เวียงแว่นฟ้า - เดินตามรอยกรรม
<<
เมษายน 2557
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
10 เมษายน 2557

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม - บทที่ 4





สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม - บทที่ 4





ในความรู้สึกของพระบัวเฮียว เวลาสี่สิบนาทีช่างดูยืดยาวเสียนักหนา ท่านจับพอง-ยุบได้ในช่วงแรกๆ กระนั้นก็ยังลง 'หนอ' ไม่ค่อยจะทัน เพราะมันเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก นั่งไปสักครู่ให้รู้สึกอึดอัดขัดข้อง ลมในท้องเริ่มปั่นป่วนอีกครั้ง ท่านพยายามกลั้นเอาไว้ หากปล่อยปู้ดป้าดออกมาเกรงว่าจะต้องอับอายขายหน้า เมื่ออั้นไว้หนักเข้าก็กลายเป็นความกังวลจนจับพอง-ยุบไม่ได้

"อย่าไปกังวลแล้วก็ไม่ต้องไปกลั้น เขาอยากออกมาก็ให้เขาออก อย่าไปฝืนเขา มันเป็นการปรากฏของสภาวธรรม ให้กำหนด 'เสียงหนอ' หรือ 'กลิ่นหนอ' ไปตามความเป็นจริง" ท่านพระครูซึ่งนั่งอยู่ห่างๆพูดขึ้น

พระบวชใหม่จึงหมดความกังวลเรื่องลม ปล่อยให้มันเป็นไปตามธรรมชาติ หันมาจับพอง-ยุบต่อ หากก็จับได้ไม่นานเพราะอาการปวดเมื่อยเริ่มปรากฏ ท่านรู้สึกปวดขาเป็นกำลัง คิดอยากจะถามท่านอุปัชฌาย์ว่าจะเปลี่ยนท่านั่งได้หรือไม่ ท่านพระครูก็พูดขึ้นมาทันที

"อย่าเปลี่ยน นี่แหละเขาเรียกว่าเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ต้องให้เห็นของจริงจึงจะเข้าใจ เอาสติไปเพ่งตรงที่ปวดแล้วกำหนดว่า 'ปวดหนอ ปวดหนอ' จากนั้นก็ไม่ต้องไปสนใจ ให้กลับมากำหนดพอง-ยุบ พอง-ยุบอีก

เมื่อมีคนคอยช่วยเหลืออยู่อย่างนี้ ทั้งยังสามารถ 'อ่านใจ' ผู้อื่นได้ด้วย พระบัวเฮียวจึงหายกังวล ท่านพระครูอยากให้การนั่งของพระบวชใหม่เป็นไปตามธรรมชาติ ครั้นเห็นว่าได้แนะนำพอสมควรแล้ว จึงลุกออกจากที่นั่นไปเงียบๆ ปล่อยให้ผู้เป็นศิษย์นั่งอยู่ตามลำพัง

พระบัวเฮียวไม่รู้ว่าพระอุปัชฌาย์ลุกออกไปแล้ว ท่านพยายามจับพอง-ยุบอย่างเคร่งครัด ต่อเมื่ออาการปวดขาทวีความรุนแรงขึ้น พระใหม่ก็หมดความอดทน ค่อยๆเปลี่ยนท่านั่งจากขาขวาทับขาซ้ายมาเป็นขาซ้ายทับขาขวา รู้สึกค่อยยังชั่วขึ้น ทั้งพระอุปัชฌาย์ก็ไม่ได้ว่าอะไร จึงกระหยิ่มยิ้มย่องว่าทำถูกต้องแล้ว 'อหังการ' ก็เกิดขึ้น

พระบัวเฮียวเริ่มคิดฟุ้งซ่าน จิตซึ่งโดยปกติไม่อยู่นิ่งอยู่แล้วก็ซัดส่ายหนักขึ้น คิดเรื่องนี้ไปเรื่องโน้น เตลิดเปิดเปิงไปยกใหญ่ ชั่วเวลาไม่กี่นาทีที่ท่านพระครูลุกไป พระบัวเฮียวก็คิดอะไรต่ออะไรไปร้อยแปด เมื่อจิตฟุ้งซ่านสติก็จับพอง-ยุบไม่ได้ สมาธิก็ไม่เกิด

อีกสิบนาทีจะครบกำหนด ท่านพระครูก็กลับเข้ามา ท่าน 'ตรวจสอบ' คนที่กำลังนั่งสมาธิอยู่ก็รู้วาระจิตของเขา

"สนุกใหญ่เลยนะบัวเฮียว ทำไมไม่กำหนด 'ฟุ้งซ่านหนอ' ล่ะ"

