bloggang.com mainmenu search

























ลูกชิด ต้นตาว

.......

ลูกชิด กับลูกจาก มาจากต้นไม้คนละต้น

โดยลูกชิด มาจากต้นตาว หรือตาว

หรือคนใต้เรียกว่า ต้นชก หรือฉก

ซึ่งเป็นพืชตระกูลปาล์มชนิดหนึ่ง ผลของตาวจะออกเป็นทลาย

 เนื้อในเมล็ดเรียกว่า" ลูกชิด "

 ส่วน ลูกจาก มาจากต้นจาก ซึ่งเป็นพืชตระกูลปาล์มเช่นกัน

 แต่เป็นคนละสายพันธุ์ กับต้นตาว

 ใบจากมักนิยมนำมาห่อขนม ที่เรียกว่าขนมจาก

 ผลของต้นจากจะออกเป็นทลายเนื้อในเมล็ด เรียกว่า "ลูกจาก"

สามารถกินได้ทั้งแบบสด หรือเชื่อมก่อน

แต่เนื้อของลูกจาก จะมีลักษณะสีขาวขุ่นกว่าเนื้อลูกชิด

 เรื่องความอร่อยนั้น ก็ขึ้นอยู่ที่ความชอบ ของแต่ละคน

ตาว ชื่อสามัญ Sugar palm, Aren, Arenga Palm,

Areng palm, Black-fiber palm,

Gomuti Palm, Kaong, Irok

จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับ ตาล จาก ลาน หวาย และมะพร้าว 

มีชื่อท้องถิ่น ตาว ชิด (ภาคกลาง), ตาว ต๋าว มะต๋าว (ภาคเหนือ)

 ฉก ชก ต้นชก (ภาคใต้) เตาเกียด เต่าเกียด (กาญจนบุรี)

โตะ (ตราด) กาชก (ชุมพร) ฉก (พังงา ภูเก็ต)

ลังค่าย หลังค่าย (ปัตตานี) โยก (สตูล) เนา (ตรัง)

ต่าว (เมี่ยน ขมุ ไทลื้อ คนเมือง) ต๋งล้าง (ม้ง)

 วู้ (กะเหรี่ยง) ต่ะดึ๊ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่) หมึ่กล่าง (ลั้วะ)

ส่วนผล เรียกว่า ลูกชิด (กาญจนบุรี) ลูกตาว (อุตรดิตถ์)

ลูกต๋าว (น่าน) ลูกเหนา (ภาคใต้) ลูกชก

ต้นตาวจัดเป็นปาล์มชนิดหนึ่ง

ที่มีถิ่นกำเนิด และการกระจายพันธุ์อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 ได้แก่ ประเทศไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า

ลาว อินโดนีเซีย และอินเดีย สำหรับในไทย พบขึ้นตามป่า

 ในเขตจังหวัดน่าน พิษณุโลก อุตรดิตถ์ แพร่ และตาก

 ในปัจจุบันมี จำนวนลดน้อยลงอย่างมาก

สาเหตุมาจากการที่ ป่าถูกทำลายและไม่มีการปลูกเพื่อทดแทน

๏ ผลชิดแช่อิ่มโอ้ เอมใจ
หอมชื่นกลืนหวานใน อกชู้
รื่นรื่นรสรมย์ใด ฤๅดุจ นี้แม่
หวานเลิศเหลือรู้รู้ แต่เนื้อนงพาลฯ

