เวียงแว่นฟ้า - เดินตามรอยกรรม
<<
เมษายน 2557
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
5 เมษายน 2557

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม - บทที่ 3




สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม - บทที่ 3



พระบัวเฮียวกลับถึงกุฏิด้วยความเอิบอิ่มใจ ท่านจัดการล้างมือล้างเท้าให้สะอาดเรียบร้อย แล้วจึงสวดมนต์ทำวัตรเย็น เพราะวัดนี้จะลงโบสถ์สวดมนต์ทำวัตร เช้า-เย็น และสวดปาฏิโมกข์พร้อมกันก็เฉพาะในวันพระเท่านั้น และหากรูปใดทำผิดวินัยเล็กๆน้อยๆ ที่ไม่ใช่อาบัติขั้นปาราชิก ก็จะปลงอาบัติกันในวันนี้ ส่วนวันอื่นๆที่ไม่ใช่วันธรรมสวนะ ต่างคนต่างก็ปฏิบัติอยู่ในกุฎิของตน มีปัญหาหรือสงสัยในเรื่องใดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติ ก็จะเรียนถามท่านเจ้าอาวาส

พระมหาบุญมอบนาฬิกาปลุกขนาดเล็กให้พระบวชใหม่หนึ่งเรือน

“เอาไว้จับเวลา ตอนแรกๆ ต้องอาศัยนาฬิกาปลุก แต่พอปฏิบัติไปนานๆ จิตมันรู้ได้เอง อย่างผมเดี๋ยวนี้ไม่ต้องพึ่งนาฬิกา อยากปฏิบัติกี่ชั่วโมงก็กำหนดจิตเอาไว้เหมือนกับการตั้งนาฬิกาปลุก พอถึงเวลาที่กำหนดจิตมันจะบอกเอง มันก็แปลกนะคุณบัวเฮียว ตอนปฏิบัติใหม่ๆ ท่านพระครูก็บอกผมอย่างนี้ แต่ตอนนั้นผมไม่เชื่อ ผมมันคนหัวรั้น ไม่ยอมเชื่อใครง่ายๆ แต่ก็ชอบลองชอบพิสูจน์ และผมก็ได้พิสูจน์แล้วทุกสิ่งทุกอย่าง...”

ท่านสอนวิธีใช้ให้ด้วย พระบัวเฮียวตั้งเวลาไว้หนึ่งชั่วโมงแล้วจึงเริ่มต้นเดินจงกรม อาศัยที่ความจำดี จึงเดินได้ถูกต้องตามขั้นตอนทุกประการ ท่านเดินไปเดินมาอยู่ในกุฏิที่มีความยาวประมาณสามเมตรด้วยความเพลิดเพลิน กระทั่งเสียงนาฬิกาดังขึ้น กดปุ่มนาฬิกาให้หยุดทำงานแล้วตั้งใหม่ให้ปลุกตอนตีสี่ หยิบเครื่องนอนซึ่งมีเสื่อ หมอนกับผ้าห่ม มาจัดการปูที่นอนข้างท่านมหาบุญ คลี่ผ้าออกคลุมกายด้วยอากาศเริ่มหนาวเย็น เพราะย่างเข้าฤดูเหมันต์ ปิดไฟแล้วจึงเอนกายลงนอน ใช้มือขวาวางบนหน้าท้อง สังเกตอาการพอง-ยุบ พร้อมกับบริกรรม ‘พอง-หนอ ยุบ-หนอ’ ตามที่พระอุปัชฌาย์สอน สักครู่ก็ม่อยหลับไป โดยจับไม่ได้ว่าหลับไปตอนพองหรือตอนยุบ

เสียงนาฬิกาดังขึ้นเมื่อเวลาตีสี่พร้อมๆกับเสียงพระตีระฆัง ตามด้วยเสียงเห่าหอนของสุนัข ซึ่งจะพากันหอนเห่าทุกครั้งที่ได้ยินเหง่งหง่างของระฆังซึ่งดังก้อง กระหึ่มไปทั่วบริเวณ พระบัวเฮียวสะดุ้งตื่นแต่ยังงัวเงียเพราะหลับไม่เต็มอิ่ม อากาศตอนเช้ามิดหนาวเย็นน่าที่ซุกกายอยู่ภายใต้ผ้าห่มอันอบอุ่น ท่านจึงเอื้อมมือไปกดปุ่มนาฬิกาหมายจะนอนต่อ แต่เสียงที่ดังอยู่ริมหู ทำให้หายง่วงเป็นปลิดทิ้ง