พระบวชใหม่จึงกำหนด 'ฟุ้งซ่านหนอ' แล้วกลับมากำหนดพอง-ยุบ ประเดี๋ยวหนึ่งอาการปวดขาก็ประดังขึ้นมาอีก ปวดราวกับมันจะแตกออกเป็นเสี่ยงๆ คิดที่จะเปลี่ยนท่านั่ง ท่านพระครูก็กำชับขึ้นมาทันที

"อย่าเปลี่ยน ให้กำหนด 'อดทนหนอ พากเพียรหนอ' แล้วกลับไปที่พอง-ยุบอีก"
'มันไม่ไหวแล้วครับหลวงพ่อ' พระบัวเฮียวคร่ำครวญอยู่ในใจ คราวนี้รู้แล้วว่าท่านพระครูต้องรู้อะไรๆ ในใจของท่านทุกอย่าง

"ต้องไหวสิ ตั้งใจไว้เลย ตายเป็นตาย"
'ผมยังไม่อยากตายนี่ครับ' พระใหม่แอบเถียงในใจ

"ยังไม่อยากตาย แต่ถ้าถึงที่มันก็ต้องตาย แต่ถ้าตายขณะปฏิบัติก็จะไปเกิดในสุคติภูมิ ไม่ต้องไปอบายภูมิ เลือกเอาว่าจะเอาอย่างไหน"

'งั้นก็เอาอย่างหลังครับ' พระใหม่แอบเถียงในใจ

"ดีแล้ว ต้องกล้าหาญอย่างนี้ถึงจะเรียกว่าศากยบุตร นี่แหละคือเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา"

'เวทนาที่แปลว่าสงสารใช่ไหมครับ'

คนถามๆ ในใจ แต่คนตอบๆออกมาดังๆ เพราะคลื่นใน 'เครื่องรับ' กับ 'เครื่องส่ง' ไม่ตรงกัน คนตอบสามารถเข้าใจความในใจของของคนถาม หากคนถามไม่สามารถอ่านใจของคนตอบได้

"ไม่ใช่ เวทนาแปลว่าความรู้สึก มีสามอย่างคือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา หมายถึงความรู้สึกสุข ทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์ หรือที่เรียกว่าเฉยๆ รู้สึกอย่างไรก็กำหนดไปอย่างนั้น เช่นขณะที่เธอปวดเธอเป้นทุกข์ก็กำหนด 'ทุกข์หนอ' แต่ถ้าปวดไม่มาก ไม่รู้สึกว่ามันทุกข์ ก็กำหนด 'ปวดหนอ' ถ้าสุขก็กำหนด 'สุขหนอ' ถ้ารู้สึกเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ ก็กำหนด 'เฉยหนอ' คือต้องตามความรู้สึกอยู่ตลอดเวลา แล้วก็กำหนดรู้เท่านั้น ห้ามไปจับไปยึด"

ภิกษุหนุ่มตั้งสติข่มทุกขเวทนาไว้อย่างยากเย็นพยายามทำตามที่พระอุปัชฌาย์สอน หากความปวดก็ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ราวกับชีวิตจะแตกดับลงเสียเดี๋ยวนั้น ท่านจึงฮึดสู้ด้วยการกำหนดว่า 'ตายเป็นตาย' แล้วก็นั่งต่อไปอย่างไม่สะกสะท้าน พยายามให้สติจับอยู่ที่อาการพอง-ยุบของท้อง

'เอาละ ได้เวลาแล้ว กำหนด 'อยากพักหนอ' สามครั้งแล้วค่อยๆลืมตา เห็นอะไรก็กำหนด 'เห็นหนอ'

ช่วงเวลาแห่งความทุกข์ทรมานนั้น เสียงของท่านพระครูจึงประดุจเสียงสวรรค์ที่ล่องลอยมาจากนภากาศ การต่อสู้กับทุกขเวทนาสิ้นสุดลง พระบัวเฮียวกำหนดตามคำสอน เมื่อลืมตาขึ้น สิ่งแรกที่เห็นคือใบหน้าที่เปี่ยมด้วยเมตตาของผู้เป็นอาจารย์ รู้สึกร้อนวาบขึ้นทั่วร่างแล้วเปลี่ยนเป็นเย็นซาบซ่านไปทั่วทุกขุมขน น้ำตาไหลพรากๆ ด้วยความปิติ ท่านก้มลงกราบพระอุปัชฌาย์ด้วยความรู้สึกสำนึกในพระคุณ อย่างหาที่สุดมิได้

