bloggang.com mainmenu search












มะเฟือง

........

ชื่อสามัญ Star Fruit , Carambola, Star Apple

 จัดอยู่ในวงศ์กระทืบยอด ชื่อท้องถิ่น เฟือง

ถิ่นกำเนิดแถบศรีลังกาและมะละกา เป็นไม้พื้นเมือง

แถบอินโดนีเซีย อินเดีย และศรีลังกา

 นิยมปลูกในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้

และบางส่วนของเอเชียตะวันออก

 ยังพบปลูกที่สาธารณรัฐโดมินิกัน บราซิล เปรู กานา

กายานา ซามัว ตองกา ไต้หวัน French Polynesia

คอสตาริกา และ ออสเตรเลีย

ฟลอริดาตอนใต้และฮาวาย สหรัฐฯ

มีแหล่งเพาะปลูกมะเฟืองเชิงพาณิชย์

มาเลเซียเป็นผู้ส่งออก มะเฟืองรายใหญ่ที่สุดของโลก

มะเฟือง ผลไม้ลักษณะเป็นทรงกระสวย เมื่อหั่นเป็นแนวขวาง

 จะเป็นรูปเหมือนดาวห้าแฉก สีผลเป็นสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง

 รสชาติจะออกเปรี้ยวแบบเผื่อน ๆ โดยมีทั้งรสเปรี้ยว และหวาน

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ แต่ละสายพันธุ์

ประเทศไทยปลูกมะเฟืองกันหลายสายพันธุ์

 ได้แก่ "มะเฟืองเปรี้ยว" เป็นพันธุ์ดั้งเดิม มีทั้งชนิดผลใหญ่และเล็ก

"มะเฟืองพันธุ์ไต้หวัน" ขนาดผลใหญ่พอประมาณ

 กลีบผลบาง ขอบบิด มีรสหวาน

"มะเฟืองพันธุ์กวางตุ้ง" มีสีขาวนวล

ขอบกลีบผลสีเขียว มีรสหวาน

"มะเฟืองพันธุ์มาเลเซีย" ผลมีขนาดใหญ่ เนื้อฉ่ำน้ำ

น้ำหนักมาก มีรสหวานอมเปรี้ยว

มะเฟือง กินเป็นผลไม้ และปรุงเป็นอาหาร

 ใช้เป็นเครื่องเคียงแหนมเนือง หรือ แปรรูปเป็นน้ำผลไม้

 "ใบอ่อน" กินเป็นผักได้ ต่างประเทศ นำมะเฟืองมาปรุงอาหาร

 และเครื่องดื่มหลายชนิด ในสลัดกุ้งก้ามกราม

 เป็นเครื่องเคียงอาหารเนื้อสัตว์

ใช้แทนสับปะรดในอาหาร จำพวกผัดผัก

และเมนูอาหารอบ ปรุงผลิตภัณฑ์เบเกอรี่

เช่น ทำแยม ทาร์ตและเค้ก และพบในเครื่องดื่มต่างๆ


มะเฟืองมีคุณสมบัติ ในการต้านออกซิเดชันสูง

 มีสารกลุ่มโพลีฟีนอล ซึ่งมีฤทธิ์ต้าน ออกซิเดชันมาก

สารสำคัญในกลุ่มนี้ ที่พบในมะเฟือง ได้แก่ กรดแอสคอบิก

 อีพิคาทีชิน และกรดแกลลิก ในรูปของแกลโลแทนนิน

สารสำคัญที่แสดงฤทธิ์ ต้านออกซิเดชันจากมะเฟือง

คือ โพรแอนโทไซยาไนดินในรูปของโมเลกุลคู่

โมเลกุล 3 4 5 (dimers, trimers, tetramers and pentamers)

ของคาทีชินหรืออีพิคาทีชิน มะเฟืองมีวิตามินซีมาก

 บรรเทาโรคเลือดออกตามไรฟัน มีปริมาณพลังงาน

น้ำตาลและเกลือโซเดียมต่ำ เหมาะกับการกินเพื่อควบคุมน้ำหนัก

 คุมน้ำตาลในเลือด หรือลดความอ้วน

มีกรดผลไม้มาก ใช้เป็นส่วนผสม ของเครื่องสำอาง

ชำระล้าง ผิวกายและป้องกันการเกิดสิว

ผลมะเฟืองสุกน้ำหนัก 100 กรัม จะอุดมไปด้วย

คาร์โบไฮเดรตถึง 6.7 กรัม โปรตีน 1 กรัม

 ธาตุโพแทสเซียม 133 mg. วิตามินซี 35 mg.