“บัวเฮียว ถ้าเจ้าเกียจคร้านเห็นแก่หลับแก่นอน ไม่รีบเร่งทำความเพียร เจ้าก็จะไม่สามารถแก้กรรมได้ เจ้าเดินมาถูกทางแล้ว ขอให้เดินต่อไปอย่าท้อถอย ตื่นขึ้นเดินจงกรมเดี่ยวนี้”

จำได้แม่นยำว่าเป็นเสียงลึกลับที่เคยได้ยินเมื่อปีที่แล้ว พระบวชใหม่รีบลุกขึ้นล้างหน้าแปรงฟัน สวดมนต์ทำวัตรเช้าแล้วเดินจงกรม พระมหาบุญออกไปปฏิบัติที่หน้าพระอุโบสถ เพื่อเปิดโอกาสให้พระบัวเฮียวได้ปฏิบัติอย่างอิสระ
ไก่ป่าที่ส่งเสียงขันประชันกับเสียง ‘กาเว้า กาเว้า’ ของเจ้านกกาเหว่านั้นไม่ได้สร้างความรำคาญให้กับผู้บวชใหม่ เพราะท่านรู้จักกำหนดว่า ‘ไก่ขันหนอ’ ‘นกร้องหนอ’ และเมื่อได้ยินเสียงสุนัขเห่า ท่านก็กำหนดว่า ‘หมาเห่าหนอ’

เดินจงกรมได้สักครู่ก็รู้สึกท้องร้องโครกครากด้วยไม่ชินกับการอดอาหารมื้อเย็น สักครู่เสียงปู้ดๆป้าดๆก็ดังขึ้นเป็นระยะ คราวนี้พระบวชใหม่ต้องใช้เวลาขบคิดว่าจะกำหนดอย่างไร ก็ท่านพระครูเพียงให้กำหนดยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ แต่ตอนผายลมท่านไม่ได้บอกไว้ ภิกษุคนซื่อเลยกำหนดเอาเองว่า “ตด-หนอ” แล้วก็มีอันต้องกำหนดอย่างนี้บ่อยครั้ง

ท่านไม่เข้าใจระบบการทำงานของร่างกายว่า เมื่อไม่มีอาหารอยู่ในกระเพาะ ลมที่อัดอยู่ในช่องท้องก็ปั่นป่วนและหาทางระบายออก อาการเช่นนี้มิได้เกิดเฉพาะกับพระบัวเฮียวเท่านั้น ผู้เริ่มปฏิบัติกรรมฐานทุกคนไม่ว่าจะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ ไม่ว่าจะเป็นบุรุษหรือสตรี เด็กหรือผู้ใหญ่ ย่อมมีอาการแบบเดียวกันนี้ แท้จริงมันเป็นเพียงการปรากฏของสภาวธรรมเท่านั้น

เดินจงกรมเสร็จท่านก็ลงนอน เอามือวางบนท้อง ครั้งนี้กำหนด “หนอ” ไม่ทัน จึงได้แต่พอง-ยุบ พอง-ยุบ เท่านั้น เวลาหกนาฬิกา พระบัวเฮียวอออกบิณฑบาตกับพระสี่รูป มีพระมหาบุญนำหน้า ส่วนท่านเดินหลังสุดเพราะเพิ่งบวช ท่านพระครูไม่ให้พระวัดนี้ไปบิณฑบาตทางเดียวกันเกินห้ารูป และให้แยกกันไปเป็นสายๆ จะได้โปรดสัตว์ได้ทั่วถึง

กลับจากบิณฑบาตจึงไปฉันร่วมกันที่หอฉัน ยกเว้นท่านพระครู ซึ่งจะบิณฑบาตเดี่ยวและกลับมาฉันตามลำพังที่กุฏิของท่าน แต่ถ้าเป็นวันพระหรือในโอกาสพิเศษที่มีคนมาทำบุญเลี้ยงพระ ท่านก็จะไปฉันที่ศาลาการเปรียญพร้อมกับภิกษุรูปอื่นๆ และวันนั้นท่านก็จะฉันสองมื้อ เพื่อไม่ให้ญาติโยมเสียความตั้งใจ ท่านรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว ไม่เคร่งครัดรัดตัวจนเกินไป แต่ก็ไม่ให้ผิดวินัยของสงฆ์