ศีล สมาธิ ปัญญา ได้ซักฟอกและขัดเกลาจิตใจที่เคยหยาบกระด้างของท่าน ให้ละเอียดประณีตขึ้น กตัญญูกตเวทิตากรรมจึงเกิดเอง โดยมิต้องมีผู้ใดมาบอกกล่าว

"เอาละ ทีนี้ก็มาสอบอารมณ์กัน ประเดี๋ยวจะได้กลับไปพักผ่อน คืนนี้จะได้สอนการเดินระยะที่สองให้"
"ครับ เอ้อ..ผมอยากจะเรียนถามหลวงพ่อว่า ทำไมจิตของเราจึงหยุดนิ่งไม่ได้ ชั่วเวลาที่ผมนั่ง ผมคิดอะไรต่ออะไรไปร้อยแปด มันไม่สงบเลยครับ ที่แปลกก็คือเวลาที่ไม่ได้นั่งสมาธิ กลับไม่ได้คิดอะไร"

"นั่นแหละธรรมชาติของจิตละ พระพุทธองค์จึงได้ตรัสเปรียบเทียบจิต ว่าไม่อยู่นิ่งเหมือนลิง ปกติลิงจะไม่อยู่เป็นสุข ต้องหลุกหลิกวางโน่น จับนี่ ทำท่านั้นท่านี้อยู่ตลอดเวลา นอกจากจะหลับเสียเท่านั้น แม้หลับก็หาได้หลับนานไม่ เพราะฉะนั้นจึงต้องมาฝึกจิตกันยังไงล่ะ"

"ทำไมจิตมันถึงฟุ้งซ่านเฉพาะเวลานั่งสมาธิเล่าครับ เวลาปกติทำไมมันไม่ฟุ้งซ่าน"ภิกษุถามอีก

"จิตมันฟุ้งซ่านอยู่ตลอดเวลานั่นแหละ ไม่ว่าจะตอนนั่งหรือไม่ได้นั่ง เพราะจิตมันมีหน้าที่รู้อารมณ์ แต่ตอนเรานั่งเรารู้สึกว่ามันฟุ้งซ่าน เพราะเราเอาสติไปกำกับมัน บังคับมันให้จดจ่ออยู่กับอารมณ์เดียว มันเลยต่อต้าน แต่ในเวลาปกติ เราไม่ได้เอาสติไปกำกับมัน เราจึงไม่รู้สึกว่ามันฟุ้งซ่าน พูดง่ายๆก็คือจิตมันฟุ้งซ่านอยู่ตลอดเวลา แต่เราไม่ค่อยจะรู้ เมื่อใดที่เราเอาจิตไปกำกับมัน เราจึงจะรู้ชัด เข้าใจหรือยังล่ะ"

"เข้าใจแล้วครับ ผมต้องขอขอบพระคุณหลวงพ่อเป็นอย่างสูง ที่ได้กรุณาอธิบายอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน"

ท่านพระครูนึกชมพระมหาบุญ ที่สามารถอบรมบ่มนิสัยจนกระทั่งพระบัวเฮียว เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ ทั้งกิริยามารยาท ตลอดจนการพูดการจาดูดีขึ้น ผิดกับตอนมาใหม่ราวคนละคน

"หลวงพ่อครับ แล้วเรื่องเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานที่หลวงพ่อสอนตอนผมนั่งสมาธิ มีบางตอนที่ผมยังไม่เข้าใจครับ เช่นที่หลวงพ่อบอกไ่ม่ให้ยึด สุขก็ไม่ให้ยึด ทุกข์ก็ไม่ให้ยึด หมายความว่าอย่างไรครับ"

"หมายความว่าเวทนามันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เช่นเดียวกับสรรพสิ่งทั้งหลาย นั่นคือมันไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ และปราศจากตัวตนที่แท้จริง พูดให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ มันมีลักษณะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป จึงไม่มีอะไรให้ยึด ฉะนั้นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานก็คือการใช้สติตามดูเวทนา และกำหนดรู้เวทนาในขณะนั้นๆ ว่า มันสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ แล้วก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงของมันเหมือนกับเวลาเธอนั่ง เมื่อปวดก็เป็นทุกขเวทนา เธอก็กำหนด 'ปวดหนอ' แล้วก็วางมันเสีย ไม่ไปจับไปยึด ประเดี๋ยวมันก็หายไปเอง"

"การกำหนดว่า 'ปวดหนอ' ก็เพื่อให้หายปวดใช่ไหมครับ"

"ไม่ใช่ บางคนไปเข้าใจผิดคิดว่าการกำหนดเช่นนั้นจะทำให้หายปวด ซึ่งความจริงแล้วจะกำหนดหรือไม่กำหนด มันก็ต้องหายปวดตามสภาพของมันอยู่แล้ว เพราะเวทนามันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตามสาเหตุปัจจัย เราไม่สามารถบังคับบัญชามันได้ เราทำได้ก็เพียงกำหนดรู้มันเท่านั้น"

