอบสำคัญ ของเม็ดเลือดแดง

และจำเป็นสำหรับการ ผลิตและปลดปล่อยพลังงาน ในร่างกาย

สารสองตัวนี้มีความสำคัญมาก สำหรับสตรีมีครรภ์

ที่ต้องการเหล็ก เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า

เพราะต้องสร้างเม็ดเลือดแดง มากกว่าภาวะปกติ

เพื่อขนส่งออกซิเจน และสารอาหารไปสู่เด็กในครรภ์

ส่วน Folate ช่วยป้องกันภาวะโลหิตจาง ของสตรีมีครรภ์

ช่วยลดการเกิดความพิการ ของสมองกะโหลก

 และกระดูกสันหลัง ของเด็กในครรภ์ได้

แม้ปวยเล้งจะมีธาตุเหล็กและแคลเซียมสูง

แต่กรดออกซาลิกในปวยเล้ง

เป็นตัวขัดขวางการดูดซึมธาตุทั้งสองชนิดนี้ เข้าสู่ร่างกาย

และออกซาลิก ยังทำปฏิกิริยากับแคลเซียม

ทำให้เกิดการตกขาว ตะกอนอีกด้วย ผู้มีปัญหาเกี่ยวกับนิ่ว

และผู้ที่ต้องการให้ร่างกาย ได้รับแคลเซียม

 ไม่ควรกินปวยเล้งในปริมาณมาก

และควรกินปวยเล้งร่วม กับผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง

เช่น ฝรั่ง พริกหวาน มะเขือเทศ เพื่อช่วยให้ร่างกาย

 ดูดซึมธาตุเหล็กจากปวยเล้ง ได้ดีขึ้น

ปวยเล้งผัดน้ำมัน ควรลวกผักในน้ำเดือดก่อนผัด

ความร้อนจะทำลายกรดออกซาลิกได้ ถึงร้อยละ 80

น้ำมันที่ผัดก็จะช่วยเสริม การดูดซึมแคลเซียม

เบตาแคโรทีน  และลูทีนได้ด้วย

ปวยเล้ง ไม้ล้มลุกอายุหนึ่งปี หรือสองปี สูง 20-150

 ใบกระจุกแบบกุหลาบซ้อน แผ่นใบรูปไข่ เป็นเหลี่ยม

หรือรูปหัวลูกศร โคนใบเป็นพูกลมหรือ แผ่นใบเรียบ หรือยับย่น

 สีเขียวแก่หรือเขียวอ่อน ก้านใบยาว 6-12 เซนติเมตร

โคนก้านสีเขียว ชมพู หรือแดงปนม่วง

ช่อดอกยาว 80-150 ดอกเพศเมียออกเป็นกระจุกอยู่ตามซอกใบ

 จำนวนมาก ไม่มีก้านดอก แต่ละช่อมี 7-20 ดอก

ดอกเพศผู้เรียงเป็นช่อ ดอกแบบช่อเชิง

บางครั้งพบทั้งดอกสมบูรณ์เพศ

 ดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย ในต้นเดียวกัน

ดอกขนาดเล็ก สีเขียว กลีบรวม 4

ในดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ 3-5

 ดอกเพศเมีย มียอดเกสรเพศเมียคล้ายเส้นด้าย รังไข่เหนือวงกลีบ

 มีออวูล 1 อับเรณู 1-2 ผลแบบผลกระเปาะไม่แตก

บางครั้งกลีบรวมติดทนพัฒนาคล้ายหนาม เมล็ดทรงกลม



























ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพ

Create Date :10 กรกฎาคม 2558 Last Update :10 กรกฎาคม 2558 10:14:22 น. Counter : 2408 Pageviews. Comments :0