เมื่อพระฉันเสร็จ พวกลูกศิษย์ก็จะแบ่งอาหารเก็บไว้ถวายเพลส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งก็ตั้งวงรับประทานกันเอง วันใดอาหารมีไม่พอ ทางโรงครัวก็จะทำขึ้นมาเสริม งานหนักที่สุดเห็นจะได้แก่งานโรงครัว เพราะมีคนมาเข้ากรรมฐานแทบไม่เว้นแต่ละวัน บางครั้งก็มากันเป็นคณะ คราวละร้อยสองร้อยคน ท่านพระครูก็ต้อนรับขับสู้อย่างดี ทั้งเรื่องที่พักและอาหาร เท่าที่จะสามารถอำนวยความสะดวกให้ได้ ผู้ที่มาวัดต่างก็พากันประทับใจในอัธยาศัยไมตรีของท่าน ไม่มีใครที่มาวัดนี้แล้วจะไม่อยากมาอีก

พระบัวเฮียวกลับไปที่กุฏิของท่าน เดินจงกรมให้อาหารย่อยแล้วจึงสรงน้ำทำความสะอาดร่างกาย หลังจากนั้นก็ไปหาท่านพระครูเพื่อให้ท่าน ‘สอบอารมณ์’ และสอนวิธีนั่งสมาธิ

“เป็นยังไง เมื่อคืนนอนหลับสบายไหม” ท่านพระครูถามหลังจากที่พระใหม่ทำความเคารพแล้วนั่งลงในที่อันสมควรแล้ว
“สบายครับ” พระบัวเฮียวตอบ แต่ไม่ได้เล่าเรื่อง ‘เสียงลึกลับ’ให้ฟัง ด้วยเกรงท่านจะดุว่าเกียจคร้าน
“หลับไปตอนยุบหรือตอนพองล่ะ”
“เอ้อ...จะ...จำไม่ได้ครับ” ผู้บวชใหม่สารภาพ คิดว่าคงจะถูกพระอุปัชฌาย์ดุอีก
ท่านพระครูไม่ดุ แต่กลับพูดว่า“เอาละ ยังจับไม่ได้ก็ไม่เป็นไร คืนนี้ค่อยลองอีกที”

ภิกษุวัยใกล้สามสิบค่อยโล่งอก แถมยังแอบล้อเลียนท่านในใจว่า ‘ฮั่นแน่ะ หลวงพ่อพูด ‘เอาละ’ อีกแล้ว สงสัยท่านจะพูดคำนี้วันละหลายร้อยหน’ พระใหม่มิรู้ตัวดอกว่าถูกผู้อาวุโส ‘อ่านใจ’ อยู่เงียบๆ

“เป็นศิษย์อย่าหัดล้อเลียนครูบาอาจารย์” ท่านพระครูกล่าวด้วยเสียงเรียบๆ แต่พระบัวเฮียวถึงกลับสะดุ้ง
“ทำไมหลวงพ่อรู้ครับ” ถามเสียงอ่อย
“ก็ทำไมฉันจะไม่รู้เล่า” ท่านย้อนถาม พระบวชใหม่อดคิดไม่ได้ว่า ‘ท่านพระครูเนี่ยยังกับผู้วิเศษ สงสัยคงเป็นพระอรหันต์’
“ฉันไม่ใช้ผู้วิส่งวิเศษอะไรหรอก แล้วก็ไม่เป็นพระอรหันต์ด้วย ถ้าจะเป็นก็เป็นได้แค่พระอรเหา” ท่านพูดยิ้มๆ คนเป็นศิษย์ก็ยิ่งพิศวงงงงวยหนักขึ้น ไม่รู้ท่านอ่านใจคนอื่นได้อย่างไร
“อย่าเพิ่งไปสงสัยว่าทำไมฉันทำได้ ถ้าเธอปฏิบัติเคร่งครัด ไม่ช้าก็ทำได้เหมือนกัน ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร”
ฟังท่านพระครูพูดแล้ว พระบวชใหม่ได้กำลังใจขึ้นอีกเป็นกอง และคิดว่าจะทำให้ดีที่สุด
“เอาละ ทีนี้เรามาเข้าเรื่องกันดีกว่า เธอจับพอง-ยุบได้ชัดหรือยัง”
“พองชัดครับ แต่ยุบยังไม่ค่อยชัด แล้วก็ลง ‘หนอ’ ไม่ค่อยทัน บางทีเลยไป ได้แต่ ‘พอง-ยุบ พอง-ยุบ’”