ท่านพระครูอธิบาย พลันสายตาก็เหลือบไปเห็นลูกศิษย์วัดยืนลับๆล่อๆ อยู่ตรงประตู

"มีอะไรหรือ สมชาย" ท่านพระครูถาม

เด็กชายคลานเข้ามา กราบสามครั้งแล้วจึงรายงานว่า "มีคนจากนครสวรรค์เขามาขอขึ้นกรรมฐานกับหลวงพ่อครับ"

"บอกให้เขาเข้ามาได้เลย"

พระบัวเฮียวตั้งท่าจะลา แต่ท่านพระครูห้ามไว้ สักครู่ชายวัยกลางคนก็ประคองพานดอกไม้ธูปเทียน เดินเข่าเข้ามาหาท่านพระครู พร้อมกับเพื่อนวัยเดียวกันอีกสองคน เจ้าอาวาสวัดป่ามะม่วงจึงสั่งให้พระบัวเฮียวนำคนทั้งสามกล่าวคำขอสมาทานกรรมฐาน แล้วให้สอนการเดินจงกรมและนั่งสมาธิด้วย

พระใหม่รู้สึกขัดเขิน เพราะตัวท่านเองก็เพิ่งจะหัดมาได้สองวันเข้าวันนี้ หากท่านก็สอนอย่างตั้งอกตั้งใจที่สุด จนชายทั้งสามสามารถเดินจงกรมระยะที่หนึ่งได้ และรู้วิธีนั่งสมาธิ

"เอาละ เดี๋ยวไปทานข้าวทานปลากันก่อน แล้วกลับไปปฏิบัติยังกุฏิของตน สองทุ่มค่อยมาสอบอารมณ์ ได้ที่พักกันหรือยัง"
"ยังครับ พวกผมเพิ่งมาถึงครับ" เขาตอบอย่างนอมน้อม
"สมชายไปดูซิว่ามีกุฏิกรรมฐานหลังไหนว่างอยู่บ้าง"
"ไม่มีเลยครับหลวงพ่อ ผมไปสำรวจมาแล้ว" เด็กหนุ่มตอบ

"ถ้ายังงั้นก็ไปพักบนศาลาก็แล้วกัน เดี๋ยวจะให้เขาจัดมุ้งจัดหมอนไปให้ บนศาลาไม่มีมุ้งลวด" แล้วท่านก็ถามต่อไปว่า "จะอยู่ปฏิบัติกันกี่วันล่ะ"
"สามวันครับ พอรู้วิธีก็จะกลับไปปฏิบัติต่อที่บ้าน"
"ทำไมไม่อยู่สักเจ็ดวันล่ะ สามวันมันน้อยไป"

"อยู่ไม่ได้ครับหลวงพ่อ พวกผมเป็นครู ต้องกลับไปสอนนักเรียน ช่วงนี้ปิดเทอมจึงมาได้"
"หยุดแค่สามวันเองหรือ"
"หยุดมาสิบกว่าวันแล้วครับ แต่พวกผมเกิดนึกอยากมาเอาเมื่อตอนใกล้จะเปิด"
"อ้อ...เอาละ ถึงจะอยู่แค่สามวัน ถ้าตั้งใจปฏิบัติจริงๆ จังๆ ก็จะได้ผลพอสมควร ไหน ชื่ออะไรกันบ้าง เผื่อวันหลังเจอกันจะได้ทักทายได้ถูกต้อง"

"ผมชื่อสฤษดิ์ครับ เป็นครูใหญ่"
"ผมชื่อบุญมี อีกคนชื่ออรุณ เป็นครูน้อย มาเป็นเพื่อนครูใหญ่ครับ" ครูบุญมีพูดขึ้นมาเป็นครั้งแรก ส่วนครูอรุณยังไม่ยอมพูด
"อ๋อ มาเป็นเพื่อนเท่านั้นเองหรือ อาตมานึกว่าตั้งใจมาปฏิบัติ ที่แท้ก็มาเป็นเพื่อน แต่เอาเถอะ ไหนๆก็มาแล้ว ตั้งใจปฏิบติให้เต็มที่ก็แล้วกัน เดี๋ยวสมชายพาแขกไปทานอาหารด้วยนะ"

ประโยคหลังท่านพูดกับลูกศิษย์วัด แล้วหันมาบอกกับคนเป็นครูใหญ่ว่า "ทานข้าวทานปลาให้อิ่มหนำสำราญเสียก่อน แล้วค่อยปฏิบัติ มีปัญหาอะไรก็มาถามอาตมาได้ทุกเวลา"

