ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2561
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
20 มิถุนายน 2561
 
All Blogs
 
มัมมี่เกลือในอิหร่าน





Photo credit: https://mummipedia.wikia.com



ที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอิหร่าน
ใกล้กับหมู่บ้าน Hamzehli, Mehrabad และ Chehrabad ในจังหวัด Zanjan
มีเหมืองเกลือที่เป็นโดมขนาดใหญ่ในภูมิประเทศที่เป็นหินโดยรอบ
โดมเกลือนี้ประกอบด้วยกองหินเกลือ ซึ่งมียิปซั่ม ดินเหนียว และหินเกลือ
อยู่ในช่วงยุค Miocene ราว 5-23 ล้านปีที่ผ่านมา
ผลการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาและขาดพื้นผิวดิน/หินปกคลุมด้านบน
ทำให้แหล่งเกลือที่อยู่ใกล้พื้นผิวดินมาก
จนทำให้สามารถทำเหมืองเกลือได้ง่าย ๆ
เหมืองเกลือหลายแห่งนี้ที่ทำกันมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว

ในปี 1994 ช่วงหนึ่งของการทำเหมืองเกลือดังกล่าว
คนงานเหมืองเกลือได้พบกับหัวคนขาด ที่เห็นได้ชัดว่ามีอายุมากแล้ว
เกลือได้ทำให้หัวแห้งและเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี
ที่บริเวณหูมีรอยเจาะพร้อมกับต่างหูทองคำ
ศีรษะมีผมยาว หนวด เครา รุงรัง
ผลการขุดค้นเพิ่มเติมทางโบราณคดี
ทำให้พบชิ้นส่วนร่างกายที่ขาดหายไป
เช่น ขาที่ยังคงสวมรองเท้าบู๊ตหนัง
ทีมงานยังค้นพบ มีดเหล็ก 3 เล่ม กางเกงขนสัตว์ เข็มเงิน สลิง(ที่ขว้างหิน)
ชิ้นส่วนของเชือกหนังขว้างหิน หินขัด(ลับให้คม) ลูกวอลนัท
เศษเครื่องปั้นดินเผา เศษชิ้นส่วนสิ่งทอที่มีลวดลาย และเศษกระดูกหัก

ในปี 2004 มีการค้นพบมัมมี่ร่างที่ 2
จึงเริ่มทำการขุดค้นอย่างเป็นระบบ
และอีก 6 ปีต่อมาค้นพบอีก 4 ศพ
ทำให้พบมัมมี่เกลือรวม 6 ศพ
ทั้งนี้การขุดค้นโบราณคดีในพื้นที่
ได้รับทุนวิจัย/อุดหนุนจากเยอรมันนี




มัมมี่เกลือหมายเลข 4 ที่รักษาสภาพเป็นอย่างดี Photo credit: DBM/RUB, K. Stange




มัมมี่เกลือรายแรก ตรวจสอบคาร์บอนได้ราว 1,700 ปีก่อน
อยู่ในช่วง Sasanian Empire ยุคที่มีอารยธรรมสูงสุด
มัมมี่เกลือรายที่ 2 ตรวจสอบคาร์บอนได้ราว 1,500 ปีก่อน
มีอายุร่วมยุคกับศพมัมมี่เกลือรายแรก
แต่มัมมี่เกลือรายที่ 3 4 5 น่าจะมาจากในยุคที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
แต่มัมมี่ทุกรายมีอายุประมาณ 2,200 ปี
ซึ่งเป็นยุคสมัย Achaemenids จักรวรรดิแรกของเปอร์เซีย
นักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่า มัมมี่ทุกราย คือ เหยื่อของเหมืองเกลือถล่ม

มัมมี่และข้าวของถูกเกลือเก็บรักษาไว้อย่างดีในเหมืองเกลือ
ทำให้นักโบราณคดีและนักวิทยาศาสตร์มีข้อมูลมากมายเกี่ยวกับ
ชีวิตคนงาน อาหารการกิน แหล่งที่มา และสภาพการทำงานเหมืองเกลือ
ตัวอย่างเช่น หนึ่งในมัมมี่ 2,200 ปีมีไข่พยาธิตัวตืดในลำไส้ของมัมมี่
แสดงให้เห็นว่ามัมมี่รายนี้กินเนื้อดิบหรือสุกแล้ว
นี่คือกรณีตัวอย่างแรกของปรสิตในสมัยโบราณของอิหร่าน
และเป็นหลักฐานชิ้นแรกของปรสิตในลำไส้เล็กบนพื้นที่แห่งนี้

