ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2561
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
10 กรกฏาคม 2561
 
All Blogs
 
แม่แมวหนึ่งตัวขยายพันธุ์จนฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นกกระจิบ Traversia lyalli บนเกาะ Stephens




แมวฆ่านกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนับพันล้านตัวในแต่ละปี
และเชื่อกันว่าพวกมันทำลายสายพันธุ์นับเป็นหลายสิบชนิด Photo credit: vvvita/Shutterstock



David Lyall อดีตนักมวยปล้ำสมัครเล่น แทบจะต้องกลั้นลมหายใจ
ขณะที่กำลังกรีดแผลตรงหน้าท้องนกตัวเล็กที่มีสีเขียวอมน้ำตาลบนโต๊ะทำงานของตน
David Lyall ท่านไม่เคยเห็นนกชนิดนี้มาก่อนเลย ทั้งยังรู้ดีว่าต้องทำงานอย่างรวดเร็ว
และทำให้ตัวอย่างที่กำลังทำอยู่นี้ให้แห้งด้วยก่อนที่ฝูงแมลงต่าง ๆ จะแห่กันมา
ในอีกหลายชั่วโมงต่อมา นิ้วมือของ David Lyall ก็ยังต้องทำงานอย่างรวดเร็ว
และใช้ความชำนาญในตอนที่ดึงผิวหนังออกจากกล้ามเนื้อ
ลอกหนังของนกจากทางด้านหลังไปยังที่หาง
แล้วถลกหนังกลับไปตรงที่คอและหัวของนกจนกว่าจะถลกหนังได้ทั้งตัว
จากนั้นก็เจาะหลุมเล็ก ๆ ที่ด้านหลังของกะโหลกหัวนกตัวนี้
แล้วตักมันสมองนกขึ้นมาอย่างระมัดระวังทีละเล็กทีละน้อย
จากนั้นก็ขูดเนื้อเยื่อ/ดึงอวัยวะภายในทั้งหมดออกจากโครงกระดูกของนก
แล้วยัดร่างนกที่ว่างเปล่าไว้ด้วยขนแกะ จัดการเย็บแผลให้เรียบร้อย
พร้อมกับวางตัวอย่างนกตัวนี้ไว้ที่หน้าต่างเพื่อตากแดดให้แห้ง

และในเวลาอีกไม่กี่เดือนต่อมา
David Lyall ต้องทำซ้ำเรื่องแบบนี้อีกหลายครั้ง
จนเก็บตัวอย่างนกได้อย่างน้อย 15 ตัว
ซึ่งในตอนนี้รู้จักกันในชื่อ Lyred's Wren หรือ Stephens Island Wren (Traversia lyalli)
ตัวอย่างนกเหล่านี้ในปัจจุบันยังแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ 9 แห่งทั่วโลก
เป็นประวัติศาสตร์รำลึกแสดงถึงการเคยมีอยู่ของนกกระจิบสายพันธุ์นี้

David Lyall เป็นผู้ช่วยผู้ดูแลประภาคารแห่งใหม่
ที่เพิ่งจะสร้างขึ้นบนเกาะ Stephens
เกาะขนาดเล็กที่มีลมพัดแรงมีพื้นที่ไม่เกินครึ่งตารางไมล์(ราว 800 กว่าไร่)
อยู่ทางตอนเหนือสุดของ Marlborough Sounds
หมู่เกาะตอนใต้ของประเทศนิวซีแลนด์
ประภาคารแห่งนี้สร้างขึ้นในปี 1894
และหลังจากนั้นไม่นานนัก
David Lyall พร้อมกับเพื่อนร่วมงานอีก 16 คน
ก็เดินทางมาทำงานในสถานที่ห่างไกลแห่งนี้

David Lyall ยังเป็นนักธรรมชาติวิทยา
ที่ตั้งใจรอคอยที่จะทำงานยังที่สถานทำงานแห่งใหม่นี้
เพราะพื้นที่ของเกาะส่วนใหญ่ยังไม่มีใครไปสำรวจและไร้ผู้คนอยู่อาศัย
ทำให้สถานที่แห่งนี้ David Lyall สามารถไล่ล่าตามฝันของตนเองได้
เพราะชีวิตผู้ดูแลประภาคารส่วนใหญ่ค่อนข้างโดดเดี่ยว/เงียบเหงา
David Lyall จึงพาแมวตัวเมียที่ตั้งท้องมาด้วยชื่อ Tibbles
เพื่ออยู่ร่วมเป้นเพื่อนกับท่านในเวลานั้น
แต่ David Lyall ไม่เคยคาดดิดไว้ก่อนเลยว่า
Tibbles แม่แมวให้กำเนิดลูกแมวจำนวนหนึ่ง
ซึ่งในเวลาต่อมาได้สร้างความหายนะ
ให้กับประชากรนกของเกาะ Stephens อย่างร้ายแรง
เพราะพวกแมวต่างผสมพันธุ์จนแพร่พันธุ์มีจำนวนมากขึ้น