๏ ผลชิดแช่อิ่มอบ หอมตรลบล้ำเหลือหวาน
รสไหนไม่เปรียบปาน หวานเหลือแล้วแก้วกลอยใจ

ต้นตาว (ต้นชิด ต้นชก) จัดเป็นไม้อยู่ต้น แบบต้นเดี่ยวที่มีอายุยืน

 ลักษณะลำต้นตรงสูงชะลูด มีหลายขนาด

มีความสูงประมาณ 6-15 เมตร

 เส้นผ่านศูนย์กลางต้นราว 30-65 เซนติเมตร

ลำต้นมีขนาดใหญ่ กว่าต้นตาล ลำต้นมีสีน้ำตาลเข้ม จนเกือบดำ

 เป็นพืชขนาดใหญ่ ที่อยู่ในตระกูลปาล์ม

มักพบขึ้นตามป่าที่มีความชื้นสูง หรือตามริมแม่น้ำลำธาร

 หรือตามโขดหิน ใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับกัน

 ใบมีลักษณะเช่นเดียวกับใบมะพร้าว แต่จะใหญ่และแข็งกว่า

 โดยใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมนและแหลม

 ส่วนโคนใบ เป็นรูปเงี่ยงใบหอก ขอบเรียบ ผิวใบหนา

หลังใบเป็นสีเขียวเข้มมันวาว ส่วนใต้ใบมีสีขาวนวล

 เมื่อใบแก่จะห้อยจนปิดคลุมลำต้น

การใช้ประโยชน์จากต้นตาว มีหลากหลายมาก

 เช่น ใบใช้มุงหลังคา กั้นฝาบ้าน ก้านใบนำมาเหลารวบทำไม้กวาด

 เส้นใยที่ลำต้นใช้ทำแปรงได้ ยอดอ่อนที่ขั้วหัวใช้กินแบบผักสด

 หรือดองเปรี้ยว เก็บไว้แกงส้มแกงกะทิ

ยอดอ่อนสามารถนำไปใช้ ประกอบอาหาร

ได้เหมือนยอดมะพร้าว ใบอ่อนเอามากินเป็นผักจิ้มได้

แกนในของลำต้นอ่อนเอาไปทำเป็นแกงใส่เนื้อสัตว์ต่างๆได้

ส่วนเส้นใยจากลำต้น นำมาทำหลังคาที่อยู่อาศัย

 ในอินโดนีเซีย ใช้ทำหลังคาตามศาสนสถาน

ต่างๆ และเอาลำต้นมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์

หรือใช้ทำเป็นอุปกรณ์การเกษตร ลำต้นในระยะที่เริ่มออกดอก

 จะมีแป้งสะสมอยู่ภายใน จึงมีผู้นำแป้ง

มาใช้ประโยชน์ได้คล้ายกับต้นสาคู ใบใช้ ตกแต่งงานรื่นเริง

 ในหมู่บ้าน หรือนำมาใช้สานตะกร้า

 ส่วนใบอ่อนนำมาใช้ทำเป็นมวนบุหรี่ ใช้ทำฟืน สำหรับก่อไฟ

 เส้นใยจากลำต้น ซึ่งจะมีความยาว และมีสีเทาดำ

 ในอินโดนีเซีย จะนำไปทำเป็นเชือก สำหรับใช้กับเรือประมง ฯลฯ

เนื้อในเมล็ดเรียกว่า ลูกชิด กินได้สด หรืออาจนำไปเชื่อมน้ำตาล

เพื่อให้ได้รสอร่อยขึ้น ในต่างประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์

นำน้ำจากช่อดอก มาทำน้ำตาล เหมือนที่บ้านเราทำน้ำตาลมะพร้าว

หรือน้ำตาลโตนด บางท้องถิ่นนำไปผลิต เป็นสุราพื้นบ้าน

หรือน้ำส้มสายชู ใช้ในครัวเรือนด้วย

 ในเมืองไทย นำน้ำหวานที่ได้จาก ลูกชิด

มากินได้เช่นเดียวกับน้ำตาลโตนด และยังนำไปทำน้ำส้ม

ที่เรียกว่า “น้ำส้มชุก”สำหรับการปรุงอาหาร หรือทำกระแช่

 หรือเอาส่วนที่เคี่ยวเป็น “น้ำผึ้งชุก” ไปหมักสำหรับทำสุรา




































 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพ

 

Create Date :23 มิถุนายน 2558 Last Update :23 มิถุนายน 2558 18:38:52 น. Counter : 4701 Pageviews. Comments :0