คนทั้งสามกราบท่านแล้วจึงลุกตามเด็กวัดออกไป คนเป็นครูใหญ่เดินนำหน้า

"นี่บัวเฮียว เธอจำไว้นะ คนที่เดินนำหน้าจะถูกรางวัลที่หนึ่ง เชื่อฉันไหมล่ะ"
"หลวงพ่อทราบได้อย่างไรครับ"
"ก็ 'เห็นหนอ' บอก คอยดูก็แล้วกัน เขาจะต้องกลับมาที่วัดนี้อีกภายในเจ็ดวัน นับแต่วันกลับไป"
"แล้วหลวงพ่อจะบอกเขาไหมครับว่าเขาจะถูกรางวัลที่หนึ่ง"
"บอกไม่ได้ซิ เดี๋ยวเขาก็ไม่เป็นอันปฏิบัติ"
"แล้วผมจะได้ 'เห็นหนอ' อย่างหลวงพ่อไหมครับ"

"ก็แล้วแต่เหตุปัจจัย ถ้าเธอหมั่นประกอบความเพียรอย่างสม่ำเสมอ ก็พอจะมีทาง" ท่านตอบแบบแบ่งรับแบ่งสู้

"นอกจากหลวงพ่อ มีคนอื่นได้อีกไหมครับ"

"ีมีหลายคนเหมือนกัน มันไม่ยากอะไรนี่ อย่างคุณนายลำใย แกก็ได้ ขนาดอ่านหนังสือไม่ออก เดินจงกรมนั่งสมาธิก็ไม่เป็น แต่แกมีความเพียรดี เรื่องมันยาว ถ้าอยากรู้วันหลังจะเล่าให้ฟัง อย่าลืมว่าจุดประสงค์สำคัญที่เธอมาที่นี่ก็เพื่อจะมาแก้กรรม ส่วนอย่างอื่นถือว่าเป็นผลพลอยได้ เอาละ ไปได้แล้ว เดี๋ยวคนอื่นเขาจะรอ สิบเอ็ดโมงกว่าแล้ว"

รับประทานอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ชายทั้งสามก็ตามเด็กวัดไปที่ศาลา พวกเขามีกระเป๋าเดินทางใบเล็กมาคนละใบ เด็กหนุ่มนำเครื่องนอนมาแจกให้คนละชุดแล้วจึงลงมา ปล่อยให้เขาได้พักผ่อนกันตามลำพัง ครูสฤษดิ์เตรียมเดินจงกรม ในขณะที่ครูอรุณและครูบุญมีจัดแจงปูเสื่อ พร้อมกับออกตัว่า

"ของีบเอาแรงสักพัก ครูใหญ่ปฏิบัติไปคนเดียวก่อนนะครับ"

"คุณจะนอนกันผมก็ไม่ว่าอะไรหรอกนะ เท่าที่มาเป็นเพื่อนผมนี่ก็ดีถมไปล้ว แต่คุณจะไม่ลองดูสักหน่อยหรือ ว่าที่นี่มีดีอะไรคนถึงหลั่งไหลมากันจนกุฏิไม่พอให้พัก เวลานอนเรายังมีอีกมาก น่าจะตักตวงวิชาเอาไว้ ไหนๆ ก็เสียเวลามาแล้ว"

ครูใหญ่พูดจบก็เริ่มเดินจงกรมอย่างขะมักเขม้น ครูน้อยมองตากันแล้วต่างก็ได้คิด จึงพากันลุกขึ้นเดินจงกรมบ้าง

ช่วงเวลานั้นหากใครมองขึ้นไปบนศาลาก็จะเห็นคนสามคนกำลังเดิน 'ขวา-ย่าง-หนอ ซ้าย-ย่าง-หนอ' อยู่อย่างเพลิดเพลิน ตั้งแต่เที่ยงไปจนถึงหกโมงเย็น โดยไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย

ท่านพระครูใช้ 'เห็นหนอ' ตรวจสอบดูก็รู้ว่า พวกเขา 'รื่นเริงในธรรม' เสียจนไม่สามารถกำหนดนั่งได้ จึงเดินไปยังศาลาเพื่ออนุเคราะห์ คนทั้งสามเห็นท่านเดินขึ้นมาก็รู้สึกตัว รีบนั่งลงกราบท่านพร้อมกันราวกับนัด

"ไง โยม เดินกันตั้งหกชั่วโมงแล้ว ไ่ม่รู้สึกเมื่อยกันบ้างหรือ"