มัมมี่รายแรกมีลักษณะกระดูกหักรอบดวงตา และร่องรอยเสียหายอื่น ๆ
ที่เกิดขึ้นก่อนตายด้วยการถูกกระแทกที่ศีรษะอย่างแรง
ต่างหูทองคำและรองเท้าหนังบู๊ตที่สวมใส่ไว้
น่าจะแสดงว่ามัมมี่รายนี้เป็นพวกชนชั้นนำที่มีระดับ
แต่การปรากฏตัวของมัมมี่ในเหมืองเกลือนี้ยังเป็นเรื่องลึกลับ
มัมมี่รายนี้อาจจะถูกฆาตกรรมแล้วทิ้งศพไว้ที่นั่น
หรือว่าเป็นผู้เคราะห์ร้ายจากเหมืองเกลือถล่ม




Photo credit: Ensie & Matthias





เรียบเรียง/ที่มา


https://goo.gl/UeCeSd
https://goo.gl/pm9pfY
https://goo.gl/mwT3fG
https://goo.gl/umQvSY






พื้นที่เหมืองเกลือ Douzlakh ใกล้ Chehrābād, Douzlakh ใกล้ Chehrābād จังหวัด Zanjān



รองเท้าบูทของมัมมี่เกลือในเหมืองแร่ พร้อมกับชิ้นส่วนขาคาอยู่ในรองเท้า
จัดแสดงที่ National Museum of Iran ใน Tehran



มัมมี่เกลือรายแรก Zanjan ที่ค้นพบในเหมืองเกลือช่วงปี 1994 CE
จัดแสดงที่ National Museum of Iran ใน Tehran



มัมมี่เกลือรายที่ 2 จัดแสดงที่ Zanjan Musem ที่ Iran



มัมมี่เกลือรายที่ 3 จัดแสดงที่ Zanjan Museum ที่ Iran



มัมมี่เกลือรายที่ 4 จัดแสดงที่ Zanjan Museum ที่ Iran



มัมมี่เกลือรายที่ 2 จากเหมืองเกลือ Zanjan Mine ใน Iran จัดแสดงที่ Zanjan Musem







Maryam Mirzakhani สตรีนักคณิตศาสตร์ระดับโลก






อิหร่านประกาศว่าสร้างเจ้าพ่อระเบิด FOAB ขนาดเล็กได้แล้ว






2+2=5 | Two & Two Nominated as Best Short Film, Bafta Film Awards, 2012



ภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้เป็นภาษาเปอร์เซีย/ฟาร์ซี
ผู้กำกับ นักแสดง เป็นลูกหลานชาวอิหร่านในสหรัฐอเมริกา
สร้างขึ้นมาเพื่อต่อต้านรัฐบาลเผด็จการอิหร่าน
โดยนัยว่า คุก ทหาร ศาล ตำรวจ โรงเรียน โรงพยาบาลบ้า
คือ เครื่องมือที่ใช้ในการกดขี่/การปกครองของรัฐ มิเชล ฟูโก





เรื่องเล่าไร้สาระ


นักประวัติศาสตร์ชาตินิยมเปอร์เซีย/อิหร่าน
ระบุว่าชาติตนถูกข่มขืนมาแล้ว 2 ครั้ง
ครั้งแรกโดยมหาโจรอเล็กซานเดอร์จากกรีก
ครั้งที่สองโดย Caliph Umar ชนเผ่าอาหรับพร้อมกับศาสนาอิสลาม
ทำให้เปอร์เซียมีภาษากรีกกับภาษาอาหรับปะปนอยู่มาก
และถือว่าพวกตนเองตั้งแต่เดิมมีอารยธรรมเหนือกว่าพวกมายึดครอง


เรื่องนี้จึงมีนัยแฝงเร้นว่า
อิหร่านแม้ว่านับถือศาสนาอิสลาม
แต่ยังแยกนิกายชีอะห์ออกจากนิกายสุหนี่
แบบไม่ยอมรับหลักการนิกายสุหนี่
ที่พวกอาหรับส่วนมากนิยมนับถือกัน
ทำให้พวกอิสลามนิกายสุหนี่ประณามว่า
พวกอิสลามนิกายชีอะห์เป็นพวกนอกรีต
จนเป็นสาเหตุบาดหมางและรบกันมาโดยตลอด

