ภาพสลักศิลปะ มกร เก่าแก่ในยุคอีศานปุระ ราว พ.ศ.1200

มกรจัดเป็นเทพพาหนะสำหรับพระแม่คงคา เทพเจ้าแห่งแม่น้ำคงคา และพระวรุณ เทพแห่งทะเลและสายฝน นอกจากนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ที่ปรากฏในธงของพระกามเทพอันมีชื่อว่า "การกะธวัช" อีกด้วย อนึ่ง มกรถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของราศีมกร ซึ่งเป็น 1 ใน 12 ราศีทางโหราศาสตร์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันเรียกเป็นมังกรด้วย ตามทางเข้าเทวสถานในศาสนาฮินดูและศาสนาสถานในพุทธศาสนามักทำ    รูปมกร  ไว้เป็นอารักษ์ประจำปากทางนั้นๆ  //th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%A3

พระแม่คงคาทรงมกรเป็นพาหนะ

ไฟล์:Belur Vishnu.jpg

มกรและเกียรติมุขพิทักษ์ประตูศาสนสถานเชนนาเกสาวา, เบลูร์, อินเดีย

ไฟล์:Musée Guimet 897 03.jpg

มกรบนลวดลายทับหลัง, ปราสาทสมโบร์ไพรกุก, กำปงธม, กัมพูชา

 

 

           ศิลปมกรเก่าแก่ที่ปราสาทเขาน้อย  ตั้งอยู่บนยอดเขาน้อยสีชมพู ตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ

  พบโบราณวัตถุหลายชิ้นในบริเวณปราสาทเขาน้อย ได้แก่ ทับหลังมีลักษณะศิลปะเขมรแบบสมโบร์ไพรกุก ติดอยู่เหนือกรอบประตูทางเข้าปรางค์องค์กลาง จารึกอยู่บนแผ่นวงกบประตูปรางค์องค์กลางด้านขวามือของประตู ระบุมหาศักราช ๕๕๙ ตรงกับ พ.ศ.๑๑๘๐ 

ทับหลังหมายเลข ๑  เป็นทับหลังของประตูทางเข้าปรางค์องค์กลาง ทำจากหินทราย กว้าง ๐.๕๒ เมตร ยาว ๑.๖๗ เมตร หนา ๐.๒๒ เมตร ด้านบนทำลวดลายเป็นรูปวงโค้งสี่วง มีลายลูกประคำเป็นขอบของวงโค้ง มีลายดอกไม้ประดับอยู่ภายใน ระหว่างวงโค้งมีวงรูปไข่เป็นลายตั้งขวางสามวง ภายในวงรูปไข่มีลายรูปสัตว์อยู่ตรงกลาง ที่ปลายสุดวงโค้งทั้งสองด้านสลักเป็นรูปมกรคายวงโค้งนั้นออกมา เหนือมกรมีรูปบุคคลขึ่อยู่ด้านบน ภายใต้วงโค้งมีพวงมาลัย และพวงอุบะ ภายในพวงมาลัยมีลายใบไม้เป็นรูปสามเหลี่ยม ขอบทับหลังด้านบนมีแนวลายเป็นลายดอกไม้แปดกลีบ สลับกับลายดอกไม้รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ขอบทับหลังด้านล่างมีแนวลายไม้ก้านขด ใต้ตัวมกรมีบัลลังก์รองรับประกอบกับลายบัวหงาย