"หกชั่วโมงเชียวหรือครับ ผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน รู้แต่ว่ามันเพลินจนลืมกำหนดนั่ง นี่ถ้าหลวงพ่อไม่ขึ้นมา สงสัยพวกผมคงเดินกันจนถึงเช้า" ครูใหญ่พูด

"แน่นอน แบบนี้เขาเรียกว่า 'รื่นเริงในธรรม' "
"แล้วดีไหมครับ" ครูอรุณเพิ่งจะพูดเป็นครั้งแรก

"ไม่ดีแน่ เพราะสมาธิกับวิริยะมีมากจนสติตามไม่ทัน การปฏิบัติธรรมที่จะได้ผลดีจะต้องให้สมาธิ วิริยะและสติสมดุลกัน ไม่ให้อันใดอันหนึ่งล้ำหน้าอันอื่น เอาละ ทีนี้ก็กำหนดนั่ง ให้นั่งคนละหนึ่งชั่วโมง เสร็จแล้วอาบน้ำอาบท่าให้เรียบร้อย สองทุ่มไปหาอาตมาที่กุฏิ"

คนทั้งสามก้มลงกราบสามครั้งแล้วจึงกำหนดนั่งสมาธิ ท่านพระครูนั่งอยูอีกครู่หนึ่ง เห็นเขาปฏิบัติกันถูกต้องแล้วก็กลับกุฏิของท่าน

เมื่อพระบัวเฮียวมาสอบอารมณ์ที่กุฏิของพระอุปัชฌาย์ ก็พบว่าครูทั้งสามคนนั่งคุยกับท่านพระครูอยู่ก่อนแล้ว พวกเขาทำความเคารพเมื่อท่านไปถึง

ท่านพระครูถามคนเป็นครูใหญ่ว่า "มีอาการเป็นอย่างไรบ้าง กำหนดพอง-ยุบ ชัดไหม"
"ชัดครับ แต่รู้สึกอึดอัด มีลมอัดอยู่ในท้องมากจนทำให้ปั่นป่วน"
"แล้วโยมทำยังไง"
"ก็ปล่อยให้มันออกมาตามธรรมชาติครับ"
"กำหนดหรือเปล่า"
"กำหนดครับ ผมกำหนดไปตามจริง 'เสียงหนอ' บ้าง 'กลิ่นหนอ' บ้าง" ครูใหญ่ตอบฉะฉาน
"แล้วโยมล่ะ"  ท่านหันไปถามครูบุญมี
"เหมือนครูใหญ่ครับ"
ท่านพระครูหันไปถามครูอรุณบ้าง ซึ่งครูอรุณตอบว่า "ผมนั่งหลับน้ำลายไหลยืดเลยครับ"

คนอื่นๆพากันหัวเราะ รวมทั้งท่านพระครูและพระบัวเฮียว ที่ท่านเจ้าอาวาสสอบอารมณ์คนทั้งสามต่อหน้าพระบัวเฮียวก็เพื่อต้องการสอนพระบวชใหม่ทางอ้อม ท่านมองหน้าผู้เป็นศิษย์เหมือนจะบอกว่า 'เห็นไหมบัวเฮียว คนอื่นเขาไม่เห็นเรื่องมากอย่างเธอเลย'

ชtรอยพระบวชใหม่จะเดาความคิดของท่านออก จึงแอบเถียงในใจว่า 'โธ่ หลวงพ่อครับก็พวกเขาเป็นครู ผมมันแค่ปอสี่ จะให้เก่งกาจเท่าเขาได้ยังไง'

พระอุปัชฌาย์นึกขำที่พระลูกศิษย์ชักจะอ่านความคิดของท่านออก จึงสัพยอกขึ้นมาว่า "รู้สึกว่าเธอจะได้ 'เห็นหนอ' แล้วนะ บัวเฮียว"




ผู้ประพันธ์ :  ดร. สุทัสสา อ่อนต้อม

=========================================================================================================

หมวด Book Blog













 

Create Date : 10 เมษายน 2557
33 comments
Last Update : 13 เมษายน 2557 3:29:21 น.
Counter : 2301 Pageviews.

 

สวัสดีครับ
มาอ่านต่อครับ
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
mambymam Home & Garden Blog ดู Blog
เวียงแว่นฟ้า Dharma Blog ดู Blog

 

โดย: moresaw 10 เมษายน 2557 7:52:34 น.  

 

มาอ่านต่อครับ
เวียงแว่นฟ้า Dharma Blog

 

โดย: Insignia_Museum 10 เมษายน 2557 20:34:26 น.  