อิหร่านยังให้ความคุ้มครองพวกชนกลุ่มน้อย
ที่ยังนับถือศาสนาไซโรอัสเตอร์ของชนเผ่าฟาร์ซีดั้งเดิม

ในยุคแรกชนเผ่าฟาร์ซีต้องหลบหนีการกดขี่ด้วยดาบและภาษี
เพื่อให้เปลี่ยนศาสนาจากพวกมุสลิมสุดโต่ง
โดยเดินทางจากเปอร์เซียจนมาถึงแคว้นคชรัฐ
เจ้านครรัฐในอินเดียไม่อยากต้อนรับพวกนี้อีกแล้ว
เลยบอกไล่เป็นนัย ๆ ด้วยการเติมนมจนเต็มอ่างทองเหลือง
มีนัยว่าที่นี่มีคนมากพอแล้วไม่อาจจะเพิ่มได้อีก

ผู้นำตระกูล Tata จึงนำน้ำผึ้งหยดลงไปผสมกับนม
สามารถคนหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
นัยว่าจะสามารถผสมผสานกลมกลืนกับคนอินเดียได้
เลยได้ตั้งรกรากทำมาหากินในอินเดียจนถึงทุกวันนี้
ครอบครัว Tata เป็นนักธุรกิจระดับเจ้าพ่ออุตสาหกรรม

ตระกูล Tata ในอินเดียยังนับถือศาสนาไซโรอัสเตอร์
เวลาตายจะให้แร้งกินศพแทนการฝังหรือเผาศพ
โดยมีสุสานของพวกตนเองในอินเดีย
มีใน ฟากฟ้าฝังศพ



จุฬาราชมนตรีท่านแรกของไทย
แต่งตั้งในสมัยพระเจ้าทรงธรรม
เพื่อดูแลกรมท่าขวาในการค้าขายทางเรือ
กับควบคุมกำกับดูแลชาวบ้านมุสลิม

ท่านแรกคือ เฉกอะหมัด เป็นมุสลิมนิกายชีอะห์
มาจากเมืองกูนี (Gūnī) เปอร์เซีย/อิหร่าน (เฉก=ชีค)
เป็นต้นตระกูล บุนนาค ของคนไทย
แต่เดิมเชื่อว่ามาจากเมืองกุม Qom
เคยมีคนไทยไปค้นหาต้นสกุลที่นี่
แต่ชาวบ้านแถวนั้นไม่รู้จัก
เพราะไม่มีตำนานเล่าขานว่า
เคยมีคนอิหร่านมาสร้างชื่อเสียงไว้ที่เมืองไทย

เฉกอะหมัดเดินทางมาค้าขายที่เมืองไทย
พร้อมกับเฉกสะอีด น้องชายท่าน
ตั้งแต่ปลายสมัยพระเอกาทศรศ
พระอนุชาพระนเรศ(ชื่อตามประวัติศาสตร์พม่า)
ได้ตั้งรกรากและมีภริยาเป็นชาวไทย

ต่อมา เฉกสะอีดได้กลับบ้านเกิดแล้วไปเสียชีวิตที่นั่น
หลังจากนั้นไปไม่นานนัก อากามหะหมัด
บุตรชายเฉกสะอีดก็เดินทางกลับมาเมืองไทย
แล้วเข้ารับราชการในสมัยพระนารายณ์มหาราช
ซึ่งตอนนั้นเฉกอะหมัดยังมีชีวิตอยู่แต่ชราภาพแล้ว

ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
สายสกุลบุนนาคบางคนเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ
เพราะอยากตามเสด็จไปไหว้พระพุทธบาทที่สระบุรี
แต่บางสายสกุลยังนับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์

ในสมัยต้นรัชกาลที่ 1
มุสลิมชีอะห์บางส่วนเริ่มเปลี่ยนไปเป็นมุสลิมสุหนี่
มีการแยกสายสกุลนับถือศาสนากันแต่ยังนับญาติกัน
และมีที่รวมญาติพี่น้องที่เป็นอันรู้กันว่า
สายพุทธที่ วัดบุปผารามวรวิหาร
สายอิสลามที่ มัสยิศต้นสน
รวมญาติทุกฝ่ายเป็นงานประจำปีที่ฝังศพเฉกอะหมัด ต้นตระกูลบุนนาค
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา



จุฬาราชมนตรีไทยดูแลทั้งประเทศ
ในมาเลเซียแต่ละรัฐที่มีสุลต่าน
จะมีจุฬาราชมนตรีแต่ละรัฐเอง

จุฬาราชมนตรีไทย
สืบทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยา
เป็นตำแหน่งพระราชทาน
ปู่ของพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
เป็นจุฬาราชมนตรีท่านสุดท้าย
ที่เป็นมุสลิมนิกายชีอะห์


หลังจากนั้นเป็นต้นมา
จุฬาราชมนตรีไทย
จะเป็นมุสลิมนิกายสุหนี่
เพราะมีจำนวนผู้นับถือมากที่สุด
และผ่านจากระบบเลือกตั้ง


ข้อมูลเพิ่มเติม


https://goo.gl/9TDBIs
https://goo.gl/pmWbB1










สุลต่านซุไลมาน เป็นมุสลิมชีอะห์
อดีตเจ้านครรัฐสงขลา ต้นสกุล ณ พัทลุง ศรียาภัย ณ ป้อมเพ็ชร ฯลฯ
เคยมีชัยในการบกับอโยธยาและนครศรีธรรมราช
สุสานสุลต่านสุไลมาน ใกล้ทางเข้าคลังน้ำมัน ปตท. สิงหนคร สงขลา
ชาวบ้านมักจะเรียกกันว่า มรหุ่ม สุลต่านซุไลมาน
คือ เรียกให้เป็นเกียรติแทนคำว่า กูโบร์ (ที่ฝังศพชาวมุสลิมทั่วไป)
คนในพื้นที่จะเรียกท่านด้วยความเคารพว่า ทวดหุม หรือ ทวดหุ่ม

มรหุ่ม มรโหม สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า อัล-มาร์ฮุม ในภาษาอารบิก
เป็นคำยกย่องผู้ที่สิ้นชีวิตไปแล้ว คือ ผู้ที่ไปสู่พระกรุณาของพระอัลเลาะห์

คำว่า ทวด ในภาษาภาคใต้
มีนัยนอกเหนือจาก พ่อแม่ ของ ปู่ย่าตายาย
คือ บุคคลที่ได้รับความเคารพอย่างสูงสุด
เพราะเชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ หรือมีคุณงามความดีมาก
เช่น หลวงพ่อทวดวัดช้างไห้ ทวดเกาะยอ ทวดหัวเขาแดง เป็นต้น
บางครั้งก็คือ สัตว์ที่มีอายุมาก หนังเหนียว ยิงไม่เข้า
หรือมีขนาดใหญ่โตมากเป็นที่น่ากลัวน่าเกรงขามมาก เช่น
ทวดช้าง ทวดงูเห่า ทวดบ้องหลา(งูจงอาง) ทวดฟาน(เก้ง)
ทวดหมูป่า ทวดปลวก ต้นตะเคียนยักษ์ ต้นโพธิ์ เป็นต้น









ทวดโค้งปราบเซียน
ที่ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
เพราะมีคนตายมาร่วม 100 ศพแล้วตั้งแต่สร้างถนนยุคแรก ๆ

จะทิ้ง=ชัก/ลาก เปรี๊ยะ=พระ(เปรี๊ยะวิเฮียร์ พระวิหาร)
แถวทะเลน้อย ทะเลน้ำจืด (ทะเลสาบสงขลา)
ยังมีประเพณีชักลากพระทางน้ำด้วยเรือหลังวันออกพรรษาแล้ว
วัดนี้เดิมติดทะเล ก่อนหาดทรายงอกออกไปจนวัดไกลจากทะเล
จากการขุดชั้นดินที่วัดตรวจสอบตอนบูรณะพระเจดีย์
มีร่องรอย คำยืมภาษาเขมรในภาษาไทยถิ่นใต้ 1,320 คำ
ดุษฏีนิพนธิ์ของ เปรมินทร์ คาระวี



Create Date : 20 มิถุนายน 2561
Last Update : 29 มิถุนายน 2561 21:52:45 น. 0 comments
Counter : 1719 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.