bloggang.com mainmenu search

























เห็ดหูหนู

 ....

มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ เห็ดหูหนูดำ และเห็ดหูหนูขาว

เห็ดหูหนูดำ ชื่อสามัญ Jew’s ear, Wood ear, Jelly ear

ชื่อท้องถิ่น เห็ดหูหนูดำ เห็ดหูแมว เห็ดหูลัวะ

อยู่ในกลุ่มเห็ดรา Fungi ชนิดหนึ่ง

ได้ชื่อว่า "อาหารคาวของอาหารเจ"

ในทางแพทย์จีน ถือว่าเป็นยาบำรุงเลือดและพลัง

 มีส่วนประกอบ คล้ายกับเห็ดหูหนูขาว

คุณสมบัติทางยา ไม่ร้อน ไม่เย็น รสหวาน

 เป็นเห็ดที่ได้รับพลังหยินสะสม

 ทำให้ลดความร้อน หรือเกิดความเย็น แก่กระเพาะอาหารได้

สรรพคุณทางยา โรคริดสีดวง บำรุงกระเพาะ

 คุมการทำงานของสมอง หัวใจ ปอด ตับ

 อาการเส้นโลหิตฝอยแตก ช่วยการไหลเวียนของโลหิต

กระตุ้นการทำงานของเลือด ให้เป็นปกติ

บรรเทาอาการเจ็บปวด เช่น การปวดฟัน บรรเทาอาการตกเลือด

 ริดสีดวง บรรเทาการเป็นตะคิว อาการของบิด

ยับยั้งเนื้อร้ายหรือมะเร็ง


เห็ดหูหนูดำ เกิดขึ้นตามลำต้น ของต้นไม้ใหญ่ที่เน่าเปื่อย

หรือซากไม้ที่ผุสลาย โดยจะมีลักษณะเป็นแผ่น

เหมือนกับหูหนูหรือหูคน แผ่นคล้ายวุ้นใส

เนื้อนิ่มอ่อนและเหนียว มีสีออกน้ำตาลเทา หรือน้ำตาลอ่อน

แผ่นใบด้านบนเรียบเป็นมันเงา

ส่วนขอบแผ่น มีรอยจีบหรือเป็นลอน

 แผ่นใบมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 12 เซนติเมตร

 มีความหนาประมาณ 2 มิลลิเมตร ด้านใต้ใบมีขนละเอียด

ขึ้นปกคลุมอยู่เล็กน้อย ถ้าใบแห้งจะมีความแข็งและเหนียว

 ก้านใบเห็ดหูหนูนั้นสั้นมาก โดยจะอยู่กลางดอก

หรือค่อนไปข้างใดด้านหนึ่ง ยึดติดกับลำต้นไม้

หรือท่อนไม้ที่เน่าเปื่อย

ส่วนสปอร์ของเห็ดหูหนูจะมีลักษณะเป็นรูปไส้ คด งอ ยาว

 หรือมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก มีสีเทาม่วงอ่อน

เห็ดหูขาว ชื่อสามัญ Silver Ear Mushroom

เป็นเห็ดคนละตระกูลกับ เห็ดหูหนูดำ

ถิ่นกำเนิดอยู่ที่ เมืองจางโจวมณฑลฮกเกี้ยน ประเทศจีน

 ชาวจีนเชื่อว่าเป็นยาอายุวัฒนะ ใช้บำรุงร่างกาย บำรุงปอด

บำบัดอาการอ่อนเพลีย ไอ เสมหะมีเลือดปน ร้อนใน คอแห้ง

ลักษณะสำคัญของเห็ดหูหนูขาว ขึ้นรวมกันเป็นกลุ่มก้อนติดกัน

 มีดอกบางสีขาวใส รูปร่างแตกต่างกันหลายแบบ

 เช่นเหมือนใบหู กลีบดอกไม้ และภาชนะ

 มีทั้งแบบหมวกบานใหญ่และแบบหมวกบานฝอย

 คล้ายแมงกระพรุน ดอกเห็ดมีลักษณะคล้ายวุ้น อ่อนนุ่ม

ขอบหยักย่น เป็นคลื่น อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม

 ดอกแห้งสีขาวอมเหลือง รสหวาน

เนื้อนุ่มกว่าเห็ดหูหนูสีน้ำตาล

สรรพคุณทางยา บำรุงน้ำอสุจิ ไต ตับ ร้อนใน ปอด

 หลั่งน้ำลาย ย่อยอาหารและบำรุงกระเพาะ

หยุดอาการไอ ลดไข้ ช่วยกระตุ้น การทำงานของลำไส้

 ระบบเลือด หัวใจ และบำรุงสมอง หลอดลมอักเสบเรื้อรัง

อาการไอ ขับเสมหะและโรคหอบหืด อาการไอแห้ง ๆ

 แผลเรื้อรังในปอด หลอดลม บำรุงสุขภาพมารดาหลังคลอด

 รอบเดือนของสตรี ช่วยการระบาย รักษาโรคบิด

ยับยั้งเซลล์มะเร็ง

















 

 

ขอบคุณที่มา  fb. Siriwanna Jill

ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ

Create Date :23 กรกฎาคม 2558 Last Update :23 กรกฎาคม 2558 10:30:46 น. Counter : 1890 Pageviews. Comments :0