“ต้องพยายามลง ‘หนอ’ ให้ได้ เอาละ ถ้าจิตไวขึ้นก็จะได้เอง ไม่ต้องไปเครียดกับมันมาก แต่เรื่องกำหนดนั่น เธอยังทำไม่ถูกนะ เอาละ ฉันจะอธิบายสติปัฏฐาน 4 ให้เธอฟังอย่างคร่าวๆ ‘สติปัฏฐาน แปลว่าที่ตั้งของสติ หมายถึงการตั้งสติกำหนดพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม’ วันนี้จะเอากายก่อน การตั้งสติกำหนดพิจารณากายหรือพิจารณาเห็นกายในกาย ที่เรียกเป็นภาษาธรรมะว่า ‘กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน’ คือการให้สติตามรู้กาย ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหว การหายใจเข้าออก ยืน เดิน นั่ง นอน ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ อย่างที่ฉันเกริ่นไว้เมื่อคราวที่แล้ว คำว่า ‘กาย’ ในที่นี้จึงหมายถึงร่างกายของเราเท่านั้น นอกเหนือจากนี้ไม่ต้องสนใจ เพราะฉะนั้นที่เธอกำหนดว่า ‘ไก่ขันหนอ’ ‘หมาเห่าหนอ’ นั้นใช้ไม่ได้เพราะมันไม่เป็นกายานุปัสสนา”

พระบัวเฮียวแปลกใจเป็นครั้งที่เท่าไหร่ของเช้านี้ก็นับไม่ถ้วนเสียแล้ว ท่านพระครูมีอะไรๆให้ท่านพิศวงหลงใหล และท้าทายต่อการพิสูจน์ทดลองไปเสียทุกเรื่อง พลันพระบวชใหม่ก็นึกได้ถึงคำบริกรรมของท่านตอนผายลม นึกหวั่นหวาดในใจว่า ท่านจะรู้หรือไม่หนอ ก็พอดีท่านพูดขึ้นว่า

“ทำไมจะไม่รู้ นั่นก็ไม่ถูกอีกเหมือนกัน ไม่มีใครเขาบริกรรมพิลึกพิลั่นเหมือนเธอหรอก”
พระใหม่รู้สึกอายเป็นกำลัง จึงโอดครวญว่า “โธ่ หลวงพ่อครับ ก็ผมบริกรรมในใจแท้ๆ ทำไมหลวงพ่อถึงได้ยินเล่าครับ อีกอย่างผมก็ทำที่กุฏิผมโน่น”
“ฉันก็กำหนด ‘เห็นหนอ’ น่ะสิ จำไว้นะ บัวเฮียว ‘เห็นหนอ’ นี่มีค่าหลายล้าน อย่าไปคิดว่าหนอๆแหนๆ เป็นเรื่องเหลวใหล ถ้าเธอฝึกสติดีจนถึงขั้นแล้ว เธอจะใช้ ‘เห็นหนอ’ ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมหาศาลทีเดียว”
“ใช้ดูเลขหวยได้ไหมครับ หลวงพ่อ”

“ได้ แต่เขาไม่ทำกัน เพราะการปฏิบัติธรรมเป็นไปเพื่อละกิเลศ คือ โลภะ โทสะ โมหะ แต่ถ้าเธอเอาไปใช้ในทางนั้นมันเป็นการเพิ่มกิเลส ผิดจุดประสงค์ที่แท้จริงของการปฏิบัติ”

“ครับผมเข้าใจแล้ว หลวงพ่อกรุณาอธิบายกายาสนาต่อเถิดครับ”
“กายานุปัสสนา ต้องเรียกให้ถูก เวลาไปสอนคนอื่นจะได้ไม่เลอะเลือนเลื่อนเปื้อน”
“ครับ กายานุปัสสนา” ผู้เป็นศิษย์ทวนคำ

“นั่นแหละ ถูกต้อง เอาละ ก่อนจะเข้าใจกายานุปัสสนา จะต้องเข้าใจอายตนะเสียก่อน ‘อายตนะ’ แปลว่าสิ่งที่เชื่อมต่อกันให้เกิดความรู้ แบ่งเป็นอายตนะภายใน 6 ได้แก่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะภายในทำหน้าที่เป็นตัวรู้ ส่วนอายตนะภายนอกเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง รส โผฏฐัพพะ และธรรมมารมณ์ สิ่งที่ตาเห็นจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ เราเรียกว่ารูป ตาจึงคู่กับรูป หูคู่กับเสียง จมูกคู่กับกลิ่น ไหนลองบอกซิว่าลิ้นคู่กับอะไร”

“อาหารที่กินเข้าไปครับ” ตอบอย่างภาคภูมิ ด้วยคิดว่าคำตอบนั้นถูกต้องแล้ว
“ผิด ตอบใหม่อีกทีซิ”
“ลิ้นคู่กับฟันครับ” คราวนี้ไม่มั่นใจนัก
“ผิดอีก จะลองอีกทีไหม”
“ไม่แล้วครับ”
“เอาละ ถ้าอย่างนั้น เวลาที่เรากินอาหารแล้วรู้ว่าเผ็ด หวาน มัน เค็ม เราเรียกว่าอะไร”
“เรียกว่าแซ่บ ครับ”
ท่านพระครูรู้สึกอ่อนใจ จึงเฉลยให้ฟัง จะได้สิ้นเรื่องสิ้นราว