ธาตุฟอสฟอรัส 12 mg. ยังประกอบไปด้วย วิตามินบี5

 วิตามินบี9 (หรือกรดโฟลิก) ธาตุสังกะสี และ ไขมัน อีกด้วย

สำหรับผู้ที่รับประทาน ยาลดไขมัน ยาคลายเครียดอยู่

ไม่ควรทานมะเฟือง เนื่องจากมีฤทธิ์ ต่อต้านการทำงานของตัวยา

 และผู้ป่วยที่เป็นโรคไต หรือกำลังจะฟอกไต ก็ไม่ควรทาน

 เพราะมะเฟืองมีกรดออกซาลิกสูง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง

 หรือทำให้อาการทรุดหนัก เพิ่มมากขึ้นได้

พิษมะเฟือง เนื่องจาก มีกรดออกซาลิก ในปริมาณที่สูง

การได้รับสารนี้เข้าไปในร่างกายในปริมาณมาก

 สามารถเพิ่มโอกาส เป็นนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้

จะทำให้เกิดการอุดตันในเนื้อไตและท่อไตทำให้ไตวายเฉียบพลันได้

ขึ้นอยู่ภาวะการขาดน้ำ ในร่างกายของเราด้วย

และการเกิดภาวะไตวาย ไม่ได้เป็นกันทุกราย

ผู้ป่วยที่ดื่มน้ำมาเฟือง หลังจากทำงานหนัก

และสูญเสียเหงื่อเป็นจำมาก จะยิ่งมีโอกาสเกิดโรคได้มากขึ้น

โดยมะเฟืองเปรี้ยว มีโอกาสเกิดโรค ได้มากกว่ามะเฟืองชนิดหวาน

 เนื่องจากมี กรดออซาลิก ที่มากกว่านั้นเอง

มะเฟืองเป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ทรงพุ่ม มีทั้งตั้งตรง และกึ่งเลื้อย

 เป็นไม้เนื้ออ่อน โตช้า สูงไม่เกิน 30 ฟุต

แกนกลางมีไส้ คล้ายฟองน้ำสีแดงอ่อน ลำต้นสีน้ำตาล

เปลือกลำต้นไม่เรียบ ใบประกอบ รูปใบมนรี ปลายใบแหลม

ขอบใบเรียบ ก้านใบสั้น ใบด้านบนเรียบด้านล่าง มีขนบาง

 ใบย่อยที่ปลายก้านมักใหญ่ ใบเรียงตัวแบบเกลียว

 ดอก ออกตามซอกใบเป็นช่อสั้นๆ มีสีชมพูอ่อน ไปจนถึงเกือบแดง

 ตรงกลางหลอดดอกมีสีเหลือง มีกลีบดอก 5 กลีบ

ปลายกลีบโค้งงอ โคนกลีบดอกจะมีสีเข้มกว่า ปลายกลีบ

ดอกมีกลิ่นหอม

ผลอวบน้ำมีรูปร่างแปลก ยาวได้ถึง 5 นิ้ว

ผลหยักเว้าเป็นร่องลึก 5 ร่อง ผลอ่อนสีเขียว สุกแล้วมีสีเหลืองใส

 เปลือกผลบางเรียบมัน ทานได้ มีเมล็ดรีสีน้ำตาล

สามารถกินได้ทั้งผลสุกและผลอ่อน


































ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ

Create Date :02 พฤศจิกายน 2558 Last Update :2 พฤศจิกายน 2558 11:40:18 น. Counter : 3505 Pageviews. Comments :0