bloggang.com mainmenu search


















กระเจี๊ยบเขียว

............

ภาษาอังกฤษ Okra, Lady’s Finger, Gombo,

Gumbo, Bendee, Quimbamto

อินเดียจะเรียกว่า Bhindi

ประเทศในแถบเมดิเตอร์เรเนียน เรียกว่า Bamies

ชื่อท้องถิ่นอีก เช่น กระต้าด (สมุทรปราการ)

 กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบมอญ มะเขือ

มะเขือมอญ มะเขือทะวาย ทวาย (ภาคกลาง)

 มะเขือมอญ มะเขือพม่า มะเขือละโว้

 มะเขือขื่น มะเขือมื่น (ภาคเหนือ),

 ถั่วเละ (ภาคอิสาน) ในประเทศไทยพื้นที่

ปลูกกระเจี๊ยบเขียวกันมากที่สุด ส่วนใหญ่ จะอยู่ในภาคกลาง

 เช่น นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี นครนายก ราชบุรี

 ระยอง พิจิตร สุพรรณบุรี สมุทรสาคร และกาญจนบุรี


พืชตระกูลเดียวกับ กระเจี๊ยบแดง

 ครอบฟันสี ชบา ปอกะบิด พลับพลา โพทะเล หญ้าขัด

 หญ้าขัดใบยาว หญ้าขัดใบป้อม และหญ้าขัดหลวง

 มีถิ่นกำเนิดในแถบแอฟริกาตะวันตก ในประเทศซูดาน

 สันนิฐานว่าน่าจะมีการนำเข้ามา ในประเทศไทยหลังปี 2416

 โดยจัดเป็นพืชล้มลุก ที่มีอายุประมาณ 1 ปี

ลำต้นและกิ่งก้านมีสีเขียว แต่บางครั้งก็มีจุดประม่วง

 ตามลำต้นจะมีขนอ่อนหยาบๆ ขึ้นปกคลุม

 เช่นเดียวกับใบและผล

กระเจี๊ยบเขียว อุดมไปด้วยสารอาหาร

ที่มีคุณค่า ทางโภชนาการ เช่น คาร์โบไฮเดรต เส้นใย

 โปรตีน โฟเลต แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม

 แมกนีเซียม เหล็ก วิตามินเอ วิตามินเอ

วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามินซี อยู่ในปริมาณพอสมควร

 ที่สำคัญ มี glutathione ซึ่งมีบทบาทสำคัญ

ควบคุมสารอนุมูลอิสระในร่างกาย

การสร้างสารซ่อมแซมเซลล์ และทำปฏิกิริยาขจัดสารพิษ

 ที่เกิดในร่างกาย ช่วยต้านมะเร็งได้เป็นอย่างดี

 ปัจจุบันนิยมใช้สารนี้เพื่อให้ผิวขาวขึ้น

 เพราะกลูตาไทโอนสามารถ กดการทำงานของเอนไซม์

ที่ผลิตเม็ดสีได้ชั่วคราว

สรรพคุณเด่นที่สำคัญ คือ การใช้เป็นยารักษาโรคกระเพาะ

 และลำไส้อักเสบ ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก

 และท้องเสียสลับกัน และยังช่วยรักษาอาหารปวดท้อง

 จากแผลในกระเพาะอาหาร และแผลจากลำไส้เล็กส่วนต้น

ยางจากผลสดของกระเจี๊ยบเขียว ช่วยรักษาแผลสด

 เมื่อถูกของมีคมบาด ให้ใช้ยางจากฝักกระเจี๊ยบทาแผล

แผลจะหายไว และไม่เป็นแผลเป็น

 ส่วนผลอ่อนมีเมือกลื่นทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น

 ชาวบ้านบางพื้นที่นิยม นำมาพอกผิวหนังที่รู้สึกแสบร้อน

ผลกระเจี๊ยบเขียว ที่ยังอ่อนมาปรุงเป็นอาหาร

เช่น ลวกหรือย่างไฟให้สุก จิ้มกับน้ำพริก หรือทำแกงส้ม

 แกงเลียง แกงใส่ปลาย่าง คนไม่เคย รับประทาน กระเจี๊ยบเขียว

 อาจจะรับประทานได้ยากกันสักหน่อย

เพราะ ฝักข้างในจะมี ยางเมือก ๆ หุ้มเมล็ดอยู่

 แต่ทานบ่อยๆจะชินเอง คนสมัยก่อนนิยมเอาไป ต้ม

หรือ ต้มราดกะทิสด การราดกระทิสดบนผัก

เป็นภูมิปัญญาอย่างหนึ่งในการดึงวิตามิน

 ที่ละลายในไขมันได้ให้ออกมาจากผัก

ให้ร่างกายดูดซึมให้ใช้ได้ง่ายยิ่งขึ้น

กระเจี๊ยบเขียวหากกินกับ น้ำพริกกะปิ ปลาทู

จะให้รสชาติที่ดีมาก

นอกจากจะได้ความอร่อยแล้ว

 ยังเป็นการช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย ร

ะบบดูดซึมสารอาหาร ลดความเสี่ยง

โรคแผล ในกระเพาะอาหารมะเร็งกระเพาะอาหาร

 มะเร็งลำไส้ใหญ่ และยังช่วยลดน้ำหนัก

และไขมันในเลือดได้ดีอีกด้วย กระเจี๊ยบเขียว

ยังมีโฟเลตสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง บำรุงสมอง

 และจำเป็นต่อทารกในครรภ์



















ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพ

Create Date :23 พฤษภาคม 2558 Last Update :23 พฤษภาคม 2558 20:33:03 น. Counter : 1920 Pageviews. Comments :0