“เขาเรียกว่า ‘รส’ จำไว้ สิ่งที่มากระทบกายเราเรียกว่า ‘โผฏฐัพพะ’ เช่น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง และสิ่งที่มากระทบใจ เรียกว่า ‘ธรรมารมณ์’ เช่น ดีใจ เสียใจ ทุกข์ใจ จำได้หรือยังล่ะ เอาละ ไหนลองทบทวนชิอายตนะภายนอกมีอะไรบ้าง”

“ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ครับ”
“อ้อ ตาเธอ หูเธอ ลอยอยู่ข้างนอก ว่างั้นเถอะ ไหนตอบใหม่ซิ เอาให้แน่ๆ”
“รูป รส กลิ่น เสียง โผฏทัพพะ และกามารมณ์ ครับ”
“ธรรมมารมณ์เว้ย ไม่ใช่กามารมณ์ คนละเรื่องเลย” คนสอนบ่นอุบและเผลอพูด ‘เว้ย’ ออกมา
“เอาละ ทีนี้อายตนะภายในเธอก็รู้แล้วสินะ ต่อไปจะได้กำหนดให้ถูกต้อง”
“หลวงพ่อครับ กำหนดกับบริกรรมนี่เหมือนกันไหมครับ”

“เหมือนกัน จะใช้คำว่ากำหนดก็ได้ หรือบริกรรมก็ได้ ทีนี้เมื่อเธอได้ยินเสียงไก่ขัน สุนัขเห่า หรือเสียงตะโกนก็แล้วแต่ ที่รับรู้ได้ทางหู ให้เธอกำหนดว่า ‘เสียงหนอ’ เท่านั้น ไม่ต้องไปใส่ใจ ไม่ต้องไปวิจัยว่ามันเสียงอะไร ตาเห็นอะไรก็ตาม ก็กำหนดว่า ‘เห็นหนอ’ แล้วก็จบกัน เวลาผายลม ถ้ามันดังก็กำหนด ‘เสียงหนอ’ ถ้าไม่ดังก็กำหนดว่า ‘รู้หนอ’ คือเอาใจไปรู้มัน เอาละ ถ้ามันมีกลิ่นด้วย เธอจะกำหนดว่าอย่างไร” พระใหม่ถูกสอบอีก

“ถ้าเป็นของตัวเองก็กำหนดว่า ‘หอมหนอ’ ครับ”
คราวนี้ท่านพระครูหัวเราะชอบใจ “เออ เข้าทีดีนี่ เข้าใจตอบ”
คนตอบหน้าบาน เพราะคิดว่าถูกต้องแล้ว
“จริงๆนะ บัวเฮียว คนอย่างเธอจะว่าสอนง่ายก็ไม่ใช่ แต่จะว่าสอนยากก็ไม่ใช่อีก.....”
ยังไม่ทันที่ท่านพระครูจะพูดต่อ พระบัวเฮียวก็ขัดขึ้นว่า “จะว่าสอนง่ายก็ใช่ จะว่าสอนยากก็ใช่ ต่างหากล่ะครับ”
“เอาละ เอาละ นี่บอกตามตรงนะบัวเฮียว ว่าฉันไม่รู้เลยว่าจริงๆแล้วเธอโง่หรือฉลาดกันแน่”
“จะว่าโง่ก็ใช่ จะว่าฉลาดก็ใช่ ยังงั้นหรือเปล่าครับ”
“ก็ทำนองนั้นแหละ เอาละ เอาเป็นว่าฉันคิดว่าเธอฉลาดก็แล้วกัน ขอให้ฉลาดอย่างนี้ตลอดไปนะ” ท่านตั้งใจประชด
“สมพรปากครับ” พระบัวเฮียวยกมือขึ้น ‘สาธุ’

ท่านพระครูคร้านจะต่อปากต่อคำด้วย จึงวกกลับมาเรื่องเดิม

“เอาละ เมื่อเธอเข้าใจอายตนะภายในและภายนอกแล้ว ทีนี้เวลาปฏิบัติจะได้กำหนดได้ถูกต้อง จำว่าอย่าไปปรุงแต่ง ให้กำหนด ‘รู้’ เฉยๆ"