 

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ
เรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เวียงแว่นฟ้า Book Blog ดู Blog

 

โดย: หอมกร 10 เมษายน 2557 20:41:18 น.  

 

ส่งกำลังใจให้กับนิยายธรรมะที่ถูกใจค่ะ


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
Rinsa Yoyolive Travel Blog ดู Blog
เวียงแว่นฟ้า Book Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: ร่มไม้เย็น 10 เมษายน 2557 21:35:54 น.  

 

มาอ่านนิยายธรรมะต่อครับ เป็นการฟื้นฟูการนั่งสมาธิได้ดีเลยครับ
โหวต เวียงแว่นฟ้า Book Blog ดู Blog

 

โดย: เศษเสี้ยว 10 เมษายน 2557 22:10:32 น.  

 

สวัสดียามดึกค่ะ ขอบคุณมากนะคะที่โหวตให้อิชั้น

แต่วันนี้ขออนุญาตแปะไว้ก่อนนะคะ เด๋วมาอ่านต่อพรุ่งนี้
วันนี้ไม่ไหวละค่ะ ตาเริ่มปรือ

 

โดย: คนสวยที่ไม่เคยสวย 10 เมษายน 2557 23:53:57 น.  

 





สวัสดียามเช้าค่ะ..



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
กะว่าก๋า Photo Blog ดู Blog
newyorknurse Klaibann Blog ดู Blog
เวียงแว่นฟ้า Dharma Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


..


ไปละ.. รีบค่ะ..

บ่าย - เย็น กลับ..







 

โดย: foreverlovemom 11 เมษายน 2557 7:55:31 น.  

 

ยุบหนอ พองหนอ เราเคยฝึกอยู่พักนึงค่ะ
ตอนนั้นเคยฝึกกับคุณแม่สิริ กรินชัย
ฝึกอยู่เดือนกว่าๆ กลายเป็นไม่ได้หนอ
จิตว่อกแว่กหนอ อิอิ
ยากเอาเรื่องเลย

ขอบคุณที่แวะไปชมต้นไม้ด้วยกันนะคะ
ไว้ย่องมาใหม่ค่ะ






 

โดย: mambymam 11 เมษายน 2557 14:44:16 น.  

 






เขาคงลืมๆไปแล้วล่ะค่ะ ว่าเคยจน..

แต่ป๋องว่า เขาคงไม่ ยอม กลับไป "จน" อีกแน่ๆ ค่ะ..





 

โดย: foreverlovemom 11 เมษายน 2557 16:57:46 น.  

 

เวียงแว่นฟ้า Book Blog ดู Blog
อรุณสวัสดิ์จ้ะ

 

โดย: Opey 12 เมษายน 2557 6:39:00 น.  

 

สวัสดีครับ

มาอ่านบทประพันธ์ที่เขียนได้ดีมากครับ ต้องตามอ่านแล้วละครับ
สุขสันต์วันสงกรานต์ครับ

 

โดย: find me pr 12 เมษายน 2557 18:45:37 น.  

 

ขอบคุณขอรับสำหรับคะแนนโหวต สุขสันต์วันสงกรานต์นะขอรับ

 

โดย: ขุนเพชรขุนราม 12 เมษายน 2557 22:38:41 น.  

 

สุขสันต์วันปีใหม่ไทยค่ะ

 

โดย: pantawan 12 เมษายน 2557 23:48:06 น.  

 

สวัสดีวันปีใหม่ไทยค่ะคุณเวียงแว่นฟ้า


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
สายหมอกและก้อนเมฆ Photo Blog ดู Blog
เวียงแว่นฟ้า Literature Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


ขอให้มีความสุขมากๆนะคะ



 

โดย: mambymam 13 เมษายน 2557 0:05:03 น.  

 





ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ


 

โดย: เดหลีสีแดง 13 เมษายน 2557 0:22:42 น.  

 





ป๋องหัวเราะเสียง "ดัง" มาก ตอนขึ้นวันใหม่ 13 เมษายน 2557

คงไม่มีคนแถวนี้ เรียก ตำรวจจับ หรอก เนาะ..







 

โดย: foreverlovemom 13 เมษายน 2557 1:03:47 น.  

 

สวัสดีปีใหม่ไทยครับ


 

โดย: moresaw 13 เมษายน 2557 8:49:29 น.  

 

สวัสดีปีใหม่ไทยค่ะ

 

โดย: เนินน้ำ 13 เมษายน 2557 9:46:02 น.  

 





เอ่อ...

ป๋องเพิ่งมาเห็นด้านล่าง ..

Book Blog เหรอคะ??

แหะ แหะ.. คราวหน้าแก้ตัวใหม่นะคะ..

