ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2561
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
27 สิงหาคม 2561
 
All Blogs
 
??เนื้อวัวเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องปฏิบัติการ??




The Strange Science of the Impossible Burger





เนื้อวัวเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องปฏิบัติการไม่ใช่คำตอบ
ในการแก้ไขปัญหาเรื่องโปรตีน


ในโลกที่ยังเต็มไปด้วยโปรตีนทางเลือกมากมาย
เนื้อวัวเพาะเลี้ยงในหลอดทดลองห้องปฏิบัติการ
จะคุ้มค่ากับการตอบโจทย์ปัญหานี้หรือไม่


ประมาณการร้อยละ 14.5 ของภาวะก๊าซเรือนกระจกมาจากการเลี้ยงปศุสัตว์
แต่ถ้ามนุษย์สามารถกินเนื้อเบอร์เกอร์โดยไม่ต้องใช้เนื้อจากแม่วัวพ่อวัวได้จริงหรือ


เมื่อตอนที่ Mark Post
ได้สร้างเนื้อวัวเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากห้องปฏิบัติการครั้งแรกในปีค.ศ. 2013
เหมือนชิ้นขนมพาย (รสชาติไม่ฉ่ำจากผู้ทดสอบรายหนึ่ง) มีราคาถึง 330,000 ดอลล่าห์ (9,900,000 บาท)
ขณะที่ราคา Frankenburger เนื้อเกรดพิเศษรสชาติอร่อยกว่าราคาอยู่ที่ 12 ดอลลาห์ (360 บาท)






แม้ว่าจะมีพวก Startup บางคนจะคุยโวโอ้อวดว่า
เนื้อวัวประดิษฐ์ที่เพาะเลี้ยงขึ้นมาจะวางขาย
บนชั้นสินค้าห้างสรรพสินค้าได้ภายในเวลาไม่กี่ปี


พืชจะเป็นแหล่งโปรตีนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
แต่อย่างน้อยเนื้อวัวที่เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ
จะมีความยั่งยืนมากกว่าเนื้อวัวที่ได้จากธรรมชาติ


แต่น่าจะมีวิธีประมาณการบางอย่าง
ถึงการใช้ประโยชน์ในที่ดิน น้ำ ไฟฟ้า และการปล่อยมลพิษ


ขนาดสนามฟุตบอล 1/5


การผลิตเนื้อจากห้องปฏิบัติการจำนวน 1 ต้นใช้เนื้อที่ดินไม่มาก
ตามรายงานวิจัยของ Hanna Tuomisto กับ Avijit Roy
แต่พื้นที่ขนาด 2.6 เท่าที่มากกว่าขนาดสนามฟุตบอล
จะสามารถผลิตโปรตีนจาก Fava Kidney beans หรือ Black bean ได้เป็นจำนวนมาก
พืชเหล่านี้จะช่วยปรับปรุงคุณภาพดินด้วยการเก็บกักสารอาหารในดิน
เรียกว่าประโยชน์ที่ได้รับมากกว่าเดิม


ตู้เย็น 29,239 ตู้


ความต้องการพลังงานในการผลิตเนื้อขนาดหนึ่งตันในห้องปฏิบัติการ
ต้องใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเมืองเล็ก ๆ ทั้งเมืองที่ใช้ไฟฟ้าได้ทั้งปี
ซึ่งนำไฟฟ้าไปใช้ในตู้เย็นได้มากถึง 10,000 ตู้
มากกว่าการแช่เย็นเนื้อวัวตามธรรมชาติขนาดหนึ่งตัน


แม้กระทั่งถั่วที่ปลูกขึ้นในไร่นายังใช้กระแสไฟฟ้าน้อยกว่าเนื้อวัวประดิษฐ์
เพียงแค่ใช้ไฟฟ้าจากตู้เย็นจำนวน 1,500 ตู้เท่านั้นในการรักษาคุณภาพถั่ว


ก๊าซหุงต้ม 409 ถัง


เนื้อวัวเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการจะเป็นตัวการแข่งขันการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ซึ่งตอนนี้การผลิตเนื้อวัวเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการขนาด 1 ตัน
ยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า 1 ใน 10 ของเนื้อวัวตามธรรมชาติที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก
แต่จะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเมื่อเทียบกับการผลิต ถั่วเหลือง หรืออาหารมังสวิรัติ
ในทำนองกลับกันผลิตภัณฑ์ เช่น เต้าหู้ เนื้อวัวเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ ที่นำไปแปรรูปต่อไป
ก็จะเป็นตัวการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้นเช่นกัน


ชักโครกห้องน้ำ 446,000 ครั้ง


เนื้อวัวเพาะเลี้ยงจะต้องใช้น้ำถึง 713,265 แกลลอน (2,700,001.74 ลิตร)
มากกว่าคนทั่วไปใช้น้ำถึง 375 เท่าที่คนเราใช้ในห้องน้ำเป็นประจำทุกปี
(คนทั่วไปจะใช้น้ำวันละ 200 ลิตรหรือปีละ 720,000 ลิตร
ถ้าชักโครกก็ราววันละ 20 ลิตรหรือปีละ 7,200 ลิตร)
โปรตีนจากวัวเลี้ยงขนาดหนึ่งตันจะใช้น้ำหมุนเวียนถึง 16 ล้านแกลลอน


การที่แหล่งน้ำมีจำนวนน้อยลง
และการทำเกษตรกรรมส่วนใหญ่จะใช้น้ำแบบไม่บันยะบันยัง


เนื้อวัวเพาะเลี้ยงในหลอดทดลองจะใช้น้ำคุ้มค่าหรือไม่เมื่อเทียบกับการผลิตถั่ว






หมายเหตุ

มีคนตั้งข้อสังเกตว่า การผลิตแมลงเป็นแหล่งโปรตีน
อาจจะช่วยลดปัญหาการกำจัดขยะและก๊าซเรือนกระจกได้


แต่การผลิตเนื้อวัวเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในห้องปฏิบัติการ
อาจจะต้องผลิตจำนวนและปริมาณมากจริง ๆ
จึงจะได้ประหยัดจากขนาด Economique of Scale
แบบการพิมพ์หนังสือจำนวนมาก ผลิตสินค้าจำนวนมาก ๆ
จะดึงค่าใช้จ่ายประจำ/คงที่ลดลง เหลือแต่ค่าใช้จ่ายแปรผันเพียงส่วนเดียว
แต่ปัญหาในตอนนี้คือ ยังไม่รู้ว่ากำลังผลิตจะต้องมีขนาดไหน
จะทำการตลาดอย่างไร และตั้งราคาขายอย่างไร
จึงจะเหมาะสมและถึงจุดคุ้มทุนได้เร็วที่สุด


มีผู้รู้บอกว่า ถ้าคืนทุนเร็วจริง
ปานนี้จึนคงจะผลิตขายแล้ว


เรียบเรียง/ที่มา


https://bit.ly/2od2aPy
https://bit.ly/2Nn7UkJ









































Create Date : 27 สิงหาคม 2561
Last Update : 27 สิงหาคม 2561 21:29:42 น. 0 comments
Counter : 2124 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.