“ทำไมถึงปรุงแต่งไม่ได้เล่าครับ หลวงพ่อ”

“ถ้าปรุงแต่งก็จะกลายเป็นกิเลสน่ะสิ อย่างที่เธอกำหนดว่า ‘หอมหนอ’ มันเป็นโลภะ ‘เหม็นหนอ’ ก็เป็นโทสะ ถ้าทำเฉยไม่กำหนดรู้ มันก็เป็นโมหะ ดังนั้นถ้าจะทำให้ถูกก็ต้องกำหนดว่า ‘กลิ่นหนอ’ โดยไม่ต้องไปกำหนดว่าเหม็นหรือหอม เข้าใจหรือยังล่ะ”

“เข้าใจแล้วครับ”
“ดีแล้ว เอาละ ทีนี้บอกซิว่าถ้าได้ยินเสียงนกร้องจะกำหนดว่าอย่างไร”
“ ‘เสียงหนอ’ ครับ”
“ทำไมไม่กำหนดว่า ‘นกร้องหนอ’ ล่ะ”
“เพราะถ้ากำหนดอย่างนั้นมันก็ไม่เป็นกายานุปัสสนา มันอยู่นอกกายของเรา เราต้องกำหนดรู้เฉพาะที่อยู่ในกาย”

“ดีมาก ดีมาก เอาละ ทีนี้ก็ฝึกนั่งสมาธิได้แล้ว จงจำไว้ว่า ‘เมื่อเดินจงกรมเสร็จต้องนั่งขัดสมาธิทันที ไม่ใช่ไปทำอย่างอื่นแล้วจึงค่อยมานั่ง’ ต้องทำให้ติดต่อกัน จะได้รักษาอารมณ์กรรมฐานเอาไว้ไม่ให้รั่วไหลไปทางอื่น วิธีนั่งก็กำหนด ‘นั่งหนอ’ ก่อนแล้วจึงค่อยๆนั่งลงไป การนั่งสมาธิมี 3 แบบ คือสมาธิชั้นเดียว นั่งอย่างนี้ งอเข่าซ้าย ส่วนขาขวาวางบนพื้น ถ้าสมาธิสองชั้นก็ยกขาขวาวางทับบนขาซ้าย ถ้าสามชั้น หรือที่เรียกว่าสมาธิเพชร ก็ยกขาซ้ายทับขาขวา แล้วจึงยกขาขวาทับขาซ้ายอีกทีหนึ่ง”

แล้วท่านก็สาธิตวิธีนั่งสมาธิทั้งสามแบบให้พระบัวเฮียวดู พระใหม่ทำตามได้สองแบบแรก และพยายามจะทำแบบที่สาม แต่ก็ทำไม่ได้ เพราะรู้สึกเหมือนขาจะหัก

“ทำไม่ได้ก็ไม่ต้องทำ ประเดี๋ยวขาแข้งหักไปจะยุ่งกันใหญ่ ปฏิบัตินานๆเข้าก็ทำได้เอง เอาละ วันนี้นั่งสองชั้นไปก่อน นั่น อย่างนั้นถูกแล้ว เอาละ ทีนี้ก็เอามือวางบนหน้าตัก ให้มือขวาทับมือซ้าย ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่น ค่อยๆหลับตาลงช้าๆ หายใจลึกๆ เอาสติไปไว้ที่ท้อง เหนือสะดือขึ้นมาประมาณสองนิ้ว รู้สึกหรือยังว่าท้องมันพองแล้วก็ยุบ”

“รู้แล้วครับ”
“มันพองก่อนหรือยุบก่อน”
“พองก่อนครับ”

“นั่นแหละ ถูกแล้ว คนที่บอกว่ายุบก่อน แสดงว่ายังจับไม่ได้ โดยธรรมชาติแล้วคนเราจะจับ ‘พอง’ ได้ก่อน ‘ยุบ’ เสมอ จึงให้บริกรรมว่า ‘พอง-หนอ ยุบ-หนอ’ คนที่บริกรรมว่า ‘ยุบ-หนอ พอง-หนอ’ แสดงว่ารู้ไม่จริง เอาละ ตอนนี้ลองนั่งดูสักสี่สิบนาที อย่าไปคิดเรื่องอื่น พยายามให้สติจับอยู่ที่ ‘พอง-ยุบ’ ตลอดเวลา ได้ยินเสียง ได้กลิ่นอะไรก็กำหนดไปตามจริง ต้องกำหนดตรงกับปัจจุบันด้วย แล้วอย่าไปปรุงแต่ง เอาละ นั่งไป ครบกำหนดเวลาแล้วฉันจะบอกเอง”




เครดิต : ดร.สุทัสสา อ่อนค้อม
หมายเหตุ : Entry นี้อยู่ในหมวด Book Blog







 

Create Date : 05 เมษายน 2557
27 comments
Last Update : 22 เมษายน 2557 15:00:48 น.
Counter : 1765 Pageviews.