 ทับหลังหมายเลข ๓  พบอยู่ทางด้านทิศใต้ขององค์ปรางค์ด้านทิศเหนือ ทำจากหินทรายเนื้อหยาบสีขาว ขนาดกว้าง ๐.๓๕ เมตร ยาว ๑.๕๐ เมตร หนา ๐.๑๖ เมตร ทำลวดลายแกะสลักด้านข้างทั้งสองด้านเป็นมกรสองตัว หมอบอยู่บนแท่นเตี้ย ๆ หันหน้าเข้าหากัน ส่วนหางของแต่ละตัวทำเป็นวงโค้งสองวงห้อยออกไปด้านหลัง เหนือมกรมีบุคคลนั่งชันเข่า มือด้านหนึ่งยกอยู่เหนือศีรษะ มืออีกข้าหนึ่งวางอยู่บนหัวเข่า ไว้ผมยาว มีขมวดผมด้านบน ท่อนบนเปลือยเปล่า ท่อนล่างนุ่งผ้าสั้น ชายผ้าด้านหน้าขมวดเป็นปม
                    มกรทั้งสองข้าง กายโค้งออกมาสี่วง เข้าหากัน ลวดลายในวงโค้งเป็นลายดอกไม้หกกลีบและลายลูกประคำ ระหว่างวงโค้งแต่ละวงสลักเป็นวงรูปไข่สามวง ภายในวงรูปไข่สลักเป็นรูปสัตว์ปีก โดยวางรูปไข่สองวงนอก สลักเป็นรูปส่วนหัว ด้านข้างของสัตว์ปีกมีหงอนสามวง รูปไข่วงกลาง สลักเป็นรูปหัวของสัตว์ปีกหน้าตรง รอบวงรูปไข่เป็นลายพันธุ์พฤกษา ใต้วงโค้งเป็นพวงมาลัยห้อยอยู่ บางพวงทำเป็นรูปโค้ง บางพวงห้อยมาตรง ๆ ในปากมกรมีสัตว์รูปนก ยื่นส่วนหัวออกมา
                    ทับหลังชิ้นนี้อาจกำหนดได้ว่า เป็นศิลปะเขมรแบบสมโบร์ไพรกุก มีอายุอยู่ประมาณ พ.ศ.๑๕๕๐ - ๑๒๐0

 ทับหลังหมายเลข ๕  พบทางด้านประตูหลอกด้านทิศเหนือของปรางค์องค์ด้านทิศเหนือ ทำจากหินทรายเนื้อหยาบสีค่อนข้างขาว ขนาดกว้าง ๐.๔๒ เมตร ยาว ๑.๘๘ เมตร หนา ๐.๑๕ เมตร ที่ริมทั้งสองด้านสลักเป็นรูปมกรยืนอยู่บนแท่นเตี้ย ๆ หันหน้าเข้าหากัน หางม้วนออกไปเป็นพวงบนหลังมกรสลักเป็นรูปบุคคลไว้ผมยาว มีมวยอยู่เหนือศีรษะ ร่างกายอวบอ้วน มือข้างหนึ่งยกขึ้นเหนือศีรษะ มืออีกข้างหนึ่งวางอยู่บนหัวเข่า ใส่กำไลที่ข้อมือทั้งสองข้าง มกรทั้งสองคาบวงโค้งออกมา มีลายดอกไม้และลายลูกประคำประดับอยู่ระหว่างวงโค้ง  มีรูปไข่คั่นอยู่เป็นระยะ จำนวนสามวง รอบวงรูปไข่แต่ละวง ประดับด้วยลวดลายพันธุ์พฤกษา ตรงกลางของวงรูปไข่ สลักรูปหน้าตรงของคนขี่ช้าง ด้านล่างของวงโค้งสลักเป็นรูปพวงมาลัยสลับปับรูปพวงดอกไม้
                    ทับหลังชิ้นนี้มีลวดลายศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุก มีอายุอยู่ประมาณ พ.ศ.๑๑๕๐ - ๑๒๐๐

อ่านเพิ่มเติม //www1.tv5.co.th/service/mod/heritage/nation/oldcity/sakaeo4.htm

 




Create Date : 03 เมษายน 2556
Last Update : 3 เมษายน 2556 11:51:05 น.
Counter : 5272 Pageviews.

1 comments
  
โดย: Kavanich96 วันที่: 4 เมษายน 2556 เวลา:5:34:18 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
เมษายน 2556

 
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
17
19
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog