ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2560
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
25 ตุลาคม 2560
 
All Blogs
 
นักวิจัยจีนได้ข้าวทนเค็มที่มีผลผลิตพอเลี้ยงประชากร 200 ล้านคน





credits: Xinhua


ข้าวสามารถปลูกได้เกือบทุกพื้นที่ในโลก
ตามพื้นที่สูงชันและตามเชิงเขาต่าง ๆ
ด้วยการใช้แรงงานราคาถูกและมีปริมาณน้ำเพียงพอ
ทำให้มีการปลูกข้าวกันมากในหลายพื้นที่ของเอเชีย
ซึ่งมีแรงงานราคาถูกและปริมาณน้ำอย่างเหลือเฟือ
อย่างไรก็ตามยังมีการปลูกข้าวบนพื้นที่ลุ่มบริเวณชายฝั่งทะเลหลายแห่ง
เช่น บังคลาเทศ ศรีลังกา จีน อินเดีย
ประเทศเหล่านี้มีสายพันธุ์ข้าวทนเค็มแต่ปริมาณผลผลิตค่อนข้างต่ำ
ซึ่งพื้นที่หลายล้านไร่จะมีสภาพเป็นดินเค็มและใกล้ท้องทะเล
ถ้าดินเค็ม น้ำเค็ม มากเกินไปจะมีผลต่อต้นข้าว
ที่จะทำลายการเติบโตต้นข้าวให้ตายซากไป
นี่คือ เหตุผลที่ว่าทำไมข้าวทนเค็มจึงเปลี่ยนโลกได้

ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาข้าวทนดินเค็มด่างในชิงเต่า ภาคตะวันออกของจีน
Saline-Alkali Tolerant Rice Research and Development Center (Qingdao)
นำทีมวิจัยโดย หยวนหลงปิง Yuan Longping บิดาแห่งข้าวพันธุ์ผสม วัย 87 ปี
ทีมนักวิจัยและนักศึกษาได้ทดลองปลูกข้าวมากว่า 200 สายพันธุ์
แล้วลดความเค็มของน้ำทะลที่สูบจากทะเลเหลือง
มาผสมกับน้ำจืดก่อนให้น้ำไหลลงสู่ท้องนา
ทำให้พื้นที่ปลูกข้าวต้นข้าวเติบโตเหมือนนาข้าวทั่วไป

นักวิจัยคาดว่าโครงการดังกล่าวน่าจะได้ข้าวราว ๆ 4.5 ตันต่อ 2.5 ไร่ (1.8 ตัน/ไร่)
แต่พบว่ามีข้าว 4 สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตที่จดบันทึกไว้ราว ๆ 6.5-9.3 ตันต่อ 2.5 ไร่
ทำให้มีความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจเพราะสูงกว่าค่าเฉลี่ยการปลูกข้าวทั่วโลกที่ 4.5 ตันต่อ 2.5 ไร่
ถ้า 1 ใน 10 ของพื้นที่รกร้างว่างเปล่าของจีนที่ดินใกล้ชายฝั่งทะเลและมีดินเค็ม
กับมีปริมาณน้ำจืดค่อนข้างไม่เพียงพอในการชลประทาน
ถ้าที่ดินถูกใช้นำมาปลูกกับสายพันธุ์ข้าวทนเค็ม
จะสามารถเพิ่มการผลิตข้าวในประเทศจีนเกือบร้อยละ 20
นั้นหมายความว่าจะสามารถผลิตอาหารได้ถึง 50 ล้านตัน
ซึ่งเพียงพอที่จะเลี้ยงดูประชากรได้ถึง 200 ล้านคน


ในปี 1970 เริ่มมีการค้นคว้าข้าวทนเค็มแล้ว
โดย หยวนหลงปิง Yuan Longping นักวิทยาศาสตร์ด้านเกษตรกรรม บิดาแห่งข้าวพันธุ์ผสม
เพราะจีนกังวลในเรื่องอาหารสำหรับประชากรจีนที่และเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว
จึงเริ่มมองหาพันธุ์ข้าวที่สามารถปลูกให้เจริญเติบโตในพื้นที่มีเกลือปนเปื้อน
นักวิจัยได้พยายามค้นหาข้าวที่ทนเค็มได้และมีผลผลิตที่มากยิ่งขึ้น
หลังจากหลายสิบปีของการคัดเลือกสายพันธุ์ การผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์
และตรวจคัดกรองพันธุกรรมต่าง ๆ จนสรุปได้ลงตัวที่ 8 สายพันธุ์
แต่ผลผลิตก็ยังต่ำอยู่ที่ประมาณ 800 กิโลกรัม/ไร่
แต่ตอนนี้ จีนประสบความสำเร็จครั้งใหญ่แล้ว
แม้ว่าต้นทุนการผลิตยังจะเป็นปัญหาใหญ่
แต่เรื่องนี้ก็เป็นการส่งสัญญาณที่ดีเช่นกัน