 

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
กาปอมซ่า Literature Blog ดู Blog
mariabamboo Parenting Blog ดู Blog
ดาวริมทะเล Travel Blog ดู Blog
เวียงแว่นฟ้า Book Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

แวะมาเยี่ยมและส่งกำลังใจค่ะ

 

โดย: pantawan 5 เมษายน 2557 23:49:50 น.  

 

สวัสดียามเช้าค่ะคุณแว่นเวียงฟ้า
ส่งยิ้มส่งกำลังใจกันนะคะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เวียงแว่นฟ้า Book Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: jamaica 6 เมษายน 2557 7:51:19 น.  

 

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เวียงแว่นฟ้า Book Blog ดู Blog


ลงชื่อว่าอ่านจริง ๆ จ้า
แต่อยากจะบอกว่า จัดหน้าบล็อกกว้างไปหรือเปล่าคะ
คงเป็นที่ head blog ยาวเกินไป ข้อความเลยขยายตามไปด้วย
กว่าจะอ่านจบ ต้องใช้ความพยายามมิใช่น้อย ^^"

 

โดย: ฟ้าใสวันใหม่ 6 เมษายน 2557 11:04:49 น.  

 

มาทักทายวันหยุดค่า
ขอบคุณที่แวะไปส่งกำลังใจให้กันนะคะ
วันนี้พริ้วไหวหมดงบไปแระค่า
ไว้พรุ่งนี้มาหาใหม่เน๊าะ

 

โดย: พริ้วไหวไปตามลม 6 เมษายน 2557 12:16:51 น.  

 

สวัสดีครับ
ขอบคุณสำหรับกำลังใจครับ
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เวียงแว่นฟ้า Book Blog ดู Blog

 

โดย: moresaw 6 เมษายน 2557 12:35:55 น.  

 

เรื่องนี้ป้าชอบ


ส่งกำลังใจค่ะ


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ดรสา Blog about TV ดู Blog
เวียงแว่นฟ้า Book Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: ร่มไม้เย็น 6 เมษายน 2557 16:09:03 น.  

 

แวะมาเยี่ยมในวันหยุด...สวัสดีครับ

โหวต และไลค์ส่งกำลังใจไปให้คุณเวียงแว่นฟ้าด้วยครับ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เวียงแว่นฟ้า Book Blog ดู Blog

 

โดย: **mp5** 6 เมษายน 2557 18:50:59 น.  

 

ทักทายยามเช้าค่า

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
mambymam Music Blog ดู Blog
เวียงแว่นฟ้า Book Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: พริ้วไหวไปตามลม 7 เมษายน 2557 5:42:42 น.  

 

สวัสดีค่ะคุณเวียงแว่นฟ้า
มาลงชื่อกดไล้ค์ไว้ก่อนนะคะ
ไว้มาใหม่ค่ะ

ขอบคุณที่แวะไปฟังเพลงด้วยกันนะคะ


 

โดย: mambymam 7 เมษายน 2557 10:53:24 น.  

 

สวัสดีครับ
แวะมาอ่าน บางตอนก็สนุกขรำๆด้วยครับ
แม่เพื่อนเคยนั่งบริกรรมท่องไป
ยุบหนอพองหนอ พอนานๆเผลอเป็นเพชรหนอทองหนอไปเลยอิอิ
ออนบล๊อกตอนใหม่แวะบอกด้วย รออ่านครับ

 

โดย: moresaw 7 เมษายน 2557 12:53:23 น.  

 

สวัสดียามเย็นครับ

 

โดย: **mp5** 7 เมษายน 2557 18:26:39 น.  

 





จัด ปะ...


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
newyorknurse Klaibann Blog ดู Blog
กะว่าก๋า Photo Blog ดู Blog
ดอยสะเก็ด Literature Blog ดู Blog
เวียงแว่นฟ้า Dharma Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น




 

โดย: foreverlovemom 7 เมษายน 2557 19:41:57 น.  

 

สวัสดีค่ะ
 photo DSC03128_zps8967a0c6.jpg

 

โดย: อ้วนน้อยของโอก้า 7 เมษายน 2557 21:49:09 น.  

 

สวัสดีค่ะ
แวะมาเยี่ยม

 

โดย: pantawan 7 เมษายน 2557 23:37:05 น.  

 

สวัสดีค่ะคุณเวียงแว่นฟ้า
มาโหวตค่ะให้เรื่องราวดีๆค่ะ

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เนินน้ำ Food Blog ดู Blog
Close To Heaven Travel Blog ดู Blog
pantawan Health Blog ดู Blog
schnuggy Klaibann Blog ดู Blog
เวียงแว่นฟ้า Literature Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น







 

โดย: mambymam 8 เมษายน 2557 8:17:53 น.  

 





มา บอก "คิดถึง" ค่ะ..



 

โดย: foreverlovemom 8 เมษายน 2557 15:20:46 น.  

 





เชื่อเถอะค่ะ ..

ว่าคนเขียน เรื่อง "หญิงใบ้" หัวเราะ ดัง และ นาน มาก ขณะที่เขียนเรื่องนี้...

มัน สา แก่ ใจ ยังไง ก็ไม่ทราบ..



 

โดย: foreverlovemom 8 เมษายน 2557 18:08:53 น.  

 

สวัสดีค่ะ ขอบคุณที่ไปเยี่ยมชมบล๊อคนะคะ

แวะมาบำบัดจิตใจด้วยเรื่องราวทางธรรมดีๆ แถมโหวตให้นะคะ

แต่ก่อนิคยไปกรรมฐานที่วัดอัมพวันเหมือนกันค่ะ มีปัญหาเรื่องการอดข้าวเย็นมาก จำได้ว่าแม่เอานมใส่กระเป๋ามาให้ 1 แพค ปรากฏว่าคืนเดียวเกลี้ยงเลยค่ะ

ยิ่งตอนพระอาจารย์ให้ฝึกกำหนดจิต นั่งหนอ ๆ ยุบหนอ พองหนอ พอนอนหนอเท่านั่นแหล่ะ คร่อกเลยค่ะฮ่าๆๆ

 

โดย: คนสวยที่ไม่เคยสวย 8 เมษายน 2557 23:06:57 น.  

 

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เวียงแว่นฟ้า Book Blog ดู Blog

 

โดย: คนสวยที่ไม่เคยสวย 8 เมษายน 2557 23:08:23 น.  

 

สวัสดีค่ะ
 photo IMG_20140407_112032_zps38c0acd1.jpg

 

โดย: อ้วนน้อยของโอก้า 8 เมษายน 2557 23:25:00 น.  

 

สวัสดีค่ะคุณเวียง

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
toor36 Cartoon Blog ดู Blog
moresaw Education Blog ดู Blog
mambymam Music Blog ดู Blog
Close To Heaven Food Blog ดู Blog
เวียงแว่นฟ้า Book Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: schnuggy 9 เมษายน 2557 0:53:06 น.  

 

บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เวียงแว่นฟ้า Dharma Blog ดู Blog

ช่วงนี้ห่างหายจากธรรมะไปนาน หงุดหงิดงุ่นง่านอย่างบอกไม่ถูกค่ะ
ขอบคุณสำหรับกำลังใจนะคะ

 

โดย: ประกายพรึก 9 เมษายน 2557 10:40:34 น.  

 




สวัสดีค่ะ..


รีบมา..





รีบไป..



 

โดย: foreverlovemom 9 เมษายน 2557 10:57:35 น.  

 

คุ้นแต่คำว่า ยุบหนอ พองหนอ งั้นก็ผิดสิคะ ต้อง "พอง" ก่อน

ขอบคุณเรื่องราวดีๆ ค่ะ

ขอบคุณโหวตค่ะ

 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 9 เมษายน 2557 16:16:05 น.  

 

ขอบคุณสำหรับโหวตค่ะ
พรุ่งนี้แวะมาโหวตให้กันนะคะ

 

โดย: หอมกร 9 เมษายน 2557 20:05:47 น.  

 

มาอ่านต่อ ขอบคุณครับ
เวียงแว่นฟ้า Dharma Blog

 

โดย: Insignia_Museum 9 เมษายน 2557 22:32:11 น.  

 


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
jamaica Home & Garden Blog ดู Blog
mariabamboo Parenting Blog ดู Blog
ALDI Klaibann Blog ดู Blog
เฉลิมลาภ ทราบแล้วเปลี่ยน Music Blog ดู Blog
เวียงแว่นฟ้า Book Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

อรุณสวัสดิ์ขอรับ

 

โดย: ขุนเพชรขุนราม 10 เมษายน 2557 6:05:28 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


เวียงแว่นฟ้า
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 18 คน [?]




!-- Stat ทำงาน วันที่ 26 กพ 55
[Add เวียงแว่นฟ้า's blog to your web]