bloggang.com mainmenu search




















สับปะรด

....

ชื่อสามัญ Pineapple ชื่อท้องถิ่น แนะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

 ขนุนทอง ยานัด ย่านนัด (ใต้) บ่อนัด (เชียงใหม่)

เนะซะ (กะเหรี่ยงตาก) ม้าเนื่อ (เขมร)

มะขะนัด มะนัด (เหนือ) หมากเก็ง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)

 สับปะรด (กรุงเทพฯ) ลิงทอง (เพชรบูรณ์)

ถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้

สับปะรด มีความ ทนทานต่อสภาพแวดล้อม ได้ดี

 และจัดเป็นผลไม้เศรษฐกิจ

แหล่งปลูกที่สำคัญๆมักจะอยู่ใกล้ทะเล

 เช่น ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ชลบุรี

หรืออุตรดิษถ์ ลำปาง พิษณุโลก

พันธุ์ที่นิยมปลูกในบ้านเรา มีหลายสายพันธุ์

เช่น พันธุ์ปัตตาเวีย สัปปะรดศรีราชา ผลใหญ่

 เนื้อฉ่ำสีเหลืองอ่อน พันธุ์อินทรชิต หรือพันธุ์พื้นเมือง

 พันธุ์ภูเก็ต ผลเล็กเปลือกหนา เนื้อสีเหลือง หวานกรอบ

 พันธุ์นางแล พันธุ์น้ำผึ้ง เนื้อจะเข้มเหลือง รสออกหวานจัด

สับปะรด จัดเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพ

ประโยชน์ของสับปะรด มีอยู่หลากหลาย

 เพราะอุดมไปด้วยแร่ธาตุ และวิตามินจำนวนมาก

ซึ่งได้แก่ คาร์โบไฮเดรต วิตามินซี วิตามินบี1

วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 กรดโฟลิก

 ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุแมกนีเซียม

 ธาตุแมงกานีส ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ธาตุสังกะสี

ถือว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายและสุขภาพ เป็นอย่างมาก

 และสรรพคุณ ทางสมุนไพรนั้น ช่วยรักษา โรคบิด

 โรคนิ่ว ช่วยบรรเทาอาการแผล เป็นหนอง ขับปัสสาวะ

สรรพคุณ ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง

 รับประทานสับปะรดวันละหนึ่งชิ้น

จะช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินซี

ที่สำคัญ วิตามินช่วยในการทำงาน ของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

และยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง

 เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกาย ติดเชื้อและต่อสู้กับเชื้อโรค

เป็นการเพิ่มแรงต้านทานโรคให้แก่ร่างกาย

 แต่ในผู้ที่มีเลือดจางไม่ควรกินมากนัก

ช่วยในการย่อยอาหาร สับปะรดมีกากใยอาหาร

ซึ่งมีความสำคัญกับการย่อยอาหาร ช่วยลดคอเลสเตอรอล

 ควบคุมน้ำตาล ในเส้นเลือด และช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็ง

 เพราะในสับปะรดมีเอนไซม์ ตามธรรมชาติ

ที่มีชื่อว่า “บรอมีเลน” สามารถช่วยย่อยอาหารได้

ทั้งในภาวะเป็นกรดและด่าง จึงเหมาะมาก

ช่วยย่อยในกระเพาะ ซึ่งเป็นกรด

หากกินสัปปะรดหลังอาหารเป็นประจำ

จะช่วยในเรื่องของ ระบบขับถ่ายด้วยนะ

 ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี สับปะรดมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์

 เช่น วิตามินซี เบต้าแคโรทีน และแมงกานีส

ที่จะช่วยป้องกันอันตราย จากอนุมูลอิสระ

ที่จะทำลายโครงสร้าง ของ เซลล์

และอาจทำให้เป็นโรคหัวใจ และอัมพฤกษ์ อัมพาต

 นอกจากนี้ ยังมีความสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอีกด้วย

ป้องกันความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง

โดยเฉพาะมะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งเต้านม

 เพราะสับปะรด มีสารแอนตี้ออกซิแดนท์

ที่ช่วยป้องกันการเติบโตของเซลล์ร้าย ในปอด

 ป้องกันมะเร็งรังไข่ ช่วยให้เหงือกแข็งแรง

เนื่องจาก มีวิตามินสูงที่จะช่วยป้องกันความเสี่ยง

จากโรคเหงือกได้ ช่วยยับยั้งการอักเสบ

เอนไซม์ Bromelain ในสับปะรดจะช่วยยับยั้งการอักเสบ

 ชาวอเมริกาใต้โบราณ ใช้สับปะรดเป็นยารักษาโรคผิวหนัง

 และรักษาบาดแผล

สำหรับสุภาพสตรี ที่มีอาการปวดประจำเดือน

อาการอักเสบ จากริดสีดวงทวาร

หรือผู้ป่วยอาการที่เกี่ยวข้อง กับเส้นเลือดดำ โรคกระดูก

 ข้ออักเสบ รูมาตอยด์ เก๊าท์ หากรับประทานสับปะรด เป็นประจำ

 จะช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ได้

รวมไปถึงสมานแผลให้ทุเลาได้เร็วขึ้นด้วย

ประโยชน์ของสับปะรด ทานเป็นผลไม้ หรือนำมาปรุงเป็นอาหาร

 เช่น แกงคั่วสับปะรด ขนมจีนซาวน้ำ

 ผัดเปรี้ยวหวาน แปรรูปเป็นสับปะรดกระป๋อง

 ทำเป็นสับปะรดกวน แปรรูป ทำ น้ำส้มสายชู

ไอศกรีม ไวน์ แยมและเยลลี่

ใบสับปะรด นำมาแปรรูปเป็นผ้าใยสับปะรด

 ชาวฟิลิปปินส์ นิยมนำมาทำเป็นผ้าพื้นเมือง

 ใช้ทำเป็นกระดาษใบสับปะรด หรือเชือก

เปลือกสับปะรด ส่วนตาของสับปะรดนั้น

อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีคุณค่า

 จึงนิยมนำมาแปรรูปเป็น อาหารของโค หรือจะอบแห้ง

เป็นส่วนผสมหลักๆของอาหารสัตว์

นำมาทำเป็นน้ำหมัก ปุ๋ยชีวภาพได้ด้วย

การรับประทานที่ถูกวิธี เอาเกลือแกงทาให้ทั่ว หลังปอกเปลือก

 และเอาตาออกแล้ว หรือ แช่ในน้ำเกลืออ่อน ๆ ประมาณ 2-3 นาที

 นอกจากจะทำให้รสชาดดีขึ้นแล้ว

ยังเป็นการทำลายสารจำพวก Glycoalkaoid

และเอ็มไซม์บางชนิด ที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้หลังรับประทาน

































ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ

Create Date :18 มิถุนายน 2558 Last Update :18 มิถุนายน 2558 12:01:36 น. Counter : 3835 Pageviews. Comments :0