แต่ป๋อง ดื่มด่ำ กับรสพระธรรมที่ ดร. สุทัสสา ท่าน รจนา..

เป็นเรื่องเล่า แฝงธรรมะ ไว้อย่างแยบคาย..



...



สวัสดียามเช้าค่ะ..



 

โดย: foreverlovemom 13 เมษายน 2557 9:48:22 น.  

 

สุขสันต์วันสงกรานต์ครับ

 

โดย: **mp5** 13 เมษายน 2557 19:19:21 น.  

 

สวัสดีปีใหม่ไทยค่ะ ขอให้ เป็น........

๙ แรกของปี
๙ แรกของความสุข
๙ แรกของความเจริญ
๙ แรกของความมั่งคั่ง
๙ แรกของความอุดมสมบูรณ์
๙ แรกของความโชคดี

และเป็นทุกก้าวเดินที่มั่นคงในชีวิต ตลอดไปค่ะ...

 

โดย: ร่มไม้เย็น 13 เมษายน 2557 19:31:25 น.  

 


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เริงฤดีนะ Sports Blog ดู Blog
ปรัซซี่ Food Blog ดู Blog
ร่มไม้เย็น Book Blog ดู Blog
เวียงแว่นฟ้า Dharma Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

แวะมาส่งกำลังใจ
มีความสุขมากๆนะคะ

 

โดย: pantawan 13 เมษายน 2557 23:46:29 น.  

 

สุขสันต์วันปีใหม่ไทยจ้ะ

 

โดย: Opey 14 เมษายน 2557 0:11:06 น.  

 

ขอบคุณที่แวะทักทายพร้อมกำลังใจนะคะ

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต

tuk-tuk@korat Diarist ดู Blog
น้ำ-ฟ้า-ป่า-เขา Travel Blog ดู Blog
เวียงแว่นฟ้า Book Blog ดู Blog



สวัสดีปีใหม่ไทย 2514 ค่ะ

 

โดย: Sweet_pills 14 เมษายน 2557 0:52:48 น.  

 


โหวดสาขา book ค่ะ

 

โดย: newyorknurse 14 เมษายน 2557 7:36:53 น.  

 

สุขสันต์วันสงกรานต์และวันครอบครัวนะคะ
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
newyorknurse Klaibann Blog ดู Blog
ซองขาวเบอร์ 9 Literature Blog ดู Blog
เวียงแว่นฟ้า Book Blog ดู Blog

 

โดย: เนินน้ำ 14 เมษายน 2557 8:07:05 น.  

 




สวัสดี ยามเช้าค่ะ...






 

โดย: foreverlovemom 14 เมษายน 2557 8:59:54 น.  

 

ขอบคุณสำหรับกำลังใจ


รอติดตามตอนต่อไปค่ะ

 

โดย: ร่มไม้เย็น 14 เมษายน 2557 11:52:50 น.  

 

ขอบคุณมากที่แวะไปเยี่ยมและให้กำลังใจจ้า

สวัสดีปีใหม่ไทยนะคะ

 

โดย: anigia 15 เมษายน 2557 3:05:01 น.  

 

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม หากใครเชื่อเช่นนี้
ก็จะทำใจรับสิ่งที่เป็นมาและเป็นไปได้มาก ผมก็เชื่อ
และเชื่อด่วยว่า ทำแต่ดีๆไว้ไม่เสียหลาย ไม่เสีย
ชาติเกิด อย้างน้อยทำแต่ดีๆ ใจก็สบาย

ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมกันครับ อล้วจะแวะมาเบี่ยม
อีกบ้าง รักษาสุจภาพด้วย

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
pantawan Health Blog ดู Blog
เวียงแว่นฟ้า Dharma Blog ดู Blog

 

โดย: nulaw.m (คนบ้า(น)ป่า ) 15 เมษายน 2557 9:16:49 น.  

 

ขอบคุณครับที่แวะไปทักทายและส่งกำลังใจ
กลับมาอ่านในรายละเอียดครั้ง ได้เห็นภาพการฝึกเดินจงกรมของครูใหญ่และเพื่อนทั้งสองอย่างชัดเจนครับ

 

โดย: Insignia_Museum 15 เมษายน 2557 9:40:37 น.  

 











 

โดย: foreverlovemom 15 เมษายน 2557 11:15:17 น.  

 

เพิ่งได้รู้จักคำว่า "รื่นเริงในธรรม" ค่ะ

ขอบคุณโหวตค่ะ

 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 21 เมษายน 2557 16:35:58 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


เวียงแว่นฟ้า
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 18 คน [?]




!-- Stat ทำงาน วันที่ 26 กพ 55
[Add เวียงแว่นฟ้า's blog to your web]