ราคาขายข้าวทนเค็มกิโลกรัมละ 50 หยวน (7.50 เหรียญสหรัฐ)
แพงกว่าข้าวทั่วไปประมาณ 8 เท่า เพราะข้าวเป็นอาหารราคาถูก
อย่างไรก็ตามต้นทุนการผลิตคาดว่าจะลดลงได้
ถ้ามีการเพิ่มการผลิตทั้งปริมาณและเนื้อที่ปลูกข้าวที่เพิ่มขึ้น
เพราะประเทศจีนมีพื้นที่เสียเปล่ามากกว่า 1,000,000 ตารางกิโลเมตร(625 ล้านไร่)
ขนาดเทียบเท่ารัฐเท็กซัสรวมกับรัฐแคลิฟอร์เนีย
พื้นที่ดังกล่าวถ้าพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นและเพาะปลูกข้าวได้
จะมีศักยภาพในการเลี้ยงดูผู้คนในเมืองจีนได้จำนวนมาก
แม้ว่าจะต้องมีการลงทุนพัฒนาปรับปรุงคุณภาพน้ำและดินในระยะแรก




credits: Xinhua



" เทตนิคนี้ยังมีผลพลอยได้จากด้านอื่น ๆ ด้วย
เพราะน้ำเค็มช่วยทำลายศัตรูพืชและปรสิต
รวมทั้งแบคทีเรียที่อาจจะเป็นอันตรายได้หลายชนิด
และลดความเสี่ยงในการสัมผัสสารเคมีที่เป็นอันตรายในห่วงโซ่อาหารได้
นั้นหมายถึง ผู้ผลิตอาจลดค่าใช้จ่ายได้มากยิ่งขึ้น
นอกจากข้าวทนน้ำเค็ม ข้าวสารที่ได้จะไม่เค็ม
แต่มันก็ยังอุดมไปด้วยสารอาหาร เช่น แคลเซียม เป็นต้น "
ศาสตราจารย์หวังชีหวัน Huang Shiwen หัวหน้าทีมวิจัยโรคข้าว
สถาบันวิจัยข้าวแห่งชาติจีนในหางโจว เขตเจ้อเจียง
China National Rice Research Institute ใน Hangzhou

" โครงการข้าวทนเค็ม จะช่วยให้การจัดหาอาหาร
มีความปลอดภัยด้านความมั่นคงด้านอาหารยิ่งขึ้นกับจีน
ด้วยการเปลี่ยนดินแดนที่เสียหายเป็นทุ่งหญ้าสีเขียว
แม้ว่าผลผลิตยังมีจำนวนน้อยและราคาสูง แต่ก็สามารถเพิ่มพื้นที่ได้
และมีที่ดินทำกินซึ่งสามารถนำมาใช้ทำนาได้อีก
จะช่วยชีวิตคนจำนวนมากได้ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก
จีนเป็นประเทศผู้นำเข้าสินค้าเกษตรรายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง
ตามรายงานของสถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติแห่งสตอกโฮล์มเมื่อปีที่แล้ว
พื้นที่บริเวณชายฝั่งของบางเพิ่มมากขึ้นเพราะแม่น้ำใหญ่
เช่น แม่น้ำแยงซีและแม่น้ำเหลือง ได้ทิ้งซากตะกอนลงไปในทะเลเป็นจำนวนมาก
ข้าวทนเค็มจะสามารถปลูกในดินแดนถิ่นฐานใหม่นี้ได้ "
ศาสตราจารย์จู้ซิหยู Zhu Xiyue นักเศรษฐศาสตร์และนโยบายผู้เชี่ยวชาญ ที่สถาบันข้าวแห่งชาติ


" เพื่อให้ข้าวอยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายเหล่านี้
จะต้องมียีนบางตัวที่แข็งแกร่ง/สตรองอย่างมาก
ที่ทำให้ข้าวสามารถทนทานต่อต้านการโจมตีของโรคหรือแมลงได้เป็นอย่างดี
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดโรคขึ้นที่รากหรือคอรวงข้าว
ข้าวทนเค็มที่พัฒนานี้ไม่ได้ใช้น้ำทะเลโดยตรง
แต่จะมีการผสมกับน้ำจืดเพื่อลดปริมาณเกลือ 6 กรัมต่อลิตร
เพราะน้ำทะเลมีปริมาณเกลือมากถึง 5 เท่า
และมันจะต้องใช้เวลาหลายปีมากในการวิจัย
เพื่อพัฒนาสายพันธุ์ข้าวที่สามารถเจริญเติบโตได้ในน้ำเค็ม "
หยวนหลงปิง Yuan Longping ผู้เชี่ยวชาญเรื่องข้าวทนดินเค็ม
ที่ใช้เวลาศึกษามานานมากแล้วจนได้ชื่อว่า บิดาแห่งข้าวพันธุ์ผสม

ผู้ก่อตั้ง Yuan Ce Biological Technology ผู้ก่อตั้งธุรกิจสตาร์อัพในชิงเต่า
และเป็นพันธมิตรทางธุรกิจของ Yuan Longping
ได้กล่าวว่า บริษัทได้ตั้งร้านค้าออนไลน์ในเดือนสิงหาคมตั้งชื่อว่า
Yuan Mi เพื่อเป็นเกียรติแก่นักวิทยาศาสตร์หัวหน้าโครงการ
เมล็ดพันธุ์ข้าวที่เก็บเกี่ยวเมื่อปีที่แล้ว ได้ลงมือเพาะปลูกในปีนี้
กำลังจะเก็บเกี่ยวและนำเข้าสู่ยุ้งฉางข้าวในเดือนหน้า
Yuan Mi จะมีราคาขายกิโลกรัมละ 50 หยวน (7.50 เหรียญสหรัฐ)
ขายในขนาดน้ำหนัก 1 กก. 2 กก. 5 กก. และ 10 กก.
เมื่อเดือนที่แล้วมีผู้สั่งซื้อสินค้าเกือบ 1,000 ราย
และมีการขายข้าวไปแล้ว 6 ตันต่อเดือนนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม
ผู้จัดการฝ่ายขายของ Yuan Ce กล่าว
" เป้าหมายรายได้จากการขายของเราอยู่ที่ 10 ล้านหยวนภายในสิ้นปีนี้"
ซึ่งเป็นตัวเลขที่มองโลกในแง่ดี สำหรับความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้นได้
เพราะเป็นตัวเลขรายได้ในช่วงเพียงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ยังมีคนที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้
ลิ่วกวนเฟย Liu Guangfei ผู้เชี่ยวชาญการฟื้นฟูดินรกร้างว่างเปล่า
Beijing-based Eagle Green Technology Development
" ข้าวจะเติบโตในพื้นที่ชายฝั่งของประเทศจีน
ขณะที่ 90% ของดินเค็มและดินด่างอยู่ภายในพื้นที่ของประเทศ
ในพื้นที่เขตชนบท เช่น เฮยหลงเจียงและซินเจียง
ผืนดินเหล่านี้เต็มไปด้วยโซเดียมซัลเฟต
ซึ่งข้าวยังไม่พร้อมที่จะรับมือ/ปลูกขึ้นได้
เพราะดินที่ปลูกข้าวทนเค็ม ข้าวจะทนต่อโซเดียมคลอไรด์

นอกจากนี้ การปลูกข้าวสายพันธุ์ใหม่นี้จะทำให้ดินเก็บกักเกลือได้มากยิ่งขึ้น
ทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในดินได้อย่างสมบูรณ์สำหรับพืชชนิดอื่น ๆ ที่จะมาปลูกทดแทน
พืชเชิงพาณิชย์ชนิดอื่น ๆ เช่น พุทรา และ เก๋ากี่
สามารถปลูกได้บนพื้นดินเหล่านี้ ทั้งยังช่วยลดปริมาณความเค็มและปรับปรุงคุณภาพดินโดยรวมด้วย
การปลูกข้าวนี้จะทำให้ผืนแผ่นดินเค็มไปตลอดกาล และไม่สามารถใช้ปลูกพืชชนิดอื่นได้ "

(น่าจะข้าวมีช่วงอายุสั้น ทางใบที่จะกลายเป็นฟางจะดูดซึมโซเดียมซัลเฟตขึ้นมาตามทางใบ
และถ้าไม่มีการจัดการฟางให้ดี จะทำให้มีปริมาณโซเดียมซัลเฟตตกค้างบนผิวดินมากขึ้น
ผิดกับต้นไม้ใหญ่ที่ทางใบค่อนข้างเล็กและดูดซึมระเหยไปในอากาศมากกว่าข้าว)

แม้ว่าจะมีทัศนคติที่เด็ดเดี่ยวและไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับเรื่องนี้
แต่ถ้าเป็นเรื่องของผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจและความมั่นคงทางอาหาร
นี่คือผลสำเร็จอันน่าทึ่งซึ่งอาจสร้างความแตกต่างครั้งยิ่งใหญ่ในบางส่วนของโลก
แม้ว่าในตอนนี้ จีนจะมีปริมาณผลผลิตข้าวเกินดุล/ความต้องการ
และการเพิ่มขึ้นของตลาดข้าวใหม่ยังต้องหาหนทางอยู่พอสมควร




credits: Xinhua




เรียบเรียง/ที่มา


https://goo.gl/M6wRft
https://goo.gl/wYhyVY
https://goo.gl/BDCFLv
https://goo.gl/JuWkH3













เรื่องเล่าไร้สาระ

ข้าวทนเค็ม ถ้ามีการพัฒนาปลูกได้ในไทย
จะสามารถปลูกในผืนดินที่เสียหายไปมากจากนากุ้ง(กุลาดำ)
ที่เคยมีวาทกรรม กุ้งกินโหนด (โฉนด)
หมายถึงขาดทุนย่อยยับจนต้องขายที่ทางบ้านช่องจากการเลี้ยงกุ้ง
และดินก็มีความเค็มไม่สามารถปลูกข้าวได้เหมือนแต่ก่อน
ในบริเวณชายฝั่งระโนด จะทิ้งพระ หัวไทร ที่เห็นจำนวนมาก
รวมทั้งที่ชายฝั่งทะเลที่มีการบุกรุกป่าชายเลนเพื่อเลี้ยงกุ้งในอดีต
หรือพื้นที่ดินเค็มในภาคอีสานที่มีการปนเปื้อนความเค็มจากเกลือสินเธาว์

แต่ทั้งนี้สายพันธุ์ข้าวมีความอ่อนไหวต่อแสงแดดมาก
เพราะช่วงแสงยาวหรือสั้นเกินไปมีผลต่อผลผลิตข้าวเช่นกัน
การปลูกข้าวจึงต้องมีระยะเวลาช่วงแสง
ข้าวนาปีมีระยะเวลาออกรวงข้าวช้ากว่าข้าวนาปรัง
ข้าวนาปรังมีช่วงอายุและระยะเวลาเก็บเกี่ยวสั้นกว่าข้าวนาปีมาก
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณช่วงแสงและน้ำที่ใช้ในการเกษตร

ภาคใต้โสด/ตอนล่างจึงเริ่มลงมือปลูกข้าวกันจริงจังก็หลังวันออกพรรษา
เพราะมีปริมาณน้ำฝนและช่วงแสงมีมากในช่วงนี้
ขณะที่เดือนพฤศจิกายนขึ้นไปแถวภาคกลางจะเริ่มเกี่ยวข้าวกันแล้ว
แต่ทางภาคใต้กว่าจะได้เริ่มเก็บเกี่ยวข้าวนาปีก็ช่วงเดือนมีนาคมขึ้นไป
ทำให้เพื่อนผมบางคนกลับมาจากบ้านนอก
ผมมักจะบอกรู้เลยว่าไปเก็บข้าวมา
เพราะผิวสีดำและคล้ำอย่างเห็นได้ชัดเจน

ในพื้นที่ภาคใต้ในอดีตจะใช้แกะในการเก็บเกี่ยวข้าว
เพราะปริมาณฝนมีเกือบทุกสัปดาห์เป็นส่วนใหญ่
ทำให้ดินมักจะเปียกชื้นหรือมีน้ำท่วมขัง
มีผลต่อการกองข้าวบนพื้นดินจะเฉอะแฉะ
เสียเวลาตากข้าวให้แห้งและฟัดข้าวแบบภาคกลาง
ทั้งรวงข้าวมักจะสุกไม่ค่อยพร้อมกัน
เพราะสายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองพันธุกรรมยังไม่นิ่ง
จึงต้องเก็บเกี่ยวทีละรวงด้วยการตัดที่คอข้าว
จนมีอำมาตย์คนหนึ่งจากภาคกลางสอนให้ใช้เคียวและดุว่า คนใต้ดื้อ
แต่คนใต้ส่วนใหญ่ที่ใช้แกะจะไม่ยอมทำตาม
เพราะไม่เหมาะสมกับพื้นที่และวัฒนธรรมที่เคยทำต่อ ๆ กันมา

ในภาคใต้สวนยางสวนมะพร้าวบางแห่ง
เคยเห็นคนสวนบางคนโรยเกลือลงในที่ดินปีละหนึ่งถึงสองกิโลกรัม/ไร่
เพราะเชื่อว่าเป็นปุ๋ยประเภทหนึ่งที่มีราคาถูกและช่วยเพิ่มผลผลิตได้




แกะที่ใช้ตัดคอรวงข้าวแทนเคียว



ข้าวนาปี และ ข้าวนาปรัง

ข้อมูลเพิ่มเติม https://goo.gl/qF9Gfe



Create Date : 25 ตุลาคม 2560
Last Update : 25 ตุลาคม 2560 23:34:24 น. 0 comments
Counter : 2639 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.