ศรัทธาและสถาปัตยกรรมการสร้างเทวสถานและปราสาทหินในสุวรรณภูมิ
การสร้างเทวสถานปราสาทหินมีความเกี่ยวเนื่องกับลัทธิความเชื่อเทวราชาที่ว่า กษัตริย์เปรียบเสมือนอวตารภาคหนึ่งของเทพเจ้าในศาสนาฮินดูได้แก่พระศิวะ พระนารายณ์ และพระอินทร์ การสร้างปราสาทก็เพื่อเป็นที่สถิตย์ของเทพเจ้าและที่สถิตย์ของวิญญาณกษัตริย์ที่สิ้นพระชนม์ไปแล้วโดยเชื่อว่าวิญญาณจะไปรวมเป็นหนึ่งกับเทพเจ้า และใช้ศิวะลึงค์เป็นสัญญลักษร์ของรูปเคารพ หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดินและเป็นสัญญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ เทพเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย ที่ตั้งปราสาทหินจะอยู่บนที่สูงกลางเมืองหรือบนยอดเขาที่มีภูมิทัศน์เปรียบเหมือนยอดเขาไกรลาสหรือเขาพระสุเมรุ ที่เป็นแกนกลางของจักรวาลตามความเชื่ออินเดีย เป็นการประสานความเชื่อพื้นถิ่นในการนับถือภูเขาและการบูชาบรรพบุรุษ รวมทั้งเป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธาของผู้คนที่แตกต่างกันในทางชาติพันธ์และวัฒนธรรมอีกด้วย


การจาริกแสวงบุญ  ไกรลาสยาตรา (Kailas yatra) ซึ่ง พราหมณ์ สวามี นาวะนันทะ กล่าวไว้ว่า การธุดงค์ไปจนถึงภูเขาไกรลาสและเดินประทักษิณให้ครบ 39 รอบ เป็นการเคารพบูชาอันสูงสุด (ถ้าไม่ตายเสียก่อน) และการเดินทางไปจะต้องเดินทางในเดือนกันยายน หรือตุลาคม เท่านั้น //www.bloggang.com/mainblog.php?id=karnoi&month=07-08-2008&group=24&gblog=10
กรณีปราสาทเขาพระวิหาร .ศรีสะเกษ ตั้งอยู่บนยอดเขาพระวิหาร บนแนวทิวเขาดงเร็กที่เคยเป็นเขตศักดิ์สิทธิของชนพื้นเมืองกลุ่มต่างๆในเขตที่สูงซึ่งในทีสุดแล้วปราสาทแห่งนี้ ได้กลายเป็นศูนย์รวมแห่งความศรัทธา เส้นทางที่ทอดยาวสู่ศูนย์กลางของปราสาทซึ่งอยู่บนที่สูงสุดปลายชะง่อนเขา เป็นเสมือนเส้นทางแห่งศรัทธาที่เชื่อมโลกมนุษย์กับโลกของเทพเจ้า นี่คือจุดหมายแห่งการจาริกแสวงบุญของกลุ่มคนอันหลากหลาย ปราสาทพระวิหารตั้งบนชัยภูมิที่ดูงดงามดั่งวิหารสวรรค์ในความเชื่อลัทธิเทวราชา คือความชาญฉลาดในการใช้ภูมิประเทศผสานกับความเชื่อเรื่องศักดิ์สิทธิ์และอำนาจเหนือธรรมชาติ ( ที่มา : ภูมิลักษณ์อันก่อให้เกิดความสัมพันธ์ คนกับธรรมชาติ คนกับคน .เมืองโบราณ ฉบับ 7 ปราสาทหินมหัศจรรย์แห่งอีสาน )
ปราสาทพระวิหาร จ.ศรีสะเกษ
ปราสาทวัดภูในลาวที่ประดิษฐาน ภัทเรศวรลึงค์ เก่ากว่า ปราสาทเขาพระวิหารหรือศิขเรศวรทีประดิษฐานศิวะลึงค์ สุริยวรเมศวร-เทพสุริยวรมัน ทั้งสองแห่งมีลักษณะและโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมคล้ายกันคือตั้งอยู่บนภูเขาที่มีลักษณะคล้ายศิวะลึงหรือ ลึงคปารวัต-ภูเขาแห่งศิวลึงค์



ปราสาทวัดภู จำปาศักดิ์ ลาว จะมองเห็นด้านหลังมีภูมิทัศน์เป็นเขาไกรลาสทีประทับพระอิศวร และด้านหน้าเป็นแม่น้ำโขง เปรียบเสมือนแม่น้ำคงคาของอินเดีย


การจาริกแสวงบูญ อาณาจักรจามปา ในเวียตนาม


อ่านเพิ่มเติม //www1.finearts.cmu.ac.th/FOFAnew/e_learn/104301/009.pdf



Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 19 กุมภาพันธ์ 2556 22:10:22 น.
Counter : 2216 Pageviews.

2 comments
  
ที่จริงเรามีรูปเก่าค่ะ แต่รอให้ของร้อนผ่านไปก่อน
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:20:43:00 น.
  
โดย: Kavanich96 วันที่: 20 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:9:20:10 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กุมภาพันธ์ 2556

 
 
 
 
 
1
4
6
7
8
9
10
15
16
17
21
25
27
28
 
 
All Blog