แมวเป็นสัตว์นักล่าที่ยอดเยี่ยม
ในหนังสือ Cat Wars ของผู้เขียน Peter Marra กับ Chris Santella
ได้ประเมินว่าแมวเร่ร่อนฆ่าสัตว์ได้ประมาณ 2.4 พันล้านตัวในสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียว
เหยื่อของแมวจำนวนมากที่ถูกฆ่าตาย แมวไม่ได้กินเป็นอาหาร แต่ล่าเพื่อความสนุกสนาน
แมวถูกกระตุ้นโดยสัญชาติญาณนักล่า แม้ว่าพวกมันจะไม่หิวโหยแต่อย่างใดเลย
บางครั้งแมวที่เลี้ยงดูไว้ในบ้าน แต่ออกไปเดินเตร่ได้อย่างอิสระเสรีเหนืออื่นใด
มักจะมอบของขวัญเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับเจ้าของ ด้วย นก หรือ หนู ที่ถูกฆ่าตายแล้ว






1895 illustration by John Keulemans




ไม่นานหลังจากที่ David Lyall เข้ารับตำแหน่งผู้ช่วยผู้ดูแลประภาคารในเกาะ Stephens
แมว Tibbles ก็เริ่มนำของขวัญที่เป็นนกมาให้กับท่าน
แม้ว่า David Lyall จะอยู่บนเกาะเพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ
แต่ท่านก็สามารถระบุชื่อนกที่แมว Tibbles คาบมาให้ได้เป็นส่วนใหญ่
ยกเว้นนกตัวอย่างที่แปลกประหลาดเพียงตัวเดียว
นกตัวนี้มีขนาดเล็กมีสีเขียวเข้มปนเหลืองที่ด้านหลัง
มีเส้นขีดบนหน้าอก ที่ปลายขนมีสีน้ำตาลขลิบไว้
มีขนเส้นสีเหลืองเล็กเหนือดวงตา มีปีกสั้นและปากนกยาวตรง


David Lyall ไม่เคยเห็นนกตัวนี้มาก่อนเลย
เช่นเดียวกับนักชีววิทยาทั่วไปก็ไม่เคยเห็นมาก่อน
เมื่อ David Lyall รู้สึกว่ากำลังใกล้จะค้นพบสายพันธุ์ใหม่
ในเย็นวันหนึ่ง ท่านจึงนั่งลงทำงานบนโต๊ะ
และด้วยแสงจากตะเกียงเจ้าพายุ
ท่านจึงเริ่มเตรียมตัวอย่างนกตัวนี้
โดยส่งนกจำนวนหนึ่งไปให้กับนักปักษีวิทยาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเวลานั้น
ได้แก่ Walter Roth­schild, Walter Buller และ H. H. Travers








Walter Buller จำได้ทันทีว่า นกตัวนี้เป็นสายพันธุ์ที่แตกต่างจากชนิดอื่น
และเริ่มลงมือเขียนคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์เพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับหน้า

Walter Roth­schild นักธรณีวิทยาและนายธนาคารชาวอังกฤษที่มั่งคั่ง
ยังได้ซื้อตัวอย่างนกหลายตัวจาก David Lyall ในราคางามและแสนจะจูงใจ
และ Walter Rothschild ยังเป็นผู้เสนอชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Traversia lyalli
เพื่อเป็นเกียรติแก่ David Lyall ผู้ค้นพบ
โดยมีนักธรรมชาตินิยม H. H. Travers เป็นผู้ช่วยในการจัดหาตัวอย่าง


ในเวลานั้น จำนวนแมวบนเกาะ Stephens ที่ต่างเป็นลูกแมว Tibbles
ต่างเริ่มเติบโต/ขยายพันธุ์และเริ่มลงมือล่านกเป็นจำนวนมากอย่างน่าตกใจ
เรื่องที่ยิ่งเลวร้ายมากคือ นกกระจิบบนเกาะ Stephens
ต่างเป็นนกที่บินไม่ได้ ได้แต่วิ่งไปมาบนพื้นดิน และกระโดดไปมาบนกิ่งไม้
นกชนิดนี้เป็นนกพื้นเมืองที่พบได้ทั่วไปในนิวซีแลนด์
และสัตว์นักล่า หนู Polynesian ได้ฆ่านกชนิดนี้เกือบสูญพันธุ์ไปแล้ว
ยกเว้นที่ยังเหลือเพียงแต่นกกลุ่มเล็ก ๆ บนเกาะ Stephens แห่งนี้

นกกระจิบเหล่านี้อาจจะอพยพไปยังเกาะโดดเดี่ยวแห่งนี้
ในช่วงยุคธารน้ำแข็งสุดท้ายที่เกาะแห่งนี้ยังเชื่อมต่อกับแผ่นดินใหญ่
ต่อมา เมื่อระดับน้ำทะเลขึ้นสูงมาแล้ว
เกาะ Stephens จึงกลายเป็นเกาะสวรรค์บนดินของนกกระจิบ
เพราะการที่เกาะแยกจากแผ่นดินใหญ่ ทำให้ไม่มีนักล่าธรรมชาติมารุกราน
จนกระทั่ง David Lyall จะมาพร้อมกับแมว Tibbles ที่คลอดลูกแมวในเวลาต่อมา








ในเดือนกุมภาพันธ์ 1895
หลังจาก 1 ปีนับตั้งแต่แมว Tibbles นำตัวอย่างนกกระจิบตัวแรกมาให้ David Lyall
ในเดือนเดียวกันนี้ David Lyall ได้เขียนจดหมายไปถึง Walter Buller ว่า
" พวกแมวต่างกลายเป็นแมวป่าและสร้างโศกนาฎกรรมให้กับนกทั้งปวง "
เพราะหลังจากนั้น David Lyall ก็เห็นนกกระจิบเป็น ๆ เพียง 2 ครั้งเอง

ในวันที่ 16 มีนาคม 1895
บทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ Christchurch ได้รายงานว่า
" มีเหตุผลที่เชื่อได้ว่า นกกระจิบคงไม่พบบนเกาะนี้แล้ว
และไม่รู้เหมือนกันว่าพวกมันอพยพไปอยู่ที่ไหนกันแน่
แต่เชื่อได้ชัดเลยว่า พวกมันสูญพันธุ์อย่างแน่นอน
นี่อาจจะเป็นบันทึกอย่างเป็นทางการ
เรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์แบบถอนรากถอนโคน "

แต่มีเอกสารทางประวัติศาสตร์บางชิ้น
ที่อ้างว่า ยังมีนกเพียงไม่กี่ตัวที่มีผู้พบเห็นหลังจากปี 1895
และการสูญพันธุ์ของนกกระจิบ อาจจะนานกว่านั้นเล็กน้อย
อาจจะเป็นช่วงระยะเวลาหลังจากนั้นเพียงเล็กน้อยราว ๆ 2-3 ปี


ในเดือนสิงหาคม 1895 ในบันทึกของ Walter Buller ระบุว่า
คาดว่านกกระจิบสูญพันธ์โดยพวกแมวในช่วงฤดูหนาวปี 1895
โดยประมาณการจากเดือนกุมภาพันธ์ 1894 (ที่เริ่มมาอยู่ในเกาะแห่งนี้)
เพราะแน่นอนว่าต้องมีลูกแมวจำนวนหนึ่งของ Tibbles แม่แมว
ที่เติบโตพร้อมล่าสัตว์แล้วในช่วงฤดูหนาวในปี 1894
และในฤดูหนาวปี 1895 แมวครอกที่ 2 ที่เกิดใหม่ก็กำลังเติบโตเช่นกัน
นั่นคือ สาเหตุที่ทำให้นกกระจิบบนเกาะ Stephens เริ่มหาตัวยากขึ้น
ในปี 1898 พื้นที่ป่าไม้บนเกาะเร่ิมหนาแน่นมากขึ้น
ทำให้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพวกแมวบนเกาะกับคนบนประภาคารยิ่งน้อยลง
นั้นคือ ในปี 1903 การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นกกระจิบ Traversia lyalli
ซึ่งน่าจะสูญพันธุ์ไปแล้วอย่างแน่นอนในปีนั้น


ในปี 1898 บนเกาะ Stephens
ผู้ดูแลประภาคารรายใหม่คนหนึ่งได้ขอให้ Marine Department
ช่วยจัดหาปืนสั้นจำนวนหลายกระบอกพร้อมทั้งกระสุนปืนจำนวนมาก
เพื่อนำมากำจัดประชากรแมวบนเกาะ Stephens แห่งนี้
9 เดือนต่อมา ผู้ดูแลประภาคารรายนี้ได้รายงานอย่างภูมิใจว่า
ได้ยิงแมวทิ้งมากกว่า 100 ตัวไปแล้ว
แต่ต้องใช้เวลาอีก 26 ปีในเวลาต่อมา
จนกระทั่งในปี 1925 เกาะ Stephens จึงไร้แมวบนเกาะ
หลังจากไร้นกกระจิบมานานนับปีแล้ว


เรียบเรียง/ที่มา


https://bit.ly/2m1gSrq
https://bit.ly/2ucK7LB
https://bit.ly/2MVW3t7








ซากนกกระจิบบนเกาะ Stephens Island Wren ที่แมว Tibbles นำมามอบให้ David Lyall
Photo credit: New Zealand Birds Online



ซากนกกระจิบ Stephens Island Wren จัดแสดงที่ Carnegie Museum of Natural History ใน Pittsburgh
Photo credit: Avenue/Wikimedia



Stephens Island มองจาก D'Urville Island Photo credit: LawrieM/Wikimedia



ประภาคารบน Stephens Island Photo credit: maritimenz.govt.nz



The Stephens Island Wren. Illustration by Virginia Greene



Stephens Island wrens by John Gerrard Keulemans





Create Date : 10 กรกฎาคม 2561
Last Update : 10 กรกฎาคม 2561 21:48:03 น. 0 comments
Counter : 2035 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.